ข่าวดังข่าวหนึ่งในช่วงวันหยุดยาว อาสาฬหบูชาต่อเข้าพรรษา ทั้งที่ควรเป็นช่วงที่ชาวไทยโดยเฉพาะชาวพุทธได้ทบทวนการใช้ชีวิต ลด ละ เลิก ทั้งอบายมุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งสุราก็กลายเป็นว่ามีข่าวน่าสลดเกี่ยวกับ “อบายมุข 4.0” ขึ้นมา ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับทุกวันนี้
เป็นเรื่องของเด็กหนุ่มที่ขโมยเงินแม่ไปปรนเปรอ “วีเจ” สาว รวมเป็นเงินกว่า 1.2 ล้านบาท
“วีเจ” สมัยก่อน แผลงมาจากคำว่า “ดีเจ” ที่เพิ่มความหมายจากผู้เปิดแผ่น มาเป็นผู้จัดรายการเพลงทางโทรทัศน์ ซึ่งเปิดมิวสิกวิดีโอแทนแผ่นเสียง
แต่ “วีเจ” ในยุค “อบายมุข 4.0” เป็นการไปจัดหาเด็กหนุ่มเด็กสาวหน้าตาดี มานั่งพูดคุยสดผ่านแอพพลิเคชั่น โดยผู้เข้าชมก็สามารถมีส่วนร่วม เช่น ส่งข้อความทักทายได้แต่ที่สำคัญที่สุด ก็คือการส่ง “ของขวัญ” ให้ ซึ่งของขวัญนี้ก็ไม่ใช่ของขวัญแบบเป็นวัตถุอะไรจับต้องได้จริงนะครับ เป็นเพียงการส่งไอคอน (คล้ายๆ สติ๊กเกอร์ในไลน์) ขึ้นไปบนจอให้วีเจเท่านั้นเอง
ราคาของของขวัญนี้ ก็ถูกแพงต่างกันไป ข้อมูลที่ได้มามีว่า มีตั้งแต่ห้าบาท สิบบาทไปจนเฉียดหมื่นบาท
เมื่อบรรดาวีเจได้ของขวัญ ก็จะแสดงการขอบคุณผู้ที่ให้ของขวัญ ซึ่งแอพพวกนี้ก็จะกำหนดมาเลยว่า ถ้าซื้อของขวัญอะไรให้เท่าไร วีเจจะทำอะไรให้คุณดู เช่น ถ้าซื้อของขวัญราคาสองพันบาท วีเจก็จะร้องเพลงให้ฟัง เป็นต้น ซึ่งก็มีการร่ำลือกันว่า ตกดึกไปแล้ว ก็มีการโชว์พิเศษ เช่น การเต้นโคโยตี้ที่มีความยั่วยวนเบาๆ ก็มี แน่นอนว่าการจะให้เธอเหล่านั้นแสดงอะไรให้ดู ก็จะต้องช่วยกันซื้อของขวัญให้ระดับนั้นก็คงจะว่ากันที่หลายๆ พัน
บริษัทที่จัดแอพพลิเคชั่นโชว์วีเจพวกนี้ ก็ได้หักหัวคิวจากที่ลูกค้าซื้อของขวัญส่งให้บรรดาวีเจ บรรดาวีเจก็ได้ส่วนแบ่ง เรียกว่าเป็นงานทำง่าย แค่มาโชว์ตัวในคอกที่จัดรายการ พูดคุยกับบรรดาแฟนๆ แล้วก็รับเงินส่วนแบ่งจากของขวัญที่ได้รับ
เล่าแล้วคนรุ่น 1.0 ก็อาจจะนึกได้ว่า อ๋อ ก็ไม่ต่างจากคนรุ่นพ่อ รุ่นน้าที่ไปติดนักร้องคาเฟ่สมัยก่อน ที่เอาเงินไปซื้อพวงมาลัยทีละเป็นพันยันเป็นแสนคล้องให้นักร้องโชว์ป๋า
