วงการสีกากีเข้าสู้ยุคมืดอีกครั้ง เมื่อนายตำรวจนิติเวช แจ้งจับลูกน้องรวม 24 คน อมเงินค่าบำรุง ค่าฉีดยาศพจำนวน 1,690 ราย รวม 1,158,400 บาท เจ้าของคดีรายงานด่วนให้ ผบช.น.ทราบทันที
วันนี้ (13 ก.พ.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พ.ต.อ.ชุมพร กาญจนรัตน์ ผกก.สน.ปทุมวัน พ.ต.ท.อุดม เปี่ยมศักดิ์ รอง ผกก.สืบสวนสอบสวน และพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้ทำหนังสือรายงานความคืบหน้าการสอบสวนข้อเท็จจริง ส่งถึง พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น.
กรณี พ.ต.ต.เฉลิม สุวรรณวิสิทธิ์ อายุ 52 ปี ผู้รับมอบอำนาจจากผู้บังคับการสถาบันนิติเวชวิทยา (ผบก.นต.) โรงพยาบาลตำรวจ ตามหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ 5 ก.พ.2551 โดยก่อนหน้านี้ ร.ต.อ.ชำนาญ เชียงนางาม อายุ 36 ปี ผู้รับมอบอำนาจจาก ผบก.นต.ในฐานะผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ที่ 0037.3/808 วันที่ 11 ก.ค.2550 ที่ผ่านมา ให้ดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ประพัฒน์ ท้วมจำนอง พร้อมพวกรวม 24 คน ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจ สังกัดสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ โทษฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติประพฤติมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการในการรับเงินค่าบำรุงและค่าฉีดยาศพของสถาบันนิติเวชวิทยา โดยนำส่งเงินต่ำกว่าที่รับจริงจำนวน 1,690 ราย คิดเป็นเงินที่สูญหาย 1,158,400 บาท ทำให้สถาบันนิติเวชวิทยาได้รับความเสียหาย ซึ่งภายหลังสตง.ชี้มูลความผิดแล้ว ทางพ.ต.ต.เฉลิม จึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2551
สำหรับผู้ต้องหาทั้งหมดนี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้แจ้งความร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดตามกฎหมายจนถึงที่สุดจำนวน 24 คนประกอบด้วย 1.พ.ต.ท.ประพัฒน์ ท้วมทำนอง รอง ผกก.งานอำนวยการ วิทยาลัยพยาบาล รพ.ตำรวจ 2.พ.ต.ต.วิเชียร ตั้งธนานุวัฒน์ เภสัชกร (สบ.2) กลุ่มงานพิษวิทยา สถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ 3.พ.ต.ท.สรยุทธ ปุสสะ (สบ.3) ช่างภาพทางการแพทย์ สถาบันนิติเวช รพ.ตำรวจ 4.พ.ต.ต.วาที อัศวุตมางกูร นักวิทยาศาสตร์ (สบ.2) งานตรวจเลือดชีวเคมีและเขม่าดินปืน สถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ 5.ร.ต.อ.กฤษณะ ก้ามสันเทียะ 6.ร.ต.อ.นพรัตน์ จุติรัตน 7.ว่าที่ พ.ต.ต.สมเนตร์ ดัดใจเที่ยง 8.ร.ต.อ.เชาวลิตร พิทักษ์วงค์ 9.ร.ต.อ.บุญธรรม ทองสมนึก 10.ร.ต.อ.หญิงณสุรางค์ ศรีวิลัย
11.ร.ต.ท.สุทัศน์ ดีนวลพะเนาว์ 12.ด.ต.กรีฑา ปุยนุ่น 13.ด.ต.สมพร ทับสมบัตร 14.ด.ต.สัมฤทธิ์ สุวรรณรังสี 15.จ.ส.ต.สมพาน วงษ์รัตน์ 16.จ.ส.ต.บรรจง ทองให้ 17.จ.ส.ต.บุญสวน น้อยหลุบเลา 18.จ.ส.ต.สุวิท เวชยา 19.จ.ส.ต.มนตรี ปึงโฆษิต 20.จ.ส.ต.ละทิน นาสมทรง 21.ส.ต.อ.เฉลิม วิสุงเร 22.นายสุพจน์ เชื่อปานปุญญาภิรมณ์ 23.นางสุภัทรา พรหมพิชัย และ 24.นางเพญจวรรณ อยู่ยงค์
เหตุการณ์ดังกล่าวเปิดเผยขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจได้ตรวจสอบพบว่า ระหว่างเดือนตุลาคม 2547-เดือนมีนาคม 2549 ต่อเนื่องกัน พ.ต.ท.ประพัฒน์ พร้อมกับพวกร่วมกันประพฤติมิชอบประทุษร้ายต่อทรัพย์สินของทางราชการ มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ทำให้สถาบันนิติเวชได้รับความเสียหาย จึงแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ให้ดำเนินคดีต่อผู้ต้องหาทั้งหมดตามกฎหมายจนถึงที่สุด ขณะนี้พนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานเตรียมออกหมายเรียกผู้ต้องหาทั้งหมดมารับทราบข้อกล่าวหาในเร็ววันนี้
ด้าน พ.ต.อ.ชุมพร ผกก.สน.ปทุมวัน กล่าวว่า พนักงาสอบสวนจะสอบปากคำทาง เจ้าหน้าที่ สตง.ที่เกี่ยวข้องก่อน และนำหลักฐานทั้งหมดออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดมารับทราบข้อกล่าวหา ทั้งนี้ ตามระเบียบในส่วนของข้าราชการตำรวจต้องถูกส่งตัวไปให้คณะกรรมการป้องและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินคดีภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 12 ก.พ.2551 ส่วนพลเรือนที่เกี่ยวข้องก็ต้องถูกดำเนินคดีทางอาญา
วันนี้ (13 ก.พ.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พ.ต.อ.ชุมพร กาญจนรัตน์ ผกก.สน.ปทุมวัน พ.ต.ท.อุดม เปี่ยมศักดิ์ รอง ผกก.สืบสวนสอบสวน และพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้ทำหนังสือรายงานความคืบหน้าการสอบสวนข้อเท็จจริง ส่งถึง พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น.
