อดีตรองอธิการบดี ม.รามคำแหง ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ ผบ.ตร.ดำเนินคดี “สันติ พร้อมพัฒน์” ฐานปลอมบัตรนักศึกษาและใบขับขี่ ใช้เป็นหลักฐานเข้าสอบขณะเรียนปริญญาตรี ที่ ม.ราม ขณะเดียวกัน ให้ดำเนินคดี “รังสรรค์ แสงสุข” ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งยังเปิดทางให้ “สันติ” กลับเข้าเป็นนักศึกษาจนเรียนจบโท ทั้งที่ถูกลบชื่อไปแล้ว
วันนี้ (26 มิ.ย.) เมื่อเวลา 12.30 น.นายวิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มอบอำนาจให้ นายโลมิรันดร์ บุตรจันทร์ ทนายความ เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อให้ดำเนินคดีกับ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.กระทรวงคมนาคม ข้อหาปลอมแปลงเอกสารทางราชการและใช้เอกสารปลอม และนายรังสรรค์ แสงสุข สมัยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ข้อหาละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
นายวิวัฒน์ชัย ระบุในหนังสือร้องทุกข์ ว่า ตนในฐานะอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2542 ในการสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2541 หัวหน้าตึก PRB ตรวจพบว่า นายสันติ รหัสประจำตัวนักศึกษา 4106562624 ได้ให้บุคคลอื่นเข้าสอบแทนในการสอบวิชา PY 103 โดยปลอมบัตรประจำตัวนักศึกษาและใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลตลอดชีพ ของกรมการขนส่งทางบก และนำมาใช้เป็นหลักฐานเข้าห้องสอบ ที่ประชุมของคณะกรรมการที่ปรึกษาของสภามหาวิทยาลัย (ทปอ.) ในการประชุมครั้งที่ 23/2542 วันที่ 30 มิถุนายน 2542 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของนายสันติ ฝ่าฝืนคำสั่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ 684/2537 เรื่องข้อปฏิบัติในการสอบไล่ ข้อ 1.20 อันเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง ตามข้อ 6 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหง ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ.2522 จึงมีมติให้ลบชื่อ นายสันติ ออกจากทะเบียนนักศึกษาตังแต่สอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2541 สั่ง ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2542
“ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนที่ ม.รามคำแหง ซึ่งเคยถูก ม.รามคำแหง ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดย นายรังสรรค์ แสงสุข เป็นผู้บังคับบัญชา แจ้งความดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท ได้ยื่นหนังสือลงวันที่ 25 มิถุนายน 2551 เพื่อติดตามให้มหาวิทยาลัย ดำเนินคดีอาญากับนายสันติ โดยให้นำมาตรฐานเดียวกันมาปฏิบัติ ซึ่งมหาวิทยาลัยมีระเบียบ และกฎหมายดำเนินคดีอาญากับนักศึกษาที่ผิดวินัยร้ายแรงอยู่แล้ว” นายวัฒน์ชัย ระบุ
นายวิวัฒน์ชัย กล่าวอีกว่า นายสันติ ซึ่งถูกลบชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษาไปแล้ว ได้บังอาจสมัครเป็นนักศึกษาใหม่มหาวิทยาลัยรามคำแหงอีก ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนถูกลบชื่อไปแล้ว และไม่มีสิทธิสมัคร ซึ่งในเวลาดังกล่าว นายรังสรรค์ แสงสุข เป็นอธิการบดี เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของพนักงานมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกัน ม.รามคำแหง เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน มีอธิการบดีปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ.2541 ได้มีการช่วยเหลือหรือสนับสนุน หรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจปฏิบัติ โดยได้ให้นายสันติ ได้รับการรับสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี และเรียนต่อระดับปริญญาโทจนจบ จึงเป็นการกระทำผิดตามระเบียบมหาวิทยาลัย เพราะเมื่อนายสันติถูกลบชื่อ ก็ไม่มีสิทธิสมัครเป็นนักศึกษา หรือจนกว่าจะขาดอายุความ 15 ปี
นายวิวัฒน์ชัย กล่าวว่า จากการที่มหาวิทยาลัย หรืออธิการบดี ไม่ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของนายสันติ ขณะเดียวกัน ก็มีหน้าที่ต้องดำเนินคดีกับนายสันติ แต่กลับไม่ดำเนินการใดๆ อีกทั้งยังสนันสนุนให้สมัครเรียนปริญญาตรีภาคพิเศษ จนจบปริญญาโท ทั้งที่มีกฎหมายให้ตรวจสอบและปฏิบัติ ถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอาญามาตรา 157 ตนในฐานะอาจารย์ม.รามคำแหง ได้รับความเสียหายจากกระทำดังกล่าว เพราะทำให้ประชาชนทั่วไป รวมทั้งลูกศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่า ม.รามคำแหง ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ขณะเดียวกัน นายสันติ ถือว่าขาดจริยธรรมสำหรับข้าราชการการเมือง
