จารบุรุษ
คำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายผกก. 96 ตำแหน่ง ที่เพิ่งคลอดออกมา ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 ก.พ.นี้ เป็นที่น่าจับตายิ่งนัก แม้นายตำรวจที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าว ดูบางรายชื่อจะไม่ค่อยคุ้นหูมากนัก แต่ทว่า ล้วนเป็นตำแหน่งสำคัญ เป็นตำแหน่งหลัก กอปรกับมีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ และพื้นที่รับผิดชอบชัดเจน ตามการปรับโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พูดกันให้เข้าใจง่ายและชัดเจน คือ มีเก้าอี้ผู้กำกับ(ผกก.)เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสของบรรดา"ทั่นรอง"ทั้งหลายมีความหวังเจิดจรัสมากขึ้น
จะขอเริ่มโฟกัสกันที่ กองบังคับการตำรวจปราบปราม (บก.ป.)กันก่อน เดิมที บก.ป. มีทั้งหมด 8 กองกำกับ แบ่งเป็น กก.1 ป. ดูแลพื้นที่กทม., กก.2 ป. ดูแลพื้นที่บช.ภ.1-2, กก.3 ป. ดูแลพื้นที่ บช.ภ.3-4, กก.4 ป. ดูแลพื้นที่ 5-6, กก.5 ป.ดูแลพื้นที่ บช.ภ.7-8, กก.6 ป. ดูแลพื้นที่ บช.ภ.9, กก.ปพ. ดูแลหน่วยปฏิบัติการพิเศษ คอมมานโด และรถวิทยุสายตรวจ และกก.อก. เป็นกองกำกับการอำนวยการ รวม 8 กองกำกับ
ตามโครงสร้างใหม่ที่มีการแต่งตั้งโยกย้าย บก.ป. ถูกแบ่งออกเป็น 12 กองกำกับ ใช้ชื่อเรียกใหม่ว่า "ฝ่ายปฏิบัติการ" โดยผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 1 บก.ป. ดูแลพื้นที่บช.ภ.1, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 2 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.2, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 3 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.3, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 4 บก.ป. ดูแลพื้นที่บช.ภ.4, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 5 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.5, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 6 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.6, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 7 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.7, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 8 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.8, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 9 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ. 9, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 10 บก.ป.ดูแลพื้นที่กรุงเทพฯ, ผกก.ปพ. ดูแลหน่วยปฏิบัติการพิเศษ คอมมานโด รถวิทยุสายตรวจ และผกก.อก.ดูแลงานอำนวยการ
จะเห็นได้ว่า มีผกก.เพิ่มขึ้นมาอีก 4 คน จากเดิม 8 คน เป็น 12 คน ซึ่งไม่เฉพาะที่บก.ป.เท่านั้น ที่บก.ปดส. ก็มีการปรับเช่นเดียวกัน จากเดิม 4 กก. เพิ่มขึ้นมาอีก 7 กก. เป็น 11 กก. ในขณะที่บก.ทล. จากเดิมมี 9 กก. เพิ่มขึ้นมาอีก 2 กก. รวม 11 กก. บก.ปทส.จากเดิม 4 กก. เพิ่มมาอีก 2 กก. รวม 6 กก. กองทะเบียนจากเดิม 3 กก. เพิ่มขึ้นใหม่ 2 กก. รวม 5 กก. บก.ทท. จากเดิมมี 6 กก. เพิ่มขึ้นอีก 5 กก. รวม 11 กก. และบก.ปศท.จากเดิม 4 กก. เพิ่มใหม่อีก 2 กก. รวม 6 กก. เรียกกันว่า ผกก.เต็มเมือง!
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองถึงผลดี จะทำให้ตัวผกก.เอง สามารถเอาใจใส่ และดูแลพื้นที่ ที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในส่วนของกองปราบปราม จะเป็นไปได้หรือไม่ หากสถานที่ตั้งกองกำกับ ควรจะแยกย้ายไปอยู่ตามภาคต่างๆที่จะต้องมีหน้าที่ดูแล จะได้ไม่มากระจุกอยู่ที่บก.ป. ซ้ำยังจะเพิ่มความสะดวกสะบายในการเดินทางให้กับประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วย
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการแบ่ง และแยกกองกำกับมากน้อยแค่ไหน ก็ไม่สำคัญเท่ากับตัวผกก. ซึ่งเป็นผู้นำหน่วยตามบทบาทอำนาจหน้าที่ ที่มีอยู่แล้ว โดยเชื่อว่า ที่ต้องมีการกระจายกองกำกับออกมาจำนวนมากเช่นนี้ เหตุผลหนึ่ง ก็เพื่อมุ่งหวังในผลการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และเพื่อต้องการไปคานอำนาจกับตำรวจในพื้นที่ หากไม่อำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน
แต่หากผกก.ที่ได้รับการแต่งตั้งและโยกย้ายมาตามกองกำกับการของบก.ต่างๆข้างต้น ซึ่งมีอำนาจสามารถเข้าไปตรวจสอบตามพื้นที่ต่างๆได้หลายจังหวัดนั้น มุ่งหวังเพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลักแล้วไซร้ แม้จะมีผกก.อยู่เต็มบ้านเต็มเมือง จะมีประโยชน์อะไรกับความยุติธรรมที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน!
คำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายผกก. 96 ตำแหน่ง ที่เพิ่งคลอดออกมา ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 ก.พ.นี้ เป็นที่น่าจับตายิ่งนัก แม้นายตำรวจที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าว ดูบางรายชื่อจะไม่ค่อยคุ้นหูมากนัก แต่ทว่า ล้วนเป็นตำแหน่งสำคัญ เป็นตำแหน่งหลัก กอปรกับมีการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ และพื้นที่รับผิดชอบชัดเจน ตามการปรับโครงสร้างใหม่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พูดกันให้เข้าใจง่ายและชัดเจน คือ มีเก้าอี้ผู้กำกับ(ผกก.)เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสของบรรดา"ทั่นรอง"ทั้งหลายมีความหวังเจิดจรัสมากขึ้น
จะขอเริ่มโฟกัสกันที่ กองบังคับการตำรวจปราบปราม (บก.ป.)กันก่อน เดิมที บก.ป. มีทั้งหมด 8 กองกำกับ แบ่งเป็น กก.1 ป. ดูแลพื้นที่กทม., กก.2 ป. ดูแลพื้นที่บช.ภ.1-2, กก.3 ป. ดูแลพื้นที่ บช.ภ.3-4, กก.4 ป. ดูแลพื้นที่ 5-6, กก.5 ป.ดูแลพื้นที่ บช.ภ.7-8, กก.6 ป. ดูแลพื้นที่ บช.ภ.9, กก.ปพ. ดูแลหน่วยปฏิบัติการพิเศษ คอมมานโด และรถวิทยุสายตรวจ และกก.อก. เป็นกองกำกับการอำนวยการ รวม 8 กองกำกับ
ตามโครงสร้างใหม่ที่มีการแต่งตั้งโยกย้าย บก.ป. ถูกแบ่งออกเป็น 12 กองกำกับ ใช้ชื่อเรียกใหม่ว่า "ฝ่ายปฏิบัติการ" โดยผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 1 บก.ป. ดูแลพื้นที่บช.ภ.1, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 2 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.2, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 3 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.3, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 4 บก.ป. ดูแลพื้นที่บช.ภ.4, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 5 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.5, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 6 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.6, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 7 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.7, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 8 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ.8, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 9 บก.ป.ดูแลพื้นที่บช.ภ. 9, ผกก.ฝ่ายปฏิบัติการ 10 บก.ป.ดูแลพื้นที่กรุงเทพฯ, ผกก.ปพ. ดูแลหน่วยปฏิบัติการพิเศษ คอมมานโด รถวิทยุสายตรวจ และผกก.อก.ดูแลงานอำนวยการ
จะเห็นได้ว่า มีผกก.เพิ่มขึ้นมาอีก 4 คน จากเดิม 8 คน เป็น 12 คน ซึ่งไม่เฉพาะที่บก.ป.เท่านั้น ที่บก.ปดส. ก็มีการปรับเช่นเดียวกัน จากเดิม 4 กก. เพิ่มขึ้นมาอีก 7 กก. เป็น 11 กก. ในขณะที่บก.ทล. จากเดิมมี 9 กก. เพิ่มขึ้นมาอีก 2 กก. รวม 11 กก. บก.ปทส.จากเดิม 4 กก. เพิ่มมาอีก 2 กก. รวม 6 กก. กองทะเบียนจากเดิม 3 กก. เพิ่มขึ้นใหม่ 2 กก. รวม 5 กก. บก.ทท. จากเดิมมี 6 กก. เพิ่มขึ้นอีก 5 กก. รวม 11 กก. และบก.ปศท.จากเดิม 4 กก. เพิ่มใหม่อีก 2 กก. รวม 6 กก. เรียกกันว่า ผกก.เต็มเมือง!
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองถึงผลดี จะทำให้ตัวผกก.เอง สามารถเอาใจใส่ และดูแลพื้นที่ ที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในส่วนของกองปราบปราม จะเป็นไปได้หรือไม่ หากสถานที่ตั้งกองกำกับ ควรจะแยกย้ายไปอยู่ตามภาคต่างๆที่จะต้องมีหน้าที่ดูแล จะได้ไม่มากระจุกอยู่ที่บก.ป. ซ้ำยังจะเพิ่มความสะดวกสะบายในการเดินทางให้กับประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วย
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการแบ่ง และแยกกองกำกับมากน้อยแค่ไหน ก็ไม่สำคัญเท่ากับตัวผกก. ซึ่งเป็นผู้นำหน่วยตามบทบาทอำนาจหน้าที่ ที่มีอยู่แล้ว โดยเชื่อว่า ที่ต้องมีการกระจายกองกำกับออกมาจำนวนมากเช่นนี้ เหตุผลหนึ่ง ก็เพื่อมุ่งหวังในผลการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และเพื่อต้องการไปคานอำนาจกับตำรวจในพื้นที่ หากไม่อำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน
แต่หากผกก.ที่ได้รับการแต่งตั้งและโยกย้ายมาตามกองกำกับการของบก.ต่างๆข้างต้น ซึ่งมีอำนาจสามารถเข้าไปตรวจสอบตามพื้นที่ต่างๆได้หลายจังหวัดนั้น มุ่งหวังเพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลักแล้วไซร้ แม้จะมีผกก.อยู่เต็มบ้านเต็มเมือง จะมีประโยชน์อะไรกับความยุติธรรมที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน!