อัยการประชุมตรวจสำนวนทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทร ที่ คตส.ชี้มูลความผิด แต่ยังไม่ฟันธงว่าจะสั่งฟ้อง หรือตั้งคณะกรรมการร่วม ป.ป.ช.เพื่อสอบเพิ่มเติม โดยรอคณะทำงานย่อยสรุปผลชัดเจนอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
วันนี้ (16 ก.ค.) ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก เวลา 13.00 น.นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล ประธานคณะทำงานอัยการรับผิดชอบสำนวนคดีคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เรียกประชุมคณะทำงานอัยการเพื่อพิจารณาสำนวนทุจริตการอนุมัติโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเป็นสำนวนคดีสุดท้ายที่อัยการรับมาจาก คตส.เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดย คตส.ชี้มูลความผิด นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ อดีตผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กับพวกรวม 21 คน เป็นผู้ถูกกล่าวหา ความผิด เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้ซึ่งทรัพย์สินแก่ตนเองหรือผู้อื่น ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงประหารชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท, เป็นเจ้าพนักงานรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อกระทำการในตำแหน่งโดยไม่ชอบ ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงประหารชีวิตและปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148, 149, 157
โดยแหล่งข่าวอัยการ กล่าวว่า เนื่องจากคดีนี้มีผู้ถูกกล่าว 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มนักการเมืองและอดีตผู้บริหารการเคหะแห่งชาติ (กคช.) 2.กลุ่มตัวแทนนายหน้ารับค่าหัวคิวจากบริษัทเอกชนที่รับดำเนินการโครงการ และ 3.กลุ่มบริษัทเอกชนที่รับดำเนินการโครงการ และข้อหาที่ คตส. ชี้มูลความผิด มีหลายข้อหา และมีอัตราโทษสูง ดังนั้น คณะทำงานอัยการจึงมอบหมายให้คณะทำงานย่อย ตรวจสอบพฤติการณ์ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 กลุ่ม และความเกี่ยวพันกัน ให้ชัดเจนว่า ผู้ถูกกล่าวหาแต่ละกลุ่มมีความผิดในส่วนใด อย่างไรบ้าง ซึ่งคณะทำงานย่อยจะรายงานความเห็นให้ทราบอย่างเร็วในวันอังคารที่ 22 ก.ค.หรืออย่างช้าวันศุกร์ที่ 25 ก.ค.นี้ โดยแนวทางความเห็นที่คณะทำงานจะพิจารณา ก็เป็นไปได้ 2 แนวทาง คือ 1.หากพบว่าสำนวนมีข้อไม่สมบูรณ์ ก็จะเสนอ นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด พิจารณาแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทราบเพื่อตั้งคณะกรรมการร่วมอัยการ-ป.ป.ช.พิจารณาสำนวนร่วมกันต่อไป และ 2 หากพบว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 กลุ่มมีความผิดตามสำนวนที่ คตส.ชี้มูลอัยการก็จะสั่งฟ้องคดีต่อไป
วันนี้ (16 ก.ค.) ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก เวลา 13.00 น.นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล ประธานคณะทำงานอัยการรับผิดชอบสำนวนคดีคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เรียกประชุมคณะทำงานอัยการเพื่อพิจารณาสำนวนทุจริตการอนุมัติโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเป็นสำนวนคดีสุดท้ายที่อัยการรับมาจาก คตส.เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดย คตส.ชี้มูลความผิด นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ อดีตผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กับพวกรวม 21 คน เป็นผู้ถูกกล่าวหา ความผิด เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้ซึ่งทรัพย์สินแก่ตนเองหรือผู้อื่น ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงประหารชีวิต และปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท, เป็นเจ้าพนักงานรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อกระทำการในตำแหน่งโดยไม่ชอบ ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงประหารชีวิตและปรับตั้งแต่ 2,000-40,000 บาท และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148, 149, 157
โดยแหล่งข่าวอัยการ กล่าวว่า เนื่องจากคดีนี้มีผู้ถูกกล่าว 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มนักการเมืองและอดีตผู้บริหารการเคหะแห่งชาติ (กคช.) 2.กลุ่มตัวแทนนายหน้ารับค่าหัวคิวจากบริษัทเอกชนที่รับดำเนินการโครงการ และ 3.กลุ่มบริษัทเอกชนที่รับดำเนินการโครงการ และข้อหาที่ คตส. ชี้มูลความผิด มีหลายข้อหา และมีอัตราโทษสูง ดังนั้น คณะทำงานอัยการจึงมอบหมายให้คณะทำงานย่อย ตรวจสอบพฤติการณ์ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 กลุ่ม และความเกี่ยวพันกัน ให้ชัดเจนว่า ผู้ถูกกล่าวหาแต่ละกลุ่มมีความผิดในส่วนใด อย่างไรบ้าง ซึ่งคณะทำงานย่อยจะรายงานความเห็นให้ทราบอย่างเร็วในวันอังคารที่ 22 ก.ค.หรืออย่างช้าวันศุกร์ที่ 25 ก.ค.นี้ โดยแนวทางความเห็นที่คณะทำงานจะพิจารณา ก็เป็นไปได้ 2 แนวทาง คือ 1.หากพบว่าสำนวนมีข้อไม่สมบูรณ์ ก็จะเสนอ นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด พิจารณาแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทราบเพื่อตั้งคณะกรรมการร่วมอัยการ-ป.ป.ช.พิจารณาสำนวนร่วมกันต่อไป และ 2 หากพบว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 กลุ่มมีความผิดตามสำนวนที่ คตส.ชี้มูลอัยการก็จะสั่งฟ้องคดีต่อไป