ผ่านไปได้ยินความเห็นของใครสักคนตั้งข้อสังเกตไว้น่าสนใจ เกี่ยวกับข่าวที่รัฐบาลมีมติยกเลิกต่อสัมปทานเหมืองแร่ทองคำ พร้อมนโยบายปิดเหมืองแร่ทองคำทั่วประเทศว่า
“แล้วต่อไปนี้ NGO นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชน สิทธิของประชาชน ประชาธิปไตยจะเอาไงดี? จะด่ารัฐบาลต่อไป หรือจะชื่นชมขอบคุณรัฐบาลที่ช่วยปิดเหมืองแร่ทองคำ”
เออ นั่นน่ะซิ!
ปัญหาเรื่องเหมืองแร่ทองคำเป็นหนึ่งในปัญหาเรื้อรัง และเป็นหนึ่งในประเด็นการต่อสู้เรื่องสิทธิของชุมชนและประชาธิปไตยในประเทศไทย
ด้วยเพราะเหมืองแร่ทองคำนั้น ส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นชุมชนโดยรอบ
จากการตรวจสอบ พบสารพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมรอบเหมืองแร่ทองคำ เป็นสารโลหะหนักเกินค่ามาตรฐาน ตรวจพบได้ในร่างกายชาวบ้านในท้องถิ่นบริเวณเหมืองทองคำนั้น
ภาคเอกชนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชนต่อสู้กับเหมืองแร่ทองคำกันมาโดยตลอด และกลุ่มเหล่านี้ก็มีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม “ประชาธิปไตย” ด้วย เช่น กลุ่มดาวดินก็มีที่มาจากกลุ่มนักศึกษาต่อต้านเหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย
พูดง่ายๆ คือ ฝ่าย “ประชาธิปไตย” สาย “สิทธิชุมชน - สิ่งแวดล้อม” เขาไม่เอา “เหมืองแร่ทองคำ” และรัฐบาล “เผด็จการ”
แต่พอรัฐบาล “เผด็จการ” จัดการ “เหมืองแร่ทองคำ” ให้ ทีนี้ฝ่ายประชาธิปไตยก็ไปกันไม่ถูก
อาจจะมีการวิเคราะห์อะไรมาแก้เกี้ยวบ้าง เช่นว่ายังไงเหมืองนี้ก็ต้องหมดอายุสัญญาสัมปทานอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นอย่างนั้น เพราะรัฐบาลไม่ได้สั่งปิด เพียงแต่ไม่อนุญาตให้ทำต่อ และที่กำลังมีทำอยู่ ก็จะค่อยๆ ใช้มาตรการต่างๆ เช่น ยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำขอต่ออายุประทานบัตร เพื่อปิดเหมืองแร่ทองคำ
ถ้าพูดกันให้หวือหวาก็เหมือนกับ “ศัตรูเบอร์หนึ่ง” (การใช้อำนาจแบบเผด็จการ) ช่วยกำจัด “ศัตรูเบอร์สอง” (นายทุนทำลายชุมชนและสิ่งแวดล้อม) อย่างนั้นเราควรต้องขอบคุณเขาไหม
กระบวนการเด็ดขาดไม่เห็นแก่ประโยชน์ของนายทุนนี้รับรองว่าไม่ได้เห็นในยุครัฐบาล “ประชาธิปไตย” ในระบบเลือกตั้งแน่ๆ
ต่อให้ตัดเรื่อง “รับเงินนายทุน” ออกไป รัฐบาลจากการเลือกตั้งหรือ “ประชาธิปไตย” ก็ยังมีปัญหาอยู่ดี เอาเป็นว่าไม่ต้องพูดเรื่องรับเงินนายทุนก็ได้ สมมติว่าไม่มีการรับเงินนายทุน ไม่มีการทุจริตประพฤติมิชอบอะไรเลยก็ตาม
แต่ด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น นายทุนก็จะมี “ตัวแทน” ของตนในสภาฯ การจะโหวตหรือสนับสนุนรัฐบาลให้ทำเรื่องแบบนี้ ก็เรียกว่าเป็นไปไม่ได้เลย
หรือในการตัดสินใจอะไร ก็จะต้อง “ฟัง” ทุกฝ่าย ซึ่งก็เป็นเรื่องสมควรจะทำอยู่หรอก ถ้าฟังแล้วจะ “ตัดสินใจ” อะไรสักอย่าง เลือกเอาสักทาง แล้วก็ “ทำ” มันลงไปไม่ใช่แค่ฟังทุกฝ่าย แล้วก็ไม่กล้าทำอะไรเลย
ใครมีประสบการณ์กับงานราชการหรือการเมืองคงรู้ว่า พอตกลงอะไรกันไม่ได้ ก็จะไปตั้งคณะกรรมาธิการบ้าง กรรมการบ้าง ทำการศึกษาถ่วงเวลากันไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ตั้งกรรมาธิการ กรรมการ กันมาเป็นร้อยๆ ชุดผ่านสภาฯ ไปแล้ว 3-4 สภาฯ กฎหมายออกไม่ได้สักทีก็มี
การรับฟังทุกฝ่ายอย่างเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ได้แปลว่าฟังเพื่อจะตามใจทุกฝ่าย ทำให้ทุกฝ่ายถูกใจ (ซึ่งไม่มีวันเป็นไปได้ เพราะทุกเรื่องในโลกนี้ อย่างน้อยมันจะแบ่งเป็นฝ่ายเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย) แต่ต้องเป็นการฟังเพื่อให้ได้ทราบว่า การตัดสินใจนี้ อาจจะกระทบต่อใครบ้าง และตัดสินใจทางไหนจะได้มากกว่าเสีย
การรับฟังนี้จะทำให้ตัดสินใจได้ว่าควรจะตัดสินใจไปทางไหน และถ้าไปทางนั้นฝ่ายที่เสียหายเขาจะเสียหายอย่างไร และเราจะเยียวยาเขาได้หรือไม่อย่างไร
จะเห็นว่าในรัฐบาลนี้ ได้มีการออกกฎหมายหรือแก้กฎหมายต่างๆ ไปหลายฉบับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดขัดติดค้างกันมาในสมัยรัฐบาลประชาธิปไตย
หลายคนอาจจะนินทาว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นสภาฯ ตรายาง แต่ในวงการกฎหมายเขาก็บอกกันว่า ถ้าไม่มี สนช.ชุดนี้ กฎหมายดีๆ หลายฉบับที่เป็นกฎหมายที่ไม่ใช่พวกหวือหวาเอาไว้หาเสียง เช่น ประมวลกฎหมายอาญาที่รองรับความผิดที่ทันสมัยขึ้น แก้ไขโทษที่ล้าสมัย ก็ไม่มีวันได้ออกมารวมถึงวิธีพิจารณาความแพ่งที่รองรับการฟ้องคดีแบบ Class Action ด้วย ซึ่งก็พูดก็ศึกษากันมาหลายปี เพิ่งมาสำเร็จเอาในสมัยรัฐบาล คสช.และสภานิติบัญญัตินี้เอง
ไม่เชื่อใครลองไปดูสถิติย้อนหลังก็ได้ ว่าสมัยรัฐบาล “ประชาธิปไตย” สภาฯ มาจากการเลือกตั้ง สภาฯ นั้นผ่านกฎหมายกี่ฉบับ และเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์กับใครบ้างหรือไม่ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลในสมัยนั้นผ่านกฎหมายออกมาน้อยจนน่าใจหายเลยทีเดียว
เพราะความมีอำนาจเด็ดขาด และสามารถตัดสินใจได้โดยไม่มีประโยชน์ได้เสียนี่เอง ทำให้รัฐบาล “เผด็จการ” สามารถดำเนินการให้กลไกกฎหมายหรือราชการเหล่านี้ไปต่อได้ โดยไม่ต้องกังวลกับกลุ่มผลประโยชน์หรือฐานเสียงใดๆ
จึงเป็นจุดที่รัฐบาลน่าจะเอามาใช้ให้ “เป็น” ในการแก้ปัญหาหมักหมมหลายอย่าง ที่ประชาชนรอให้มีการแก้ไขปฏิรูป
เอาที่เป็นกระแสในสังคมปัจจุบันก็ได้ เช่น ความอ่อนแอของกฎหมายเกี่ยวกับการจราจร ทำให้มีฆาตกรตีนผีนึกจะขับรถเร็วก็อัดเข้าไป บนถนนสายเดียวกับที่ผู้คนเขาใช้กัน พอชนขึ้นมาก็อาศัยเส้นสายหรือช่องทางการดำเนินคดีให้ไม่ต้องติดคุก หรือคดีที่ก่อขึ้นโดยวัยรุ่นกวนเมืองที่ฆ่าคนพิการไปเมื่ออาทิตย์ก่อน
ปัญหาเหล่านี้ละครับ ถ้าแก้ไขได้ สามารถที่จะหยุดยั้งอาชญากรรม นำการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็งนำมาสู่สันติสุขของสังคมและประเทศชาติได้
ใครจะว่าเผด็จการไม่ดี คงต้องคิดหนักกันบ้างละครับ .
