ผู้เฒ่าปากน้ำร้องขอความเป็นธรรมต่อ ตร.บางนา เหตุภรรยาเสียชีวิตขณะรักษาตัวจากแพทย์ รพ.ศิครินทร์ หลังตกลงค่าชดเชยไม่ลงตัว ระบุแพทย์ประมาทเลินเล่อไม่ฉีดเซรุ่มก่อนถอดเชือกขันชะเนาะออกจากข้อมือที่ถูกงูกัด ด้านแพทย์ รพ.ศิครินทร์ ยันรักษาตามขั้นมาตรฐาน ย้ำทำดีที่สุดแล้ว แจงเหตุถอดเชือกขันชะเนาะเพราะเกรงเลือดไม่หมุนเวียน ชี้เงินชดเชยเหมาะสมในด้านมนุษยธรรม
วันนี้ (12 พ.ค.) เมื่อเวลา 12.00 น.ที่ สน.บางนา นายสมพิศ ม่อมทรัพย์ อายุ 69 ปี อยู่บ้านเลขที่ 750/36 หมู่ 9 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.สาโรช ซุ่นทรัพย์ ผกก.สน.บางนา พ.ต.ท.ต่อเกียรติ พรหมบุตร รอง ผกก.สส.สน.บางนา เพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมกรณี นางถนอม ม่อมทรัพย์ ผู้เป็นภรรยาซึ่งถูกงูพิษกัดที่บ้านพัก และได้นำตัวส่งมารักษาที่โรงพยาบาลศิครินทร์ แต่ภรรยาเสียชีวิตภายหลังแพทย์ถอดเชือกขันชะเนาะออกจากข้อมือขวา และแขนขวา
นายสมพิศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 16.00 น.ขณะที่ภรรยาตนเองเดินอยู่ในบ้านพักก็ได้ยินเสียงคล้ายหนูร้องบริเวณใต้ตู้จึงเข้าไปตรวจสอบดู แต่กลับถูกงูลักษณะตัวสีดำ หางด้วน กัดเข้าที่บริเวณฝ่ามือขวา เป็นแผลคล้ายรอยขีดข่วนเล็กน้อย ภรรยาจึงรีบออกมาบอกเพื่อนบ้านใกล้เคียงให้ช่วยกันใช้เชือกขันชะเนาะบริเวณข้อมือขวา และแขนขวา ก่อนจะรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลดังกล่าว โดยแพทย์ได้นำตัวภรรยาเข้าห้องฉุกเฉินเพื่อรักษาเป็นการด่วน จากนั้นตนตามมาดูอาการที่โรงพยาบาล แต่แพทย์ไม่ยอมให้เข้าไปในห้องฉุกเฉินให้รออยู่ด้านนอกเท่านั้น จนกระทั่งแพทย์ออกมาบอกว่าภรรยาเสียชีวิตแล้วให้เข้าไปในห้องได้
นายสมพิศ กล่าวต่อว่า เมื่อตนเข้าไปดูศพภรรยา และสอบถามพยาบาลได้รับคำตอบว่า เมื่อมาถึงภรรยาบอกว่าปวดแผลมากจึงฉีดยาแก้ปวดให้ จากนั้นก็ให้น้ำเกลือทางแขนอีกข้าง และกำลังจะให้ภรรยาขึ้นไปพักที่ห้องชั้นบนของโรงพยาบาลแต่ก็มาเสียชีวิตก่อน โดยก่อนจะสิ้นใจนั้น ภรรยาบ่นว่าง่วงนอน จากนั้นก็แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก บ่นประมาณ 3-4 ครั้งแล้วก็สิ้นใจทันที ทั้งนี้ ตนสังเกตเห็นว่าเชือกที่ขันชะเนาะไว้บนแขนของภรรยาถูกแกะออก ด้วยความสงสัยจึงสอบถามอีกว่าก่อนจะแกะออกนั้นได้ให้เซรุ่มหรือไม่ แต่ทางโรงพยาบาลบอกว่ายังไม่ได้ให้เซรุ่ม เพราะยังไม่ทราบว่าภรรยาถูกสัตว์ชนิดใดกัด ส่วนที่แกะเชือกขันชะเนาะออกนั้นเป็นวิธีรักษาตามแผนปัจจุบันสมัยใหม่ เมื่อมาถึงแพทย์ก็ต้องแกะออก ทำให้ตนเชื่อว่าการที่ภรรยาเสียชีวิตนั้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของทางโรงพยาบาล
นายสมพิศ กล่าวต่อไปว่า หลังจากภรรยาเสียชีวิต วันรุ่งขึ้นก็เดินทางมารับศพภรรยา แต่ยังไม่ได้ตกลงเรื่องค่าสินไหมทดแทนกับทางโรงพยาบาล จึงตัดสินใจยังไม่เอาศพภรรยาออกจากโรงพยาบาล จากนั้นก็มี ดร.คนหนึ่งซึ่งสนิทกับตนมานาน และก็สนิทกับทางโรงพยาบาลด้วย เข้ามาเกลี้ยกล่อมตนให้นำศพภรรยาออกไปเผาเสีย อีกทั้งยังบอกว่าภรรยาตนทำบุญมาแค่นี้ ชาติก่อนคงไปทำเขาไว้ ชาตินี้เขาเลยมาเอาคืน แถมยังบอกด้วยว่าถ้ามีคดีฟ้องร้องกับคนรวยไม่มีทางชนะแน่นอน และหากถูกฟ้องกลับจะมีปัญญาหาเงินใช้คืนหรือ จากนั้นทางโรงพยาบาลก็เข้ามาเจรจากับตนว่า จะให้เงินช่วยเหลือตนกรณีที่ภรรยาเสียชีวิต แต่จะให้มากนักไม่ได้ โดยให้มาเจรจากันในวันอังคารที่ 22 เม.ย.
