นี่ก็เป็นช่วงเข้าสู่สิ้นปีของ พ.ศ.๒๕๕๘ มนุษย์เงินเดือนหลายคนก็ใช้โอกาสในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคมนี้ ลาพักร้อนที่มีอยู่ให้หมดไป ยิ่งพวกที่สะสมไม่ได้นี่ต้องกาวันลาหาวิธีใช้สิทธิ์สลับกับเพื่อนร่วมงานกันสนุกสนาน ... และแน่นอน ผมก็เป็น ๑ ในนั้น
อย่างที่ผู้อ่านหลายคนเคยติดตามคอลัมน์ "คิดเห็นส่วนตัว" นี้เมื่อต้นปีผมได้เล่าเรื่องการผจญภัยฉายเดี่ยวจากโตเกียว สู่ โอซาก้า ในซีรี่ย์ "Alone in ..." ทั้งเรื่องที่มีสาระ และไม่ค่อยได้สาระอะไรมากจากญี่ปุ่น ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ของปีที่แล้ว (๒๕๕๗) มาในปีนี้ การเดินทางของผมไม่ได้มีเรื่องเล่าจากต่างแดน เพราะภารกิจใหม่ที่เพิ่มมากขึ้นจึงยังไม่สามารถมีเวลาที่จะวางแผนอะไรมากมาย
ขณะที่ซีรี่ย์นี้ "สโลว์ไลฟ์มั้ยจ๊ะ" ผมจะใช้เป็นหัวข้อขึ้นต้นเพื่อเล่าถึงการท่องเที่ยวด้วยตนเองภายในประเทศในครั้งต่อไปด้วย โดยพยายามจะใช้รถสาธารณะให้มากที่สุด เพื่อให้คนที่ไม่ค่อยได้มีโอกาสใช้รถส่วนตัวไปไหนไกลๆ แบบผม หรือคนที่อยากจะลองหันมาใช้วิถีแบบคนไม่มีรถ สามารถอ่านเพื่อเป็นแรงบันดาลใจหรือทดลองเดินทางบ้างก็ยังดี ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ก็ตามแต่ละทริปที่จะวางกันไว้ให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามกันไปเป็นระยะๆ
แต่... สารภาพตามตรง อันที่จริงคอนเซ็ปท์นี้มันเกิดจากการที่ต้องการทดลอง หลังได้เห็นการใช้ชีวิตท่องเที่ยวอันสบายๆ เรื่อยเปื่อย ของเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ไม่กำหนดกฏเกณฑ์อะไร ไม่ไปไหน อยู่แต่ในที่พัก หาเวลาอ่านหนังสือที่ชอบ ชมวิว ชมธรรมชาติ นั่งร้านกาแฟ แล้วก็มีความรู้สึกว่า เฮ้ย ไปเที่ยวแบบนั้นแล้วได้อะไร สุขที่เขาค้นพบมันเป็นแบบไหนกันนะ ประกอบกับชีวิตในช่วงนี้ที่ไม่ได้มีโอกาสหาข้อมูลทำทริปอะไรให้แน่น เมื่อได้เวลาที่ลงตัวแล้วก็จองตั๋ว จองที่พัก จองทริป จบสิ้นภายในเวลาไม่ถึง ๒ สัปดาห์ก่อนเดินทาง มีเวลาจดร้านอร่อยนิดหน่อย โดยที่ยังไม่รู้ว่าข้างหน้าจะไปเที่ยว ไปเจออะไร
พูดง่ายๆ ก็คือจะลองเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ ในการเดินทางดูบ้าง จากคนที่เข้มงวดกับการวางแผนอย่างแข็งขัน สู่การไปแบบไม่มีการบ้านอะไรในหัว ดูสิจะเป็นอย่างไร??
และในครั้งนี้ผมมาที่ "เชียงใหม่"
พูดถึงจังหวัดหัวเมืองเหนือแห่งนี้ ผู้อ่านหลายท่านก็คงเคยไปเที่ยวกัน และได้รับประสบการณ์อันหลากหลายจากการใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์ของพวกท่าน แต่อย่างว่า ... การเดินทางของคน แม้จุดหมายเดียวกัน แต่ระหว่างทางอาจมีความต่างเสมอ เรื่องที่ผมเล่าก็เป็นอีกหลายสิ่งที่ได้พบ เจอ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของใครหลายคน และอาจเป็นประสบการณ์ใหม่ของใครอีกหลายคน ดังนั้นประเด็นที่นำเสนอจึงแทรก “เรื่องระหว่างทาง” มากกว่า “ข้อมูลปลายทาง” ที่คงค้นหาอ่านกันได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม ขอให้อ่านแล้วสนุกไปกับผม ก็พอ...
.........................................................
๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ : ศูนย์บริการลูกค้า สมบัติทัวร์ วิภาวดี กรุงเทพมหานคร
วันนี้ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ชาวบ้านทั่วบ้านทั่วเมืองเขาก็พากันไปลอยกระทงตามประเพณีของไทย แต่สำหรับผมแล้ว กำลังจะไปขึ้นรถเพื่อออกเดินทางสู่ “เชียงใหม่” จังหวัดที่ผมเคยไปมาแล้ว ๒ ครั้ง ล่าสุดคือเมื่อ ๕ ปีที่แล้ว แรกเริ่มเดิมทีว่าจะใช้รถไฟเป็นพาหนะในการขนส่งตนเองไปสู่จุดหมายตามแบบฉบับสโลว์ไลฟ์สุดๆ แต่พอเช็กข้อมูลแล้วกลับพบว่า ค่าโดยสารโดยเฉพาะตู้นอนนี่ แม้บรรยากาศอาจจะดีกว่า แต่มันแพงกว่า และยังถึงช้ากว่ารถโดยสารปรับอากาศแบบวีไอพีด้วยซ้ำ เมื่อคำนวณหลายปัจจัยจึงเลือกใช้บริการรถทัวร์ดีกว่า
และนี่เป็นครั้งแรกของผมกับ “สมบัติทัวร์” งวดก่อนหน้านี้นี่ไปกับเจ้านครชัยแอร์ ซึ่งก็ไม่ได้แย่อะไรนะ แต่เพียงแค่อยากลองของที่ไม่เคยดูบ้าง การจองตั๋วมี ๒ แบบคือไปซื้อหน้าตู้ขาย ที่ศูนย์บริการลูกค้า หรือสถานีขนส่ง กับจองผ่านทางโทรศัพท์ คอลเซ็นเตอร์ ๐๒ ๗๙๒ ๑๔๕๖ ไอ้อันนี้จะยากหน่อยเพราะพอจองเสร็จต้องไปชำระเงินผ่านทางตู้เอทีเอ็ม เราจะต้องจดรหัสที่เขาให้มาแล้วไปกรอกในตู้เผื่อจ่ายค่าโดยสาร พอถึงวันเดินทางก็นำสลิปเอทีเอ็มไปขึ้นตั๋วโดยสารที่สถานีขนส่งหรือศูนย์บริการลูกค้า
รถโดยสารจะออกในเวลาสี่ทุ่ม แต่เขาให้ผู้โดยสารมารอขึ้นรถกันตั้งแต่สามทุ่มครึ่ง เพื่อนำสัมภาระยัดใส่ภายในรถ ของเจ้านี้รถวีไอพี หรือซูพรีมตามชื่อเรียกของเขา มี ๒๔ ที่นั่ง เป็นแบบเอนนอนได้ในระดับ ๑๓๕ องศาได้ มีจอทัชสกรีนให้เลือกฟังเพลง ดูภาพยนตร์ หลากหลายรูปแบบ ที่นั่งแต่ละเบาะมีผ้าห่มและหมอนรองคอให้ใช้ อัตราค่าโดยสารอยู่ที่ ๗๗๘ บาท ที่นั่งกว้างค่อนข้างสบายครับ มีพนักงานต้อนรับใส่ชุดคล้ายแอร์โฮสเตสการบินไทยนำของว่างเสิร์ฟพวกขนมปังขำๆ กับน้ำในบรรจุภัณฑ์ของรถทัวร์
ที่เด็ดคือ มื้อรอบดึกมีบุฟเฟ่ต์ด้วย!! เขาจะแวะจุดพักรถที่ จ.กำแพงเพชร ราวๆ ตี ๒ เพื่อเปลี่ยนพนักงานขับรถ ระหว่างนั้นก็ปล่อยให้ผู้โดยสารไปใช้สิทธิ์รับประทานอาหารกลางคืนที่มีกว่า ๑๐ รายการได้ ทั้งข้าวต้มกุ้ยและกับข้าวอย่าง ผัดผัก ยำกุนเชียง ยำผักกาดดอง ไข่เค็ม และอื่นๆ ใครไม่ชอบก็มีข้าวสวยกับแกงเขียวหวาน หรือราดหน้าเส้นใหญ่ให้ได้ไปตักกันตามแต่จะยัดไหว โดยต่างจากรถเจ้าอื่นที่จะมีคูปองให้ไปเลือกอาหารเอง หรือมีให้บริการแค่ไม่กี่อย่าง
พอเทียบกับรถทัวร์เจอาร์บัสของญี่ปุ่น ที่ผมนั่งจากโตเกียว ไป โอซาก้า แล้วก็มีความรู้สึกว่า ไอ้แบบไทยๆ นี่มันเป็นสไตล์ที่ดูเหมาะกับผมกว่ามากเลยทีเดียว ฮ่าๆๆ
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ : สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ ๓
รถทัวร์ใช้เวลาขับขี่รวม ๙ ชั่วโมงครึ่ง ก็พาผู้โดยสารทั้งหมดมาส่งถึงอาเขต อาคารใหม่ ในเวลา ๗ โมงครึ่ง โดยพนักงานต้อนรับจะเปิดไฟในรถเพื่อปลุกกันราวๆ ๑ ชั่วโมงก่อนถึงที่หมายพร้อมแจกของว่าง และขอคืนหูฟังที่ให้ยืมด้วย เมื่อมาถึงสิ่งแรกที่ควรทำเลยก็คือ หาทางไปที่พักที่เราจองเอาไว้ ซึ่งอยู่ในบริเวณรอบคูเมือง การไปง่ายที่สุดก็คือโบกรถสี่ล้อแดง ซึ่งราคาก็ตามความโชคดีของท่าน แต่ผมเลือกวิธีที่ประหยัดกว่านั้น
