ศาลรับฟ้องคดีแชร์ข้าวสารที่ จ.เชียงใหม่ 2 ราย ที่ใช้เงินปันผลล่อใจ หลอกเหยื่อเกือบ 800 ราย หลงเชื่อสูญเงินกว่า 100 ล้าน ขณะที่จำเลยปากแข็งปฏิเสธทุกข้อหา ศาลนัดแถลงเปิดคดี 2 มิ.ย. เก้าโมงตรง
วันนี้ (28 มี.ค.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ นำตัว นายนิตย์ ชวาลาอกนิษฐ์ ประธานที่ปรึกษาบริษัท ร่วมทุนค้าปลีก จำกัด และนางสมพิศ ณ ลำปาง กรรมการบริษัทฯ ไปยื่นฟ้อง เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐาน ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 ก.ค. - 1 พ.ย. 50 จำเลยทั้งสองร่วมกับพวกที่ยังหลบหนีร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายโดยหลอกลวงประชาชนโฆษณาผ่านทางอินเทอร์เน็ตว่า บริษัท ร่วมทุนฯ ประกอบธุรกิจรับบุคคลเป็นสมาชิก เพื่อร่วมลงทุนซื้อข้าวสาร และสินค้าอื่นๆ จนประชาชนหลายพันคนหลงเชื่อเข้าร่วมการฟังบรรยายตามสถานที่ต่างๆ ในหลายจังหวัด ซึ่งมีเงื่อนไขว่าให้สมาชิกนำเงินมาซื้อข้าวสาร และสินค้าอื่นๆ ลักษณะการซื้อหุ้น และจะได้รับเงินปันผลกลับคืนเช่น ลงทุนซื้อข้าวสาร 1 หุ้น ราคา 1,450 บาท ต่อข้าวสาร 1 กระสอบ น้ำหนัก 50 กก. หากไม่รับข้าวสารกลับไป โดยฝากไว้กับบริษัทฯ ก็จะได้รับเงินคืน 800 บาท และภายในเวลา 30 วัน จะได้รับเงินปันผลงวดแรกจำนวน 1,000 บาท หลังจากนั้นอีก 50 วัน จะได้รับเงินปันผลงวดที่ 2 จำนวน 1,000 บาท และหากชักชวนบุคคลอื่นมาร่วมเป็นสมาชิกได้ จะได้รับค่าแนะนำสมาชิกที่แบ่งเป็น 4 ชั้น จำนวนหุ้นละ 100 บาท 20 บาท 15 บาท และ 10 บาทตามลำดับ โดยการเข้าเป็นสมาชิกดังกล่าว ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืน คำนวณเป็นอัตราเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 117 ต่อเดือน หรือประมาณร้อยละ 1,404 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายจะพึงจ่ายได้
การโฆษณาหลอกลวงประชาชนของจำเลยทั้งสองล้วนเป็นความเท็จ เพราะความจริงแล้วจำเลยไม่ได้ประกอบกิจการอย่างใด ให้ได้รับผลตอบแทนคืนแก่สมาชิกในอัตราเช่นนั้น แต่นำเงินจากประชาชนรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียน จำเลยจึงมีเจตนาหลอกลวงให้ประชาชนมาเป็นสมาชิก ด้วยการเสนอจ่ายค่าตอบแทนการลงทุนจำนวนมากเป็นเครื่องล่อใจ โดยนำเงินที่ได้จากผู้ร่วมลงทุนมาหมุนเวียนจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่สมาชิก มีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ เมื่อไม่มีสมาชิกใหม่ ทางบริษัทฯ จึงไม่สามารถหาเงินมาให้ผู้ร่วมลงทุนได้
การกระทำของจำเลยทั้งสอง เป็นการรับเงินในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม การรับเข้าเป็นสมาชิก โดยมีผู้เสียหายจำนวน 786 คน ซึ่งเกินกว่าจำนวน 10 คน และมีจำนวนเงินกู้ยืมรวมกันกว่า 100 ล้านบาท เหตุเกิดที่ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และที่ จ.สงขลา จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และที่อื่นเกี่ยวพันกัน จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาเป็นคดีดำหมายเลขที่ อ.1157/2551 และสอบคำให้การ ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ สู้คดี ศาลจึงนัดแถลงเปิดคดีวันที่ 2 มิ.ย.เวลา 09.00 น.
