สวัสดีครับท่านผู้อ่าน บทความที่แล้วคงเห็นฤทธิ์ที่ปรึกษาการบินไทยแล้วว่าทำไมพวกเขาจึงมาแนะนำให้เราทำเครื่องบินขนส่งสินค้าเจ๊งวอดวายไป 3,000 กว่าล้าน และก็เป็น 3,000 กว่าล้านที่ไม่มีใครรับผิดชอบด้วยครับ
คราวนี้ลองมาดูที่ปรึกษาอีกบริษัทหนึ่งของการบินไทยดูบ้าง บริษัทนี้ผมบอกได้เลยว่าเขี้ยวลากดินมาก สมมติว่าชื่อบริษัท (ก) ก็แล้วกันนะครับ
บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารยักษ์ระดับโลก และก็น่าจะใหญ่ที่สุดในโลกด้วยครับ สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ มีพนักงานทั่วโลกถึง 380,000 กว่าคนอยู่ในอินเดีย และอีก 30,000 กว่าคนอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์
แบบที่ผมบอก บริษัท (ก) นี้เขี้ยว ก็เพราะมีประวัติไม่ค่อยดีนักทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษครับ
ที่อเมริกากระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ได้เคยฟ้องบริษัท (ก) และพวก ซึ่งมีบริษัทคอมพิวเตอร์ (H) และ (S) ว่ามีการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้สินบน (Kickback) เพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษสัญญาว่าจ้างจากรัฐบาลหลายโครงการในปลายทศวรรษที่ 1990
ท่านผู้อ่านคงเห็นว่าถ้าเป็นเมืองไทยป่านนี้คงเกี๊ยะเซี้ยกันไปแล้ว
แต่อเมริกาโดยเฉพาะกระทรวงยุติธรรมนี่มันเรื่องใหญ่ครับ
เรื่องฉาวโฉ่ติดสินบนและการจ่ายเงินใต้โต๊ะนี้ นายปีเตอร์ ไครส์เลอร์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมอัยการกระทรวงยุติธรรมออกมาเป็นแถลงการณ์ของกระทรวงเลยครับ
ส่วนการแถลงต่อสื่อมวลชนนั้น กระทรวงก็แถลงเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2011 โดยแถลงว่าการกระทำที่ (ก) รับเงินมากกว่า 600 ล้านบาทจากหุ้นส่วนพันธมิตรในช่วงปี ค.ศ. 2000 และปี ค.ศ. 2006 ซึ่งบางกรณีมีการให้สินบนในรูปแบบการตกลงซื้อหุ้นด้วยนี้ เป็นส่วนหนึ่งในคำยื่นฟ้องของกระทรวงครับ
เห็นไหมครับที่ปรึกษาการบินไทยนี้มีประวัติโชกโชนน่าเชื่อถือหรือไม่
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เขาสรุปได้แสบว่าที่เขาฟ้องบริษัท (ก) ก็เพื่อที่จะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความซื่อสัตย์ในประเทศสหรัฐฯ ครับ
คดีระหว่างกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กับบริษัท (ก) ก็จบลงด้วยการที่บริษัท (ก) ต้องยอมจ่ายเงินจำนวน 2,240 ล้านบาทให้กับทางกระทรวงยุติธรรมครับ
แต่ยังไม่จบแค่นี้ (ก) ยังเคยไปมีคดีความในประเทศอังกฤษอีกด้วย โดยบริษัท (C) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทแก๊สแห่งหนึ่งของอังกฤษฟ้องเรียกเงินจาก (ก) ถึงหมื่นล้านบาทเรื่องการติดตั้งระบบ เรื่องนี้ไปถึงศาลสูงซึ่งมีการตัดสินแล้ว 2 คดีความในโครงการ 9 ใน 10 ที่ให้ประโยชน์ตกแก่เซ็นทริกา คดีนี้เกิดในปี 2011 เช่นกัน
บริษัทที่มีประวัติไม่ดี มี Kickback และต้องแพ้คดีถูกเรียกค่าเสียหายมาแล้วนับพันนับหมื่นล้านนี่แหละครับ มารับงานที่ปรึกษาการบินไทย
ผมได้กล่าวไว้ในบทความที่ 3 ว่า โครงการที่ปรึกษามีถึง 21 โครงการ และในโครงการที่ 8 นี้แหละบริษัท (ก) ได้ตั้งวงเงินไว้สูงถึง 298.5 ล้านบาทในการบินไทย