เผอิญก่อนหน้านี้ผมไปเจอข้อมูลว่า ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่เขากำลังพยายามผุดระบบขนส่งสาธารณะขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดทำรถไฟฟ้า หรือ รถราง แต่ที่ล่าสุดจนสัมฤทธิ์ผลก็คือการนำรถสี่ล้อแดงมาวิ่งเป็นเส้นทางประจำ ไม่ใช่รับส่งแบบตามใจฉันเหมือนแต่ก่อน โดยเพิ่งเปิดให้บริการเมื่อ ๑ สิงหาคมที่ผ่านมา ตามมาตรการจัดระเบียบรถสี่ล้อแดงแบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนรถประจำทาง ทั้งเส้นทางที่ไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการใช้ระบบขนส่งมวลชน และความถี่ในการเดินรถไม่แน่นอน รวมทั้งไม่สามารถประมาณเวลาในการเดินทางได้
โดยได้เริ่มนำร่องให้บริการทั้งหมด ๕ สาย (๒๖ พ.ย.) บวก ๑ สายของรถเมล์ขาวของเทศบาลนครเชียงใหม่ ในอัตราค่าบริการ ๑๕ บาทตลอดสาย แล้วที่เจ๋งกว่ากรุงเทพฯ ก็คือ คุณสามารถเช็กได้ว่าตอนนี้รถแดงกำลังมาถึงป้ายหรือยังได้ด้วยผ่านทางแอพลิเคชั่น CMTRANSIT ทางโทรศัพท์มือถือด้วย ไม่ธรรมดาจริงๆ แต่ว่าให้บริการแค่ช่วงราวๆ ๗ โมงเช้า ไปจนถึงห้าโมงเย็นเท่านั้นนะ หลังจากนั้นก็ยังคงต้องพึ่งรถแดงปกติเหมือนเดิม ถ้าสนใจก็ลองเข้าไปดูข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ http://www.chiangmaibus.org/
ส่วนป้ายรถเมล์บริเวณอาเขตนี้จะอยู่ถนนฝั่งตรงข้ามกับสถานีเลย ใช้เวลารอรถก็ตามแบบฉบับสโลว์ไลฟ์ เนื่องจากเป็นช่วงพีคของการจราจรจึงขาดระยะ รถประเภทนี้สังเกตง่ายๆ จะมีหมายเลขติดอยู่ด้านหน้าคล้ายๆ กับรถเมล์ในเมืองกรุง พอมาถึงแกดันวิ่งไปจอดหน้าขนส่งซะงั้น ไอ้เราก็ต้องข้ามถนนตามไปอีก ฮ่าๆๆ
ผมนั่งรถสาย ๒ ห้วยแก้ว - ขนส่งอาเขต โดยมีจุดหมายแรกอยู่ที่เกสต์เฮ้าส์แถวๆ คูเมือง ที่ชื่อ Hug bed & breakfast อยู่ปากซอยที่จะเข้าไปสนามกีฬาฯ ฝั่งตรงข้ามจะไปซอยที่เข้าไปยังวัดเชียงมั่น ระหว่างทางผมก็คุยกับผู้โดยสารชายอีกท่านที่ขึ้นมาตั้งแต่อาเขต เขาบอกว่าใช้บริการรถโดยสารเช่นนี้หลายครั้ง จัดว่าสะดวกดี แต่มีรถน้อยไปนิด สำหรับผมเองก็ว่าดีเช่นกัน และเสียดายที่หมดเร็วไปหน่อย พอตอนลงตรงหน้าร้านโจ๊กสมเพชร ก็จ่ายเงินให้คนขับซึ่งพูดจาได้สุภาพดี (ผิดกะสองแถวบ้านเราเลย)
มาถึงที่พักในคืนแรก ผมมาแสดงตนว่าจะเช็กอิน แต่ยังไม่สามารถเช็กอินได้เนื่องจากยังไม่ถึงเวลาที่กำหนดในบ่าย ๒ โมง พูดง่ายๆ ก็คือมาเช้าไปนั่นล่ะ เลยขอเขาฝากกระเป๋าเดินทาง และขอเข้าห้องน้ำทำธุระส่วนตัวนิดหน่อย ซึ่งทางที่นี่ก็อนุญาตให้ใช้ จากนั้นค่อยข้ามมาฝั่งตรงข้ามไปเพื่อลิ้มลองอาหารมื้อแรกกับร้านดังอย่าง “โจ๊กสมเพชร”
ร้านนี้เขาว่าเปิดกันมาหลายสิบปีแล้ว แถมยังให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมงด้วย ดูท่าจะได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีนเรียกได้ว่า มากกว่าครึ่งของจำนวนลูกค้าที่นั่งอยู่ในร้าน ณ ตอนนี้ เด็กเสิร์ฟสาวมารับออเดอร์ดูจะมีความรู้ทางภาษาใช่ย่อย บางคนพูดไทย อังกฤษ จีน และภาษากำเนิด (ไม่ใช่อู้กำเมืองแน่ๆ) ได้ด้วย ส่วนใบสั่งอาหารมี ๒ แบบ ใบนึงเป็นกระดาษสีน้ำตาล สำหรับสั่งโจ๊กและอาหารตามสั่ง ส่วนอีกใบสีชมพูไว้สั่งติ่มซำ ผมก็ลองเลยจ้า โจ๊กหมูล้วนใส่ไข่ ๑ ชาม ราคา ๓๕ บาท พร้อมกับขนมจีบกุ้ง ๑ เข่ง ๓๒ บาท
ตัวโจ๊กเนื้อข้าวตีกันจนเนียนได้ที่ไม่เป็นเม็ดดี ก็อร่อยใช้ได้ ส่วนหมูบดปั้นเป็นก้อนแบบลูกชิ้นหมูนุ่ม แต่ให้มาน้อยไปหน่อย แต่ขนมจีบ ... อย่าไปพูดถึงมันเลยครับ ฮ่าๆๆ
จบจากมื้อเช้าก็เดินทางต่อตามหาร้านเช่าจักรยาน จริงๆ วัตถุประสงค์ของการมาในครั้งนี้ ไม่มีอะไรมากนอกจาก พบปะมิตรสหาย หาของกินอร่อย และไปดอยหลวงเชียงดาว แต่เนื่องจากร้านของน้องที่เราจะไปเยี่ยมเยือนนั้นอยู่ไกลจากคูเมือง และไม่มีรถสาธารณะผ่าน การเช่าพาหนะจึงจำเป็นอย่างมากสำหรับวันนี้ และจักรยานก็คือคำตอบที่ดีที่สุดของคนไม่มีใบขับขี่รถ ผมเดินตามหาอยู่หลายร้านส่วนใหญ่มักเป็นจักรยานแม่บ้าน ซึ่งถ้าไปไกลๆ นี่เหนื่อยแน่นอน แต่ก็โชคดีระหว่างที่เดินเข้าถนนราชภาคิไนย ข้างร้านโจ๊ก ที่จะไปวัดเชียงมั่น ก็ดันไปเจอร้านเช่าจักรยานแบบมีเกียร์เข้า ในราคาวันละ ๕๐ บาท เท่ากับแบบแม่บ้านด้วย แต่อาจจะดูเก่าและผุพังไปบ้าง ตอนนี้ขอแค่ขับได้ก็พอแล้ว
ได้จักรยานก็ปั่นๆ ไปเลยครับ ที่หมายแรกไม่ไกลนัก “วัดเชียงมั่น” วัดเก่าแก่ที่สุดในเขตเมือง สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๓๙ ในสมัยพญามังราย ได้ทรงยกพระตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอาราม และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ช้างล้อม บริเวณพื้นที่หอประทับของพระองค์ ส่วนพระวิหารของวัดมี ๒ วิหาร คือ วิหารใหญ่ที่สร้างในสมัยปัจจุบัน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนสีทองบนพื้นแดง บอกเล่าเรื่องราวการสร้างเวียงกุมกาม และเมืองเชียงใหม่
ส่วนวิหารจตุรมุข ที่อยู่ด้านข้าง ประดิษฐาน พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว พระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระนางจามเทวี แห่งแคว้นหริภุญชัย และพระศิลา ปางทรมานช้างนาฬาคีรี นอกจากนี้ด้านหน้าพระอุโบสถ ยังมีศิลาจารึกบันทึกเรื่องราวการสร้างเมืองและประวัติของวัดด้วย รวมทั้งหอไตรกลางน้ำ และที่ถือเป็นไฮไลท์ของวัดอีกแห่งก็คือ เจดีย์ช้างล้อม ด้านหลังพระวิหารใหญ่ ฐานเจดีย์ประดับด้วยช้างปูนปั้น ๑๖ เชือก ตามศิลปะสุโขทัย ด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นสู่ซุ้มเรือนธาตุ ราวบันไดประดับด้วยนาคปูนปั้น ส่วนเรือนยอดเป็นเจดีย์ทรงระฆังสีทองอร่าม (*ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
ที่นี่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยี่ยมชมเยอะอีกเช่นกัน ส่วนตัวผมเองนั้น พอมาถึงวัดแล้วก็เริ่มระลึกได้ว่า ... เฮ้ย เราเคยมาวัดนี้แล้วนี่หว่า ตอนที่มาเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกในชีวิต ... แต่ไม่เป็นไร ไหนๆ ก็มาอีกหน ก็ถือโอกาสกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองไว้เป็นสิริมงคลก่อนเดินทางไกลแล้วกัน
อ่านต่อฉบับหน้า ...
