โฆษกอัยการ ยันสั่งไม่ฟ้อง ทักษิณ-หญิงอ้อ กับพวก คดีเอสซีฯ ถูกต้อง ชี้ คนวิจารณ์อัยการไม่เป็นธรรม ส่วน อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ รอลุ้นผลคำพิพากษาคดีที่ดินรัชดาฯหากศาลจำคุก เตรียมเดินหน้า แปลภาษาส่งให้อังกฤษขอส่งตัวหน้าเหลี่ยมกลับมารับโทษ
วันนี้ (17 ต.ค.) นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงกรณีมีผู้ตั้งข้อสังเกตคำสั่งอัยการที่ไม่ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา กับพวก ในคดีจงใจปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัท เอสซี แอสเสท จำกัด (มหาชน) ว่า การที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ กับพวกนั้น อัยการได้พิจารณาพยานหลักฐานที่ปรากฏอย่างละเอียดรอบคอบในทุกประเด็นแล้ว เห็นว่า ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำผิดตามที่พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตั้งข้อกล่าวหา ทั้ง 2 ข้อหา คือไม่ได้มีพฤติการณ์แสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดสาระสำคัญการถือครองซื้อขายหุ้น และไม่มีภาระหน้าที่ที่จะต้องรายงานการซื้อขายหุ้นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพราะมอบหมายให้กองทุนทำหน้าที่ให้ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของกองทุนที่จะต้องรายงาน ซึ่งข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า กองทุนได้รายงาน ก.ล.ต.อย่างถูกต้องแล้ว และไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ตามที่ถูกกล่าวหา อัยการจึงมีคำสั่งไม่ฟ้อง
“คดีนี้อัยการพิจารณาสำนวนด้วยความระมัดระวังอย่างเต็มที่ เพราะสาธารณชนทั้งหลายเพ็งเล็งอยู่ ถ้าหากมีหลักฐานให้อัยการฟ้องผู้ต้องหาได้ อัยการก็ต้องสั่งฟ้องอยู่แล้ว ผมได้อ่านคำให้สัมภาษณ์ของผู้ที่ออกมาวิจารณ์แล้วเห็นว่าคนวิจารณ์ไม่มีความรู้และไม่ได้วิจารณ์ด้วยความเป็นธรรม” นายธนพิชญ์ กล่าว
ด้าน นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ กล่าว่า นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ได้ตั้งคณะทำงานอัยการชุดใหญ่ในการติดตามตัวนักการเมืองที่หลบหนีหมายจับไปอยู่ต่างประเทศเป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมารับโทษตามคำพิพากษาของศาล โดยมี นายถาวร พานิชพันธ์ รองอัยการสูงสุดเป็นประธาน และอัยการจากฝ่ายคดีต่างประเทศและอัยการฝ่ายคดีพิเศษ รวม 10 คน เป็นคณะทำงาน ส่วนตนเป็นเลขานุการ ซึ่งคณะทำงานชุดใหญ่จะแบ่งกันดูแลเป็นคดีๆ ไป ซึ่งคดีแรกที่อัยการจะดำเนินการตามหมายจับของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ การขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก ที่หลบหนีไปอยู่ประเทศอังกฤษเป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีหรือรับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาพิพากษาอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อย่างไรก็ตาม จะต้องรอผลคำพิพากษาของศาลฎีกาฯในวันที่ 21 ตุ.ค.นี้ก่อนว่าศาลจะมีคำพิพากษาอย่างไร หากพิพากษาลงโทษอัยการจะขอคัดคำพิพากษามาแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อจัดส่งให้รัฐบาลอังกฤษดำเนินการส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมารับโทษตามคำพิพากษา แต่หากศาลฎีกาฯพิพากษายกฟ้องคดีก็จบ อัยการก็จะต้องดำเนินการในคดีอื่น
“ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นเรื่องขอลี้ภัยทางการเมืองต่อรัฐบาลอังกฤษ ถือว่าทำให้คดีมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะการขอลี้ภัยนั้นมีการอ้างเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องหาพยานหลักฐานพิสูจน์ให้ศาลอังกฤษเห็น ส่วนอัยการก็ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าการที่ทางการไทยขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมารับโทษตามคำพิพากษานั้นเป็นการทำความผิดในคดีอาญาไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งยอมรับว่า เป็นคดีที่ยากลำบากกว่าคดีทั่วไป แต่อัยการจะพยายามอย่างเต็มที่” อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ กล่าว
วันนี้ (17 ต.ค.) นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงกรณีมีผู้ตั้งข้อสังเกตคำสั่งอัยการที่ไม่ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา กับพวก ในคดีจงใจปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัท เอสซี แอสเสท จำกัด (มหาชน) ว่า การที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ กับพวกนั้น อัยการได้พิจารณาพยานหลักฐานที่ปรากฏอย่างละเอียดรอบคอบในทุกประเด็นแล้ว เห็นว่า ผู้ต้องหาไม่ได้กระทำผิดตามที่พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตั้งข้อกล่าวหา ทั้ง 2 ข้อหา คือไม่ได้มีพฤติการณ์แสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดสาระสำคัญการถือครองซื้อขายหุ้น และไม่มีภาระหน้าที่ที่จะต้องรายงานการซื้อขายหุ้นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพราะมอบหมายให้กองทุนทำหน้าที่ให้ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของกองทุนที่จะต้องรายงาน ซึ่งข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า กองทุนได้รายงาน ก.ล.ต.อย่างถูกต้องแล้ว และไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ตามที่ถูกกล่าวหา อัยการจึงมีคำสั่งไม่ฟ้อง
“คดีนี้อัยการพิจารณาสำนวนด้วยความระมัดระวังอย่างเต็มที่ เพราะสาธารณชนทั้งหลายเพ็งเล็งอยู่ ถ้าหากมีหลักฐานให้อัยการฟ้องผู้ต้องหาได้ อัยการก็ต้องสั่งฟ้องอยู่แล้ว ผมได้อ่านคำให้สัมภาษณ์ของผู้ที่ออกมาวิจารณ์แล้วเห็นว่าคนวิจารณ์ไม่มีความรู้และไม่ได้วิจารณ์ด้วยความเป็นธรรม” นายธนพิชญ์ กล่าว
ด้าน นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ กล่าว่า นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ได้ตั้งคณะทำงานอัยการชุดใหญ่ในการติดตามตัวนักการเมืองที่หลบหนีหมายจับไปอยู่ต่างประเทศเป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมารับโทษตามคำพิพากษาของศาล โดยมี นายถาวร พานิชพันธ์ รองอัยการสูงสุดเป็นประธาน และอัยการจากฝ่ายคดีต่างประเทศและอัยการฝ่ายคดีพิเศษ รวม 10 คน เป็นคณะทำงาน ส่วนตนเป็นเลขานุการ ซึ่งคณะทำงานชุดใหญ่จะแบ่งกันดูแลเป็นคดีๆ ไป ซึ่งคดีแรกที่อัยการจะดำเนินการตามหมายจับของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ การขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก ที่หลบหนีไปอยู่ประเทศอังกฤษเป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาดำเนินคดีหรือรับโทษตามคำพิพากษาศาลฎีกาพิพากษาอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อย่างไรก็ตาม จะต้องรอผลคำพิพากษาของศาลฎีกาฯในวันที่ 21 ตุ.ค.นี้ก่อนว่าศาลจะมีคำพิพากษาอย่างไร หากพิพากษาลงโทษอัยการจะขอคัดคำพิพากษามาแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อจัดส่งให้รัฐบาลอังกฤษดำเนินการส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมารับโทษตามคำพิพากษา แต่หากศาลฎีกาฯพิพากษายกฟ้องคดีก็จบ อัยการก็จะต้องดำเนินการในคดีอื่น
“ส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นเรื่องขอลี้ภัยทางการเมืองต่อรัฐบาลอังกฤษ ถือว่าทำให้คดีมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะการขอลี้ภัยนั้นมีการอ้างเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องหาพยานหลักฐานพิสูจน์ให้ศาลอังกฤษเห็น ส่วนอัยการก็ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าการที่ทางการไทยขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมารับโทษตามคำพิพากษานั้นเป็นการทำความผิดในคดีอาญาไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งยอมรับว่า เป็นคดีที่ยากลำบากกว่าคดีทั่วไป แต่อัยการจะพยายามอย่างเต็มที่” อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ กล่าว