แต่ “ป๋า” สมัยก่อน หรือคนเที่ยวคาเฟ่นั้น ก็จะเป็นคนรุ่นผู้ใหญ่ ทำงานแล้ว แตกต่างจากบรรดาแฟนๆ ของวีเจในแอพพวกนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ยังไม่มีรายได้ รายได้ก็มาจากพ่อแม่ที่เป็นผู้ทำงานหาเลี้ยงนี่แหละ
จึงเกิดเป็นคดีสลดเข้าพรรษาที่กล่าวไปตอนต้น คือมีเด็กวัยรุ่นทำตัวเป็น “เสี่ย” เอาเงินไปซื้อของขวัญปรนเปรอเด็กสาววีเจในแอพพลิเคชั่นทีละเล็กละน้อย พอแสดงความเป็น “ป๋า” จนหญิงสาวตกลงใจคบหากัน ก็มีการเปย์กันนอกรอบ จนรวมๆ เป็นเงินล้านได้ในที่สุด
ครับ อย่างที่บอกไปว่า แม้ในสมัยก่อนจะมีวัฒนธรรมแบบ “คาเฟ่” ให้คนมาโชว์ความกระเป๋าตุง กระเป๋าหนักให้สาวๆ แบบนี้บ้าง แต่เราก็รู้อยู่ว่า คาเฟ่ต่างๆ นั้นเป็นสถานที่กึ่งอโคจรที่อยู่ในหลืบในมุมเฉพาะ ใครใคร่เข้าไปก็เหมือนสมัครใจเข้าไปเอง และคนที่เข้าไปได้ก็ต้องอายุอย่างน้อย 18 ปีมีรายได้ประมาณหนึ่ง
แต่กิจการ “เปิดกล้องส่องสาว” ที่บริษัทแอพพลิเคชั่นหัวใจสร้างขึ้น ดูเหมือนจะมีเป้าหมายชัดเจนอยู่ที่วัยรุ่น และเฉพาะเจาะจงลงไปในกลุ่มที่มีความหมกมุ่นพิเศษ เก็บเนื้อเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน มีความสุขไปวันๆ กับโลกออนไลน์และหญิงชายในแอพ
จึงมีบริษัทหัวใจเห็นช่องทางในการหาเงินตรงนี้ เพราะรู้ว่า คนกลุ่มนี้ซื้อง่าย จ่ายคล่อง เพื่อสนองความเปล่าเปลี่ยวหรือหมกมุ่นนั้น และที่สำคัญไม่ใช่เงินของตัวเองด้วย จึงรู้สึกว่าจ่ายไปเท่าไรก็ไม่เดือดร้อน
ประกอบกับรูปแบบของการ “เปย์” กันผ่านแอพพลิเคชั่นก็ง่ายกว่าการซื้อมาลัยให้นักร้องคาเฟ่เป็นไหนๆ นั่นคือเพียงเลื่อนนิ้วไปกดหรือเอาเมาส์ไปคลิ้ก ก็เสียเงินได้แล้วความยับยั้งชั่งใจก็ต่ำลง อารมณ์เดียวกับใครที่เคยซื้อของออนไลน์ผ่านบัตรเครดิตคงจะนึกออกกัน
นี่คืออบายมุข ในยุค 4.0 ซึ่งไปไกลเกินกว่าที่คนรุ่น 1.0 ยุคอนาล็อก 2.0 สมัยที่เพิ่งมีอินเทอร์เน็ตใหม่ๆ จะทำความเข้าใจได้ง่ายนัก
แน่นอนว่าในแง่มุมของกฎหมายปัจจุบัน บริษัทแอพพลิเคชั่นจะไม่ได้ทำอะไรผิดเลย เพราะเป็นเจตนารมณ์สมยอมกันทั้งคู่ เยี่ยงนิติกรรมทั่วไปที่กระทำโดยใจสมัคร
ทั้งเรื่องที่วีเจแสดงออกหรือพูดคุยผ่านหน้าจอ ก็ไม่มีส่วนล่อแหลมเข้าไปถึงระดับผิดกฎหมายที่จะถูกเอาผิดได้ จะมีบ้างก็แค่ระดับหมิ่นเหม่ฉิวเฉียด จับไม่ได้ ไล่ไม่ทัน
ส่วนเรื่องศีลธรรม ความชอบธรรมที่หาเงินจาก “บ่อ” แห่งความอ่อนแอของคนกลุ่มนี้นั้น ก็เป็นเรื่องคร่ำครึไปเสียแล้วในยุคแห่งเสรีนิยมและบริโภคนิยม บางคนอาจจะฟังข่าวแล้วสมน้ำหน้า บ้างก็คิดไปว่า ก็เงินของเขา จะไปยุ่งอะไร
บ้างก็พูดขำๆ ว่า เป็นเรื่องของการคัดสรรโดยธรรมชาติ แบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก หากใครโง่เอาเงินไปปรนเปรอกับมายาหน้าจอแบบนั้น จนไม่มีเงินกินข้าวหรือจ่ายค่าบ้าน ก็สมควรถูก “คัดออก” ไป
ตราบใดที่บริษัทผู้จัดเขายังไม่ทำอะไรผิดกฎหมาย ก็ไม่มีใครไปมีสิทธิห้าม
แต่เราจะปล่อยสังคมเราไว้แบบนี้จริงๆ หรือ สังคมที่ใครใคร่ค้าอะไรก็ค้า ใครคิดหาวิธีล้วงกระเป๋าจากช่องว่างของความเสื่อมในสังคมได้เร็ว ก็มือใครยาวสาวได้สาวเอาไปแบบนี้
หรือการทำธุรกิจนั้นควรจะมี “จริยธรรม” กันบ้าง ถ้าจะหาเงินจากอบายมุขหรือเส้นทางสีเทาแบบนี้ ก็น่าจะเลือก “ตลาด” กันบ้าง ไม่ใช่ว่าเห็นปัญหาสังคมเป็นช่องดูดเงิน.
เป็นเรื่องของเด็กหนุ่มที่ขโมยเงินแม่ไปปรนเปรอ “วีเจ” สาว รวมเป็นเงินกว่า 1.2 ล้านบาท
“วีเจ” สมัยก่อน แผลงมาจากคำว่า “ดีเจ” ที่เพิ่มความหมายจากผู้เปิดแผ่น มาเป็นผู้จัดรายการเพลงทางโทรทัศน์ ซึ่งเปิดมิวสิกวิดีโอแทนแผ่นเสียง
แต่ “วีเจ” ในยุค “อบายมุข 4.0” เป็นการไปจัดหาเด็กหนุ่มเด็กสาวหน้าตาดี มานั่งพูดคุยสดผ่านแอพพลิเคชั่น โดยผู้เข้าชมก็สามารถมีส่วนร่วม เช่น ส่งข้อความทักทายได้แต่ที่สำคัญที่สุด ก็คือการส่ง “ของขวัญ” ให้ ซึ่งของขวัญนี้ก็ไม่ใช่ของขวัญแบบเป็นวัตถุอะไรจับต้องได้จริงนะครับ เป็นเพียงการส่งไอคอน (คล้ายๆ สติ๊กเกอร์ในไลน์) ขึ้นไปบนจอให้วีเจเท่านั้นเอง
ราคาของของขวัญนี้ ก็ถูกแพงต่างกันไป ข้อมูลที่ได้มามีว่า มีตั้งแต่ห้าบาท สิบบาทไปจนเฉียดหมื่นบาท
เมื่อบรรดาวีเจได้ของขวัญ ก็จะแสดงการขอบคุณผู้ที่ให้ของขวัญ ซึ่งแอพพวกนี้ก็จะกำหนดมาเลยว่า ถ้าซื้อของขวัญอะไรให้เท่าไร วีเจจะทำอะไรให้คุณดู เช่น ถ้าซื้อของขวัญราคาสองพันบาท วีเจก็จะร้องเพลงให้ฟัง เป็นต้น ซึ่งก็มีการร่ำลือกันว่า ตกดึกไปแล้ว ก็มีการโชว์พิเศษ เช่น การเต้นโคโยตี้ที่มีความยั่วยวนเบาๆ ก็มี แน่นอนว่าการจะให้เธอเหล่านั้นแสดงอะไรให้ดู ก็จะต้องช่วยกันซื้อของขวัญให้ระดับนั้นก็คงจะว่ากันที่หลายๆ พัน
บริษัทที่จัดแอพพลิเคชั่นโชว์วีเจพวกนี้ ก็ได้หักหัวคิวจากที่ลูกค้าซื้อของขวัญส่งให้บรรดาวีเจ บรรดาวีเจก็ได้ส่วนแบ่ง เรียกว่าเป็นงานทำง่าย แค่มาโชว์ตัวในคอกที่จัดรายการ พูดคุยกับบรรดาแฟนๆ แล้วก็รับเงินส่วนแบ่งจากของขวัญที่ได้รับ
เล่าแล้วคนรุ่น 1.0 ก็อาจจะนึกได้ว่า อ๋อ ก็ไม่ต่างจากคนรุ่นพ่อ รุ่นน้าที่ไปติดนักร้องคาเฟ่สมัยก่อน ที่เอาเงินไปซื้อพวงมาลัยทีละเป็นพันยันเป็นแสนคล้องให้นักร้องโชว์ป๋า
แต่ “ป๋า” สมัยก่อน หรือคนเที่ยวคาเฟ่นั้น ก็จะเป็นคนรุ่นผู้ใหญ่ ทำงานแล้ว แตกต่างจากบรรดาแฟนๆ ของวีเจในแอพพวกนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ยังไม่มีรายได้ รายได้ก็มาจากพ่อแม่ที่เป็นผู้ทำงานหาเลี้ยงนี่แหละ
จึงเกิดเป็นคดีสลดเข้าพรรษาที่กล่าวไปตอนต้น คือมีเด็กวัยรุ่นทำตัวเป็น “เสี่ย” เอาเงินไปซื้อของขวัญปรนเปรอเด็กสาววีเจในแอพพลิเคชั่นทีละเล็กละน้อย พอแสดงความเป็น “ป๋า” จนหญิงสาวตกลงใจคบหากัน ก็มีการเปย์กันนอกรอบ จนรวมๆ เป็นเงินล้านได้ในที่สุด
ครับ อย่างที่บอกไปว่า แม้ในสมัยก่อนจะมีวัฒนธรรมแบบ “คาเฟ่” ให้คนมาโชว์ความกระเป๋าตุง กระเป๋าหนักให้สาวๆ แบบนี้บ้าง แต่เราก็รู้อยู่ว่า คาเฟ่ต่างๆ นั้นเป็นสถานที่กึ่งอโคจรที่อยู่ในหลืบในมุมเฉพาะ ใครใคร่เข้าไปก็เหมือนสมัครใจเข้าไปเอง และคนที่เข้าไปได้ก็ต้องอายุอย่างน้อย 18 ปีมีรายได้ประมาณหนึ่ง
แต่กิจการ “เปิดกล้องส่องสาว” ที่บริษัทแอพพลิเคชั่นหัวใจสร้างขึ้น ดูเหมือนจะมีเป้าหมายชัดเจนอยู่ที่วัยรุ่น และเฉพาะเจาะจงลงไปในกลุ่มที่มีความหมกมุ่นพิเศษ เก็บเนื้อเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน มีความสุขไปวันๆ กับโลกออนไลน์และหญิงชายในแอพ
จึงมีบริษัทหัวใจเห็นช่องทางในการหาเงินตรงนี้ เพราะรู้ว่า คนกลุ่มนี้ซื้อง่าย จ่ายคล่อง เพื่อสนองความเปล่าเปลี่ยวหรือหมกมุ่นนั้น และที่สำคัญไม่ใช่เงินของตัวเองด้วย จึงรู้สึกว่าจ่ายไปเท่าไรก็ไม่เดือดร้อน
ประกอบกับรูปแบบของการ “เปย์” กันผ่านแอพพลิเคชั่นก็ง่ายกว่าการซื้อมาลัยให้นักร้องคาเฟ่เป็นไหนๆ นั่นคือเพียงเลื่อนนิ้วไปกดหรือเอาเมาส์ไปคลิ้ก ก็เสียเงินได้แล้วความยับยั้งชั่งใจก็ต่ำลง อารมณ์เดียวกับใครที่เคยซื้อของออนไลน์ผ่านบัตรเครดิตคงจะนึกออกกัน
นี่คืออบายมุข ในยุค 4.0 ซึ่งไปไกลเกินกว่าที่คนรุ่น 1.0 ยุคอนาล็อก 2.0 สมัยที่เพิ่งมีอินเทอร์เน็ตใหม่ๆ จะทำความเข้าใจได้ง่ายนัก
แน่นอนว่าในแง่มุมของกฎหมายปัจจุบัน บริษัทแอพพลิเคชั่นจะไม่ได้ทำอะไรผิดเลย เพราะเป็นเจตนารมณ์สมยอมกันทั้งคู่ เยี่ยงนิติกรรมทั่วไปที่กระทำโดยใจสมัคร
ทั้งเรื่องที่วีเจแสดงออกหรือพูดคุยผ่านหน้าจอ ก็ไม่มีส่วนล่อแหลมเข้าไปถึงระดับผิดกฎหมายที่จะถูกเอาผิดได้ จะมีบ้างก็แค่ระดับหมิ่นเหม่ฉิวเฉียด จับไม่ได้ ไล่ไม่ทัน
ส่วนเรื่องศีลธรรม ความชอบธรรมที่หาเงินจาก “บ่อ” แห่งความอ่อนแอของคนกลุ่มนี้นั้น ก็เป็นเรื่องคร่ำครึไปเสียแล้วในยุคแห่งเสรีนิยมและบริโภคนิยม บางคนอาจจะฟังข่าวแล้วสมน้ำหน้า บ้างก็คิดไปว่า ก็เงินของเขา จะไปยุ่งอะไร
บ้างก็พูดขำๆ ว่า เป็นเรื่องของการคัดสรรโดยธรรมชาติ แบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก หากใครโง่เอาเงินไปปรนเปรอกับมายาหน้าจอแบบนั้น จนไม่มีเงินกินข้าวหรือจ่ายค่าบ้าน ก็สมควรถูก “คัดออก” ไป
ตราบใดที่บริษัทผู้จัดเขายังไม่ทำอะไรผิดกฎหมาย ก็ไม่มีใครไปมีสิทธิห้าม
แต่เราจะปล่อยสังคมเราไว้แบบนี้จริงๆ หรือ สังคมที่ใครใคร่ค้าอะไรก็ค้า ใครคิดหาวิธีล้วงกระเป๋าจากช่องว่างของความเสื่อมในสังคมได้เร็ว ก็มือใครยาวสาวได้สาวเอาไปแบบนี้
หรือการทำธุรกิจนั้นควรจะมี “จริยธรรม” กันบ้าง ถ้าจะหาเงินจากอบายมุขหรือเส้นทางสีเทาแบบนี้ ก็น่าจะเลือก “ตลาด” กันบ้าง ไม่ใช่ว่าเห็นปัญหาสังคมเป็นช่องดูดเงิน.