สงสัยไหมครับว่าทำไมตัวเลขมันเป็นแบบนี้ได้
คำเฉลยก็คือ นัยแอบแฝงมันมีไงครับ เพราะว่าถ้าจำนวนค่าจ้างมันต่ำกว่า 300 ล้านบาท ตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างแล้ว มันอยู่ในอำนาจอนุมัติของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) ได้เลยโดยไม่ต้องเสนอคณะกรรมการบริษัท เรื่องนี้มีผู้ใหญ่หลายท่านตั้งข้อสังเกตว่าถือเป็นการอนุมัติที่น่าจะมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎระเบียบอนุมัติของบริษัทไงครับ
แต่ท่านผู้อ่านที่ได้อ่านความเขี้ยวของบริษัท (ก) มาแล้ว ก็น่าจะเดาได้ว่าบริษัทที่ปรึกษาน่าจะมีส่วนกำหนดวงเงิน 298.5 ล้านบาทนี้ด้วย
เงินจ้างจำนวนนี้ส่วนหนึ่งก็เพื่อมาจ้างในการติดตั้งและบริหารจัดการ THAI IT TRANSFORMATION PROGRAM MANAGEMENT (ITT-PMO) ทั้งที่บริษัทการบินไทยก็มีระบบ IT ชั้นเยี่ยมอยู่แล้ว
นอกจากนี้คณะกรรมการยังอนุมัติบริษัท (ก) เป็นที่ปรึกษา “การจ้างที่ปรึกษาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้าง” ในการนี้ (ก) จ้างเป็นที่ปรึกษาแบบเป็นการแบ่งประโยชน์ตามสัดส่วนของวงเงินที่ประหยัดโดยมีข้อตกลงที่เป็นขั้นบันได
แปลกไหมครับ ไม่เคยได้ยินใช่ไหมครับ ก็มันจะได้ยินได้อย่างไรในเมื่อมันไม่เคยมีการกระทำในลักษณะดังกล่าวทั้งในระบบราชการและระเบียบพัสดุของบริษัท
ท่านผู้อ่านครับรายละเอียดเรื่องนี้ทางบอร์ดและฝ่ายบริหารได้มีการสั่งกำชับมาว่าไม่ให้เอกสารเกี่ยวกับบริษัท (ก) กับบริษัทออกมาเป็นอันขาดเมื่อต้นเดือนสิงหาคมนี้เอง
แต่เดชะบุญครับท่านผู้อ่าน เอกสารมันออกมาถึงมือเราแล้วตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค. 2558
ในเอกสารนะครับ การบินไทยตกลงว่าจ้างกับบริษัท (ก) ลงวันที่ 20 มิ.ย. 2555 ตามใบสั่งซื้อเลขที่... ลงวันที่ 17 พ.ค. 2555 ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน สิ้นสุดสัญญานับแต่วันลงนามในสัญญา จะสิ้นสุดสัญญาวันที่ 20 ธันวาคม 2555 โดยแบ่งผลประโยชน์แบบขั้นบันได
ประหยัดได้เกิน 10 ล้านไม่เกิน 200 ล้าน คิดส่วนแบ่งอัตรา 40%
ประหยัดได้เกิน 200 ล้านไม่เกิน 300 ล้าน คิดส่วนแบ่งอัตรา 35%
ประหยัดได้เกิน 300 ล้านไม่เกิน 600 ล้าน คิดส่วนแบ่งอัตรา 15%
ประหยัดได้เกิน 600 ล้าน คิดส่วนแบ่ง 10%
นอกจากนี้ยังมีการว่าจ้างบริษัท (ก) เพิ่มเติมโดยที่ประชุมบอร์ดการบินไทยครั้งที่ 15/2555 วันที่ 14 พ.ย. 2555 รับทราบตามรายงานคณะกรรมการบริหารที่ประชุมเมื่อ 11 พ.ค. 2555 มีมติอนุมัติว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา (ก) ด้วยวิธีตกลงราคาในวงเงิน 126 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
แทนที่บริษัท (ก) จะดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างเท่าที่บริษัทดำเนินการอยู่ กลับไปดำเนินการโครงการว่าจ้างให้ผู้บริการจัดหารายการสื่อบันเทิงบนเครื่องบินไปเสียฉิบ
ครับ การฉายภาพยนตร์บนเครื่องบินเขามีของเขาอยู่แล้ว แต่นี่บริษัท (ก) นึกอย่างไรจึงคิดจัดซื้อระบบฉายภาพยนตร์บนเครื่องบินให้โดยเรียกจากวงเงินที่เรียกครั้งแรกกว่า 80 ล้าน แล้วพิจารณาลดให้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่ 44% เหลือ 44.9 ล้านบาท 44.9 ล้านบาทนี่เป็นแค่ค่าเลือกภาพยนตร์เท่านั้น (จริงๆครับ)
