ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามชั้นต้นให้ “พนักงานรถเมล์ร่วม 207-ขสมก.-บริษัทเดินรถ” ร่วมจ่ายค่าเสียหายพ่อนักศึกษาสาวเอแบค เหยื่อโชฟอร์ตีนผี 10,747,000 บาท
วันนี้ (22 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น.ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่ นายนำ และนางลักษณา โชติมนัส บิดา-มารดาของ น.ส.ปิยะธิดา หรือน้องฮุ่ย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารการเงินระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ที่เสียชีวิตจากการพลัดตกจากรถร่วมประจำทาง สาย 207 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายทวิม แสงเดช พนักงานขับรถประจำทางสาย 207, นายธนะสิทธิ์ วรโชติหิรัญศิริ ในฐานะนายจ้าง, นายฤกษ์ชัย เรืองกิตติยศยิ่ง เจ้าของรถ, บริษัท 207 เดินรถ จำกัด, นายเชาวน์ กระแสร์ชล ผู้ได้รับสัมปทานเดินรถ และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นจำเลยที่ 1-6 เรื่องละเมิด เรียกค่าสินไหมทดแทนจำนวน 12,081,211 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากกรณีเมื่อคืนวันที่ 14 ก.ย.47 นายทวิมขับรถประมาทด้วยความเร็วทำให้ น.ส.ปิยะธิดาพลัดตกจากรถบริเวณแยกลำสาลี ศีรษะกระแทกพื้นอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในที่สุด
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1, 2, 4, 5 และ 6 ร่วมกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนคืนแก่โจทก์ 10,747,000 บาท และยกฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยยื่นอุทธรณ์ว่าค่าเสียหายสูงเกินความจริง ขณะที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์แก้ว่าจำนวนเงินที่ศาลมีคำพิพากษานั้นชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์จึงขอให้พิพากษายืน
ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์ประชุมตรวจสำนวน แล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2547 ขณะที่นายทวิม ขับรถเมล์สาย 207 จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก ไปมหาวิทยาลัยรามคำแหงบางนา โดยไม่ปิดประตูอัตโนมัติทำให้ น.ส.ปิยะธิดาถูกแรงเหวี่ยงพลัดตกจากรถเมล์ บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา เหตุเกิดที่แยกลำสาลี กทม. โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าขาดไร้อุปการะ เป็นเวลา 20 ปี โดยก่อนหน้านี้บริษัทประกันภัยได้จ่ายเงินแก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัยแล้วจำนวน 750, 000 บาท
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าประตูรถเมล์ชำรุด จำเลยมีหน้าที่จัดให้มีประตูที่ปิดเปิดได้และต้องดูแลระมัดระวังไม่ให้เสียหาย กลับไม่ดูแลปรับปรุง การที่ประตูเสียจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะไม่รับผิด โดยนายทวิม จำเลยที่ 1 พนักงานขับรถจึงต้องมีความระมัดระวังตามวิชาชีพกลับไม่ระมัดระวัง ส่วน นายธนะสิทธิ์ จำเลยที่ 2 และ บริษัท207 ฯ จำเลยที่ 4 เป็นนายจ้างต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้าง ขณะที่นายฤกษ์ชัย จำเลยที่ 3 เคยมีชื่อเป็นเจ้าของรถโดยขายรถแก่จำเลยอื่นไปแล้วจึงไม่ต้องรับผิด สำหรับนายเชาว์ จำเลยที่ 5 เป็นผู้รับช่วงการเดินรถจึงต้องรับผิด เช่นเดียวกับ ขสมก.จำเลยที่ 6 ที่เป็นผู้จัดการเดินรถได้รับส่วนแบ่งจากสัมปทานจึงถือว่าเป็นนายจ้างต้องรับผิดในการกระทำละเมิดด้วย
คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้แก่โจทก์นั้นสูงเกินไปหรือไม่ เห็นว่าผู้ตายเป็นผู้มีการศึกษาดี มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และญี่ปุ่น เคยวางแผนจะไปศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น หากกลับมาประเทศไทยตามแผนจะมีรายได้ในอนาคตเดือนละ 46,000 บาทต่อปี ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจคิดคำนวณค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์เป็นจำนวนเงิน 46,000 บาทต่อเดือน เป็น เวลา 20 ปีนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษายืน
ด้าน นายนำ บิดาผู้ตาย กล่าวว่า การสูญเสียลูกสาวเป็นความสูญเสียที่เรียกกลับคืนมาไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นเงินมากมายแค่ไหน ซึ่งการฟ้องเรียกค่าเสียหายสูงๆ เพราะต้องการให้ ขสมก.รู้สึกรับผิด และวางมาตรการความปลอดภัยมากกว่านี้ ซึ่งรัฐน่าจะนำกรณีของตนมาคิดนโยบายเรื่องความปลอดภัยและร่างเป็นกฎหมาย เพื่อให้ผู้ละเมิดต้องรับผิดอย่างเด็ดขาดโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
“ที่ผ่านมา ขสมก.พยายามปัดให้ประกันภัยรับผิดชอบเป็นรายกรณี อย่างนั้นเท่ากับว่าจ่าย 750,000 บาทแล้วจบ ไม่ต้องมีการระมัดระวังกันอีกซึ่งผิด รัฐต้องมองว่าคนที่นั่งรถเมล์คันละหลายสิบคนต้องมีความปลอดภัย เพราะถ้ามีอุบัติเหตุที่ป้องกันได้แต่ไม่ระวัง ความเสียหายเกิดขึ้น ขสมก. และรับต้องมาชดใช้เลี้ยงดูคนพิการเสียงบประมาณอีกเท่าไร ผมจึงต้องการให้มีการป้องกันล่วงหน้ามากกว่านี้” นายนำ กล่าว และว่าถ้าได้เงินกว่า 10 ล้านบาทมาก็จะนำเงินไปช่วยเหลือคนพิการจากอุบัติเหตุ ให้ทุนวิจัยกฎหมายละเมิดเพื่อร่างกฎหมายที่ดีออกมาให้ผู้เสียหายได้รับเยียวยาทางจิตใจ ทดแทนความเศร้าโศกที่เรียกคืนมาไม่ได้ ซึ่งทุกวันนี้มีประชาชน 3 ล้านคนขึ้นรถเมล์ ดังนั้น รัฐบาลใหม่ควรให้ความสนใจด้วย
พิพากษายืนจำคุก 1 ปี 6 เดือน โชเฟอร์ 207 ซิ่ง นศ.เอแบคพลัดตกดับ
จำคุกโชเฟอร์เมล์ 207 ซิ่ง นศ.เอแบคตก เสียชีวิต
พ่อเหยื่อเมล์ 207 อุทธรณ์แก้โชเฟอร์ตีนผี
ศาลสั่งจ่ายกว่า 10 ล้าน! ค่าชีวิต นศ.เอแบคเหยื่อรถเมล์สาย 207
โชเฟอร์รถเมล์ 207 ฮึดสู้คดี นศ.เอแบคพลัดตกเสียชีวิต
อัยการสั่งฟ้องโชเฟอร์ 207 มรณะ เหตุ "น้องหุย" พลัดตกรถดับ
เหยื่อสาย 207 ฟ้อง 12 ล.คนขับรถเมล์พร้อมพวก
ขสมก.ยอมรับผิด-โซเฟอร์ 207 ปัดฝ่าไฟแดงต้นเหตุน้องหุยตกรถ
บิดานศ.สาวเหยื่อรถเมล์ 207 เผยน้องหุยฝันเป็นแอร์โฮสเตส
สภาทนายฯชี้ ขสมก. ต้องรับผิด กรณี น.ศ.เอแบค ตกรถเมล์ 207
วันนี้ (22 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น.ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่ นายนำ และนางลักษณา โชติมนัส บิดา-มารดาของ น.ส.ปิยะธิดา หรือน้องฮุ่ย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารการเงินระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ที่เสียชีวิตจากการพลัดตกจากรถร่วมประจำทาง สาย 207 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายทวิม แสงเดช พนักงานขับรถประจำทางสาย 207, นายธนะสิทธิ์ วรโชติหิรัญศิริ ในฐานะนายจ้าง, นายฤกษ์ชัย เรืองกิตติยศยิ่ง เจ้าของรถ, บริษัท 207 เดินรถ จำกัด, นายเชาวน์ กระแสร์ชล ผู้ได้รับสัมปทานเดินรถ และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นจำเลยที่ 1-6 เรื่องละเมิด เรียกค่าสินไหมทดแทนจำนวน 12,081,211 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จากกรณีเมื่อคืนวันที่ 14 ก.ย.47 นายทวิมขับรถประมาทด้วยความเร็วทำให้ น.ส.ปิยะธิดาพลัดตกจากรถบริเวณแยกลำสาลี ศีรษะกระแทกพื้นอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในที่สุด
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1, 2, 4, 5 และ 6 ร่วมกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนคืนแก่โจทก์ 10,747,000 บาท และยกฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยยื่นอุทธรณ์ว่าค่าเสียหายสูงเกินความจริง ขณะที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์แก้ว่าจำนวนเงินที่ศาลมีคำพิพากษานั้นชอบด้วยกฎหมายแล้วโจทก์จึงขอให้พิพากษายืน
ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์ประชุมตรวจสำนวน แล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2547 ขณะที่นายทวิม ขับรถเมล์สาย 207 จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก ไปมหาวิทยาลัยรามคำแหงบางนา โดยไม่ปิดประตูอัตโนมัติทำให้ น.ส.ปิยะธิดาถูกแรงเหวี่ยงพลัดตกจากรถเมล์ บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา เหตุเกิดที่แยกลำสาลี กทม. โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าขาดไร้อุปการะ เป็นเวลา 20 ปี โดยก่อนหน้านี้บริษัทประกันภัยได้จ่ายเงินแก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัยแล้วจำนวน 750, 000 บาท
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าประตูรถเมล์ชำรุด จำเลยมีหน้าที่จัดให้มีประตูที่ปิดเปิดได้และต้องดูแลระมัดระวังไม่ให้เสียหาย กลับไม่ดูแลปรับปรุง การที่ประตูเสียจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะไม่รับผิด โดยนายทวิม จำเลยที่ 1 พนักงานขับรถจึงต้องมีความระมัดระวังตามวิชาชีพกลับไม่ระมัดระวัง ส่วน นายธนะสิทธิ์ จำเลยที่ 2 และ บริษัท207 ฯ จำเลยที่ 4 เป็นนายจ้างต้องรับผิดในการกระทำของลูกจ้าง ขณะที่นายฤกษ์ชัย จำเลยที่ 3 เคยมีชื่อเป็นเจ้าของรถโดยขายรถแก่จำเลยอื่นไปแล้วจึงไม่ต้องรับผิด สำหรับนายเชาว์ จำเลยที่ 5 เป็นผู้รับช่วงการเดินรถจึงต้องรับผิด เช่นเดียวกับ ขสมก.จำเลยที่ 6 ที่เป็นผู้จัดการเดินรถได้รับส่วนแบ่งจากสัมปทานจึงถือว่าเป็นนายจ้างต้องรับผิดในการกระทำละเมิดด้วย
คดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้แก่โจทก์นั้นสูงเกินไปหรือไม่ เห็นว่าผู้ตายเป็นผู้มีการศึกษาดี มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และญี่ปุ่น เคยวางแผนจะไปศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น หากกลับมาประเทศไทยตามแผนจะมีรายได้ในอนาคตเดือนละ 46,000 บาทต่อปี ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจคิดคำนวณค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์เป็นจำนวนเงิน 46,000 บาทต่อเดือน เป็น เวลา 20 ปีนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษายืน
ด้าน นายนำ บิดาผู้ตาย กล่าวว่า การสูญเสียลูกสาวเป็นความสูญเสียที่เรียกกลับคืนมาไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นเงินมากมายแค่ไหน ซึ่งการฟ้องเรียกค่าเสียหายสูงๆ เพราะต้องการให้ ขสมก.รู้สึกรับผิด และวางมาตรการความปลอดภัยมากกว่านี้ ซึ่งรัฐน่าจะนำกรณีของตนมาคิดนโยบายเรื่องความปลอดภัยและร่างเป็นกฎหมาย เพื่อให้ผู้ละเมิดต้องรับผิดอย่างเด็ดขาดโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
“ที่ผ่านมา ขสมก.พยายามปัดให้ประกันภัยรับผิดชอบเป็นรายกรณี อย่างนั้นเท่ากับว่าจ่าย 750,000 บาทแล้วจบ ไม่ต้องมีการระมัดระวังกันอีกซึ่งผิด รัฐต้องมองว่าคนที่นั่งรถเมล์คันละหลายสิบคนต้องมีความปลอดภัย เพราะถ้ามีอุบัติเหตุที่ป้องกันได้แต่ไม่ระวัง ความเสียหายเกิดขึ้น ขสมก. และรับต้องมาชดใช้เลี้ยงดูคนพิการเสียงบประมาณอีกเท่าไร ผมจึงต้องการให้มีการป้องกันล่วงหน้ามากกว่านี้” นายนำ กล่าว และว่าถ้าได้เงินกว่า 10 ล้านบาทมาก็จะนำเงินไปช่วยเหลือคนพิการจากอุบัติเหตุ ให้ทุนวิจัยกฎหมายละเมิดเพื่อร่างกฎหมายที่ดีออกมาให้ผู้เสียหายได้รับเยียวยาทางจิตใจ ทดแทนความเศร้าโศกที่เรียกคืนมาไม่ได้ ซึ่งทุกวันนี้มีประชาชน 3 ล้านคนขึ้นรถเมล์ ดังนั้น รัฐบาลใหม่ควรให้ความสนใจด้วย
พิพากษายืนจำคุก 1 ปี 6 เดือน โชเฟอร์ 207 ซิ่ง นศ.เอแบคพลัดตกดับ
จำคุกโชเฟอร์เมล์ 207 ซิ่ง นศ.เอแบคตก เสียชีวิต
พ่อเหยื่อเมล์ 207 อุทธรณ์แก้โชเฟอร์ตีนผี
ศาลสั่งจ่ายกว่า 10 ล้าน! ค่าชีวิต นศ.เอแบคเหยื่อรถเมล์สาย 207
โชเฟอร์รถเมล์ 207 ฮึดสู้คดี นศ.เอแบคพลัดตกเสียชีวิต
อัยการสั่งฟ้องโชเฟอร์ 207 มรณะ เหตุ "น้องหุย" พลัดตกรถดับ
เหยื่อสาย 207 ฟ้อง 12 ล.คนขับรถเมล์พร้อมพวก
ขสมก.ยอมรับผิด-โซเฟอร์ 207 ปัดฝ่าไฟแดงต้นเหตุน้องหุยตกรถ
บิดานศ.สาวเหยื่อรถเมล์ 207 เผยน้องหุยฝันเป็นแอร์โฮสเตส
สภาทนายฯชี้ ขสมก. ต้องรับผิด กรณี น.ศ.เอแบค ตกรถเมล์ 207