ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ยกฟ้อง “ปัญญา ตันติยวรงค์” อดีต ประธาน คตง.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ สอดไส้ชื่อคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เสนอวุฒิสภา เลือกผู้ว่าฯ สตง. ศาลชี้แม้การเสนอชื่อมากกว่า 1 คนขัดหลักกฎหมาย แต่ฟังไม่ได้ว่ามีเจตนาพิเศษช่วยเหลือคุณหญิง จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
วันนี้ (18 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 913 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 และนายประธาน ดาบเพชร อดีตผู้ได้รับการเสนอชื่อต่อวุฒิสภาเพื่อรับคัดเลือกเป็นผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายปัญญา ตันติยวรงค์ อดีตประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรแก่ตนเองหรือผู้อื่นได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีเมื่อวันที่ 3 ก.ค.44 จำเลยเสนอรายชื่อ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา และนายนนทพล นิ่มสมบูรณ์ ร่วมกับชื่อของนายประธาน ดาบเพชร เสนอประธานวุฒิพิจารณาเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง. ทั้งที่ในการประชุมของ คตง.ได้ลงมติด้วยวิธีคะแนนลับเลือกนายประธาน ดาบเพชร ด้วยคะแนนสูงสุด 5 คะแนนที่เกินเสียงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการเพียงคนเดียว โดยที่คุณหญิงจารุวรรณ ได้รับคะแนนเพียง 3 คะแนน ขณะที่นายนนทพลไม่ได้รับคะแนน
คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พ.ค.49 ให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา เนื่องจากเห็นว่าการที่จำเลยเสนอรายชื่อบุคคลทั้งสามต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง.ทั้งที่กฎหมายกำหนดจะต้องส่งเพียงชื่อของบุคคลที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งจากที่ประชุม คตง.ด้วยวิธีการลงคะแนนลับ ซึ่งคือนายประธานคนเดียวเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามมาตรา 157
ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ประชุมตรวจสำนวน พยานหลักฐานที่โจทก์-จำเลยนำสืบแล้ว เห็นว่า ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา 15,30 และ ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ว่าด้วยหลักการและวิธีการสรรหาผู้สมควรได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง.พ.ศ.2543 ข้อ 6 (5), 7 ให้ คตง.คัดเลือกบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม ด้วยวิธีลงคะแนนลับ โดยให้ คตง.เสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่ร่วมประชุมทั้งหมดโดยผู้นั้นยินยอม เสนอให้ประธานวุฒิสภาพิจารณาทำความเห็นชอบ โดยหลังจาก คตง.ประชุมลงคะแนนลับเมื่อวันที่ 3 ก.ค.44 ซึ่งผลปรากฏว่า นายประธาน โจทก์ร่วมได้รับ 5 คะแนน คุณหญิงจารุวรรณ 3 คะแนน และนายนนทพล ไม่ได้รับคะแนน ต่อมาวันที่ 10 ก.ค.44 จำเลย มีหนังสือส่งถึง พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา (ขณะนั้น) เสนอรายชื่อพร้อมผลการลงคะแนนทั้งสามให้วุฒิสภาทราบ และเมื่อวันที่ 16 พ.ย.44 วุฒิสภาประชุม ได้มีมติเลือกคุณหญิงจารุวรรณ ด้วยคะแนนสูงสุด 136 คะแนน รองลงมาคือโจทก์ร่วม และนายนนทพล
คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามฟ้องหรือไม่ ศาลเห็นว่าตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน และ ระเบียบ คตง. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา ฯ ให้ คตง. คัดเลือกบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม ด้วยวิธีลงคะแนนลับ โดยให้ คตง.เสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่ร่วมประชุมทั้งหมด แต่จำเลยได้เสนอรายชื่อทั้งสามคนให้วุฒิสภา การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของจำเลย จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่การวินิจฉัยว่าการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย ทำให้ คตง. และ โจทก์ร่วม ได้รับความเสียหายหรือไม่ ต้องฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนา หรือเจตนาพิเศษชักจูงใจทำให้ คตง.และโจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งตามคำเบิกความเลขาธิการ คตง. พยานจำเลยระบุว่า หลังจากที่จำเลยมีหนังสือส่งถึงประธานวุฒิสภาแล้ว เมื่อวันที่ 13 ก.ค.44 ให้พยานไปสอบถามเลขาธิการวุฒิสภาว่าจะรับหนังสือที่จำเลยส่งมาหรือไม่ หรือจะส่งคืนให้จำเลยออกหนังสือใหม่ โดยหลังจากตรวจสอบเลขาธิการวุฒิสภาจะให้เลขาธิการ คตง.ส่งหนังสือคืนให้จำเลย แต่ก่อนจะนำหนังสือกลับคืนก็ได้เจอกับเลขานุการประธานวุฒิสภาซึ่งแจ้งว่า หากนำหนังสือกลับคืนก็จะไม่ถูกต้อง เพราะต้องให้ประธานวุฒิสภาพิจารณากลั่นกรองเอง ดังนั้นวุฒิสภาจึงรับหนังสือไว้ ซึ่งต่อมาวุฒิสภา ลงมติด้วยคะแนนเสียงสูงสุด 91 ต่อ 70 ว่า หนังสือที่จำเลย เสนอรายชื่อทั้ง 3 คนพร้อมผลคะแนนเสนอวุฒิสภานั้นถูกต้องแล้ว โดยคำเบิกความของพยานนั้นสอดคล้องกับคำให้การที่พยานและจำเลย เคยให้การในชั้นอนุกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวนที่โจทก์ร่วมยื่นร้องเรียนจำเลยปฏิบัติหน้าที่มิชอบ จึงเห็นว่า หากจำเลยมีเจตนา หรือเจตนาพิเศษเพื่อจูงใจให้เกิดความเสียหายกับ คตง. และโจทก์ร่วมแล้ว คงไม่ต้องสั่งการให้ เลขาธิการ คตง.ไปสอบถามเกี่ยวกับหนังสือ
ส่วนที่จำเลยเสนอรายชื่อ 3 คนให้ประธานวุฒิสภานั้น เป็นเพราะจำเลยเข้าใจว่าเมื่อต้องมีเสนอรายชื่อให้วุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบที่จะเลือกบุคคลเป็นผู้ว่าฯ สตง.แล้วก็น่าจะถูกต้องที่สมควรจะเสนอรายชื่อทั้ง 3 คน ที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย พร้อมผลคะแนน โดยไม่มีข้อความระบุชัดเจนว่าวุฒิสภาต้องเลือกใคร เสนอต่อวุฒิสภา และที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิด คตง.และโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่าการกระทำของจำเลย ยังไม่เป็นการทำให้โจทก์ร่วมและ คตง.ต้องเสียหาย เพราะเมื่อมีการส่งรายชื่อแล้วยังไม่มีใครคาดหมายได้ว่าวุฒิสภาจะส่งหนังสือคืนจำเลยให้ทำใหม่ หรือจะเลือกบุคคลใดเป็นผู้ว่าฯ สตง. ซึ่งกฎหมายให้วุฒิสภาเป็นผู้ทำความเห็นชอบพิจารณาเลือกบุคคลที่ไมมีคุณสมบัติต้องห้าม โดยวุฒิสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติจึงมีอำนาจเหนือกว่าจำเลยหลายเท่า ดังนั้นหากจะเกิดความเสียหายก็ต้องเกิดในชั้นวุฒิสภา และหากวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้อง การเลือกบุคคลเป็นผู้ว่า สตง.ก็จะไม่มีปัญหา
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยด้วยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยเป็นไปโดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรเพื่อตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ ซึ่งโจทก์นำสืบตามฟ้องว่า จำเลยมีเจตนาการเสนอชื่อบุคคลอื่นนอกเหนือจากโจทก์ร่วม เพื่อช่วยเหลือให้คุณหญิงจารุวรรณ ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง. ศาลเห็นว่า เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนา หรือเจตนาพิเศษเพื่อจูงใจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบให้เกิดความเสียหายแก่ คตง.และโจทก์ร่วมแล้ว กรณีจึงยังมีความเหตุแห่งความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทำผิดหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227
ดังนั้น อุทธรณ์จำเลยจึงฟังขึ้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าจำเลยทำผิดนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษากลับให้ยกฟ้องจำเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โดยนายปัญญาซึ่งสวมชุดสูทสีน้ำเงินเข้ม สวมแว่นสายตาสีชา ระหว่างยืนฟังคำพิพากษานานชั่วโมงเศษได้เก็บอาการไม่แสดงออกทางสีหน้าใดทิ้งสิ้น แต่เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแล้ว นายปัญญาเดินออกมาจากห้องพิจารณาคดีได้โทรศัพท์พูดคุยแสดงความยินดีกับบุคคลอื่น ขณะที่ผู้ติดตามจำนวนหนึ่งได้เดินเข้ามาแสดงความยินดีด้วย ทั้งนี้ นายปัญญาไม่ยอมให้สัมภาษณ์ใดๆ กับผู้สื่อข่าวเช่นเดียวกับนายประธาน ดาบเพชร โจทก์ร่วม ที่วันนี้เดินทางมาฟังคำพิพากษาด้วย
วันนี้ (18 มี.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 913 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 และนายประธาน ดาบเพชร อดีตผู้ได้รับการเสนอชื่อต่อวุฒิสภาเพื่อรับคัดเลือกเป็นผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายปัญญา ตันติยวรงค์ อดีตประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรแก่ตนเองหรือผู้อื่นได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีเมื่อวันที่ 3 ก.ค.44 จำเลยเสนอรายชื่อ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา และนายนนทพล นิ่มสมบูรณ์ ร่วมกับชื่อของนายประธาน ดาบเพชร เสนอประธานวุฒิพิจารณาเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง. ทั้งที่ในการประชุมของ คตง.ได้ลงมติด้วยวิธีคะแนนลับเลือกนายประธาน ดาบเพชร ด้วยคะแนนสูงสุด 5 คะแนนที่เกินเสียงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการเพียงคนเดียว โดยที่คุณหญิงจารุวรรณ ได้รับคะแนนเพียง 3 คะแนน ขณะที่นายนนทพลไม่ได้รับคะแนน
คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พ.ค.49 ให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา เนื่องจากเห็นว่าการที่จำเลยเสนอรายชื่อบุคคลทั้งสามต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง.ทั้งที่กฎหมายกำหนดจะต้องส่งเพียงชื่อของบุคคลที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งจากที่ประชุม คตง.ด้วยวิธีการลงคะแนนลับ ซึ่งคือนายประธานคนเดียวเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามมาตรา 157
ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ประชุมตรวจสำนวน พยานหลักฐานที่โจทก์-จำเลยนำสืบแล้ว เห็นว่า ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา 15,30 และ ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ว่าด้วยหลักการและวิธีการสรรหาผู้สมควรได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง.พ.ศ.2543 ข้อ 6 (5), 7 ให้ คตง.คัดเลือกบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม ด้วยวิธีลงคะแนนลับ โดยให้ คตง.เสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่ร่วมประชุมทั้งหมดโดยผู้นั้นยินยอม เสนอให้ประธานวุฒิสภาพิจารณาทำความเห็นชอบ โดยหลังจาก คตง.ประชุมลงคะแนนลับเมื่อวันที่ 3 ก.ค.44 ซึ่งผลปรากฏว่า นายประธาน โจทก์ร่วมได้รับ 5 คะแนน คุณหญิงจารุวรรณ 3 คะแนน และนายนนทพล ไม่ได้รับคะแนน ต่อมาวันที่ 10 ก.ค.44 จำเลย มีหนังสือส่งถึง พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา (ขณะนั้น) เสนอรายชื่อพร้อมผลการลงคะแนนทั้งสามให้วุฒิสภาทราบ และเมื่อวันที่ 16 พ.ย.44 วุฒิสภาประชุม ได้มีมติเลือกคุณหญิงจารุวรรณ ด้วยคะแนนสูงสุด 136 คะแนน รองลงมาคือโจทก์ร่วม และนายนนทพล
คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามฟ้องหรือไม่ ศาลเห็นว่าตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน และ ระเบียบ คตง. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา ฯ ให้ คตง. คัดเลือกบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม ด้วยวิธีลงคะแนนลับ โดยให้ คตง.เสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่ร่วมประชุมทั้งหมด แต่จำเลยได้เสนอรายชื่อทั้งสามคนให้วุฒิสภา การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของจำเลย จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่การวินิจฉัยว่าการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย ทำให้ คตง. และ โจทก์ร่วม ได้รับความเสียหายหรือไม่ ต้องฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนา หรือเจตนาพิเศษชักจูงใจทำให้ คตง.และโจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งตามคำเบิกความเลขาธิการ คตง. พยานจำเลยระบุว่า หลังจากที่จำเลยมีหนังสือส่งถึงประธานวุฒิสภาแล้ว เมื่อวันที่ 13 ก.ค.44 ให้พยานไปสอบถามเลขาธิการวุฒิสภาว่าจะรับหนังสือที่จำเลยส่งมาหรือไม่ หรือจะส่งคืนให้จำเลยออกหนังสือใหม่ โดยหลังจากตรวจสอบเลขาธิการวุฒิสภาจะให้เลขาธิการ คตง.ส่งหนังสือคืนให้จำเลย แต่ก่อนจะนำหนังสือกลับคืนก็ได้เจอกับเลขานุการประธานวุฒิสภาซึ่งแจ้งว่า หากนำหนังสือกลับคืนก็จะไม่ถูกต้อง เพราะต้องให้ประธานวุฒิสภาพิจารณากลั่นกรองเอง ดังนั้นวุฒิสภาจึงรับหนังสือไว้ ซึ่งต่อมาวุฒิสภา ลงมติด้วยคะแนนเสียงสูงสุด 91 ต่อ 70 ว่า หนังสือที่จำเลย เสนอรายชื่อทั้ง 3 คนพร้อมผลคะแนนเสนอวุฒิสภานั้นถูกต้องแล้ว โดยคำเบิกความของพยานนั้นสอดคล้องกับคำให้การที่พยานและจำเลย เคยให้การในชั้นอนุกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวนที่โจทก์ร่วมยื่นร้องเรียนจำเลยปฏิบัติหน้าที่มิชอบ จึงเห็นว่า หากจำเลยมีเจตนา หรือเจตนาพิเศษเพื่อจูงใจให้เกิดความเสียหายกับ คตง. และโจทก์ร่วมแล้ว คงไม่ต้องสั่งการให้ เลขาธิการ คตง.ไปสอบถามเกี่ยวกับหนังสือ
ส่วนที่จำเลยเสนอรายชื่อ 3 คนให้ประธานวุฒิสภานั้น เป็นเพราะจำเลยเข้าใจว่าเมื่อต้องมีเสนอรายชื่อให้วุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบที่จะเลือกบุคคลเป็นผู้ว่าฯ สตง.แล้วก็น่าจะถูกต้องที่สมควรจะเสนอรายชื่อทั้ง 3 คน ที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย พร้อมผลคะแนน โดยไม่มีข้อความระบุชัดเจนว่าวุฒิสภาต้องเลือกใคร เสนอต่อวุฒิสภา และที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิด คตง.และโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่าการกระทำของจำเลย ยังไม่เป็นการทำให้โจทก์ร่วมและ คตง.ต้องเสียหาย เพราะเมื่อมีการส่งรายชื่อแล้วยังไม่มีใครคาดหมายได้ว่าวุฒิสภาจะส่งหนังสือคืนจำเลยให้ทำใหม่ หรือจะเลือกบุคคลใดเป็นผู้ว่าฯ สตง. ซึ่งกฎหมายให้วุฒิสภาเป็นผู้ทำความเห็นชอบพิจารณาเลือกบุคคลที่ไมมีคุณสมบัติต้องห้าม โดยวุฒิสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติจึงมีอำนาจเหนือกว่าจำเลยหลายเท่า ดังนั้นหากจะเกิดความเสียหายก็ต้องเกิดในชั้นวุฒิสภา และหากวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้อง การเลือกบุคคลเป็นผู้ว่า สตง.ก็จะไม่มีปัญหา
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยด้วยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยเป็นไปโดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรเพื่อตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ ซึ่งโจทก์นำสืบตามฟ้องว่า จำเลยมีเจตนาการเสนอชื่อบุคคลอื่นนอกเหนือจากโจทก์ร่วม เพื่อช่วยเหลือให้คุณหญิงจารุวรรณ ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง. ศาลเห็นว่า เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนา หรือเจตนาพิเศษเพื่อจูงใจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบให้เกิดความเสียหายแก่ คตง.และโจทก์ร่วมแล้ว กรณีจึงยังมีความเหตุแห่งความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทำผิดหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227
ดังนั้น อุทธรณ์จำเลยจึงฟังขึ้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าจำเลยทำผิดนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษากลับให้ยกฟ้องจำเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โดยนายปัญญาซึ่งสวมชุดสูทสีน้ำเงินเข้ม สวมแว่นสายตาสีชา ระหว่างยืนฟังคำพิพากษานานชั่วโมงเศษได้เก็บอาการไม่แสดงออกทางสีหน้าใดทิ้งสิ้น แต่เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแล้ว นายปัญญาเดินออกมาจากห้องพิจารณาคดีได้โทรศัพท์พูดคุยแสดงความยินดีกับบุคคลอื่น ขณะที่ผู้ติดตามจำนวนหนึ่งได้เดินเข้ามาแสดงความยินดีด้วย ทั้งนี้ นายปัญญาไม่ยอมให้สัมภาษณ์ใดๆ กับผู้สื่อข่าวเช่นเดียวกับนายประธาน ดาบเพชร โจทก์ร่วม ที่วันนี้เดินทางมาฟังคำพิพากษาด้วย