“แล้วต่อไปนี้ NGO นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชน สิทธิของประชาชน ประชาธิปไตยจะเอาไงดี? จะด่ารัฐบาลต่อไป หรือจะชื่นชมขอบคุณรัฐบาลที่ช่วยปิดเหมืองแร่ทองคำ”
เออ นั่นน่ะซิ!
ปัญหาเรื่องเหมืองแร่ทองคำเป็นหนึ่งในปัญหาเรื้อรัง และเป็นหนึ่งในประเด็นการต่อสู้เรื่องสิทธิของชุมชนและประชาธิปไตยในประเทศไทย
ด้วยเพราะเหมืองแร่ทองคำนั้น ส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นชุมชนโดยรอบ
จากการตรวจสอบ พบสารพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมรอบเหมืองแร่ทองคำ เป็นสารโลหะหนักเกินค่ามาตรฐาน ตรวจพบได้ในร่างกายชาวบ้านในท้องถิ่นบริเวณเหมืองทองคำนั้น
ภาคเอกชนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชนต่อสู้กับเหมืองแร่ทองคำกันมาโดยตลอด และกลุ่มเหล่านี้ก็มีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม “ประชาธิปไตย” ด้วย เช่น กลุ่มดาวดินก็มีที่มาจากกลุ่มนักศึกษาต่อต้านเหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลย
พูดง่ายๆ คือ ฝ่าย “ประชาธิปไตย” สาย “สิทธิชุมชน - สิ่งแวดล้อม” เขาไม่เอา “เหมืองแร่ทองคำ” และรัฐบาล “เผด็จการ”
แต่พอรัฐบาล “เผด็จการ” จัดการ “เหมืองแร่ทองคำ” ให้ ทีนี้ฝ่ายประชาธิปไตยก็ไปกันไม่ถูก
อาจจะมีการวิเคราะห์อะไรมาแก้เกี้ยวบ้าง เช่นว่ายังไงเหมืองนี้ก็ต้องหมดอายุสัญญาสัมปทานอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นอย่างนั้น เพราะรัฐบาลไม่ได้สั่งปิด เพียงแต่ไม่อนุญาตให้ทำต่อ และที่กำลังมีทำอยู่ ก็จะค่อยๆ ใช้มาตรการต่างๆ เช่น ยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำขอต่ออายุประทานบัตร เพื่อปิดเหมืองแร่ทองคำ
ถ้าพูดกันให้หวือหวาก็เหมือนกับ “ศัตรูเบอร์หนึ่ง” (การใช้อำนาจแบบเผด็จการ) ช่วยกำจัด “ศัตรูเบอร์สอง” (นายทุนทำลายชุมชนและสิ่งแวดล้อม) อย่างนั้นเราควรต้องขอบคุณเขาไหม
กระบวนการเด็ดขาดไม่เห็นแก่ประโยชน์ของนายทุนนี้รับรองว่าไม่ได้เห็นในยุครัฐบาล “ประชาธิปไตย” ในระบบเลือกตั้งแน่ๆ
ต่อให้ตัดเรื่อง “รับเงินนายทุน” ออกไป รัฐบาลจากการเลือกตั้งหรือ “ประชาธิปไตย” ก็ยังมีปัญหาอยู่ดี เอาเป็นว่าไม่ต้องพูดเรื่องรับเงินนายทุนก็ได้ สมมติว่าไม่มีการรับเงินนายทุน ไม่มีการทุจริตประพฤติมิชอบอะไรเลยก็ตาม
แต่ด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น นายทุนก็จะมี “ตัวแทน” ของตนในสภาฯ การจะโหวตหรือสนับสนุนรัฐบาลให้ทำเรื่องแบบนี้ ก็เรียกว่าเป็นไปไม่ได้เลย
หรือในการตัดสินใจอะไร ก็จะต้อง “ฟัง” ทุกฝ่าย ซึ่งก็เป็นเรื่องสมควรจะทำอยู่หรอก ถ้าฟังแล้วจะ “ตัดสินใจ” อะไรสักอย่าง เลือกเอาสักทาง แล้วก็ “ทำ” มันลงไปไม่ใช่แค่ฟังทุกฝ่าย แล้วก็ไม่กล้าทำอะไรเลย
ใครมีประสบการณ์กับงานราชการหรือการเมืองคงรู้ว่า พอตกลงอะไรกันไม่ได้ ก็จะไปตั้งคณะกรรมาธิการบ้าง กรรมการบ้าง ทำการศึกษาถ่วงเวลากันไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ตั้งกรรมาธิการ กรรมการ กันมาเป็นร้อยๆ ชุดผ่านสภาฯ ไปแล้ว 3-4 สภาฯ กฎหมายออกไม่ได้สักทีก็มี
การรับฟังทุกฝ่ายอย่างเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ได้แปลว่าฟังเพื่อจะตามใจทุกฝ่าย ทำให้ทุกฝ่ายถูกใจ (ซึ่งไม่มีวันเป็นไปได้ เพราะทุกเรื่องในโลกนี้ อย่างน้อยมันจะแบ่งเป็นฝ่ายเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย) แต่ต้องเป็นการฟังเพื่อให้ได้ทราบว่า การตัดสินใจนี้ อาจจะกระทบต่อใครบ้าง และตัดสินใจทางไหนจะได้มากกว่าเสีย
การรับฟังนี้จะทำให้ตัดสินใจได้ว่าควรจะตัดสินใจไปทางไหน และถ้าไปทางนั้นฝ่ายที่เสียหายเขาจะเสียหายอย่างไร และเราจะเยียวยาเขาได้หรือไม่อย่างไร
จะเห็นว่าในรัฐบาลนี้ ได้มีการออกกฎหมายหรือแก้กฎหมายต่างๆ ไปหลายฉบับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดขัดติดค้างกันมาในสมัยรัฐบาลประชาธิปไตย
หลายคนอาจจะนินทาว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นสภาฯ ตรายาง แต่ในวงการกฎหมายเขาก็บอกกันว่า ถ้าไม่มี สนช.ชุดนี้ กฎหมายดีๆ หลายฉบับที่เป็นกฎหมายที่ไม่ใช่พวกหวือหวาเอาไว้หาเสียง เช่น ประมวลกฎหมายอาญาที่รองรับความผิดที่ทันสมัยขึ้น แก้ไขโทษที่ล้าสมัย ก็ไม่มีวันได้ออกมารวมถึงวิธีพิจารณาความแพ่งที่รองรับการฟ้องคดีแบบ Class Action ด้วย ซึ่งก็พูดก็ศึกษากันมาหลายปี เพิ่งมาสำเร็จเอาในสมัยรัฐบาล คสช.และสภานิติบัญญัตินี้เอง
ไม่เชื่อใครลองไปดูสถิติย้อนหลังก็ได้ ว่าสมัยรัฐบาล “ประชาธิปไตย” สภาฯ มาจากการเลือกตั้ง สภาฯ นั้นผ่านกฎหมายกี่ฉบับ และเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์กับใครบ้างหรือไม่ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลในสมัยนั้นผ่านกฎหมายออกมาน้อยจนน่าใจหายเลยทีเดียว
เพราะความมีอำนาจเด็ดขาด และสามารถตัดสินใจได้โดยไม่มีประโยชน์ได้เสียนี่เอง ทำให้รัฐบาล “เผด็จการ” สามารถดำเนินการให้กลไกกฎหมายหรือราชการเหล่านี้ไปต่อได้ โดยไม่ต้องกังวลกับกลุ่มผลประโยชน์หรือฐานเสียงใดๆ
จึงเป็นจุดที่รัฐบาลน่าจะเอามาใช้ให้ “เป็น” ในการแก้ปัญหาหมักหมมหลายอย่าง ที่ประชาชนรอให้มีการแก้ไขปฏิรูป
เอาที่เป็นกระแสในสังคมปัจจุบันก็ได้ เช่น ความอ่อนแอของกฎหมายเกี่ยวกับการจราจร ทำให้มีฆาตกรตีนผีนึกจะขับรถเร็วก็อัดเข้าไป บนถนนสายเดียวกับที่ผู้คนเขาใช้กัน พอชนขึ้นมาก็อาศัยเส้นสายหรือช่องทางการดำเนินคดีให้ไม่ต้องติดคุก หรือคดีที่ก่อขึ้นโดยวัยรุ่นกวนเมืองที่ฆ่าคนพิการไปเมื่ออาทิตย์ก่อน
ปัญหาเหล่านี้ละครับ ถ้าแก้ไขได้ สามารถที่จะหยุดยั้งอาชญากรรม นำการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็งนำมาสู่สันติสุขของสังคมและประเทศชาติได้
ใครจะว่าเผด็จการไม่ดี คงต้องคิดหนักกันบ้างละครับ .