วันนี้ (28 มี.ค.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ นำตัว นายนิตย์ ชวาลาอกนิษฐ์ ประธานที่ปรึกษาบริษัท ร่วมทุนค้าปลีก จำกัด และนางสมพิศ ณ ลำปาง กรรมการบริษัทฯ ไปยื่นฟ้อง เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐาน ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 ก.ค. - 1 พ.ย. 50 จำเลยทั้งสองร่วมกับพวกที่ยังหลบหนีร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายโดยหลอกลวงประชาชนโฆษณาผ่านทางอินเทอร์เน็ตว่า บริษัท ร่วมทุนฯ ประกอบธุรกิจรับบุคคลเป็นสมาชิก เพื่อร่วมลงทุนซื้อข้าวสาร และสินค้าอื่นๆ จนประชาชนหลายพันคนหลงเชื่อเข้าร่วมการฟังบรรยายตามสถานที่ต่างๆ ในหลายจังหวัด ซึ่งมีเงื่อนไขว่าให้สมาชิกนำเงินมาซื้อข้าวสาร และสินค้าอื่นๆ ลักษณะการซื้อหุ้น และจะได้รับเงินปันผลกลับคืนเช่น ลงทุนซื้อข้าวสาร 1 หุ้น ราคา 1,450 บาท ต่อข้าวสาร 1 กระสอบ น้ำหนัก 50 กก. หากไม่รับข้าวสารกลับไป โดยฝากไว้กับบริษัทฯ ก็จะได้รับเงินคืน 800 บาท และภายในเวลา 30 วัน จะได้รับเงินปันผลงวดแรกจำนวน 1,000 บาท หลังจากนั้นอีก 50 วัน จะได้รับเงินปันผลงวดที่ 2 จำนวน 1,000 บาท และหากชักชวนบุคคลอื่นมาร่วมเป็นสมาชิกได้ จะได้รับค่าแนะนำสมาชิกที่แบ่งเป็น 4 ชั้น จำนวนหุ้นละ 100 บาท 20 บาท 15 บาท และ 10 บาทตามลำดับ โดยการเข้าเป็นสมาชิกดังกล่าว ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืน คำนวณเป็นอัตราเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 117 ต่อเดือน หรือประมาณร้อยละ 1,404 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายจะพึงจ่ายได้
การโฆษณาหลอกลวงประชาชนของจำเลยทั้งสองล้วนเป็นความเท็จ เพราะความจริงแล้วจำเลยไม่ได้ประกอบกิจการอย่างใด ให้ได้รับผลตอบแทนคืนแก่สมาชิกในอัตราเช่นนั้น แต่นำเงินจากประชาชนรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียน จำเลยจึงมีเจตนาหลอกลวงให้ประชาชนมาเป็นสมาชิก ด้วยการเสนอจ่ายค่าตอบแทนการลงทุนจำนวนมากเป็นเครื่องล่อใจ โดยนำเงินที่ได้จากผู้ร่วมลงทุนมาหมุนเวียนจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่สมาชิก มีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ เมื่อไม่มีสมาชิกใหม่ ทางบริษัทฯ จึงไม่สามารถหาเงินมาให้ผู้ร่วมลงทุนได้
การกระทำของจำเลยทั้งสอง เป็นการรับเงินในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม การรับเข้าเป็นสมาชิก โดยมีผู้เสียหายจำนวน 786 คน ซึ่งเกินกว่าจำนวน 10 คน และมีจำนวนเงินกู้ยืมรวมกันกว่า 100 ล้านบาท เหตุเกิดที่ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และที่ จ.สงขลา จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และที่อื่นเกี่ยวพันกัน จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาเป็นคดีดำหมายเลขที่ อ.1157/2551 และสอบคำให้การ ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ สู้คดี ศาลจึงนัดแถลงเปิดคดีวันที่ 2 มิ.ย.เวลา 09.00 น.