เวลาได้ผ่านไปเร็วจนเมื่อมานับวันนับปีกันแล้ว เราก็ผ่านการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 มาแล้วถึง 11 ปี
เป็นรัฐประหารอีกครั้งหลังจากที่การเมืองไทยว่างเว้นจากการรัฐประหารมาเกินกว่า 15 ปี นับจากการรัฐประหารของ รสช.ในปี 2534 จนหลายฝ่ายวางใจไปแล้วว่าคงจะไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นอีกในประเทศไทย
แต่การรัฐประหารก็ได้เกิดขึ้นอีกครั้งในกลางดึกของวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังจากสถานการณ์สุกงอมเต็มที่ หลังจากความพยายามจัดการเลือกตั้งฟอกตัวของทักษิณที่ศาลรัฐธรรมนูญประกาศว่าเป็นโมฆะ และก่อนการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่กำหนดไว้ในวันถัดไป
โดยคณะผู้ก่อการที่ใช้ชื่อในครั้งแรกว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ในขณะนั้นเป็นผู้นำ
เป็นการรัฐประหารที่ฮือฮาไปทั่วโลก เนื่องจากเป็นการรัฐประหารในยุคสมัยแห่งอินเทอร์เน็ตและการเริ่มต้นของสื่อยุคใหม่ ประกอบภาพของประชาชนไปมอบดอกกุหลาบและสิ่งของให้แก่บรรดาทหารที่ออกมาตรึงกำลังทั่วกรุงเทพมหานครเป็นภาพจำของเหตุการณ์ในสายตาชาวโลก
ภาพจำที่ว่า นอกจากจะไม่มีการต่อต้านให้เสียเลือดเนื้อแล้ว ประชาชนชาวไทยยังแสดงออกถึงความยินดี และพอใจต่อการทำรัฐประหาร หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นการรัฐประหารโดยฉันทานุมัติของประชาชนก็คงไม่ผิดไปนัก
หากกล่าวกันอย่างตรงไปตรงมา รัฐประหาร 19 กันยา ก็คือการรัฐประหารเพื่อล้มล้างระบอบทักษิณซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็น “รัฐประหารที่เสียของ”
เนื่องจากการรัฐประหารครั้งดังกล่าว ใช้ “สูตร” เดียวกับ รสช. คือ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ตั้งรัฐบาลรักษาการจากคนนอกคณะรัฐประหาร ส่วนคณะผู้ก่อการคอยกำกับดูแลอยู่ห่างๆ ในชื่อรูปของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เร่งร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้งภายในเวลาประมาณ 1 ปี
และคณะ คมช.ก็ไม่เข้ามาสู่การเลือกตั้ง ปล่อยให้ฝ่ายการเมืองว่ากันไปเอง
ผลก็เป็นอย่างที่เราทราบ ว่าความขัดแย้งในสังคมและประเทศชาติก็ไม่จบ เนื่องจากแม้จะจัดการเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองที่เป็นนอมินีของอดีตนายกฯ ทักษิณ ก็ยังชนะการเลือกตั้งอยู่ทุกครั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 ที่ร่างกันขึ้นมาโดยการรัฐประหารครั้งนั้น
ช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 - 2557 เกิดการต่อสู้ทางการเมืองกันแบบถึงเลือดถึงเนื้อ มีผู้บาดเจ็บล้มตายหลายฝ่ายหลายฝั่ง มีการนองเลือดกันกลางเมืองด้วยอาวุธสงครามไม่ต่ำกว่า 4-5 ครั้ง มีการชุมนุมทางการเมืองระดับใหญ่ขนาดปิดเมืองกรุงเทพฯ ถึงสองครั้ง
สถานการณ์ทางการเมืองที่ต่อสู้กันไม่จบไม่สิ้น นำไปสู่การรัฐประหารครั้งล่าสุด อย่างที่เรารู้กัน ซึ่งในคราวนี้ คณะผู้ก่อการได้รับ “บทเรียน” จากรัฐประหารที่เสียของที่ว่าไว้ จึงใช้วิธีการควบคุมอำนาจที่เด็ดขาดกว่า ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า และไม่มีใครรู้ได้ว่าการปกครองในระบอบรัฐประหารในครั้งหลังนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไร ซึ่งจะต้องนับรวมถึง “ผลพวง” ภายหลัง จากการสืบทอดอำนาจที่ซ่อนอยู่ในรัฐธรรมนูญด้วย
แผนการปฏิรูป 20 ปี คงพอจะบอกได้ว่า ระบอบรัฐประหารคราวนี้อาจจะถือว่าเป็นครั้งที่มีผลต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ที่เราจะนับว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน เป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยนี้ก็ว่าได้ ที่ทำให้ “ทหาร” กลับเข้าสู่ระบอบการเมืองสมัยใหม่
และไม่มีใครกล้าบอกว่า นี่จะเป็นรัฐประหารครั้งสุดท้ายของไทยหรือไม่
ทฤษฎี “วงจรอุบาทว์” ทางการเมืองไทย ที่วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงยังสามารถใช้อธิบายสภาวการณ์ทางการเมืองการปกครองของไทยอยู่ได้ โดยไม่รู้ว่าวงจรนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไร
วงจรอุบาทว์ที่เริ่มต้น จากการที่ฝ่ายการเมืองได้รับเลือกตั้งโดยวิธีการซื้อเสียงทั้งทางตรงทางอ้อม เข้ามาทุจริตโกงกินเพื่อถอนทุน จนเกิดการรัฐประหารโดยทหาร ร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ มีการเลือกตั้ง แล้วก็เกิดการทุจริตเลือกตั้งกันอีก วนเวียนต่อไป
น่าสังเกตว่า ที่วงเวียนของการรัฐประหารเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับกัน คือในการรัฐประหารแทบทุกครั้งนั้น คณะทหารผู้ก่อการได้รับ “ฉันทามติ” บางประการจากประชาชนเสียก่อน ที่แม้ฝ่ายทหารจะมีกำลังและอาวุธ แต่ในทุกครั้งผู้ก่อการก็จะต้องรอจนสถานการณ์สุกงอมและแน่ใจว่าประชาชนส่วนใหญ่จะไม่ออกมาต่อต้าน
ฉันทามติที่มาจากการไม่มีการต่อต้านอย่างรุนแรงโดยนัยสำคัญ หรืออาจจะถึงขนาดแสดงความยินดีที่มีการรัฐประหารด้วย เช่นการรัฐประหาร 19 กันยา ที่มีการมอบดอกไม้ให้กำลังใจผู้ก่อการ
อาจกล่าวได้ว่า รัฐประหารจะไม่สามารถเกิดขึ้นหรือบรรลุผลได้โดยง่าย หากประชาชนส่วนใหญ่ไม่ยินยอม
ดังนั้น กุญแจสำคัญของการที่จะตัดวงจรรัฐประหาร คือทำอย่างไรให้ประชาชนไม่เกิดฉันทามติที่ยอมรับการทำรัฐประหาร
ทำอย่างไรที่ทำให้ประชาชนสามารถเชื่อได้ว่า ปัญหาทางการเมือง สามารถแก้ไขได้ด้วยวิถีทางการเมือง ที่จะสามารถกำจัดนักการเมืองที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตได้ด้วยกลไกปกติ
เพราะต้นตอของความขัดแย้งทางการเมืองในรอบนี้ซับซ้อนกว่า “วงจรอุบาทว์” แบบเก่า ที่นักการเมืองซื้อเสียงเข้ามาโกงกิน แต่เป็นเพราะในคราวนี้ นักการเมืองที่เข้ามานั้น ไม่ใช่เพียงการเข้ามาซื้อเสียงง่ายๆ แบบเอาเงินหว่านโปรย ที่ซื้อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แค่ครั้งราว อย่างที่เรียกกันว่า “เงินไม่มา กาไม่เป็น”
แต่สิ่งที่ทำให้ระบอบทักษิณมีชัยในทุกการเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นเพราะการดำเนินนโยบายที่ก่อให้เกิด “ความจงรักภักดี” ขึ้นในหมู่ประชาชนผู้ชื่นชอบ ที่ประกอบไปด้วยการใช้ประชานิยมที่หว่านโปรยเงินและประโยชน์ลงไปให้ประชาชนโดยทางอ้อมผ่านนโยบายของรัฐ กับที่ปฏิเสธไม่ได้ คือนโยบายที่ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ได้โอกาส ได้รู้สึกว่าตัวเองนั้นได้รับความเป็นธรรมและความเท่าเทียม รวมถึงมีศักดิ์ศรีในตัวเอง
และประชาชนกลุ่มดังกล่าวก็จะยอมรับในการทุจริตโกงกินของรัฐบาลที่ตัวเองรักแบบหลับหูหลับตา ประกอบกับการวางกลไกทางการเมืองให้เกิดความได้เปรียบทั้งทุนและเครือข่าย ทำให้ระบอบดังกล่าวก็จะเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถที่จะ “ล้ม” ได้ด้วยกลไกทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
ทั้งยังต้องกล่าวอีกว่า ฝ่ายการเมืองขั้วตรงข้าม ก็ไร้น้ำยาจนไม่สามารถต่อสู้ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อในเชิงการเมือง อย่างที่ต่อให้ได้เป็นรัฐบาล ก็ไม่สามารถแสดงความเป็น “ตัวเลือก” ให้ประชาชนได้
ความรู้สึกว่าฝ่ายการเมืองที่เข้ามาครอบงำและทุจริตกัดกินประเทศชาติ และสะสมความได้เปรียบสืบทอดอำนาจตัวเองไปได้ชั่วลูกชั่วหลานอยู่นี้เอง ที่ทำให้ประชาชนจำนวนมากที่มีนัยสำคัญ “ยอมรับ” การรัฐประหารอันเป็นวิถีทางอันไม่เป็นประชาธิปไตย เพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่เหมือนจะไม่สามารถกำจัดด้วยกลไกการเลือกตั้งหรือทางการเมือง
แต่ในที่สุดก็อาจจะเหมือนการหนีเสือปะจระเข้
และตกอยู่ในวงเวียนแห่งระบอบรัฐประหาร ที่มองไม่เห็นทางออกอย่างแท้จริง.
เป็นรัฐประหารอีกครั้งหลังจากที่การเมืองไทยว่างเว้นจากการรัฐประหารมาเกินกว่า 15 ปี นับจากการรัฐประหารของ รสช.ในปี 2534 จนหลายฝ่ายวางใจไปแล้วว่าคงจะไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นอีกในประเทศไทย
แต่การรัฐประหารก็ได้เกิดขึ้นอีกครั้งในกลางดึกของวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังจากสถานการณ์สุกงอมเต็มที่ หลังจากความพยายามจัดการเลือกตั้งฟอกตัวของทักษิณที่ศาลรัฐธรรมนูญประกาศว่าเป็นโมฆะ และก่อนการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่กำหนดไว้ในวันถัดไป
โดยคณะผู้ก่อการที่ใช้ชื่อในครั้งแรกว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ในขณะนั้นเป็นผู้นำ
เป็นการรัฐประหารที่ฮือฮาไปทั่วโลก เนื่องจากเป็นการรัฐประหารในยุคสมัยแห่งอินเทอร์เน็ตและการเริ่มต้นของสื่อยุคใหม่ ประกอบภาพของประชาชนไปมอบดอกกุหลาบและสิ่งของให้แก่บรรดาทหารที่ออกมาตรึงกำลังทั่วกรุงเทพมหานครเป็นภาพจำของเหตุการณ์ในสายตาชาวโลก
ภาพจำที่ว่า นอกจากจะไม่มีการต่อต้านให้เสียเลือดเนื้อแล้ว ประชาชนชาวไทยยังแสดงออกถึงความยินดี และพอใจต่อการทำรัฐประหาร หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นการรัฐประหารโดยฉันทานุมัติของประชาชนก็คงไม่ผิดไปนัก
หากกล่าวกันอย่างตรงไปตรงมา รัฐประหาร 19 กันยา ก็คือการรัฐประหารเพื่อล้มล้างระบอบทักษิณซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็น “รัฐประหารที่เสียของ”
เนื่องจากการรัฐประหารครั้งดังกล่าว ใช้ “สูตร” เดียวกับ รสช. คือ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ตั้งรัฐบาลรักษาการจากคนนอกคณะรัฐประหาร ส่วนคณะผู้ก่อการคอยกำกับดูแลอยู่ห่างๆ ในชื่อรูปของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เร่งร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้งภายในเวลาประมาณ 1 ปี
และคณะ คมช.ก็ไม่เข้ามาสู่การเลือกตั้ง ปล่อยให้ฝ่ายการเมืองว่ากันไปเอง
ผลก็เป็นอย่างที่เราทราบ ว่าความขัดแย้งในสังคมและประเทศชาติก็ไม่จบ เนื่องจากแม้จะจัดการเลือกตั้ง แต่พรรคการเมืองที่เป็นนอมินีของอดีตนายกฯ ทักษิณ ก็ยังชนะการเลือกตั้งอยู่ทุกครั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 ที่ร่างกันขึ้นมาโดยการรัฐประหารครั้งนั้น
ช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 - 2557 เกิดการต่อสู้ทางการเมืองกันแบบถึงเลือดถึงเนื้อ มีผู้บาดเจ็บล้มตายหลายฝ่ายหลายฝั่ง มีการนองเลือดกันกลางเมืองด้วยอาวุธสงครามไม่ต่ำกว่า 4-5 ครั้ง มีการชุมนุมทางการเมืองระดับใหญ่ขนาดปิดเมืองกรุงเทพฯ ถึงสองครั้ง
สถานการณ์ทางการเมืองที่ต่อสู้กันไม่จบไม่สิ้น นำไปสู่การรัฐประหารครั้งล่าสุด อย่างที่เรารู้กัน ซึ่งในคราวนี้ คณะผู้ก่อการได้รับ “บทเรียน” จากรัฐประหารที่เสียของที่ว่าไว้ จึงใช้วิธีการควบคุมอำนาจที่เด็ดขาดกว่า ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า และไม่มีใครรู้ได้ว่าการปกครองในระบอบรัฐประหารในครั้งหลังนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไร ซึ่งจะต้องนับรวมถึง “ผลพวง” ภายหลัง จากการสืบทอดอำนาจที่ซ่อนอยู่ในรัฐธรรมนูญด้วย
แผนการปฏิรูป 20 ปี คงพอจะบอกได้ว่า ระบอบรัฐประหารคราวนี้อาจจะถือว่าเป็นครั้งที่มีผลต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ที่เราจะนับว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน เป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยนี้ก็ว่าได้ ที่ทำให้ “ทหาร” กลับเข้าสู่ระบอบการเมืองสมัยใหม่
และไม่มีใครกล้าบอกว่า นี่จะเป็นรัฐประหารครั้งสุดท้ายของไทยหรือไม่
ทฤษฎี “วงจรอุบาทว์” ทางการเมืองไทย ที่วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงยังสามารถใช้อธิบายสภาวการณ์ทางการเมืองการปกครองของไทยอยู่ได้ โดยไม่รู้ว่าวงจรนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไร
วงจรอุบาทว์ที่เริ่มต้น จากการที่ฝ่ายการเมืองได้รับเลือกตั้งโดยวิธีการซื้อเสียงทั้งทางตรงทางอ้อม เข้ามาทุจริตโกงกินเพื่อถอนทุน จนเกิดการรัฐประหารโดยทหาร ร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ มีการเลือกตั้ง แล้วก็เกิดการทุจริตเลือกตั้งกันอีก วนเวียนต่อไป
น่าสังเกตว่า ที่วงเวียนของการรัฐประหารเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับกัน คือในการรัฐประหารแทบทุกครั้งนั้น คณะทหารผู้ก่อการได้รับ “ฉันทามติ” บางประการจากประชาชนเสียก่อน ที่แม้ฝ่ายทหารจะมีกำลังและอาวุธ แต่ในทุกครั้งผู้ก่อการก็จะต้องรอจนสถานการณ์สุกงอมและแน่ใจว่าประชาชนส่วนใหญ่จะไม่ออกมาต่อต้าน
ฉันทามติที่มาจากการไม่มีการต่อต้านอย่างรุนแรงโดยนัยสำคัญ หรืออาจจะถึงขนาดแสดงความยินดีที่มีการรัฐประหารด้วย เช่นการรัฐประหาร 19 กันยา ที่มีการมอบดอกไม้ให้กำลังใจผู้ก่อการ
อาจกล่าวได้ว่า รัฐประหารจะไม่สามารถเกิดขึ้นหรือบรรลุผลได้โดยง่าย หากประชาชนส่วนใหญ่ไม่ยินยอม
ดังนั้น กุญแจสำคัญของการที่จะตัดวงจรรัฐประหาร คือทำอย่างไรให้ประชาชนไม่เกิดฉันทามติที่ยอมรับการทำรัฐประหาร
ทำอย่างไรที่ทำให้ประชาชนสามารถเชื่อได้ว่า ปัญหาทางการเมือง สามารถแก้ไขได้ด้วยวิถีทางการเมือง ที่จะสามารถกำจัดนักการเมืองที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตได้ด้วยกลไกปกติ
เพราะต้นตอของความขัดแย้งทางการเมืองในรอบนี้ซับซ้อนกว่า “วงจรอุบาทว์” แบบเก่า ที่นักการเมืองซื้อเสียงเข้ามาโกงกิน แต่เป็นเพราะในคราวนี้ นักการเมืองที่เข้ามานั้น ไม่ใช่เพียงการเข้ามาซื้อเสียงง่ายๆ แบบเอาเงินหว่านโปรย ที่ซื้อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้แค่ครั้งราว อย่างที่เรียกกันว่า “เงินไม่มา กาไม่เป็น”
แต่สิ่งที่ทำให้ระบอบทักษิณมีชัยในทุกการเลือกตั้งที่ผ่านมา เป็นเพราะการดำเนินนโยบายที่ก่อให้เกิด “ความจงรักภักดี” ขึ้นในหมู่ประชาชนผู้ชื่นชอบ ที่ประกอบไปด้วยการใช้ประชานิยมที่หว่านโปรยเงินและประโยชน์ลงไปให้ประชาชนโดยทางอ้อมผ่านนโยบายของรัฐ กับที่ปฏิเสธไม่ได้ คือนโยบายที่ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ได้โอกาส ได้รู้สึกว่าตัวเองนั้นได้รับความเป็นธรรมและความเท่าเทียม รวมถึงมีศักดิ์ศรีในตัวเอง
และประชาชนกลุ่มดังกล่าวก็จะยอมรับในการทุจริตโกงกินของรัฐบาลที่ตัวเองรักแบบหลับหูหลับตา ประกอบกับการวางกลไกทางการเมืองให้เกิดความได้เปรียบทั้งทุนและเครือข่าย ทำให้ระบอบดังกล่าวก็จะเข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถที่จะ “ล้ม” ได้ด้วยกลไกทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
ทั้งยังต้องกล่าวอีกว่า ฝ่ายการเมืองขั้วตรงข้าม ก็ไร้น้ำยาจนไม่สามารถต่อสู้ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อในเชิงการเมือง อย่างที่ต่อให้ได้เป็นรัฐบาล ก็ไม่สามารถแสดงความเป็น “ตัวเลือก” ให้ประชาชนได้
ความรู้สึกว่าฝ่ายการเมืองที่เข้ามาครอบงำและทุจริตกัดกินประเทศชาติ และสะสมความได้เปรียบสืบทอดอำนาจตัวเองไปได้ชั่วลูกชั่วหลานอยู่นี้เอง ที่ทำให้ประชาชนจำนวนมากที่มีนัยสำคัญ “ยอมรับ” การรัฐประหารอันเป็นวิถีทางอันไม่เป็นประชาธิปไตย เพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่เหมือนจะไม่สามารถกำจัดด้วยกลไกการเลือกตั้งหรือทางการเมือง
แต่ในที่สุดก็อาจจะเหมือนการหนีเสือปะจระเข้
และตกอยู่ในวงเวียนแห่งระบอบรัฐประหาร ที่มองไม่เห็นทางออกอย่างแท้จริง.