“7 วันอันตราย” ผ่านพ้นมาได้ 4 วัน ปรากฏว่ามียอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในเทศกาลสงกรานต์รวม 229 ศพ แต่ยังน้อยกว่าปีที่ผ่านมาแค่ 7 ศพ ในขณะที่รวม 4 วันมีผู้บาดเจ็บ 3,315 ราย มากกว่าปีที่แล้ว 133 ราย ส่วนสาเหตุสำคัญยังคงเป็นเมาสุรา
วันนี้ (15 เม.ย.) เมื่อเวลา 10.43 น. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ในฐานะรองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) พร้อมนายอนุชา โมกขเวส เลขาฯศูนย์ แถลงถึงสถิติผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 711 ครั้ง น้อยกว่าปี 2550 จำนวน 78 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 49 ราย น้อยกว่าปี 2550 จำนวน 18 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บมี 801 ราย น้อยกว่า ปี 2550 จำนวน 85 ราย สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดเกิดจากเมาสุรา ร้อยละ 44.73 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.22 อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนถนนใน อบต./หมู่บ้าน รองลงมา ได้แก่ ถนนกรมทางหลวงจุดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ทางตรง สำหรับช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงพลบค่ำ เวลา 16.01-20.00 น. ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บมีอายุระหว่าง 15-19 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.95
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เพชรบูรณ์ 53 ครั้ง จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุมี 1 จังหวัด คือ ยโสธร จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ เพชรบูรณ์ ระยอง สุพรรณบุรี จังหวัดละ 8 ราย รองลงมา ได้แก่ ขอนแก่น น่าน จังหวัดละ 3 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 42 จังหวัด
นายไชยา กล่าวอีกว่า จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ เพชรบูรณ์ 58 ราย รองลงมา ได้แก่ สุพรรณบุรี 32 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ มี 1 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร ทั้งนี้ ทั่วประเทศมีการจัดตั้งจุดตรวจ รวม 3,037 จุด มีผู้ปฏิบัติงาน รวม 89,944 คน และได้เรียกตรวจยานพาหนะ 770,548 คัน พบผู้กระทำผิด รวม 51,436 คน ส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีเนื่องจาก ไม่สวมหมวกนิรภัยมากที่สุด 18,123 คน รองลงมา ได้แก่ ไม่มีใบขับขี่ 17,858
นายไชยา กล่าวด้วยว่า สำหรับตัวเลขอุบัติเหตุทางถนนสะสม 4 วัน นับจากวันที่ 11 - 14 เม.ย. มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รวม 2,949 มีผู้เสียชีวิต รวม 229 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 3,315 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 131 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ 129 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ เพชรบูรณ์ 11 ราย รองลงมา ได้แก่ พิษณุโลก 10 ราย จังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 12 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 136 ราย รองลงมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ 134 ราย
“ในช่วงเย็นวันนี้คาดว่าถนนหลายสายที่มุ่งเข้าสู่กรุงเทพฯ จะเริ่มมีปริมาณรถหนาแน่น เนื่องจากประชาชนเริ่มทยอยเดินทางกลับบ้างแล้ว ทำให้ต้องใช้เวลาในการเดินทางนานกว่าปกติ ประกอบกับการเดินทางติดต่อกันหลายวัน อาจทำให้ผู้ขับรถมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ศปถ. จึงได้ประสานให้จุดตรวจตามจังหวัดที่มีเส้นทางสายหลักเข้าสู่กรุงเทพฯเข้มงวดกวดขันการตรวจจับ เพื่อชะลอความเร็ว และตรวจสอบสภาพความพร้อมของผู้ขับรถ โดยเฉพาะการง่วงและเมาแล้วขับ รวมทั้งขอให้ตำรวจทางหลวง ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดช่องทางเดินรถพิเศษ เพื่อรองรับปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนเข้มงวดตรวจจับผู้ขับขี่ยานพาหนะที่กระทำผิดกฎหมาย ทั้งรถกระบะที่บรรทุกผู้โดยสารจำนวนมากรถโดยสารไม่ประจำทาง ซึ่งผู้ขับขี่ไม่มีความชำนาญเส้นทาง และต้องขับรถในระยะไกลเป็นเวลานาน อาจทำให้มีอาการง่วงนอน และอ่อนเพลีย ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้” นายไชยากล่าว
