ศุลกาการจับไม้พะยูงลักลอบสส่งออกนอก 6 ตู้คอนเทนเนอร์ และนมผงหมออายุจำนวนมาก มูลค่ารวมกว่า 8 ล้านบาท
วันนี้ (13 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์ขาออก ท่าเรือกรุงเทพ นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมศุลกากร แถลงการจับกุมไม้พะยูงลักลอบส่งออก และผลิตภัณฑ์นมหมดอายุ มูลค่ากว่า 8 ล้านบาท
นายวิสุทธิ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ส่วนสืบสวนปราบปราม สำนักสืบสวนปราบปราม กรมศุลกากร ได้ตรวจค้นตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 6 ตู้ ที่สำแดงสินค้าเป็นอะลูมิเนียมก้อน ปริมาณ 168 BE น้ำหนัก 95,760 กิโลกรัม โดยมีบริษัท ยูนิเจมส์ อิมแป็กซ์ จำกัด เป็นผู้ส่งออก และจะส่งออกในวันที่ 12 ก.พ.51 ปลายทางประเทศฮ่องกง แต่ผลปรากฏว่าภายในตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด กลับบรรจุไม้พะยูงอยู่ตู้ละประมาณ 200 ท่อน และจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บริษัทดังกล่าวถูกแอบอ้างชื่อในการส่งออก เจ้าหน้าที่จึงยึดไม้พะยูงทั้งหมดไว้เป็นของกลาง พร้อมดำเนินการตามกฎหมายฐานสำแดงชนิดสินค้าเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอาการ ข้อห้าม ข้อกำกัด ในการส่งสินค้าไปนอกราชอาณาจักร เป็นความตามมาตรา 27, 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ประกอบมาตรา 16, 17 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่9) พ.ศ.2482
นายวิสุทธิ์ กล่าวต่อว่า ตั้งแต่เดือน ก.พ.2548 จนถึงปัจจุบัน กรมศุลกากรสามารุจับกุมผู้ลักลอบส่งออกไม้พะยูงได้ทั้งสิ้น 212 ราย จำนวน 522 ตู้คอนเทนเนอร์ มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะยังมีกลุ่มผู้ลักลอบซุกซอ่นไม้พะยูงไว้ตามเขตชานเมือง เพื่อรอการส่งออกต่อไป ซึ่งเจ้าหน้าที่จะหามาตรการป้องกันและปราบปรามผู้ลักลอบส่งออกต่อไป
นายวิสุทธิ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์นม ENFALAC BASE จากประเทศฟิลิปปินส์ ปริมาณ 11,235 กิโลกรัม มูลค่า 2 ล้านกว่าบาท ที่นำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 ก.พ.โดยบริษัท BRISTOL-MYERS SUIBB THAI CO.LTD. ผลปรากฏว่าทุกหีบห่อระบุยี่ห้อ TATURA, PRODUCT OF AUSTRALIA และเป็นสินค้าที่ระบุวันหมดอายุในวันที่ 2 ก.พ.51 ซึ่งสารวัตรอาหารและยา ประจำท่าเรือกรุงเทพ ยังแจ้งว่าผลิตภัณฑ์นมดังกล่าวพ้นกำหนดหมดอายุแล้ว ไม่น่าปลอดภัยในการบริโภค และไม่ควรนำเข้ามาจำหน่ายหรือใช้เป็นวัตถุดิบแต่อย่างใด จึงกักสินค้าทั้งหมดไว้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
วันนี้ (13 ก.พ.) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์ขาออก ท่าเรือกรุงเทพ นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมศุลกากร แถลงการจับกุมไม้พะยูงลักลอบส่งออก และผลิตภัณฑ์นมหมดอายุ มูลค่ากว่า 8 ล้านบาท
นายวิสุทธิ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ส่วนสืบสวนปราบปราม สำนักสืบสวนปราบปราม กรมศุลกากร ได้ตรวจค้นตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 6 ตู้ ที่สำแดงสินค้าเป็นอะลูมิเนียมก้อน ปริมาณ 168 BE น้ำหนัก 95,760 กิโลกรัม โดยมีบริษัท ยูนิเจมส์ อิมแป็กซ์ จำกัด เป็นผู้ส่งออก และจะส่งออกในวันที่ 12 ก.พ.51 ปลายทางประเทศฮ่องกง แต่ผลปรากฏว่าภายในตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด กลับบรรจุไม้พะยูงอยู่ตู้ละประมาณ 200 ท่อน และจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บริษัทดังกล่าวถูกแอบอ้างชื่อในการส่งออก เจ้าหน้าที่จึงยึดไม้พะยูงทั้งหมดไว้เป็นของกลาง พร้อมดำเนินการตามกฎหมายฐานสำแดงชนิดสินค้าเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอาการ ข้อห้าม ข้อกำกัด ในการส่งสินค้าไปนอกราชอาณาจักร เป็นความตามมาตรา 27, 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ประกอบมาตรา 16, 17 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่9) พ.ศ.2482
นายวิสุทธิ์ กล่าวต่อว่า ตั้งแต่เดือน ก.พ.2548 จนถึงปัจจุบัน กรมศุลกากรสามารุจับกุมผู้ลักลอบส่งออกไม้พะยูงได้ทั้งสิ้น 212 ราย จำนวน 522 ตู้คอนเทนเนอร์ มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะยังมีกลุ่มผู้ลักลอบซุกซอ่นไม้พะยูงไว้ตามเขตชานเมือง เพื่อรอการส่งออกต่อไป ซึ่งเจ้าหน้าที่จะหามาตรการป้องกันและปราบปรามผู้ลักลอบส่งออกต่อไป
นายวิสุทธิ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์นม ENFALAC BASE จากประเทศฟิลิปปินส์ ปริมาณ 11,235 กิโลกรัม มูลค่า 2 ล้านกว่าบาท ที่นำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 ก.พ.โดยบริษัท BRISTOL-MYERS SUIBB THAI CO.LTD. ผลปรากฏว่าทุกหีบห่อระบุยี่ห้อ TATURA, PRODUCT OF AUSTRALIA และเป็นสินค้าที่ระบุวันหมดอายุในวันที่ 2 ก.พ.51 ซึ่งสารวัตรอาหารและยา ประจำท่าเรือกรุงเทพ ยังแจ้งว่าผลิตภัณฑ์นมดังกล่าวพ้นกำหนดหมดอายุแล้ว ไม่น่าปลอดภัยในการบริโภค และไม่ควรนำเข้ามาจำหน่ายหรือใช้เป็นวัตถุดิบแต่อย่างใด จึงกักสินค้าทั้งหมดไว้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป