ก่อนจะเข้าเรื่อง เรามาคุยกันสักนิดครับ ... รู้สึกว่า นานพอสมควรที่ผมไม่ได้ทักทายท่านผู้อ่าน เพราะมัวแต่ติดเรื่องเล่าจากแดนอาทิตย์อุทัย ท่านไหนที่อ่านกันครบจนจบบ้าง (มีด้วยเหรอ?) มีความเห็นอย่างไรก็เสนอแนะมาได้นะครับ จริงๆ ก็มีหลายๆ เรื่องที่ผมอยากจะบ่นให้ฟัง แต่ด้วยภาระอันเพิ่มขึ้น (อันนี้เป็นเรื่องดี) ก็เลยคัดเรื่องที่รู้สึกว่า แหม มันอยากจะเสนอให้สมกับชื่อคอลัมน์ “คิด เห็น ส่วนตัว” เสียหน่อย ... เรื่องนี้ก็เช่นกัน
เมื่อไม่กี่เดือนมานี้มีสถานที่ท่องเที่ยวเปิดใหม่ที่ชื่อว่า “เมืองมัลลิกา ร.ศ.๑๒๔” อยู่ที่ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นเมืองที่จำลองทั้งสถาปัตยกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสยามในยุคปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายในก็มีสิ่งก่อสร้าง เช่น เรือนไทยแบบต่างๆ อาทิ เรือนเดี่ยว หรือ บ้านของชาวบ้าน เรือนคหบดีของชนชั้นปกครอง เรือนหมู่ไว้รับแขก มีการจำลองย่านการค้าอย่าง สามแพร่ง เยาวราช และบางรัก นอกจากนี้ยังมีเรือนแพ ตลาดริมน้ำ ที่ขายอาหารในยุคนั้นทั้งของคาวและหวานให้ได้เลือกชิมกันด้วย
เท่าที่อ่านข่าวเก่าๆ พบว่า คุณพลศักดิ์ ประกอบ นักธุรกิจจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองโบราณแห่งนี้ บอกว่า เขาใช้ทุนสร้างสูงถึงเกือบ ๒๐๐ ล้านบาท เพื่อสานฝันเนรมิตที่ดินที่มีอยู่ ๖๐ ไร่ ให้กลายเป็นเมืองขึ้นมา จากเดิมที่เป็นคนชอบวิถีชีวิตของชาวไทยสมัยโบราณ และชอบอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย จึงคิดว่าน่าจะสร้างเมืองโบราณขึ้นมาใหม่ ให้เด็กรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ และเข้าใจว่ารากเหง้าของคนไทยนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร รวมทั้งให้รู้ว่าชีวิตความเป็นอยู่ กายแต่งกาย การกิน การหุงหาอาหาร การประกอบอาชีพของคนสมัยนั้นเป็นอย่างไร โดยเลือกในยุคสมัย ร.ศ.๑๒๔ ภายหลังรัชกาลที่ ๕ ทรงประกาศเลิกทาส และเริ่มมีวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา จึงเชื่อว่าช่วงนั้นคนไทยเริ่มมีความสุขที่สุด เพราะว่าการศึกสงครามก็ไม่เกิดขึ้นอีก
โดยโครงการนี้ เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือน มิ.ย.๒๕๕๘ บ้านเรือนไทยทุกหลังออกแบบโดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วนชื่อ มัลลิกา เป็นชื่อต้นน้ำของแม่น้ำอิระวดีในพม่า อันได้ชื่อว่าเป็นแหล่งรวมอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ด้วยกัน ขณะที่ได้ให้ทีมงานทั้งหมดราว ๔๐๐ คน เข้ามาอยู่ในบ้านมัลลิกา ทุกคนจะแต่งกายแบบโบราณ และดำรงชีวิตในแต่ละวันเสมือนจริงในยุคสมัยนั้น โดยไม่ใช่การแสดง เมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมก็จะได้เห็นภาพวัฒนธรรมเป็น โดยไม่ต้องไปจินตนาการอีกต่อไป
ยอมรับเลยครับว่า ยิ่งเห็นภาพที่หลายๆ คนที่ไปเที่ยวมาถ่ายมาให้ชมแล้ว ใจนึงก็อยากไปมากๆ เลยครับ อยากไปเห็นว่ามันเป็นยังไง จะรู้สึกเหมือนไปเดินเล่นเมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ มั้ย? และเท่าที่ได้ฟังจากหลายๆ เสียงก็คือเขาพยายามจำลองให้เสมือนจริงมาก ทั้งวิธีการพูดของเหล่าเจ้าหน้าที่ เครื่องแต่งกายในชุดโจงกระเบนและผ้าแถบ รวมไปถึงเงินที่ใช้ก็ต้องไปแลกจากเงินบาทเป็นเงินสตางค์เพื่อซื้อสินค้าด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถให้นักท่องเที่ยวสามารถแต่งกายแบบโบราณได้ด้วย โดยมีการให้เช่าชุดพร้อมเครื่องประดับ ในราคา ๑๐๐ - ๒๐๐ บาท แต่แน่นอนว่าที่นี่ก็ต้องมีค่าเข้าชมสถานที่ด้วย ในราคาคนละ ๑๕๐ บาท ถ้าอยากทานอาหารเย็นพร้อมชมการแสดงแบบโบราณก็มีบัตรเหมาในราคา ๕๕๐ บาท ด้วย นับว่าโหดไม่น้อยเลยทีเดียว
เห็นเรื่องนี้แล้วก็นึกถึงญี่ปุ่น ที่นี่ก็มีเมืองจำลองอยู่ในหลายจังหวัด อย่างที่ดังๆ ก็ที่ เอะโดะ วันเดอร์แลนด์ (Edo wonderland) ในเมืองนิกโกะ จ.โทะจิงิ ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่นในยุคเอะโดะ ทั้งบ้านเรือน ผู้คน การแสดง และ อาหาร คือเท่าที่ดูนี่ เมืองมัลลิกาก็น่าจะทำคล้ายๆ กันกระมัง
ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวแบบนี้มันก็ดีครับ แต่อย่าไปคาดหวังว่าจะให้พวกเขาเรียนรู้อะไรมากเลย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ก็มีความสุข สนุกกับการแค่ได้ถ่ายภาพกับฉากและบรรยากาศแล้วอัพลงสังคมออนไลน์เพียงเท่านั้น จะหาพวกที่พยายามทำความเข้าใจแบบที่เจ้าของต้องการนั้นพูดได้เต็มปากว่าคงเป็นแค่คนส่วนน้อย ... แต่ก็ดีกว่าไม่มี
พอเล่ามาถึงตรงนี้แล้วก็นึกถึงไอเดียนึงที่อยากเสนอทางรัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ทดลองลงมือทำกันดู (ว่าแต่ทำไม ๒ กระทรวงนี้เขาไม่รวมกันแล้วแยกกีฬาออกเป็นกระทรวงใหม่หว่า?)
นั่นคือ ... การจัดชุดแต่งกายแบบไทยยุคสมัยก่อนให้เช่าใส่เดินเล่น ครับ
ผมเห็นหลายๆ คนไปเมืองมัลลิกาแล้วรู้สึกปลาบปลื้มใจที่ได้สวมใส่ชุดพร้อมถ่ายรูปเก๋ๆ โพสต์ลงเฟซบุ๊กอย่างมีความสุข ประกอบกับตอนที่ไปญี่ปุ่น อย่างที่เกียวโต เมืองหลวงเก่า ก็เห็นนักท่องเที่ยวต่างไปตามหาเช่าชุดกันมาใส่เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ ซึ่งราคานี่ก็ไม่ได้ถูกซะด้วย เห็นว่าครั้งละราว ๑,๕๐๐ บาท เลยทีเดียว ก็เลยคิดเล่นๆ ว่า ถ้าภาครัฐ ซึ่งนำโดย ๒ กระทรวงนี้ จัดหาสถานที่สักที่นึงให้นักท่องเที่ยวได้เช่าชุดไทยใส่ท่องเที่ยวในเมืองเก่า อย่างเช่นเริ่มต้นในย่านเกาะรัตนโกสินทร์ ก็คงจะดีไม่น้อย เพราะตึกรามบ้านช่องวัดวาอารามแถวนั้นบางส่วนก็ยังคงสภาพดูเข้ากับชุดอยู่พอสมควร
โดยกระทรวงวัฒนธรรมอาจจะรับบทเป็นแม่งานในการหาเครื่องแต่งกายมาให้เช่าสวมใส่เพราะมีบุคคลากรที่ความเชี่ยวชาญมากที่สุด ซึ่งหากริเริ่มทำในเกาะรัตนโกสินทร์ ก็น่าจะเป็นการนำชุดของคนเมืองในยุครัตนโกสินทร์ตั้งแต่ตอนต้นจนถึงช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ มาให้สวมใส่ ในระยะแรกเริ่มอาจจะมีแค่โจงกระเบนกับผ้าแถบแบบชาวบ้าน บ่าว ไพร่ พอเป็นที่นิยมก็ค่อยเพิ่มชุดสมัยนิยมในหมู่ชนชั้นสูง หรือชุดทหารโบราณเสริมขึ้นมา ก็น่าสนใจไม่น้อย ส่วนราคาก็อาจจะเริ่มต้นที่ ๑๐๐ บาทต่อวันและต้องเอามาคืนรายวัน ถ้ามีออฟชั่นเสริมอย่างเครื่องประดับอะไรต่างๆ หรือผ้าที่สวมใส่มีความพิเศษ มีราคาแพง รวมทั้งชุดสมัยนิยม ก็อาจจะเพิ่มเติมในส่วนของค่าเช่า บวก ค่ามัดจำตามราคาสินค้านั้น เพื่อป้องกันการพวกเนียนเช่าแล้วไม่คืน
ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ก็ให้เข้ามาเสริมในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทราบ รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มเติมตรงนี้ผมว่ามันน่าจะเพิ่มมูลค่าของการท่องเที่ยวได้จริงๆ นะ เอาแค่คนไทย อย่างที่ผมเคยเขียนเอาไว้ว่าหลายคนก็อยากจะใส่ชุดไทยกัน แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน จะซื้อมาใส่เลยก็กลัวจะไม่คุ้ม คราวนี้ถ้ามีให้เช่า มีคนสอนวิธีการแต่งและได้นำไปใส่เดินเล่นในสถานที่จริง ก็อาจทำให้คนอยากที่จะเข้ามาเดินเที่ยวกันมากขึ้น จะเพื่อให้รู้สึกอินกับบรรยากาศหรือแค่ถ่ายรูปเล่นก็ตาม แต่อย่างน้อยก็น่าจะทำให้คนมาเที่ยวในพื้นที่มากขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยกันให้เศรษฐกิจที่ซบเซาสามารถคึกคักขึ้นมาได้
ลองคิดเล่นๆ ดูสิครับ ถ้าเกิดมีคนแห่กันไปเช่า เดินเล่นถ่ายรูป แชร์ภาพกันไปทั่วสังคมออนไลน์ จะมีคนเข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้นกันขนาดไหน?