รมว.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า หากผู้ประสบเหตุอุบัติเหตุทางถนน ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อหน่วยกู้ชีพฉุกเฉิน ได้ทางสายด่วน 1669 ซึ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมหน่วยปฏิบัติการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 5,791 หน่วย ทำให้สามารถให้การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ภายในระยะเวลา 10-15 นาที
ด้าน นายอนุชา กล่าวว่า จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 4 วันที่ผ่านมา จำนวนผู้บาดเจ็บ เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุหลักมาจากการเมาแล้วขับการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัยบนถนนสายรองในตำบล หมู่บ้าน จึงได้ประสานจังหวัดให้กำชับด่านตรวจเฝ้าระวังผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยเป็นพิเศษ สำหรับประชาชนก่อนเดินทางกลับ ขอให้นำรถไปตรวจสอบสภาพยาง เบรก และเครื่องยนต์ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานจากจุดบริการของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งตั้งอยู่ตามเส้นทางสายหลักทั่วประเทศ
นายอนุชา กล่าวอีกว่า การขับรถทางไกลเป็นระยะเวลานานและการเดินทางติดต่อกันหลายวัน อาจทำให้ผู้ขับขี่มีอาการง่วงและอ่อนเพลียในขณะขับรถ ขอให้จอดแวะพักตามจุดบริการ จุดพักรถ หรือสถานีบริการน้ำมัน เพื่อพักผ่อนจนร่างกายมีความพร้อม ค่อยขับรถต่อไป นอกจากนี้ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการจอดรถบนไหล่ทาง เพื่อแวะพักซื้อของที่ระลึกหรือของฝากตามริมทาง นอกจากจะมีความผิดทางกฎหมายแล้วยังทำให้การจราจรติดขัด และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
วันนี้ (15 เม.ย.) เมื่อเวลา 10.43 น. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ในฐานะรองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) พร้อมนายอนุชา โมกขเวส เลขาฯศูนย์ แถลงถึงสถิติผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 711 ครั้ง น้อยกว่าปี 2550 จำนวน 78 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 49 ราย น้อยกว่าปี 2550 จำนวน 18 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บมี 801 ราย น้อยกว่า ปี 2550 จำนวน 85 ราย สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุดเกิดจากเมาสุรา ร้อยละ 44.73 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.22 อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นบนถนนใน อบต./หมู่บ้าน รองลงมา ได้แก่ ถนนกรมทางหลวงจุดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ทางตรง สำหรับช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงพลบค่ำ เวลา 16.01-20.00 น. ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บมีอายุระหว่าง 15-19 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.95
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เพชรบูรณ์ 53 ครั้ง จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุมี 1 จังหวัด คือ ยโสธร จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ เพชรบูรณ์ ระยอง สุพรรณบุรี จังหวัดละ 8 ราย รองลงมา ได้แก่ ขอนแก่น น่าน จังหวัดละ 3 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 42 จังหวัด
นายไชยา กล่าวอีกว่า จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บมากที่สุด ได้แก่ เพชรบูรณ์ 58 ราย รองลงมา ได้แก่ สุพรรณบุรี 32 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ มี 1 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร ทั้งนี้ ทั่วประเทศมีการจัดตั้งจุดตรวจ รวม 3,037 จุด มีผู้ปฏิบัติงาน รวม 89,944 คน และได้เรียกตรวจยานพาหนะ 770,548 คัน พบผู้กระทำผิด รวม 51,436 คน ส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีเนื่องจาก ไม่สวมหมวกนิรภัยมากที่สุด 18,123 คน รองลงมา ได้แก่ ไม่มีใบขับขี่ 17,858
นายไชยา กล่าวด้วยว่า สำหรับตัวเลขอุบัติเหตุทางถนนสะสม 4 วัน นับจากวันที่ 11 - 14 เม.ย. มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รวม 2,949 มีผู้เสียชีวิต รวม 229 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 3,315 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 131 ครั้ง รองลงมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ 129 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ เพชรบูรณ์ 11 ราย รองลงมา ได้แก่ พิษณุโลก 10 ราย จังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต รวม 12 จังหวัด จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 136 ราย รองลงมา ได้แก่ เพชรบูรณ์ 134 ราย
“ในช่วงเย็นวันนี้คาดว่าถนนหลายสายที่มุ่งเข้าสู่กรุงเทพฯ จะเริ่มมีปริมาณรถหนาแน่น เนื่องจากประชาชนเริ่มทยอยเดินทางกลับบ้างแล้ว ทำให้ต้องใช้เวลาในการเดินทางนานกว่าปกติ ประกอบกับการเดินทางติดต่อกันหลายวัน อาจทำให้ผู้ขับรถมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ศปถ. จึงได้ประสานให้จุดตรวจตามจังหวัดที่มีเส้นทางสายหลักเข้าสู่กรุงเทพฯเข้มงวดกวดขันการตรวจจับ เพื่อชะลอความเร็ว และตรวจสอบสภาพความพร้อมของผู้ขับรถ โดยเฉพาะการง่วงและเมาแล้วขับ รวมทั้งขอให้ตำรวจทางหลวง ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดช่องทางเดินรถพิเศษ เพื่อรองรับปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนเข้มงวดตรวจจับผู้ขับขี่ยานพาหนะที่กระทำผิดกฎหมาย ทั้งรถกระบะที่บรรทุกผู้โดยสารจำนวนมากรถโดยสารไม่ประจำทาง ซึ่งผู้ขับขี่ไม่มีความชำนาญเส้นทาง และต้องขับรถในระยะไกลเป็นเวลานาน อาจทำให้มีอาการง่วงนอน และอ่อนเพลีย ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้” นายไชยากล่าว
รมว.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า หากผู้ประสบเหตุอุบัติเหตุทางถนน ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อหน่วยกู้ชีพฉุกเฉิน ได้ทางสายด่วน 1669 ซึ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมหน่วยปฏิบัติการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 5,791 หน่วย ทำให้สามารถให้การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ภายในระยะเวลา 10-15 นาที
ด้าน นายอนุชา กล่าวว่า จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วง 4 วันที่ผ่านมา จำนวนผู้บาดเจ็บ เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุหลักมาจากการเมาแล้วขับการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัยบนถนนสายรองในตำบล หมู่บ้าน จึงได้ประสานจังหวัดให้กำชับด่านตรวจเฝ้าระวังผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยเป็นพิเศษ สำหรับประชาชนก่อนเดินทางกลับ ขอให้นำรถไปตรวจสอบสภาพยาง เบรก และเครื่องยนต์ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานจากจุดบริการของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งตั้งอยู่ตามเส้นทางสายหลักทั่วประเทศ
นายอนุชา กล่าวอีกว่า การขับรถทางไกลเป็นระยะเวลานานและการเดินทางติดต่อกันหลายวัน อาจทำให้ผู้ขับขี่มีอาการง่วงและอ่อนเพลียในขณะขับรถ ขอให้จอดแวะพักตามจุดบริการ จุดพักรถ หรือสถานีบริการน้ำมัน เพื่อพักผ่อนจนร่างกายมีความพร้อม ค่อยขับรถต่อไป นอกจากนี้ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการจอดรถบนไหล่ทาง เพื่อแวะพักซื้อของที่ระลึกหรือของฝากตามริมทาง นอกจากจะมีความผิดทางกฎหมายแล้วยังทำให้การจราจรติดขัด และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้