นายสมพิศ กล่าวด้วยว่า เมื่อมาเจรจากันในวันดังกล่าว ทางโรงพยาบาลก็บอกให้ตนกับญาติไปตกลงกันว่าต้องการเงินกันเท่าไหร่ จนกระทั่งวันอังคารที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา ตนกับทนายความก็เข้ามาคุยกับทางโรงพยาบาล พร้อมแจ้งไปว่าต้องการให้โรงพยาบาลชดใช้เป็นเงิน 800,000 บาท ซึ่งทางโรงพยาบาลก็บอกว่าจะรับกลับไปพิจารณา จนกระทั่งวันพุธที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ตนกับทนายความก็ไปเจรจาที่โรงพยาบาลอีกครั้ง โดยมีฝ่ายกฎหมายของโรงพยาบาล 2-3 คนมาเจรจาด้วย พร้อมบอกว่าทางโรงพยาบาลช่วยเหลือให้ได้แค่ 150,000 บาทเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ โดยในวันพรุ่งนี้ (13 พ.ค.) จะเจรจาอีกครั้งในเวลา 14.00 น. ในวันนี้ตนจึงเดินทางมาร้องขอความเป็นธรรมต่อตำรวจ พร้อมแจ้งความลงบันทึกไว้เป็นหลักฐานก่อน ไม่ได้มาแจ้งความดำเนินคดีแต่อย่างใด
ด้าน พ.ต.ท.ต่อเกียรติ พรหมบุตร รอง ผกก.สส.สน.บางนา เปิดเผยว่า เบื้องต้นได้รับเรื่องแจ้งความร้องทุกข์ไว้เป็นหลักฐาน โดยหลังจากนี้จะทำการสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่อยู่ในเหตุการณ์ เช่น คนที่พบเห็น คนนำผู้ตายส่งโรงพยาบาล และอายัดศพผู้ตายเพื่อส่งสถาบันนิติเวชเพื่อชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิตอีกครั้งเพื่อรวบรวมไว้เป็นหลักฐานก่อน
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปสอบถามเรื่องดังกล่าวกับทางโรงพยาบาลศิครินทร์ โดยได้รับการเปิดเผยจาก นพ.ธงชัย ฉัตรยิ่งมงคล ผอ.โรงพยาบาลศิครินทร์ นพ.มนัสวี สมิตสุวรรณ ผู้จัดการฝ่ายประกันสังคม และ พญ.สาวิตรี จันทนลาช ประธานองค์กรแพทย์ของโรงพยาบาลศิครินทร์ โดย นพ.มนัสวี เปิดเผยว่า ในวันเกิดเหตุผู้ป่วยถูกสัตว์มีพิษไม่ทราบชนิดกัดมีฝ่ามือขวา โดยหลังจากนั้นญาติได้นำส่งมาที่โรงพยาบาล เมื่อมาถึงก็รีบนำตัวเข้าห้องฉุกเฉินทันที โดยแพทย์ผู้รักษาได้ดำเนินการตามขั้นตอนทุกอย่าง เช่น เช็กความดันโลหิตห และชีพจร เมื่อสอบถามผู้ป่วยก็ไม่สามารถบอกได้ว่าถูกสัตว์ชนิดใดกัดมา เพราะมองเห็นไม่ชัด แต่ผู้ป่วยมีอาการปวดมากจึงฉีดยาแก้ปวดให้ พร้อมกับให้น้ำเกลือที่แขนอีกข้างหนึ่ง และแพทย์มีความเห็นว่าต้องให้ผู้ป่วยพักรักษาที่โรงพยาบาล แต่หลังจากนั้นไม่นาน ผู้ป่วยมีอาการเกร็ง หายใจไม่ออก แพทย์จึงรีบต่อท่อช่วยหายใจ พร้อมกับทำการปั๊มหัวใจอยู่นานประมาณ 1 ชม. ผู้ป่วยก็เสียชีวิต
นพ.มนัสวี กล่าวว่า สำหรับเรื่องที่ญาติผู้ตายติดใจว่าทางโรงพยาบาลแกะเชือกที่ขันชะเนาะออกโดยที่ยังไม่ได้ฉีดเซรุ่มให้นั้น ขอชี้แจงว่าทางโรงพยาบาลได้ดำเนินการรักษาตามขั้นตอนมาตรฐาน เมื่อมาถึงโรงพยาบาลก็สามารถแกะออกได้ ซึ่งหากทิ้งไว้นานอาจจะทำให้แขนขาดเลือดได้เช่นกัน ซึ่งในส่วนนี้ก็ได้ชี้แจงต่อญาติผู้ตายไปแล้ว ส่วนเรื่องที่ไม่ได้ฉีดเซรุ่มให้ผู้ตายนั้นเป็นเพราะผู้ป่วยที่ถูกงูกัดจะต้องมีข้อบ่งชี้เท่านั้นถึงจะให้ได้ ไม่ใช่สามารถฉีดเซรุ่มให้ผู้ป่วยได้ทุกรายไป เพราะมีโอกาสเสี่ยงสูงฉีดเซรุ่มไปแล้วผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งกรณีของรายนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าถูกงูหรือสัตว์ชนิดใดกัด
นพ.มนัสวี กล่าวต่อไปว่า สำหรับเรื่องที่ญาติของผู้ตายประสงค์เรื่องเงินชดใช้นั้น ทางคณะกรรมการแพทย์ของโรงพยาบาลได้พิจารณาแล้ว โดยทบทวนกระบวนการรักษา สอบแพทย์ รวมทั้งสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกแล้วก็มีความเห็นว่าทางโรงพยาบาลทำการรักษาถูกต้องตามมาตรฐานทุกอย่าง และทำอย่างดีที่สุดแล้วจึงไม่สามารถช่วยเหลือเรื่องนี้ได้ แต่จำนวนเงินที่ทางโรงพยาบาลเสนอให้ไปนั้นเป็นเงินช่วยเหลือไปในแง่มนุษยธรรม
วันนี้ (12 พ.ค.) เมื่อเวลา 12.00 น.ที่ สน.บางนา นายสมพิศ ม่อมทรัพย์ อายุ 69 ปี อยู่บ้านเลขที่ 750/36 หมู่ 9 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เดินทางเข้าพบ พ.ต.อ.สาโรช ซุ่นทรัพย์ ผกก.สน.บางนา พ.ต.ท.ต่อเกียรติ พรหมบุตร รอง ผกก.สส.สน.บางนา เพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมกรณี นางถนอม ม่อมทรัพย์ ผู้เป็นภรรยาซึ่งถูกงูพิษกัดที่บ้านพัก และได้นำตัวส่งมารักษาที่โรงพยาบาลศิครินทร์ แต่ภรรยาเสียชีวิตภายหลังแพทย์ถอดเชือกขันชะเนาะออกจากข้อมือขวา และแขนขวา
นายสมพิศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 16.00 น.ขณะที่ภรรยาตนเองเดินอยู่ในบ้านพักก็ได้ยินเสียงคล้ายหนูร้องบริเวณใต้ตู้จึงเข้าไปตรวจสอบดู แต่กลับถูกงูลักษณะตัวสีดำ หางด้วน กัดเข้าที่บริเวณฝ่ามือขวา เป็นแผลคล้ายรอยขีดข่วนเล็กน้อย ภรรยาจึงรีบออกมาบอกเพื่อนบ้านใกล้เคียงให้ช่วยกันใช้เชือกขันชะเนาะบริเวณข้อมือขวา และแขนขวา ก่อนจะรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลดังกล่าว โดยแพทย์ได้นำตัวภรรยาเข้าห้องฉุกเฉินเพื่อรักษาเป็นการด่วน จากนั้นตนตามมาดูอาการที่โรงพยาบาล แต่แพทย์ไม่ยอมให้เข้าไปในห้องฉุกเฉินให้รออยู่ด้านนอกเท่านั้น จนกระทั่งแพทย์ออกมาบอกว่าภรรยาเสียชีวิตแล้วให้เข้าไปในห้องได้