และถ้าหากมีการโปรโมตดีๆ ให้เป็นกิจกรรมเสริมสำหรับชาวต่างชาติที่อยากลองเรียนรู้เครื่องแต่งกายในยุคก่อนได้สวมใส่จริงเพื่อได้สัมผัสถึงวิถีการแต่งกายของคนสมัยนั้นก็น่าจะเพิ่มประสบการณ์ให้พวกเขาได้ไม่น้อย
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความฝันที่ผมรู้สึกว่า มันน่าจะทำได้และไม่ยากเย็นเท่าไหร่ ... หรืออาจจะยากไปก็ได้สำหรับระบบราชการไทย ก็สุดแท้แต่พวกเขาแล้วล่ะ
บ่นส่งท้ายปีมาเสียเยอะ คราวนี้มาขออวยพรกันสักหน่อย
ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน ที่ติดตามกันมาตลอด (หรือไม่ก็ตาม) จงมีแต่ความสุข มีสุขภาพที่แข็งแรง มีแรงกระตุ้นทำให้เกิดความขยันที่จะคิด ทำ สิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ มีไฟในการต่อสู้ชีวิตกันไป ไม่ว่าจะในปีใหม่ หรือปีไหนๆ ก็ตาม
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๐ ครับ
เมื่อไม่กี่เดือนมานี้มีสถานที่ท่องเที่ยวเปิดใหม่ที่ชื่อว่า “เมืองมัลลิกา ร.ศ.๑๒๔” อยู่ที่ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นเมืองที่จำลองทั้งสถาปัตยกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสยามในยุคปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายในก็มีสิ่งก่อสร้าง เช่น เรือนไทยแบบต่างๆ อาทิ เรือนเดี่ยว หรือ บ้านของชาวบ้าน เรือนคหบดีของชนชั้นปกครอง เรือนหมู่ไว้รับแขก มีการจำลองย่านการค้าอย่าง สามแพร่ง เยาวราช และบางรัก นอกจากนี้ยังมีเรือนแพ ตลาดริมน้ำ ที่ขายอาหารในยุคนั้นทั้งของคาวและหวานให้ได้เลือกชิมกันด้วย
เท่าที่อ่านข่าวเก่าๆ พบว่า คุณพลศักดิ์ ประกอบ นักธุรกิจจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองโบราณแห่งนี้ บอกว่า เขาใช้ทุนสร้างสูงถึงเกือบ ๒๐๐ ล้านบาท เพื่อสานฝันเนรมิตที่ดินที่มีอยู่ ๖๐ ไร่ ให้กลายเป็นเมืองขึ้นมา จากเดิมที่เป็นคนชอบวิถีชีวิตของชาวไทยสมัยโบราณ และชอบอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทย จึงคิดว่าน่าจะสร้างเมืองโบราณขึ้นมาใหม่ ให้เด็กรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ และเข้าใจว่ารากเหง้าของคนไทยนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร รวมทั้งให้รู้ว่าชีวิตความเป็นอยู่ กายแต่งกาย การกิน การหุงหาอาหาร การประกอบอาชีพของคนสมัยนั้นเป็นอย่างไร โดยเลือกในยุคสมัย ร.ศ.๑๒๔ ภายหลังรัชกาลที่ ๕ ทรงประกาศเลิกทาส และเริ่มมีวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา จึงเชื่อว่าช่วงนั้นคนไทยเริ่มมีความสุขที่สุด เพราะว่าการศึกสงครามก็ไม่เกิดขึ้นอีก
โดยโครงการนี้ เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือน มิ.ย.๒๕๕๘ บ้านเรือนไทยทุกหลังออกแบบโดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วนชื่อ มัลลิกา เป็นชื่อต้นน้ำของแม่น้ำอิระวดีในพม่า อันได้ชื่อว่าเป็นแหล่งรวมอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ด้วยกัน ขณะที่ได้ให้ทีมงานทั้งหมดราว ๔๐๐ คน เข้ามาอยู่ในบ้านมัลลิกา ทุกคนจะแต่งกายแบบโบราณ และดำรงชีวิตในแต่ละวันเสมือนจริงในยุคสมัยนั้น โดยไม่ใช่การแสดง เมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมก็จะได้เห็นภาพวัฒนธรรมเป็น โดยไม่ต้องไปจินตนาการอีกต่อไป
ยอมรับเลยครับว่า ยิ่งเห็นภาพที่หลายๆ คนที่ไปเที่ยวมาถ่ายมาให้ชมแล้ว ใจนึงก็อยากไปมากๆ เลยครับ อยากไปเห็นว่ามันเป็นยังไง จะรู้สึกเหมือนไปเดินเล่นเมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ มั้ย? และเท่าที่ได้ฟังจากหลายๆ เสียงก็คือเขาพยายามจำลองให้เสมือนจริงมาก ทั้งวิธีการพูดของเหล่าเจ้าหน้าที่ เครื่องแต่งกายในชุดโจงกระเบนและผ้าแถบ รวมไปถึงเงินที่ใช้ก็ต้องไปแลกจากเงินบาทเป็นเงินสตางค์เพื่อซื้อสินค้าด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถให้นักท่องเที่ยวสามารถแต่งกายแบบโบราณได้ด้วย โดยมีการให้เช่าชุดพร้อมเครื่องประดับ ในราคา ๑๐๐ - ๒๐๐ บาท แต่แน่นอนว่าที่นี่ก็ต้องมีค่าเข้าชมสถานที่ด้วย ในราคาคนละ ๑๕๐ บาท ถ้าอยากทานอาหารเย็นพร้อมชมการแสดงแบบโบราณก็มีบัตรเหมาในราคา ๕๕๐ บาท ด้วย นับว่าโหดไม่น้อยเลยทีเดียว
เห็นเรื่องนี้แล้วก็นึกถึงญี่ปุ่น ที่นี่ก็มีเมืองจำลองอยู่ในหลายจังหวัด อย่างที่ดังๆ ก็ที่ เอะโดะ วันเดอร์แลนด์ (Edo wonderland) ในเมืองนิกโกะ จ.โทะจิงิ ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่นในยุคเอะโดะ ทั้งบ้านเรือน ผู้คน การแสดง และ อาหาร คือเท่าที่ดูนี่ เมืองมัลลิกาก็น่าจะทำคล้ายๆ กันกระมัง
ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวแบบนี้มันก็ดีครับ แต่อย่าไปคาดหวังว่าจะให้พวกเขาเรียนรู้อะไรมากเลย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ก็มีความสุข สนุกกับการแค่ได้ถ่ายภาพกับฉากและบรรยากาศแล้วอัพลงสังคมออนไลน์เพียงเท่านั้น จะหาพวกที่พยายามทำความเข้าใจแบบที่เจ้าของต้องการนั้นพูดได้เต็มปากว่าคงเป็นแค่คนส่วนน้อย ... แต่ก็ดีกว่าไม่มี
พอเล่ามาถึงตรงนี้แล้วก็นึกถึงไอเดียนึงที่อยากเสนอทางรัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ทดลองลงมือทำกันดู (ว่าแต่ทำไม ๒ กระทรวงนี้เขาไม่รวมกันแล้วแยกกีฬาออกเป็นกระทรวงใหม่หว่า?)
นั่นคือ ... การจัดชุดแต่งกายแบบไทยยุคสมัยก่อนให้เช่าใส่เดินเล่น ครับ
ผมเห็นหลายๆ คนไปเมืองมัลลิกาแล้วรู้สึกปลาบปลื้มใจที่ได้สวมใส่ชุดพร้อมถ่ายรูปเก๋ๆ โพสต์ลงเฟซบุ๊กอย่างมีความสุข ประกอบกับตอนที่ไปญี่ปุ่น อย่างที่เกียวโต เมืองหลวงเก่า ก็เห็นนักท่องเที่ยวต่างไปตามหาเช่าชุดกันมาใส่เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ ซึ่งราคานี่ก็ไม่ได้ถูกซะด้วย เห็นว่าครั้งละราว ๑,๕๐๐ บาท เลยทีเดียว ก็เลยคิดเล่นๆ ว่า ถ้าภาครัฐ ซึ่งนำโดย ๒ กระทรวงนี้ จัดหาสถานที่สักที่นึงให้นักท่องเที่ยวได้เช่าชุดไทยใส่ท่องเที่ยวในเมืองเก่า อย่างเช่นเริ่มต้นในย่านเกาะรัตนโกสินทร์ ก็คงจะดีไม่น้อย เพราะตึกรามบ้านช่องวัดวาอารามแถวนั้นบางส่วนก็ยังคงสภาพดูเข้ากับชุดอยู่พอสมควร
โดยกระทรวงวัฒนธรรมอาจจะรับบทเป็นแม่งานในการหาเครื่องแต่งกายมาให้เช่าสวมใส่เพราะมีบุคคลากรที่ความเชี่ยวชาญมากที่สุด ซึ่งหากริเริ่มทำในเกาะรัตนโกสินทร์ ก็น่าจะเป็นการนำชุดของคนเมืองในยุครัตนโกสินทร์ตั้งแต่ตอนต้นจนถึงช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ มาให้สวมใส่ ในระยะแรกเริ่มอาจจะมีแค่โจงกระเบนกับผ้าแถบแบบชาวบ้าน บ่าว ไพร่ พอเป็นที่นิยมก็ค่อยเพิ่มชุดสมัยนิยมในหมู่ชนชั้นสูง หรือชุดทหารโบราณเสริมขึ้นมา ก็น่าสนใจไม่น้อย ส่วนราคาก็อาจจะเริ่มต้นที่ ๑๐๐ บาทต่อวันและต้องเอามาคืนรายวัน ถ้ามีออฟชั่นเสริมอย่างเครื่องประดับอะไรต่างๆ หรือผ้าที่สวมใส่มีความพิเศษ มีราคาแพง รวมทั้งชุดสมัยนิยม ก็อาจจะเพิ่มเติมในส่วนของค่าเช่า บวก ค่ามัดจำตามราคาสินค้านั้น เพื่อป้องกันการพวกเนียนเช่าแล้วไม่คืน
ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ก็ให้เข้ามาเสริมในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทราบ รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพิ่มเติมตรงนี้ผมว่ามันน่าจะเพิ่มมูลค่าของการท่องเที่ยวได้จริงๆ นะ เอาแค่คนไทย อย่างที่ผมเคยเขียนเอาไว้ว่าหลายคนก็อยากจะใส่ชุดไทยกัน แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน จะซื้อมาใส่เลยก็กลัวจะไม่คุ้ม คราวนี้ถ้ามีให้เช่า มีคนสอนวิธีการแต่งและได้นำไปใส่เดินเล่นในสถานที่จริง ก็อาจทำให้คนอยากที่จะเข้ามาเดินเที่ยวกันมากขึ้น จะเพื่อให้รู้สึกอินกับบรรยากาศหรือแค่ถ่ายรูปเล่นก็ตาม แต่อย่างน้อยก็น่าจะทำให้คนมาเที่ยวในพื้นที่มากขึ้น มีการจับจ่ายใช้สอยกันให้เศรษฐกิจที่ซบเซาสามารถคึกคักขึ้นมาได้
ลองคิดเล่นๆ ดูสิครับ ถ้าเกิดมีคนแห่กันไปเช่า เดินเล่นถ่ายรูป แชร์ภาพกันไปทั่วสังคมออนไลน์ จะมีคนเข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้นกันขนาดไหน?
และถ้าหากมีการโปรโมตดีๆ ให้เป็นกิจกรรมเสริมสำหรับชาวต่างชาติที่อยากลองเรียนรู้เครื่องแต่งกายในยุคก่อนได้สวมใส่จริงเพื่อได้สัมผัสถึงวิถีการแต่งกายของคนสมัยนั้นก็น่าจะเพิ่มประสบการณ์ให้พวกเขาได้ไม่น้อย
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความฝันที่ผมรู้สึกว่า มันน่าจะทำได้และไม่ยากเย็นเท่าไหร่ ... หรืออาจจะยากไปก็ได้สำหรับระบบราชการไทย ก็สุดแท้แต่พวกเขาแล้วล่ะ
บ่นส่งท้ายปีมาเสียเยอะ คราวนี้มาขออวยพรกันสักหน่อย
ขอให้ผู้อ่านทุกท่าน ที่ติดตามกันมาตลอด (หรือไม่ก็ตาม) จงมีแต่ความสุข มีสุขภาพที่แข็งแรง มีแรงกระตุ้นทำให้เกิดความขยันที่จะคิด ทำ สิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ มีไฟในการต่อสู้ชีวิตกันไป ไม่ว่าจะในปีใหม่ หรือปีไหนๆ ก็ตาม
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๐ ครับ