บริษัท (ก) จะไปรู้อย่างไรว่าภาพยนตร์ที่มาให้ฉายนั้นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเป็นบลูเรย์หรือไม่ก็เป็น HD ซึ่งจอภาพในเครื่องการบินไทยหลังที่นั่งนั้นรับภาพ HD ได้หรือเปล่า ถ้าไม่ได้และรองรับระบบใหม่ไม่ได้ประกอบกับมีการปรับปรุงชั้นที่นั่งใหม่หมด Hardwares ต่างๆ คงเสียเงินอีกหลายร้อยล้านบาท
เรื่องของบริษัท (ก) จะยังคงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรจับตามอง สิ่งที่ต้องถามคือบริษัทนี้เข้ามาโดยไม่มีการประมูล โครงการที่ทำก็ไม่มีการประมูล ประเด็นคือบริษัท (ก) นี้เข้ามาในการบินไทยได้อย่างไร? ใครเอาเข้ามา? ใช้ใครเป็นคอนเนกชัน?
บริษัทที่ปรึกษาการบินไทยรายต่อไปสมมติว่าชื่อบริษัท (ข) ครับ
ก่อนจะกล่าวถึงบริษัท (ข) ผมอาจเรียนอย่างนี้ครับว่า เรื่องความเป็นมาของที่ปรึกษาทั้งหลายนี้น่ะผมว่าบอร์ดทุกคนไม่น่าจะรู้เรื่องลึกๆ กับเขาหรอก เพราะผมเชื่อว่าไม่มีบอร์ดคนไหนเจาะลึกขนาดนั้น ตัวคนที่เป็นคนดึงเอาที่ปรึกษาเข้ามาผมไม่ได้บอกว่าได้ Kickback หรือเปล่านะ และก็คงไม่รู้เบื้องหน้าเบื้องหลังเท่าไรว่ามันเขี้ยวแค่ไหนหรอกครับ
อย่างตำนานอันส่งกลิ่นไม่ดีของบริษัท (ข) ซึ่งจะกล่าวในตอนหลัง
บริษัท (ข) เป็นบริษัทที่ปรึกษาให้บริการด้านการบริหารที่ใหญ่ระดับโลกมีพนักงานทั่วโลกกว่า 5,400 คน ไม่แน่ใจว่าเคยมีลูกค้าเป็นสายการบินมาก่อนหรือไม่
บริษัท (ข) ได้รับจ้างเข้ามาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการทำแผนปฏิรูปบริษัทการบินไทยด้วยวงเงินสูงถึง 35,782,195.25 ล้านบาท ตามสัญญายังได้อนุมัติตั๋วฟรีชั้นธุรกิจไปกลับกรุงเทพฯ - ลอสแองเจลิส 12 ใบ ชั้นประหยัดไปกลับสิงคโปร์ 20 ใบ และไปกลับกรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์อีก 18 ใบ รวมทั้งสิ้น 50 ฉบับ สำหรับเจ้าหน้าที่ของบริษัท (ข) นั้นมีสัญญาตามโครงการเพียง 55 วัน ตั้งแต่ 3 พ.ย. 2557 ถึง 24 ธ.ค. 2558 และวันที่ 5 มกราคม ถึงวันที่ 9 มกราคม 2558
จะเห็นได้ว่าจะมาปฏิรูปการบินไทยซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่มีพนักงาน 25,000 คน และเป็นบริษัทที่มีหน่วยงานจำนวนมากที่ซับซ้อน จะปฏิรูปเพียง 55 วันก็ไม่น่าจะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์หรือประสบผลสำเร็จเพราะใช้ระยะเวลาสั้นในการศึกษา ไม่ได้ลงลึกในเรื่องการตลาดที่เป็นหัวใจสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
เห็นหรือยังว่าแพงก็แพง ปฏิรูปโดยบอกว่าจะใช้แผนทำให้การบินไทย “หดตัวเพื่อเติบโต” ซึ่งคนเขามองว่า “หดตัวเพื่อขายการบินไทย” มากกว่า
บริษัท (ข) ซึ่งมีคนทำงานเคยอยู่กับเทมาเส็กซึ่งเป็นเจ้าของสิงคโปร์แอร์ไลน์ก็เข้ามาบอกให้การบินไทยเลิกบินโจฮันเนสเบิร์ก มอสโก มาดริด โรม มิลาน บริสเบน โคลัมโบ เดนปาซาร์ไฮเดอราบัด ลอสแองเจลิส ล้วนเป็นเมืองใหญ่ๆ ทั้งนั้น