อย่างที่ผู้อ่านหลายคนเคยติดตามคอลัมน์ "คิดเห็นส่วนตัว" นี้เมื่อต้นปีผมได้เล่าเรื่องการผจญภัยฉายเดี่ยวจากโตเกียว สู่ โอซาก้า ในซีรี่ย์ "Alone in ..." ทั้งเรื่องที่มีสาระ และไม่ค่อยได้สาระอะไรมากจากญี่ปุ่น ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ของปีที่แล้ว (๒๕๕๗) มาในปีนี้ การเดินทางของผมไม่ได้มีเรื่องเล่าจากต่างแดน เพราะภารกิจใหม่ที่เพิ่มมากขึ้นจึงยังไม่สามารถมีเวลาที่จะวางแผนอะไรมากมาย
ขณะที่ซีรี่ย์นี้ "สโลว์ไลฟ์มั้ยจ๊ะ" ผมจะใช้เป็นหัวข้อขึ้นต้นเพื่อเล่าถึงการท่องเที่ยวด้วยตนเองภายในประเทศในครั้งต่อไปด้วย โดยพยายามจะใช้รถสาธารณะให้มากที่สุด เพื่อให้คนที่ไม่ค่อยได้มีโอกาสใช้รถส่วนตัวไปไหนไกลๆ แบบผม หรือคนที่อยากจะลองหันมาใช้วิถีแบบคนไม่มีรถ สามารถอ่านเพื่อเป็นแรงบันดาลใจหรือทดลองเดินทางบ้างก็ยังดี ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ก็ตามแต่ละทริปที่จะวางกันไว้ให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามกันไปเป็นระยะๆ
แต่... สารภาพตามตรง อันที่จริงคอนเซ็ปท์นี้มันเกิดจากการที่ต้องการทดลอง หลังได้เห็นการใช้ชีวิตท่องเที่ยวอันสบายๆ เรื่อยเปื่อย ของเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ไม่กำหนดกฏเกณฑ์อะไร ไม่ไปไหน อยู่แต่ในที่พัก หาเวลาอ่านหนังสือที่ชอบ ชมวิว ชมธรรมชาติ นั่งร้านกาแฟ แล้วก็มีความรู้สึกว่า เฮ้ย ไปเที่ยวแบบนั้นแล้วได้อะไร สุขที่เขาค้นพบมันเป็นแบบไหนกันนะ ประกอบกับชีวิตในช่วงนี้ที่ไม่ได้มีโอกาสหาข้อมูลทำทริปอะไรให้แน่น เมื่อได้เวลาที่ลงตัวแล้วก็จองตั๋ว จองที่พัก จองทริป จบสิ้นภายในเวลาไม่ถึง ๒ สัปดาห์ก่อนเดินทาง มีเวลาจดร้านอร่อยนิดหน่อย โดยที่ยังไม่รู้ว่าข้างหน้าจะไปเที่ยว ไปเจออะไร
พูดง่ายๆ ก็คือจะลองเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ ในการเดินทางดูบ้าง จากคนที่เข้มงวดกับการวางแผนอย่างแข็งขัน สู่การไปแบบไม่มีการบ้านอะไรในหัว ดูสิจะเป็นอย่างไร??
และในครั้งนี้ผมมาที่ "เชียงใหม่"
พูดถึงจังหวัดหัวเมืองเหนือแห่งนี้ ผู้อ่านหลายท่านก็คงเคยไปเที่ยวกัน และได้รับประสบการณ์อันหลากหลายจากการใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์ของพวกท่าน แต่อย่างว่า ... การเดินทางของคน แม้จุดหมายเดียวกัน แต่ระหว่างทางอาจมีความต่างเสมอ เรื่องที่ผมเล่าก็เป็นอีกหลายสิ่งที่ได้พบ เจอ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของใครหลายคน และอาจเป็นประสบการณ์ใหม่ของใครอีกหลายคน ดังนั้นประเด็นที่นำเสนอจึงแทรก “เรื่องระหว่างทาง” มากกว่า “ข้อมูลปลายทาง” ที่คงค้นหาอ่านกันได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม ขอให้อ่านแล้วสนุกไปกับผม ก็พอ...
.........................................................
๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ : ศูนย์บริการลูกค้า สมบัติทัวร์ วิภาวดี กรุงเทพมหานคร
วันนี้ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ชาวบ้านทั่วบ้านทั่วเมืองเขาก็พากันไปลอยกระทงตามประเพณีของไทย แต่สำหรับผมแล้ว กำลังจะไปขึ้นรถเพื่อออกเดินทางสู่ “เชียงใหม่” จังหวัดที่ผมเคยไปมาแล้ว ๒ ครั้ง ล่าสุดคือเมื่อ ๕ ปีที่แล้ว แรกเริ่มเดิมทีว่าจะใช้รถไฟเป็นพาหนะในการขนส่งตนเองไปสู่จุดหมายตามแบบฉบับสโลว์ไลฟ์สุดๆ แต่พอเช็กข้อมูลแล้วกลับพบว่า ค่าโดยสารโดยเฉพาะตู้นอนนี่ แม้บรรยากาศอาจจะดีกว่า แต่มันแพงกว่า และยังถึงช้ากว่ารถโดยสารปรับอากาศแบบวีไอพีด้วยซ้ำ เมื่อคำนวณหลายปัจจัยจึงเลือกใช้บริการรถทัวร์ดีกว่า
และนี่เป็นครั้งแรกของผมกับ “สมบัติทัวร์” งวดก่อนหน้านี้นี่ไปกับเจ้านครชัยแอร์ ซึ่งก็ไม่ได้แย่อะไรนะ แต่เพียงแค่อยากลองของที่ไม่เคยดูบ้าง การจองตั๋วมี ๒ แบบคือไปซื้อหน้าตู้ขาย ที่ศูนย์บริการลูกค้า หรือสถานีขนส่ง กับจองผ่านทางโทรศัพท์ คอลเซ็นเตอร์ ๐๒ ๗๙๒ ๑๔๕๖ ไอ้อันนี้จะยากหน่อยเพราะพอจองเสร็จต้องไปชำระเงินผ่านทางตู้เอทีเอ็ม เราจะต้องจดรหัสที่เขาให้มาแล้วไปกรอกในตู้เผื่อจ่ายค่าโดยสาร พอถึงวันเดินทางก็นำสลิปเอทีเอ็มไปขึ้นตั๋วโดยสารที่สถานีขนส่งหรือศูนย์บริการลูกค้า
รถโดยสารจะออกในเวลาสี่ทุ่ม แต่เขาให้ผู้โดยสารมารอขึ้นรถกันตั้งแต่สามทุ่มครึ่ง เพื่อนำสัมภาระยัดใส่ภายในรถ ของเจ้านี้รถวีไอพี หรือซูพรีมตามชื่อเรียกของเขา มี ๒๔ ที่นั่ง เป็นแบบเอนนอนได้ในระดับ ๑๓๕ องศาได้ มีจอทัชสกรีนให้เลือกฟังเพลง ดูภาพยนตร์ หลากหลายรูปแบบ ที่นั่งแต่ละเบาะมีผ้าห่มและหมอนรองคอให้ใช้ อัตราค่าโดยสารอยู่ที่ ๗๗๘ บาท ที่นั่งกว้างค่อนข้างสบายครับ มีพนักงานต้อนรับใส่ชุดคล้ายแอร์โฮสเตสการบินไทยนำของว่างเสิร์ฟพวกขนมปังขำๆ กับน้ำในบรรจุภัณฑ์ของรถทัวร์
ที่เด็ดคือ มื้อรอบดึกมีบุฟเฟ่ต์ด้วย!! เขาจะแวะจุดพักรถที่ จ.กำแพงเพชร ราวๆ ตี ๒ เพื่อเปลี่ยนพนักงานขับรถ ระหว่างนั้นก็ปล่อยให้ผู้โดยสารไปใช้สิทธิ์รับประทานอาหารกลางคืนที่มีกว่า ๑๐ รายการได้ ทั้งข้าวต้มกุ้ยและกับข้าวอย่าง ผัดผัก ยำกุนเชียง ยำผักกาดดอง ไข่เค็ม และอื่นๆ ใครไม่ชอบก็มีข้าวสวยกับแกงเขียวหวาน หรือราดหน้าเส้นใหญ่ให้ได้ไปตักกันตามแต่จะยัดไหว โดยต่างจากรถเจ้าอื่นที่จะมีคูปองให้ไปเลือกอาหารเอง หรือมีให้บริการแค่ไม่กี่อย่าง
พอเทียบกับรถทัวร์เจอาร์บัสของญี่ปุ่น ที่ผมนั่งจากโตเกียว ไป โอซาก้า แล้วก็มีความรู้สึกว่า ไอ้แบบไทยๆ นี่มันเป็นสไตล์ที่ดูเหมาะกับผมกว่ามากเลยทีเดียว ฮ่าๆๆ
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ : สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ ๓
รถทัวร์ใช้เวลาขับขี่รวม ๙ ชั่วโมงครึ่ง ก็พาผู้โดยสารทั้งหมดมาส่งถึงอาเขต อาคารใหม่ ในเวลา ๗ โมงครึ่ง โดยพนักงานต้อนรับจะเปิดไฟในรถเพื่อปลุกกันราวๆ ๑ ชั่วโมงก่อนถึงที่หมายพร้อมแจกของว่าง และขอคืนหูฟังที่ให้ยืมด้วย เมื่อมาถึงสิ่งแรกที่ควรทำเลยก็คือ หาทางไปที่พักที่เราจองเอาไว้ ซึ่งอยู่ในบริเวณรอบคูเมือง การไปง่ายที่สุดก็คือโบกรถสี่ล้อแดง ซึ่งราคาก็ตามความโชคดีของท่าน แต่ผมเลือกวิธีที่ประหยัดกว่านั้น
เผอิญก่อนหน้านี้ผมไปเจอข้อมูลว่า ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่เขากำลังพยายามผุดระบบขนส่งสาธารณะขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดทำรถไฟฟ้า หรือ รถราง แต่ที่ล่าสุดจนสัมฤทธิ์ผลก็คือการนำรถสี่ล้อแดงมาวิ่งเป็นเส้นทางประจำ ไม่ใช่รับส่งแบบตามใจฉันเหมือนแต่ก่อน โดยเพิ่งเปิดให้บริการเมื่อ ๑ สิงหาคมที่ผ่านมา ตามมาตรการจัดระเบียบรถสี่ล้อแดงแบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนรถประจำทาง ทั้งเส้นทางที่ไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่มีความต้องการใช้ระบบขนส่งมวลชน และความถี่ในการเดินรถไม่แน่นอน รวมทั้งไม่สามารถประมาณเวลาในการเดินทางได้
โดยได้เริ่มนำร่องให้บริการทั้งหมด ๕ สาย (๒๖ พ.ย.) บวก ๑ สายของรถเมล์ขาวของเทศบาลนครเชียงใหม่ ในอัตราค่าบริการ ๑๕ บาทตลอดสาย แล้วที่เจ๋งกว่ากรุงเทพฯ ก็คือ คุณสามารถเช็กได้ว่าตอนนี้รถแดงกำลังมาถึงป้ายหรือยังได้ด้วยผ่านทางแอพลิเคชั่น CMTRANSIT ทางโทรศัพท์มือถือด้วย ไม่ธรรมดาจริงๆ แต่ว่าให้บริการแค่ช่วงราวๆ ๗ โมงเช้า ไปจนถึงห้าโมงเย็นเท่านั้นนะ หลังจากนั้นก็ยังคงต้องพึ่งรถแดงปกติเหมือนเดิม ถ้าสนใจก็ลองเข้าไปดูข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ http://www.chiangmaibus.org/
ส่วนป้ายรถเมล์บริเวณอาเขตนี้จะอยู่ถนนฝั่งตรงข้ามกับสถานีเลย ใช้เวลารอรถก็ตามแบบฉบับสโลว์ไลฟ์ เนื่องจากเป็นช่วงพีคของการจราจรจึงขาดระยะ รถประเภทนี้สังเกตง่ายๆ จะมีหมายเลขติดอยู่ด้านหน้าคล้ายๆ กับรถเมล์ในเมืองกรุง พอมาถึงแกดันวิ่งไปจอดหน้าขนส่งซะงั้น ไอ้เราก็ต้องข้ามถนนตามไปอีก ฮ่าๆๆ
ผมนั่งรถสาย ๒ ห้วยแก้ว - ขนส่งอาเขต โดยมีจุดหมายแรกอยู่ที่เกสต์เฮ้าส์แถวๆ คูเมือง ที่ชื่อ Hug bed & breakfast อยู่ปากซอยที่จะเข้าไปสนามกีฬาฯ ฝั่งตรงข้ามจะไปซอยที่เข้าไปยังวัดเชียงมั่น ระหว่างทางผมก็คุยกับผู้โดยสารชายอีกท่านที่ขึ้นมาตั้งแต่อาเขต เขาบอกว่าใช้บริการรถโดยสารเช่นนี้หลายครั้ง จัดว่าสะดวกดี แต่มีรถน้อยไปนิด สำหรับผมเองก็ว่าดีเช่นกัน และเสียดายที่หมดเร็วไปหน่อย พอตอนลงตรงหน้าร้านโจ๊กสมเพชร ก็จ่ายเงินให้คนขับซึ่งพูดจาได้สุภาพดี (ผิดกะสองแถวบ้านเราเลย)
มาถึงที่พักในคืนแรก ผมมาแสดงตนว่าจะเช็กอิน แต่ยังไม่สามารถเช็กอินได้เนื่องจากยังไม่ถึงเวลาที่กำหนดในบ่าย ๒ โมง พูดง่ายๆ ก็คือมาเช้าไปนั่นล่ะ เลยขอเขาฝากกระเป๋าเดินทาง และขอเข้าห้องน้ำทำธุระส่วนตัวนิดหน่อย ซึ่งทางที่นี่ก็อนุญาตให้ใช้ จากนั้นค่อยข้ามมาฝั่งตรงข้ามไปเพื่อลิ้มลองอาหารมื้อแรกกับร้านดังอย่าง “โจ๊กสมเพชร”
ร้านนี้เขาว่าเปิดกันมาหลายสิบปีแล้ว แถมยังให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมงด้วย ดูท่าจะได้รับความนิยมมากโดยเฉพาะหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีนเรียกได้ว่า มากกว่าครึ่งของจำนวนลูกค้าที่นั่งอยู่ในร้าน ณ ตอนนี้ เด็กเสิร์ฟสาวมารับออเดอร์ดูจะมีความรู้ทางภาษาใช่ย่อย บางคนพูดไทย อังกฤษ จีน และภาษากำเนิด (ไม่ใช่อู้กำเมืองแน่ๆ) ได้ด้วย ส่วนใบสั่งอาหารมี ๒ แบบ ใบนึงเป็นกระดาษสีน้ำตาล สำหรับสั่งโจ๊กและอาหารตามสั่ง ส่วนอีกใบสีชมพูไว้สั่งติ่มซำ ผมก็ลองเลยจ้า โจ๊กหมูล้วนใส่ไข่ ๑ ชาม ราคา ๓๕ บาท พร้อมกับขนมจีบกุ้ง ๑ เข่ง ๓๒ บาท
ตัวโจ๊กเนื้อข้าวตีกันจนเนียนได้ที่ไม่เป็นเม็ดดี ก็อร่อยใช้ได้ ส่วนหมูบดปั้นเป็นก้อนแบบลูกชิ้นหมูนุ่ม แต่ให้มาน้อยไปหน่อย แต่ขนมจีบ ... อย่าไปพูดถึงมันเลยครับ ฮ่าๆๆ
จบจากมื้อเช้าก็เดินทางต่อตามหาร้านเช่าจักรยาน จริงๆ วัตถุประสงค์ของการมาในครั้งนี้ ไม่มีอะไรมากนอกจาก พบปะมิตรสหาย หาของกินอร่อย และไปดอยหลวงเชียงดาว แต่เนื่องจากร้านของน้องที่เราจะไปเยี่ยมเยือนนั้นอยู่ไกลจากคูเมือง และไม่มีรถสาธารณะผ่าน การเช่าพาหนะจึงจำเป็นอย่างมากสำหรับวันนี้ และจักรยานก็คือคำตอบที่ดีที่สุดของคนไม่มีใบขับขี่รถ ผมเดินตามหาอยู่หลายร้านส่วนใหญ่มักเป็นจักรยานแม่บ้าน ซึ่งถ้าไปไกลๆ นี่เหนื่อยแน่นอน แต่ก็โชคดีระหว่างที่เดินเข้าถนนราชภาคิไนย ข้างร้านโจ๊ก ที่จะไปวัดเชียงมั่น ก็ดันไปเจอร้านเช่าจักรยานแบบมีเกียร์เข้า ในราคาวันละ ๕๐ บาท เท่ากับแบบแม่บ้านด้วย แต่อาจจะดูเก่าและผุพังไปบ้าง ตอนนี้ขอแค่ขับได้ก็พอแล้ว
ได้จักรยานก็ปั่นๆ ไปเลยครับ ที่หมายแรกไม่ไกลนัก “วัดเชียงมั่น” วัดเก่าแก่ที่สุดในเขตเมือง สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๓๙ ในสมัยพญามังราย ได้ทรงยกพระตำหนักเชียงมั่น ถวายเป็นพระอาราม และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ช้างล้อม บริเวณพื้นที่หอประทับของพระองค์ ส่วนพระวิหารของวัดมี ๒ วิหาร คือ วิหารใหญ่ที่สร้างในสมัยปัจจุบัน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนสีทองบนพื้นแดง บอกเล่าเรื่องราวการสร้างเวียงกุมกาม และเมืองเชียงใหม่
ส่วนวิหารจตุรมุข ที่อยู่ด้านข้าง ประดิษฐาน พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว พระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระนางจามเทวี แห่งแคว้นหริภุญชัย และพระศิลา ปางทรมานช้างนาฬาคีรี นอกจากนี้ด้านหน้าพระอุโบสถ ยังมีศิลาจารึกบันทึกเรื่องราวการสร้างเมืองและประวัติของวัดด้วย รวมทั้งหอไตรกลางน้ำ และที่ถือเป็นไฮไลท์ของวัดอีกแห่งก็คือ เจดีย์ช้างล้อม ด้านหลังพระวิหารใหญ่ ฐานเจดีย์ประดับด้วยช้างปูนปั้น ๑๖ เชือก ตามศิลปะสุโขทัย ด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นสู่ซุ้มเรือนธาตุ ราวบันไดประดับด้วยนาคปูนปั้น ส่วนเรือนยอดเป็นเจดีย์ทรงระฆังสีทองอร่าม (*ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
ที่นี่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยี่ยมชมเยอะอีกเช่นกัน ส่วนตัวผมเองนั้น พอมาถึงวัดแล้วก็เริ่มระลึกได้ว่า ... เฮ้ย เราเคยมาวัดนี้แล้วนี่หว่า ตอนที่มาเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกในชีวิต ... แต่ไม่เป็นไร ไหนๆ ก็มาอีกหน ก็ถือโอกาสกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองไว้เป็นสิริมงคลก่อนเดินทางไกลแล้วกัน
อ่านต่อฉบับหน้า ...