นายสมพิศ กล่าวต่อว่า เมื่อตนเข้าไปดูศพภรรยา และสอบถามพยาบาลได้รับคำตอบว่า เมื่อมาถึงภรรยาบอกว่าปวดแผลมากจึงฉีดยาแก้ปวดให้ จากนั้นก็ให้น้ำเกลือทางแขนอีกข้าง และกำลังจะให้ภรรยาขึ้นไปพักที่ห้องชั้นบนของโรงพยาบาลแต่ก็มาเสียชีวิตก่อน โดยก่อนจะสิ้นใจนั้น ภรรยาบ่นว่าง่วงนอน จากนั้นก็แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก บ่นประมาณ 3-4 ครั้งแล้วก็สิ้นใจทันที ทั้งนี้ ตนสังเกตเห็นว่าเชือกที่ขันชะเนาะไว้บนแขนของภรรยาถูกแกะออก ด้วยความสงสัยจึงสอบถามอีกว่าก่อนจะแกะออกนั้นได้ให้เซรุ่มหรือไม่ แต่ทางโรงพยาบาลบอกว่ายังไม่ได้ให้เซรุ่ม เพราะยังไม่ทราบว่าภรรยาถูกสัตว์ชนิดใดกัด ส่วนที่แกะเชือกขันชะเนาะออกนั้นเป็นวิธีรักษาตามแผนปัจจุบันสมัยใหม่ เมื่อมาถึงแพทย์ก็ต้องแกะออก ทำให้ตนเชื่อว่าการที่ภรรยาเสียชีวิตนั้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของทางโรงพยาบาล
นายสมพิศ กล่าวต่อไปว่า หลังจากภรรยาเสียชีวิต วันรุ่งขึ้นก็เดินทางมารับศพภรรยา แต่ยังไม่ได้ตกลงเรื่องค่าสินไหมทดแทนกับทางโรงพยาบาล จึงตัดสินใจยังไม่เอาศพภรรยาออกจากโรงพยาบาล จากนั้นก็มี ดร.คนหนึ่งซึ่งสนิทกับตนมานาน และก็สนิทกับทางโรงพยาบาลด้วย เข้ามาเกลี้ยกล่อมตนให้นำศพภรรยาออกไปเผาเสีย อีกทั้งยังบอกว่าภรรยาตนทำบุญมาแค่นี้ ชาติก่อนคงไปทำเขาไว้ ชาตินี้เขาเลยมาเอาคืน แถมยังบอกด้วยว่าถ้ามีคดีฟ้องร้องกับคนรวยไม่มีทางชนะแน่นอน และหากถูกฟ้องกลับจะมีปัญญาหาเงินใช้คืนหรือ จากนั้นทางโรงพยาบาลก็เข้ามาเจรจากับตนว่า จะให้เงินช่วยเหลือตนกรณีที่ภรรยาเสียชีวิต แต่จะให้มากนักไม่ได้ โดยให้มาเจรจากันในวันอังคารที่ 22 เม.ย.
นายสมพิศ กล่าวด้วยว่า เมื่อมาเจรจากันในวันดังกล่าว ทางโรงพยาบาลก็บอกให้ตนกับญาติไปตกลงกันว่าต้องการเงินกันเท่าไหร่ จนกระทั่งวันอังคารที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา ตนกับทนายความก็เข้ามาคุยกับทางโรงพยาบาล พร้อมแจ้งไปว่าต้องการให้โรงพยาบาลชดใช้เป็นเงิน 800,000 บาท ซึ่งทางโรงพยาบาลก็บอกว่าจะรับกลับไปพิจารณา จนกระทั่งวันพุธที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ตนกับทนายความก็ไปเจรจาที่โรงพยาบาลอีกครั้ง โดยมีฝ่ายกฎหมายของโรงพยาบาล 2-3 คนมาเจรจาด้วย พร้อมบอกว่าทางโรงพยาบาลช่วยเหลือให้ได้แค่ 150,000 บาทเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ โดยในวันพรุ่งนี้ (13 พ.ค.) จะเจรจาอีกครั้งในเวลา 14.00 น. ในวันนี้ตนจึงเดินทางมาร้องขอความเป็นธรรมต่อตำรวจ พร้อมแจ้งความลงบันทึกไว้เป็นหลักฐานก่อน ไม่ได้มาแจ้งความดำเนินคดีแต่อย่างใด