เห็นไหมครับว่าคนของบริษัท (ข) ซึ่งเคยอยู่กับเทมาเส็กเจ้าของสิงคโปร์แอร์ไลน์เข้ามาบอกให้การบินไทยหดตัวหดเส้นทางการบินก็เพราะถ้าหยุดบินเส้นทางที่บริษัท (ข) แนะนำแล้วสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่บินอยู่แล้วก็จะได้ผู้โดยสารไปเต็มๆ
บริษัท (ข) มีเบื้องหลังและพฤติกรรมน่ารังเกียจเพียงใด... มาฟังกันดู
เรื่องมันอื้อฉาวในอังกฤษเพราะบริษัท (ข) ได้ว่าจ้างให้เซอร์แจ๊ค ลีออง มาเริ่มตั้งบริษัทที่ปรึกษาในอังกฤษ แต่เรื่องมันเกิดอื้อฉาวขึ้นมาเพราะเซอร์แจ๊คไปยอมรับว่าแกไปรับเงิน 3 ล้านเหรียญจากบริษัทกินเนสเป็นค่าที่ปรึกษา นอกจากนั้นบริษัทของแกยังถูกสอบสวนอีกว่าได้รับเงินอีก 480,000 เหรียญจากกินเนสในการซื้อหุ้นที่ไม่ถูกต้องและผิดกฎหมาย การกระทำดังกล่าวคนของบริษัท (ข) คือเซอร์แจ๊คก็ถูกถอนฐานันดรและพวกอีก 3 คนถูกพิพากษาจำคุกและโดนปรับ 3 ล้านปอนด์และค่าธรรมเนียมศาลอีก 1 ล้านปอนด์ แต่แจ๊คพ้นคุกมาเพราะเหตุผลทางสุขภาพ
บริษัท (ข) มาฉาวโฉ่ไปทั่วโลกอีกครั้งหนึ่งครับ
ต่อมาคราวนี้ โจทก์คือบริษัท (V) เป็นบริษัทที่ปรึกษาเล็กๆ ตั้งอยู่ที่มิลาน อิตาลี บริษัทนี้ฟ้องบริษัท (ข) ต่อ Federal court ในสหรัฐฯ ว่าบริษัท (ข) ได้ลักลอบทำโจรกรรมข้อมูลลับในสำนักงานของตนในเมืองซานเปาโล ประเทศบราซิล การโจรกรรมยังหมายถึงลูกค้า พนักงาน และเอกสารต่างๆ ทางการค้าของลูกค้าด้วย
นี่แหละครับโฉมหน้าที่ปรึกษาการบินไทย
ผลของคดีที่บริษัท (V) ฟ้องนี้นะครับ คณะลูกขุนชี้มูลชัดว่า บริษัท (ข) มีความผิดว่าด้วยการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เข้าไปทำร้ายแทรกแซงผิดกฎหมายของประเทศบราซิล และให้บริษัท (ข) จ่ายเงินชดเชยให้บริษัท (V) จำนวน 10 ล้านเหรียญ นอกจากนั้น บริษัท (V) ยังได้ดอกเบี้ยระหว่างฟ้องอีก 2.5 ล้านเหรียญ
ครับ ข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาเหล่านี้ ทั้งเรื่องคดีความและเรื่องอื่นๆ ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่เปิดเผยต่อสาธารณชนให้ทราบและค้นคว้าได้ทั้งนั้น ไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นเลย
ผมไม่ได้ชี้ช่องว่าที่ปรึกษาทั้งหลายที่มีประวัติเคยก่อคดีเหล่านี้จะมาเคยมือฉวยโอกาสทำอะไรกับการบินไทยเราบ้าง เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตว่าโครงการของเขาดูจะไม่สร้างประโยชน์อะไรกับการบินไทยเท่าที่ควร บางครั้งเขาแนะนำให้เราเสียประโยชน์ให้คู่แข่งของเราด้วย
ท่านผู้อ่านครับ ฟังแล้วศรัทธากับที่ปรึกษาเหล่านี้บ้างหรือเปล่า คราวต่อไปถ้าเราคิดทางออกของเราเองจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นตอนจบครับ (ยังมีต่อ)
คราวนี้ลองมาดูที่ปรึกษาอีกบริษัทหนึ่งของการบินไทยดูบ้าง บริษัทนี้ผมบอกได้เลยว่าเขี้ยวลากดินมาก สมมติว่าชื่อบริษัท (ก) ก็แล้วกันนะครับ
บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารยักษ์ระดับโลก และก็น่าจะใหญ่ที่สุดในโลกด้วยครับ สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ มีพนักงานทั่วโลกถึง 380,000 กว่าคนอยู่ในอินเดีย และอีก 30,000 กว่าคนอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์
แบบที่ผมบอก บริษัท (ก) นี้เขี้ยว ก็เพราะมีประวัติไม่ค่อยดีนักทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษครับ
ที่อเมริกากระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ได้เคยฟ้องบริษัท (ก) และพวก ซึ่งมีบริษัทคอมพิวเตอร์ (H) และ (S) ว่ามีการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้สินบน (Kickback) เพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษสัญญาว่าจ้างจากรัฐบาลหลายโครงการในปลายทศวรรษที่ 1990
ท่านผู้อ่านคงเห็นว่าถ้าเป็นเมืองไทยป่านนี้คงเกี๊ยะเซี้ยกันไปแล้ว
แต่อเมริกาโดยเฉพาะกระทรวงยุติธรรมนี่มันเรื่องใหญ่ครับ
เรื่องฉาวโฉ่ติดสินบนและการจ่ายเงินใต้โต๊ะนี้ นายปีเตอร์ ไครส์เลอร์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมอัยการกระทรวงยุติธรรมออกมาเป็นแถลงการณ์ของกระทรวงเลยครับ
ส่วนการแถลงต่อสื่อมวลชนนั้น กระทรวงก็แถลงเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2011 โดยแถลงว่าการกระทำที่ (ก) รับเงินมากกว่า 600 ล้านบาทจากหุ้นส่วนพันธมิตรในช่วงปี ค.ศ. 2000 และปี ค.ศ. 2006 ซึ่งบางกรณีมีการให้สินบนในรูปแบบการตกลงซื้อหุ้นด้วยนี้ เป็นส่วนหนึ่งในคำยื่นฟ้องของกระทรวงครับ
เห็นไหมครับที่ปรึกษาการบินไทยนี้มีประวัติโชกโชนน่าเชื่อถือหรือไม่
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เขาสรุปได้แสบว่าที่เขาฟ้องบริษัท (ก) ก็เพื่อที่จะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความซื่อสัตย์ในประเทศสหรัฐฯ ครับ
คดีระหว่างกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กับบริษัท (ก) ก็จบลงด้วยการที่บริษัท (ก) ต้องยอมจ่ายเงินจำนวน 2,240 ล้านบาทให้กับทางกระทรวงยุติธรรมครับ
แต่ยังไม่จบแค่นี้ (ก) ยังเคยไปมีคดีความในประเทศอังกฤษอีกด้วย โดยบริษัท (C) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทแก๊สแห่งหนึ่งของอังกฤษฟ้องเรียกเงินจาก (ก) ถึงหมื่นล้านบาทเรื่องการติดตั้งระบบ เรื่องนี้ไปถึงศาลสูงซึ่งมีการตัดสินแล้ว 2 คดีความในโครงการ 9 ใน 10 ที่ให้ประโยชน์ตกแก่เซ็นทริกา คดีนี้เกิดในปี 2011 เช่นกัน
บริษัทที่มีประวัติไม่ดี มี Kickback และต้องแพ้คดีถูกเรียกค่าเสียหายมาแล้วนับพันนับหมื่นล้านนี่แหละครับ มารับงานที่ปรึกษาการบินไทย
ผมได้กล่าวไว้ในบทความที่ 3 ว่า โครงการที่ปรึกษามีถึง 21 โครงการ และในโครงการที่ 8 นี้แหละบริษัท (ก) ได้ตั้งวงเงินไว้สูงถึง 298.5 ล้านบาทในการบินไทย
สงสัยไหมครับว่าทำไมตัวเลขมันเป็นแบบนี้ได้
คำเฉลยก็คือ นัยแอบแฝงมันมีไงครับ เพราะว่าถ้าจำนวนค่าจ้างมันต่ำกว่า 300 ล้านบาท ตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างแล้ว มันอยู่ในอำนาจอนุมัติของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) ได้เลยโดยไม่ต้องเสนอคณะกรรมการบริษัท เรื่องนี้มีผู้ใหญ่หลายท่านตั้งข้อสังเกตว่าถือเป็นการอนุมัติที่น่าจะมีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎระเบียบอนุมัติของบริษัทไงครับ
แต่ท่านผู้อ่านที่ได้อ่านความเขี้ยวของบริษัท (ก) มาแล้ว ก็น่าจะเดาได้ว่าบริษัทที่ปรึกษาน่าจะมีส่วนกำหนดวงเงิน 298.5 ล้านบาทนี้ด้วย
เงินจ้างจำนวนนี้ส่วนหนึ่งก็เพื่อมาจ้างในการติดตั้งและบริหารจัดการ THAI IT TRANSFORMATION PROGRAM MANAGEMENT (ITT-PMO) ทั้งที่บริษัทการบินไทยก็มีระบบ IT ชั้นเยี่ยมอยู่แล้ว
นอกจากนี้คณะกรรมการยังอนุมัติบริษัท (ก) เป็นที่ปรึกษา “การจ้างที่ปรึกษาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้าง” ในการนี้ (ก) จ้างเป็นที่ปรึกษาแบบเป็นการแบ่งประโยชน์ตามสัดส่วนของวงเงินที่ประหยัดโดยมีข้อตกลงที่เป็นขั้นบันได
แปลกไหมครับ ไม่เคยได้ยินใช่ไหมครับ ก็มันจะได้ยินได้อย่างไรในเมื่อมันไม่เคยมีการกระทำในลักษณะดังกล่าวทั้งในระบบราชการและระเบียบพัสดุของบริษัท
ท่านผู้อ่านครับรายละเอียดเรื่องนี้ทางบอร์ดและฝ่ายบริหารได้มีการสั่งกำชับมาว่าไม่ให้เอกสารเกี่ยวกับบริษัท (ก) กับบริษัทออกมาเป็นอันขาดเมื่อต้นเดือนสิงหาคมนี้เอง
แต่เดชะบุญครับท่านผู้อ่าน เอกสารมันออกมาถึงมือเราแล้วตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค. 2558
ในเอกสารนะครับ การบินไทยตกลงว่าจ้างกับบริษัท (ก) ลงวันที่ 20 มิ.ย. 2555 ตามใบสั่งซื้อเลขที่... ลงวันที่ 17 พ.ค. 2555 ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน สิ้นสุดสัญญานับแต่วันลงนามในสัญญา จะสิ้นสุดสัญญาวันที่ 20 ธันวาคม 2555 โดยแบ่งผลประโยชน์แบบขั้นบันได
ประหยัดได้เกิน 10 ล้านไม่เกิน 200 ล้าน คิดส่วนแบ่งอัตรา 40%
ประหยัดได้เกิน 200 ล้านไม่เกิน 300 ล้าน คิดส่วนแบ่งอัตรา 35%
ประหยัดได้เกิน 300 ล้านไม่เกิน 600 ล้าน คิดส่วนแบ่งอัตรา 15%
ประหยัดได้เกิน 600 ล้าน คิดส่วนแบ่ง 10%
นอกจากนี้ยังมีการว่าจ้างบริษัท (ก) เพิ่มเติมโดยที่ประชุมบอร์ดการบินไทยครั้งที่ 15/2555 วันที่ 14 พ.ย. 2555 รับทราบตามรายงานคณะกรรมการบริหารที่ประชุมเมื่อ 11 พ.ค. 2555 มีมติอนุมัติว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา (ก) ด้วยวิธีตกลงราคาในวงเงิน 126 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
แทนที่บริษัท (ก) จะดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างเท่าที่บริษัทดำเนินการอยู่ กลับไปดำเนินการโครงการว่าจ้างให้ผู้บริการจัดหารายการสื่อบันเทิงบนเครื่องบินไปเสียฉิบ
ครับ การฉายภาพยนตร์บนเครื่องบินเขามีของเขาอยู่แล้ว แต่นี่บริษัท (ก) นึกอย่างไรจึงคิดจัดซื้อระบบฉายภาพยนตร์บนเครื่องบินให้โดยเรียกจากวงเงินที่เรียกครั้งแรกกว่า 80 ล้าน แล้วพิจารณาลดให้เป็นเปอร์เซ็นต์ที่ 44% เหลือ 44.9 ล้านบาท 44.9 ล้านบาทนี่เป็นแค่ค่าเลือกภาพยนตร์เท่านั้น (จริงๆครับ)
บริษัท (ก) จะไปรู้อย่างไรว่าภาพยนตร์ที่มาให้ฉายนั้นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเป็นบลูเรย์หรือไม่ก็เป็น HD ซึ่งจอภาพในเครื่องการบินไทยหลังที่นั่งนั้นรับภาพ HD ได้หรือเปล่า ถ้าไม่ได้และรองรับระบบใหม่ไม่ได้ประกอบกับมีการปรับปรุงชั้นที่นั่งใหม่หมด Hardwares ต่างๆ คงเสียเงินอีกหลายร้อยล้านบาท
เรื่องของบริษัท (ก) จะยังคงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรจับตามอง สิ่งที่ต้องถามคือบริษัทนี้เข้ามาโดยไม่มีการประมูล โครงการที่ทำก็ไม่มีการประมูล ประเด็นคือบริษัท (ก) นี้เข้ามาในการบินไทยได้อย่างไร? ใครเอาเข้ามา? ใช้ใครเป็นคอนเนกชัน?
บริษัทที่ปรึกษาการบินไทยรายต่อไปสมมติว่าชื่อบริษัท (ข) ครับ
ก่อนจะกล่าวถึงบริษัท (ข) ผมอาจเรียนอย่างนี้ครับว่า เรื่องความเป็นมาของที่ปรึกษาทั้งหลายนี้น่ะผมว่าบอร์ดทุกคนไม่น่าจะรู้เรื่องลึกๆ กับเขาหรอก เพราะผมเชื่อว่าไม่มีบอร์ดคนไหนเจาะลึกขนาดนั้น ตัวคนที่เป็นคนดึงเอาที่ปรึกษาเข้ามาผมไม่ได้บอกว่าได้ Kickback หรือเปล่านะ และก็คงไม่รู้เบื้องหน้าเบื้องหลังเท่าไรว่ามันเขี้ยวแค่ไหนหรอกครับ
อย่างตำนานอันส่งกลิ่นไม่ดีของบริษัท (ข) ซึ่งจะกล่าวในตอนหลัง
บริษัท (ข) เป็นบริษัทที่ปรึกษาให้บริการด้านการบริหารที่ใหญ่ระดับโลกมีพนักงานทั่วโลกกว่า 5,400 คน ไม่แน่ใจว่าเคยมีลูกค้าเป็นสายการบินมาก่อนหรือไม่
บริษัท (ข) ได้รับจ้างเข้ามาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการทำแผนปฏิรูปบริษัทการบินไทยด้วยวงเงินสูงถึง 35,782,195.25 ล้านบาท ตามสัญญายังได้อนุมัติตั๋วฟรีชั้นธุรกิจไปกลับกรุงเทพฯ - ลอสแองเจลิส 12 ใบ ชั้นประหยัดไปกลับสิงคโปร์ 20 ใบ และไปกลับกรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์อีก 18 ใบ รวมทั้งสิ้น 50 ฉบับ สำหรับเจ้าหน้าที่ของบริษัท (ข) นั้นมีสัญญาตามโครงการเพียง 55 วัน ตั้งแต่ 3 พ.ย. 2557 ถึง 24 ธ.ค. 2558 และวันที่ 5 มกราคม ถึงวันที่ 9 มกราคม 2558
จะเห็นได้ว่าจะมาปฏิรูปการบินไทยซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่มีพนักงาน 25,000 คน และเป็นบริษัทที่มีหน่วยงานจำนวนมากที่ซับซ้อน จะปฏิรูปเพียง 55 วันก็ไม่น่าจะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์หรือประสบผลสำเร็จเพราะใช้ระยะเวลาสั้นในการศึกษา ไม่ได้ลงลึกในเรื่องการตลาดที่เป็นหัวใจสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
เห็นหรือยังว่าแพงก็แพง ปฏิรูปโดยบอกว่าจะใช้แผนทำให้การบินไทย “หดตัวเพื่อเติบโต” ซึ่งคนเขามองว่า “หดตัวเพื่อขายการบินไทย” มากกว่า
บริษัท (ข) ซึ่งมีคนทำงานเคยอยู่กับเทมาเส็กซึ่งเป็นเจ้าของสิงคโปร์แอร์ไลน์ก็เข้ามาบอกให้การบินไทยเลิกบินโจฮันเนสเบิร์ก มอสโก มาดริด โรม มิลาน บริสเบน โคลัมโบ เดนปาซาร์ไฮเดอราบัด ลอสแองเจลิส ล้วนเป็นเมืองใหญ่ๆ ทั้งนั้น
เห็นไหมครับว่าคนของบริษัท (ข) ซึ่งเคยอยู่กับเทมาเส็กเจ้าของสิงคโปร์แอร์ไลน์เข้ามาบอกให้การบินไทยหดตัวหดเส้นทางการบินก็เพราะถ้าหยุดบินเส้นทางที่บริษัท (ข) แนะนำแล้วสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่บินอยู่แล้วก็จะได้ผู้โดยสารไปเต็มๆ
