มีภาพการ์ตูนอยู่ภาพหนึ่งที่เห็นมานานแล้ว แต่ก็คิดว่าคนวาดเข้าใจสื่อสารออกมาได้ดี เป็นภาพเปรียบเทียบสองภาพ คือ มีเด็ก 3 คนตัวสูงเตี้ยไม่เท่ากัน ยืนอยู่หน้ารั้วกั้น ที่อีกด้านเป็นการแข่งกีฬา
ภาพด้านหนึ่งเป็นคำว่า “เท่าเทียม” (Equality) ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นคำว่า “ยุติธรรม” (Justice)
ด้าน “เท่าเทียม” นั้น เด็กทุกคนไม่ว่าจะสูงจะเตี้ย ได้รับแจกลังไม้ขนาดเท่ากัน 1 ลัง
ผลคือเด็กตัวสูงที่หัวพ้นรั้วอยู่แล้ว ได้ยืนบนลังก็ตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่มีผลอะไรเพราะถึงไม่ต่อลังเขาก็เห็นการแข่งขันกีฬา ส่วนเด็กตัวกลางๆ ที่หัวเคยไม่พ้นรั้ว พอได้ลังมาต่อ 1 ลัง หัวของเขาก็พ้นรั้วได้ดูกีฬาได้
แต่เด็กตัวเตี้ย แม้จะได้ลังมาต่อตัวแล้ว 1 ลัง แต่ก็ไม่พอที่จะดูกีฬาได้ เพราะถึงต่อไปแล้วลังหนึ่ง แต่หัวของเขาก็ยังสูงไม่พ้นรั้วอยู่ดี
อันนี้คือสิ่งที่เรียกว่า “ความเท่าเทียมกัน” หรือ Equality คือทุกคนได้กันไปคนละลังโดยเท่าเทียมกัน
แต่อีกฝั่งหนึ่ง คือฝั่งที่เรียกว่า “ความยุติธรรม” หรือ Justice อันนี้เด็กแต่ละคนได้ลังไม้ไม่เท่ากัน คือ เด็กตัวสูงที่สุด ไม่ได้ลังไม้มาต่อขา เพราะตัวของเขาสูงเกินรั้วอยู่แล้ว ส่วนเด็กตัวกลาง ได้ลังไม้มาต่อ 1 ลัง เพื่อให้หัวเขาสูงพ้นรั้ว ส่วนเด็กตัวเตี้ยที่สุด ได้ลังไม้สองลัง เมื่อต่อตัวไปแล้ว หัวของเขาก็พ้นรั้วพอดี
วิธีการแจกลังในแบบหลังนี้ที่เรียกว่า “ยุติธรรม” แต่ “ไม่เท่าเทียม” เพราะเด็กแต่ละคนได้รับลังไม้ไม่เท่ากัน อาจจะเรียกว่าเป็นการเลือกปฏิบัติก็ได้ คือคนตัวสูงไม่ได้เลย แต่คนตัวเตี้ยได้สองลัง
แต่ผลลัพธ์ของความ “ไม่เท่าเทียม” นี้ ส่งผลให้เด็กทุกคนได้ดูกีฬากันทุกคน ซึ่งดีกว่าความเท่าเทียมที่เป็นการ “เท่ากันแบบเทียมๆ” เพราะได้เท่ากัน แต่ก็มีคนที่ได้เกินความจำเป็น และคนที่ยังขาดอยู่
ที่เล่าเรื่องการ์ตูนชุดนี้ เพราะมีประเด็นโจมตีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ และอาจจะเป็น “จุดตาย” จุดหนึ่งได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนกระทบใจคนส่วนใหญ่คือเรื่องสิทธิทางสาธารณสุข
ที่ว่าเป็นจุดที่ถูกโจมตี คือมีการกล่าวหาว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ มีการตัดคำว่า “สิทธิเสมอกัน” ในการรับบริการสาธารณสุขออกไป
ก็เลยนำไปสู่การตีความว่า อาจจะนำไปสู่การยกเลิกระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการให้การรักษาพยาบาลจะกลายเพียงการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ หาใช่สิทธิของทุกคน ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้ต้องเล่าเรื่อง “เท่าเทียม” กับ “ยุติธรรม” นี่แหละ
ก่อนอื่น เรามาดูตัวบทรัฐธรรมนูญที่ว่าก่อน
มาตราที่ถูกตั้งคำถาม คือ มาตรา 47 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ” และวรรคสองว่า “บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
จะเห็นว่า รัฐธรรมนูญยอมรับว่าทุกคนมีสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐ แต่สำหรับคนยากจนแล้ว ไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้าอ่านกับแบบไม่หาเรื่อง รัฐธรรมนูญนี้เพิ่มสิทธิให้คนยากจนด้วยซ้ำ แต่ที่อาจจะเป็นเรื่อง เพราะมีคนรู้ว่า นโยบาย 30 บาทนี้ เป็นจุดอ่อนสำคัญของคนส่วนใหญ่ ที่ถ้าไปแตะเข้าละเป็นเรื่องแน่
เรื่องนี้เลยถูกขยายความไปว่า รัฐธรรมนูญนี้จะไปยกเลิกสิทธิ 30 บาท กันไปได้ขนาดนั้นเลย
ต้องยอมรับว่า “นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค” หรือโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นนโยบายของทักษิณ ที่ซื้อใจรากหญ้าได้มากที่สุด
และเป็นสิ่งอาจจะเรียกว่า สามารถ “ผูกใจ” ให้คนยากคนจนยังคิดถึงทักษิณได้มากที่สุด อันนี้ไม่ต้องพูดถึงเรื่องผลประโยชน์จากโครงการประชานิยมอื่นๆ เลย
ความหวงแหนโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคนี้เข้มแข็งมาก ใครก็ไม่สามารถยกเลิกได้ ต่อให้รัฐบาลปัจจุบันมีอำนาจมากแค่ไหน แค่ครั้งหนึ่งนายกฯ เปรยออกมาเบาๆ ว่าสมควรจะมีการทบทวน ก็ได้รับก้อนอิฐจากคนที่ยังรักยังเห็นด้วยกับโครงการ 30 บาท จนถึงกับต้องถอย ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องเดียวมั้งที่ทำให้นายกฯ คนนี้ถอยได้
นั่นเพราะเรื่องของการเข้ารับบริการทางสาธารณสุขนั้นเป็น “จุดละเอียดอ่อน” สำคัญสำหรับคนยากคนจน เพราะในสมัยที่ยังไม่มีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค การไปหาหมอพบแพทย์เป็นเรื่องยาก เพราะค่าใช้จ่ายอาจจะสูง และไม่สามารถคาดเดาก่อนได้
บางครั้งคนในครอบครัวป่วย แทบต้องขายที่ ขายวัวควายสัตว์เลี้ยงมารักษากัน
แต่โครงการ 30 บาท ทำให้คนยากจนกล้าไปใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลมากขึ้น เพราะแน่ใจว่ายังไง 30 บาทนี้ก็ครอบคลุมถึง
อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ก็ยังมีปัญหาสำคัญ คือเป็นการประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับ “ทุกคน” ยกเว้นคนที่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นอยู่แล้ว เช่น ประกันสังคม หรือสิทธิข้าราชการรัฐวิสาหกิจ
เมื่อใครๆ ก็ใช้ 30 บาทได้ ก็เป็นปัญหาของทางแพทย์ ที่จะต้องบริหารงบประมาณที่ได้รับให้ได้ ให้กระจายลงไปให้ “ทุกคน” ได้รับการรักษาอย่างมากที่สุด
ก็เลยมีปัญหาคล้ายๆ กับภาพการ์ตูนที่ว่า คือ เป็นความเท่าเทียมที่ได้โดยไม่เท่ากัน เมื่อเราลองไปถามคนที่เคยใช้สิทธิ 30 บาท ก็จะพบว่ามีประสบการณ์ไม่ตรงกัน เช่น บางคนได้รับการส่งต่อไปรักษาผ่าตัดที่โรงพยาบาลใหญ่ แต่บางคนได้รับยาพารามาหนึ่งแผงแล้วกลับบ้านไป
นี่แหละคือความ “เท่า” อย่าง “เทียม” ที่เอาเข้าจริงการที่ให้สิทธิถั่วหน้า เสมอหน้า โดยไม่แยกความจำเป็นของแต่ละคน ไม่แยกว่าคนจนหรือคนพอมีพอกินบ้าง ก็เป็นปัญหา เหมือนที่เด็กทุกคนได้รับลังไม้ไปคนละลังโดยไม่สนสูงสนเตี้ยนั่นแหละ
หรือเราควรจะทบทวนว่า คนในสังคมเรามีความสามารถในการเข้าถึงบริการ และการรับภาระค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน
แน่นอนว่า เราต้องตัดคนรวยที่มีประกันสุขภาพหรือมีเงินมีทุนสามารถรองรับภาระด้านค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ หรือผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นๆ เช่น ราชการหรือประกันสังคมออกไปก่อน
สำหรับผู้ไม่อยู่ในข่าย เราอาจจะทบทวนได้หรือไม่ ว่าแต่ละคนอาจจะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐไม่เท่ากันบ้าง ตามแต่ความจำเป็นและสภาพของแต่ละคน
ใครที่พอจะรับภาระได้บ้าง พอมีเงินมีทุนไม่เดือดร้อนนัก ก็อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายบ้าง แต่ก็อย่าให้มากจนสิ้นเนื้อประดาตัวก็พอ
ส่วนคนยากคนจนนั้น ก็อาจจะได้รับการรักษาฟรี หรือมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
เช่นนี้ก็เท่ากับเป็นการ “เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข” กันไป และรัฐก็ยังจะได้ใช้เงินที่คนที่ “พอมี” อยู่บ้างมาช่วยจ่าย เพื่อไปถัวให้ “คนไม่มี” เป็นการอุ้มชูกันในสังคมโดยทางอ้อม
ให้ทุกคนมีสิทธิเข้ารับบริการทางสาธารณสุขแบบ “ยุติธรรม” ตามความสามารถ น่าจะดีกว่าสิทธิแบบเท่าเทียมกันไม่เลือกหน้าอินทร์หน้าพรหม ซึ่งสุดท้ายก็จะมีคนที่ได้เกิน และยังเหลือคนที่ได้ขาด.
ภาพด้านหนึ่งเป็นคำว่า “เท่าเทียม” (Equality) ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นคำว่า “ยุติธรรม” (Justice)
ด้าน “เท่าเทียม” นั้น เด็กทุกคนไม่ว่าจะสูงจะเตี้ย ได้รับแจกลังไม้ขนาดเท่ากัน 1 ลัง
ผลคือเด็กตัวสูงที่หัวพ้นรั้วอยู่แล้ว ได้ยืนบนลังก็ตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่มีผลอะไรเพราะถึงไม่ต่อลังเขาก็เห็นการแข่งขันกีฬา ส่วนเด็กตัวกลางๆ ที่หัวเคยไม่พ้นรั้ว พอได้ลังมาต่อ 1 ลัง หัวของเขาก็พ้นรั้วได้ดูกีฬาได้
แต่เด็กตัวเตี้ย แม้จะได้ลังมาต่อตัวแล้ว 1 ลัง แต่ก็ไม่พอที่จะดูกีฬาได้ เพราะถึงต่อไปแล้วลังหนึ่ง แต่หัวของเขาก็ยังสูงไม่พ้นรั้วอยู่ดี
อันนี้คือสิ่งที่เรียกว่า “ความเท่าเทียมกัน” หรือ Equality คือทุกคนได้กันไปคนละลังโดยเท่าเทียมกัน
แต่อีกฝั่งหนึ่ง คือฝั่งที่เรียกว่า “ความยุติธรรม” หรือ Justice อันนี้เด็กแต่ละคนได้ลังไม้ไม่เท่ากัน คือ เด็กตัวสูงที่สุด ไม่ได้ลังไม้มาต่อขา เพราะตัวของเขาสูงเกินรั้วอยู่แล้ว ส่วนเด็กตัวกลาง ได้ลังไม้มาต่อ 1 ลัง เพื่อให้หัวเขาสูงพ้นรั้ว ส่วนเด็กตัวเตี้ยที่สุด ได้ลังไม้สองลัง เมื่อต่อตัวไปแล้ว หัวของเขาก็พ้นรั้วพอดี
วิธีการแจกลังในแบบหลังนี้ที่เรียกว่า “ยุติธรรม” แต่ “ไม่เท่าเทียม” เพราะเด็กแต่ละคนได้รับลังไม้ไม่เท่ากัน อาจจะเรียกว่าเป็นการเลือกปฏิบัติก็ได้ คือคนตัวสูงไม่ได้เลย แต่คนตัวเตี้ยได้สองลัง
แต่ผลลัพธ์ของความ “ไม่เท่าเทียม” นี้ ส่งผลให้เด็กทุกคนได้ดูกีฬากันทุกคน ซึ่งดีกว่าความเท่าเทียมที่เป็นการ “เท่ากันแบบเทียมๆ” เพราะได้เท่ากัน แต่ก็มีคนที่ได้เกินความจำเป็น และคนที่ยังขาดอยู่
ที่เล่าเรื่องการ์ตูนชุดนี้ เพราะมีประเด็นโจมตีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ และอาจจะเป็น “จุดตาย” จุดหนึ่งได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนกระทบใจคนส่วนใหญ่คือเรื่องสิทธิทางสาธารณสุข
ที่ว่าเป็นจุดที่ถูกโจมตี คือมีการกล่าวหาว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ มีการตัดคำว่า “สิทธิเสมอกัน” ในการรับบริการสาธารณสุขออกไป
ก็เลยนำไปสู่การตีความว่า อาจจะนำไปสู่การยกเลิกระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการให้การรักษาพยาบาลจะกลายเพียงการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ หาใช่สิทธิของทุกคน ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้ต้องเล่าเรื่อง “เท่าเทียม” กับ “ยุติธรรม” นี่แหละ
ก่อนอื่น เรามาดูตัวบทรัฐธรรมนูญที่ว่าก่อน
มาตราที่ถูกตั้งคำถาม คือ มาตรา 47 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ” และวรรคสองว่า “บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
จะเห็นว่า รัฐธรรมนูญยอมรับว่าทุกคนมีสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐ แต่สำหรับคนยากจนแล้ว ไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้าอ่านกับแบบไม่หาเรื่อง รัฐธรรมนูญนี้เพิ่มสิทธิให้คนยากจนด้วยซ้ำ แต่ที่อาจจะเป็นเรื่อง เพราะมีคนรู้ว่า นโยบาย 30 บาทนี้ เป็นจุดอ่อนสำคัญของคนส่วนใหญ่ ที่ถ้าไปแตะเข้าละเป็นเรื่องแน่
เรื่องนี้เลยถูกขยายความไปว่า รัฐธรรมนูญนี้จะไปยกเลิกสิทธิ 30 บาท กันไปได้ขนาดนั้นเลย
ต้องยอมรับว่า “นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค” หรือโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นนโยบายของทักษิณ ที่ซื้อใจรากหญ้าได้มากที่สุด
และเป็นสิ่งอาจจะเรียกว่า สามารถ “ผูกใจ” ให้คนยากคนจนยังคิดถึงทักษิณได้มากที่สุด อันนี้ไม่ต้องพูดถึงเรื่องผลประโยชน์จากโครงการประชานิยมอื่นๆ เลย
ความหวงแหนโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคนี้เข้มแข็งมาก ใครก็ไม่สามารถยกเลิกได้ ต่อให้รัฐบาลปัจจุบันมีอำนาจมากแค่ไหน แค่ครั้งหนึ่งนายกฯ เปรยออกมาเบาๆ ว่าสมควรจะมีการทบทวน ก็ได้รับก้อนอิฐจากคนที่ยังรักยังเห็นด้วยกับโครงการ 30 บาท จนถึงกับต้องถอย ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องเดียวมั้งที่ทำให้นายกฯ คนนี้ถอยได้
นั่นเพราะเรื่องของการเข้ารับบริการทางสาธารณสุขนั้นเป็น “จุดละเอียดอ่อน” สำคัญสำหรับคนยากคนจน เพราะในสมัยที่ยังไม่มีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค การไปหาหมอพบแพทย์เป็นเรื่องยาก เพราะค่าใช้จ่ายอาจจะสูง และไม่สามารถคาดเดาก่อนได้
บางครั้งคนในครอบครัวป่วย แทบต้องขายที่ ขายวัวควายสัตว์เลี้ยงมารักษากัน
แต่โครงการ 30 บาท ทำให้คนยากจนกล้าไปใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลมากขึ้น เพราะแน่ใจว่ายังไง 30 บาทนี้ก็ครอบคลุมถึง
อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ก็ยังมีปัญหาสำคัญ คือเป็นการประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับ “ทุกคน” ยกเว้นคนที่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นอยู่แล้ว เช่น ประกันสังคม หรือสิทธิข้าราชการรัฐวิสาหกิจ
เมื่อใครๆ ก็ใช้ 30 บาทได้ ก็เป็นปัญหาของทางแพทย์ ที่จะต้องบริหารงบประมาณที่ได้รับให้ได้ ให้กระจายลงไปให้ “ทุกคน” ได้รับการรักษาอย่างมากที่สุด
ก็เลยมีปัญหาคล้ายๆ กับภาพการ์ตูนที่ว่า คือ เป็นความเท่าเทียมที่ได้โดยไม่เท่ากัน เมื่อเราลองไปถามคนที่เคยใช้สิทธิ 30 บาท ก็จะพบว่ามีประสบการณ์ไม่ตรงกัน เช่น บางคนได้รับการส่งต่อไปรักษาผ่าตัดที่โรงพยาบาลใหญ่ แต่บางคนได้รับยาพารามาหนึ่งแผงแล้วกลับบ้านไป
นี่แหละคือความ “เท่า” อย่าง “เทียม” ที่เอาเข้าจริงการที่ให้สิทธิถั่วหน้า เสมอหน้า โดยไม่แยกความจำเป็นของแต่ละคน ไม่แยกว่าคนจนหรือคนพอมีพอกินบ้าง ก็เป็นปัญหา เหมือนที่เด็กทุกคนได้รับลังไม้ไปคนละลังโดยไม่สนสูงสนเตี้ยนั่นแหละ
หรือเราควรจะทบทวนว่า คนในสังคมเรามีความสามารถในการเข้าถึงบริการ และการรับภาระค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน
แน่นอนว่า เราต้องตัดคนรวยที่มีประกันสุขภาพหรือมีเงินมีทุนสามารถรองรับภาระด้านค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ หรือผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นๆ เช่น ราชการหรือประกันสังคมออกไปก่อน
สำหรับผู้ไม่อยู่ในข่าย เราอาจจะทบทวนได้หรือไม่ ว่าแต่ละคนอาจจะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐไม่เท่ากันบ้าง ตามแต่ความจำเป็นและสภาพของแต่ละคน
ใครที่พอจะรับภาระได้บ้าง พอมีเงินมีทุนไม่เดือดร้อนนัก ก็อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายบ้าง แต่ก็อย่าให้มากจนสิ้นเนื้อประดาตัวก็พอ
ส่วนคนยากคนจนนั้น ก็อาจจะได้รับการรักษาฟรี หรือมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
เช่นนี้ก็เท่ากับเป็นการ “เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข” กันไป และรัฐก็ยังจะได้ใช้เงินที่คนที่ “พอมี” อยู่บ้างมาช่วยจ่าย เพื่อไปถัวให้ “คนไม่มี” เป็นการอุ้มชูกันในสังคมโดยทางอ้อม
ให้ทุกคนมีสิทธิเข้ารับบริการทางสาธารณสุขแบบ “ยุติธรรม” ตามความสามารถ น่าจะดีกว่าสิทธิแบบเท่าเทียมกันไม่เลือกหน้าอินทร์หน้าพรหม ซึ่งสุดท้ายก็จะมีคนที่ได้เกิน และยังเหลือคนที่ได้ขาด.