ด้าน พ.ต.ท.ต่อเกียรติ พรหมบุตร รอง ผกก.สส.สน.บางนา เปิดเผยว่า เบื้องต้นได้รับเรื่องแจ้งความร้องทุกข์ไว้เป็นหลักฐาน โดยหลังจากนี้จะทำการสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่อยู่ในเหตุการณ์ เช่น คนที่พบเห็น คนนำผู้ตายส่งโรงพยาบาล และอายัดศพผู้ตายเพื่อส่งสถาบันนิติเวชเพื่อชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิตอีกครั้งเพื่อรวบรวมไว้เป็นหลักฐานก่อน
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปสอบถามเรื่องดังกล่าวกับทางโรงพยาบาลศิครินทร์ โดยได้รับการเปิดเผยจาก นพ.ธงชัย ฉัตรยิ่งมงคล ผอ.โรงพยาบาลศิครินทร์ นพ.มนัสวี สมิตสุวรรณ ผู้จัดการฝ่ายประกันสังคม และ พญ.สาวิตรี จันทนลาช ประธานองค์กรแพทย์ของโรงพยาบาลศิครินทร์ โดย นพ.มนัสวี เปิดเผยว่า ในวันเกิดเหตุผู้ป่วยถูกสัตว์มีพิษไม่ทราบชนิดกัดมีฝ่ามือขวา โดยหลังจากนั้นญาติได้นำส่งมาที่โรงพยาบาล เมื่อมาถึงก็รีบนำตัวเข้าห้องฉุกเฉินทันที โดยแพทย์ผู้รักษาได้ดำเนินการตามขั้นตอนทุกอย่าง เช่น เช็กความดันโลหิตห และชีพจร เมื่อสอบถามผู้ป่วยก็ไม่สามารถบอกได้ว่าถูกสัตว์ชนิดใดกัดมา เพราะมองเห็นไม่ชัด แต่ผู้ป่วยมีอาการปวดมากจึงฉีดยาแก้ปวดให้ พร้อมกับให้น้ำเกลือที่แขนอีกข้างหนึ่ง และแพทย์มีความเห็นว่าต้องให้ผู้ป่วยพักรักษาที่โรงพยาบาล แต่หลังจากนั้นไม่นาน ผู้ป่วยมีอาการเกร็ง หายใจไม่ออก แพทย์จึงรีบต่อท่อช่วยหายใจ พร้อมกับทำการปั๊มหัวใจอยู่นานประมาณ 1 ชม. ผู้ป่วยก็เสียชีวิต
นพ.มนัสวี กล่าวว่า สำหรับเรื่องที่ญาติผู้ตายติดใจว่าทางโรงพยาบาลแกะเชือกที่ขันชะเนาะออกโดยที่ยังไม่ได้ฉีดเซรุ่มให้นั้น ขอชี้แจงว่าทางโรงพยาบาลได้ดำเนินการรักษาตามขั้นตอนมาตรฐาน เมื่อมาถึงโรงพยาบาลก็สามารถแกะออกได้ ซึ่งหากทิ้งไว้นานอาจจะทำให้แขนขาดเลือดได้เช่นกัน ซึ่งในส่วนนี้ก็ได้ชี้แจงต่อญาติผู้ตายไปแล้ว ส่วนเรื่องที่ไม่ได้ฉีดเซรุ่มให้ผู้ตายนั้นเป็นเพราะผู้ป่วยที่ถูกงูกัดจะต้องมีข้อบ่งชี้เท่านั้นถึงจะให้ได้ ไม่ใช่สามารถฉีดเซรุ่มให้ผู้ป่วยได้ทุกรายไป เพราะมีโอกาสเสี่ยงสูงฉีดเซรุ่มไปแล้วผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งกรณีของรายนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าถูกงูหรือสัตว์ชนิดใดกัด
นพ.มนัสวี กล่าวต่อไปว่า สำหรับเรื่องที่ญาติของผู้ตายประสงค์เรื่องเงินชดใช้นั้น ทางคณะกรรมการแพทย์ของโรงพยาบาลได้พิจารณาแล้ว โดยทบทวนกระบวนการรักษา สอบแพทย์ รวมทั้งสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกแล้วก็มีความเห็นว่าทางโรงพยาบาลทำการรักษาถูกต้องตามมาตรฐานทุกอย่าง และทำอย่างดีที่สุดแล้วจึงไม่สามารถช่วยเหลือเรื่องนี้ได้ แต่จำนวนเงินที่ทางโรงพยาบาลเสนอให้ไปนั้นเป็นเงินช่วยเหลือไปในแง่มนุษยธรรม