บริษัท (ข) มีเบื้องหลังและพฤติกรรมน่ารังเกียจเพียงใด... มาฟังกันดู
เรื่องมันอื้อฉาวในอังกฤษเพราะบริษัท (ข) ได้ว่าจ้างให้เซอร์แจ๊ค ลีออง มาเริ่มตั้งบริษัทที่ปรึกษาในอังกฤษ แต่เรื่องมันเกิดอื้อฉาวขึ้นมาเพราะเซอร์แจ๊คไปยอมรับว่าแกไปรับเงิน 3 ล้านเหรียญจากบริษัทกินเนสเป็นค่าที่ปรึกษา นอกจากนั้นบริษัทของแกยังถูกสอบสวนอีกว่าได้รับเงินอีก 480,000 เหรียญจากกินเนสในการซื้อหุ้นที่ไม่ถูกต้องและผิดกฎหมาย การกระทำดังกล่าวคนของบริษัท (ข) คือเซอร์แจ๊คก็ถูกถอนฐานันดรและพวกอีก 3 คนถูกพิพากษาจำคุกและโดนปรับ 3 ล้านปอนด์และค่าธรรมเนียมศาลอีก 1 ล้านปอนด์ แต่แจ๊คพ้นคุกมาเพราะเหตุผลทางสุขภาพ
บริษัท (ข) มาฉาวโฉ่ไปทั่วโลกอีกครั้งหนึ่งครับ
ต่อมาคราวนี้ โจทก์คือบริษัท (V) เป็นบริษัทที่ปรึกษาเล็กๆ ตั้งอยู่ที่มิลาน อิตาลี บริษัทนี้ฟ้องบริษัท (ข) ต่อ Federal court ในสหรัฐฯ ว่าบริษัท (ข) ได้ลักลอบทำโจรกรรมข้อมูลลับในสำนักงานของตนในเมืองซานเปาโล ประเทศบราซิล การโจรกรรมยังหมายถึงลูกค้า พนักงาน และเอกสารต่างๆ ทางการค้าของลูกค้าด้วย
นี่แหละครับโฉมหน้าที่ปรึกษาการบินไทย
ผลของคดีที่บริษัท (V) ฟ้องนี้นะครับ คณะลูกขุนชี้มูลชัดว่า บริษัท (ข) มีความผิดว่าด้วยการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เข้าไปทำร้ายแทรกแซงผิดกฎหมายของประเทศบราซิล และให้บริษัท (ข) จ่ายเงินชดเชยให้บริษัท (V) จำนวน 10 ล้านเหรียญ นอกจากนั้น บริษัท (V) ยังได้ดอกเบี้ยระหว่างฟ้องอีก 2.5 ล้านเหรียญ
ครับ ข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษาเหล่านี้ ทั้งเรื่องคดีความและเรื่องอื่นๆ ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่เปิดเผยต่อสาธารณชนให้ทราบและค้นคว้าได้ทั้งนั้น ไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นเลย
ผมไม่ได้ชี้ช่องว่าที่ปรึกษาทั้งหลายที่มีประวัติเคยก่อคดีเหล่านี้จะมาเคยมือฉวยโอกาสทำอะไรกับการบินไทยเราบ้าง เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตว่าโครงการของเขาดูจะไม่สร้างประโยชน์อะไรกับการบินไทยเท่าที่ควร บางครั้งเขาแนะนำให้เราเสียประโยชน์ให้คู่แข่งของเราด้วย
ท่านผู้อ่านครับ ฟังแล้วศรัทธากับที่ปรึกษาเหล่านี้บ้างหรือเปล่า คราวต่อไปถ้าเราคิดทางออกของเราเองจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นตอนจบครับ (ยังมีต่อ)