วันนี้ (26 มิ.ย.) เมื่อเวลา 12.30 น.นายวิวัฒน์ชัย กุลมาตย์ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มอบอำนาจให้ นายโลมิรันดร์ บุตรจันทร์ ทนายความ เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อให้ดำเนินคดีกับ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.กระทรวงคมนาคม ข้อหาปลอมแปลงเอกสารทางราชการและใช้เอกสารปลอม และนายรังสรรค์ แสงสุข สมัยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ข้อหาละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
นายวิวัฒน์ชัย ระบุในหนังสือร้องทุกข์ ว่า ตนในฐานะอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2542 ในการสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2541 หัวหน้าตึก PRB ตรวจพบว่า นายสันติ รหัสประจำตัวนักศึกษา 4106562624 ได้ให้บุคคลอื่นเข้าสอบแทนในการสอบวิชา PY 103 โดยปลอมบัตรประจำตัวนักศึกษาและใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลตลอดชีพ ของกรมการขนส่งทางบก และนำมาใช้เป็นหลักฐานเข้าห้องสอบ ที่ประชุมของคณะกรรมการที่ปรึกษาของสภามหาวิทยาลัย (ทปอ.) ในการประชุมครั้งที่ 23/2542 วันที่ 30 มิถุนายน 2542 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของนายสันติ ฝ่าฝืนคำสั่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ 684/2537 เรื่องข้อปฏิบัติในการสอบไล่ ข้อ 1.20 อันเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง ตามข้อ 6 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหง ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ.2522 จึงมีมติให้ลบชื่อ นายสันติ ออกจากทะเบียนนักศึกษาตังแต่สอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2541 สั่ง ณ วันที่ 4 สิงหาคม 2542
“ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนที่ ม.รามคำแหง ซึ่งเคยถูก ม.รามคำแหง ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดย นายรังสรรค์ แสงสุข เป็นผู้บังคับบัญชา แจ้งความดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท ได้ยื่นหนังสือลงวันที่ 25 มิถุนายน 2551 เพื่อติดตามให้มหาวิทยาลัย ดำเนินคดีอาญากับนายสันติ โดยให้นำมาตรฐานเดียวกันมาปฏิบัติ ซึ่งมหาวิทยาลัยมีระเบียบ และกฎหมายดำเนินคดีอาญากับนักศึกษาที่ผิดวินัยร้ายแรงอยู่แล้ว” นายวัฒน์ชัย ระบุ
นายวิวัฒน์ชัย กล่าวอีกว่า นายสันติ ซึ่งถูกลบชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษาไปแล้ว ได้บังอาจสมัครเป็นนักศึกษาใหม่มหาวิทยาลัยรามคำแหงอีก ทั้งที่รู้อยู่ว่าตนถูกลบชื่อไปแล้ว และไม่มีสิทธิสมัคร ซึ่งในเวลาดังกล่าว นายรังสรรค์ แสงสุข เป็นอธิการบดี เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของพนักงานมหาวิทยาลัย ขณะเดียวกัน ม.รามคำแหง เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน มีอธิการบดีปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ.2541 ได้มีการช่วยเหลือหรือสนับสนุน หรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจปฏิบัติ โดยได้ให้นายสันติ ได้รับการรับสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ ระดับปริญญาตรี และเรียนต่อระดับปริญญาโทจนจบ จึงเป็นการกระทำผิดตามระเบียบมหาวิทยาลัย เพราะเมื่อนายสันติถูกลบชื่อ ก็ไม่มีสิทธิสมัครเป็นนักศึกษา หรือจนกว่าจะขาดอายุความ 15 ปี
นายวิวัฒน์ชัย กล่าวว่า จากการที่มหาวิทยาลัย หรืออธิการบดี ไม่ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของนายสันติ ขณะเดียวกัน ก็มีหน้าที่ต้องดำเนินคดีกับนายสันติ แต่กลับไม่ดำเนินการใดๆ อีกทั้งยังสนันสนุนให้สมัครเรียนปริญญาตรีภาคพิเศษ จนจบปริญญาโท ทั้งที่มีกฎหมายให้ตรวจสอบและปฏิบัติ ถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอาญามาตรา 157 ตนในฐานะอาจารย์ม.รามคำแหง ได้รับความเสียหายจากกระทำดังกล่าว เพราะทำให้ประชาชนทั่วไป รวมทั้งลูกศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่า ม.รามคำแหง ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ขณะเดียวกัน นายสันติ ถือว่าขาดจริยธรรมสำหรับข้าราชการการเมือง