กรณี พ.ต.ต.เฉลิม สุวรรณวิสิทธิ์ อายุ 52 ปี ผู้รับมอบอำนาจจากผู้บังคับการสถาบันนิติเวชวิทยา (ผบก.นต.) โรงพยาบาลตำรวจ ตามหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ 5 ก.พ.2551 โดยก่อนหน้านี้ ร.ต.อ.ชำนาญ เชียงนางาม อายุ 36 ปี ผู้รับมอบอำนาจจาก ผบก.นต.ในฐานะผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ที่ 0037.3/808 วันที่ 11 ก.ค.2550 ที่ผ่านมา ให้ดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ประพัฒน์ ท้วมจำนอง พร้อมพวกรวม 24 คน ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจ สังกัดสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ โทษฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติประพฤติมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการในการรับเงินค่าบำรุงและค่าฉีดยาศพของสถาบันนิติเวชวิทยา โดยนำส่งเงินต่ำกว่าที่รับจริงจำนวน 1,690 ราย คิดเป็นเงินที่สูญหาย 1,158,400 บาท ทำให้สถาบันนิติเวชวิทยาได้รับความเสียหาย ซึ่งภายหลังสตง.ชี้มูลความผิดแล้ว ทางพ.ต.ต.เฉลิม จึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2551
สำหรับผู้ต้องหาทั้งหมดนี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้แจ้งความร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดตามกฎหมายจนถึงที่สุดจำนวน 24 คนประกอบด้วย 1.พ.ต.ท.ประพัฒน์ ท้วมทำนอง รอง ผกก.งานอำนวยการ วิทยาลัยพยาบาล รพ.ตำรวจ 2.พ.ต.ต.วิเชียร ตั้งธนานุวัฒน์ เภสัชกร (สบ.2) กลุ่มงานพิษวิทยา สถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ 3.พ.ต.ท.สรยุทธ ปุสสะ (สบ.3) ช่างภาพทางการแพทย์ สถาบันนิติเวช รพ.ตำรวจ 4.พ.ต.ต.วาที อัศวุตมางกูร นักวิทยาศาสตร์ (สบ.2) งานตรวจเลือดชีวเคมีและเขม่าดินปืน สถาบันนิติเวชวิทยา รพ.ตำรวจ 5.ร.ต.อ.กฤษณะ ก้ามสันเทียะ 6.ร.ต.อ.นพรัตน์ จุติรัตน 7.ว่าที่ พ.ต.ต.สมเนตร์ ดัดใจเที่ยง 8.ร.ต.อ.เชาวลิตร พิทักษ์วงค์ 9.ร.ต.อ.บุญธรรม ทองสมนึก 10.ร.ต.อ.หญิงณสุรางค์ ศรีวิลัย
11.ร.ต.ท.สุทัศน์ ดีนวลพะเนาว์ 12.ด.ต.กรีฑา ปุยนุ่น 13.ด.ต.สมพร ทับสมบัตร 14.ด.ต.สัมฤทธิ์ สุวรรณรังสี 15.จ.ส.ต.สมพาน วงษ์รัตน์ 16.จ.ส.ต.บรรจง ทองให้ 17.จ.ส.ต.บุญสวน น้อยหลุบเลา 18.จ.ส.ต.สุวิท เวชยา 19.จ.ส.ต.มนตรี ปึงโฆษิต 20.จ.ส.ต.ละทิน นาสมทรง 21.ส.ต.อ.เฉลิม วิสุงเร 22.นายสุพจน์ เชื่อปานปุญญาภิรมณ์ 23.นางสุภัทรา พรหมพิชัย และ 24.นางเพญจวรรณ อยู่ยงค์
เหตุการณ์ดังกล่าวเปิดเผยขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจได้ตรวจสอบพบว่า ระหว่างเดือนตุลาคม 2547-เดือนมีนาคม 2549 ต่อเนื่องกัน พ.ต.ท.ประพัฒน์ พร้อมกับพวกร่วมกันประพฤติมิชอบประทุษร้ายต่อทรัพย์สินของทางราชการ มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ทำให้สถาบันนิติเวชได้รับความเสียหาย จึงแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ให้ดำเนินคดีต่อผู้ต้องหาทั้งหมดตามกฎหมายจนถึงที่สุด ขณะนี้พนักงานสอบสวนอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานเตรียมออกหมายเรียกผู้ต้องหาทั้งหมดมารับทราบข้อกล่าวหาในเร็ววันนี้
ด้าน พ.ต.อ.ชุมพร ผกก.สน.ปทุมวัน กล่าวว่า พนักงาสอบสวนจะสอบปากคำทาง เจ้าหน้าที่ สตง.ที่เกี่ยวข้องก่อน และนำหลักฐานทั้งหมดออกหมายเรียกผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดมารับทราบข้อกล่าวหา ทั้งนี้ ตามระเบียบในส่วนของข้าราชการตำรวจต้องถูกส่งตัวไปให้คณะกรรมการป้องและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินคดีภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 12 ก.พ.2551 ส่วนพลเรือนที่เกี่ยวข้องก็ต้องถูกดำเนินคดีทางอาญา