การเมืองสงฆ์ว่าด้วยธรรมกายกับมหาเถรฯ ที่กำลังฮึ่มๆ อยู่นี่ เป็นเหมือนภูเขาไฟที่สะสมเงื่อนปัญหามานานแล้วเหมือนฝีหนองเมื่อถึงจุดมันก็ต้องปริแตก หรือไม่ก็จำเป็นต้องบ่มให้แตกมิฉะนั้นอาจจะลามเป็นเชื้อภัยของโรคที่ร้ายแรงกว่า แล้วนี่ก็ไม่ใช่ความผิดปกติอะไรของศาสนาที่จะมีการเมืองมาเกี่ยวหรือไปเกี่ยวกับการเมือง
มองย้อนไปในประวัติศาสตร์ การเมืองกับการศาสนาเกี่ยวพันกันแยกไม่ออก ลัทธิความเชื่อเพียวๆ ที่ไม่เกี่ยวกับอำนาจการเมืองไม่เคยที่ตั้งอยู่ได้ ถ้าไม่ถูกกีดกันก็อาจถูกกวาดล้างไปเลย ยุโรปสมัยกลางการเมืองอยู่ภายใต้อำนาจของโป๊ป นักบวชสะสมอำนาจทรัพย์ศฤงคารราวกับเป็นนักการเมืองเสียเอง เร่ขายใบไถ่บาปเหมือนพระแถวนี้เร่ขายทางสวรรค์ เสื่อมทรามถึงที่สุด เมื่อฝ่ายศาสนาเล่นการเมือง การเมืองเลยเล่นกลับฝ่ายศาสนา กษัตริย์ฝรั่งเศสเคยยึดอำนาจโป๊ปอีกทอด อีรุงตุงนัง เป็นเหตุให้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่กินเวลาหลายสิบปี ก่อเกิดโปรแตสแตนท์และการยกเครื่องของฝ่ายคาธอลิคเอง
ในสังคมมุสลิม คำสอนทางศาสนาคือกฎหมายของทางโลก การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใหญ่ๆหลายครั้งมาจากผู้นำศาสนา มุสลิมเคยกวาดพุทธฮินดูตกอินเดีย เผามหาวิทยาลัยนาลันธา แม้กระทั่งเรื่องราวน่าสลดในยุคนี้ของ ISIS ก็มาจากการตีความศาสนา ใช้ศาสนาขับเคลื่อนอุดมการณ์การเมือง ส่วนในประเทศจีนยุคโบราณลัทธิศาสนามีมากมายจะรุ่งโรจน์ตกต่ำขึ้นกับรสนิยมฮ่องเต้ การเปลี่ยนแปลงฮ่องเต้หรือราชวงศ์ที่แท้คือผลแพ้ชนะของลัทธิศาสนาไปพร้อมกัน
ศาสนาเป็นสถาบันสำคัญคู่มากับอารยธรรมมนุษยชาติ สถาบันศาสนามีบทบาทสำคัญที่ทำให้สังคมนั้นๆ ประคับประคองพยุงรูปร่างก่อรูปรวมกันให้ตั้งมั่นอยู่ได้ เพราะลำพังอำนาจดาบอย่างเก่งก็แค่ทำให้สังคมนั้นตั้งอยู่ได้ชั่วคราว ดังนั้นฝ่ายศาสนจักรกับอาณาจักรของแต่ละสังคมจึงเกื้อหนุนควบคู่กันไป แต่ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะเฉพาะของสังคมนั้นๆ
อย่างอินเดียผู้คนมากหลากหลายและกว้างใหญ่ ฮินดูแบ่งผู้คนเป็นวรรณะ เนื้อแท้คือการจัดระเบียบภารกิจหน้าที่และเงื่อนไขความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ให้เกิดสมดุลขึ้นในสังคมนี่เป็นเหตุผลหนึ่งทำไมฮินดูจึงหยั่งรากได้ลึกมากในดินแดนชมพูทวีปแต่กลับไม่เติบโตดินแดนอื่นซึ่งมีผู้คนน้อยกว่าหรือมีขนาดพื้นที่เล็กกว่าและมีสภาพภูมิศาสตร์แตกต่างไป สมมติว่าถ้าพระเจ้าสุริยวรมันที่สองผู้สร้างปราสาทนครวัดซึ่งแม้นับถือฮินดูไวษณพนิกาย (พระนารายณ์) หากรับแนวทางฮินดูมาทั้งดุ้นจัดแบ่งผู้คนชาวขแมร์ขอมโบราณให้มี 4 วรรณะก็ไม่แน่ว่าอาจไม่มีผู้คนมากพอจะทำหน้าที่นั้น และไม่ใช่แค่นั้นบางกลุ่มบางวรรณะอาจจะมีผู้ผูกขาดหยิบมือเดียวสร้างดุลอำนาจใหม่ขึ้นมา กลับมีปัญหาต่อการเมืองการปกครองอีก แต่ละสังคมจึงมีรายละเอียดความเหมาะสมปรับแต่งรูปแบบลัทธิความเชื่อต่างกันไปในรายละเอียด
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทแบบที่ประเทศไทยเรานับถือเป็นศาสนาหลักในดินแดนภูมิภาคแถบนี้ (ลังกา พม่า มอญ ไทย ฉาน เขมร ล้านนา ล้านช้าง) มาตั้งแต่ราวก่อนหน้าพ.ศ. 1800 เล็กน้อย ก่อนหน้านั้นเป็นยุครุ่งเรืองของฝ่ายมหายาน คำถามที่น่าสนใจคือทำไมต้องเป็นเถรวาท ทำไมไม่เอามหายาน? ทำไมมหายานสายตันตระวัชรยานที่เน้นมนตราอาคมสมัยนครธมจึงไม่รุ่งยืนยาว? คำตอบมีมากมาย หากมองในมิติการเมือง มหากษัตริย์ฝ่ายอาณาจักรในย่านนี้อาจเล็งเห็นว่ากรอบความเชื่อแบบแผนเถรวาทเหมาะสมกับสภาพการเมืองการปกครองแบบสุวรรณอาคเนย์ พม่าจึงรับเถรวาทเข้ามาจากมอญ-ลังกาตั้งแต่ปลายยุคพุกามก่อนมองโกลจะเข้าตี แล้วก็รุ่งเรืองต่อมาในภายหลังโดยเฉพาะราชวงศ์ตองอู สอดคล้องกับฝ่ายมอญและอยุธยาเช่นกัน
พุทธศาสนาสายเถรวาทก็คือสถาบันทางสังคมที่สำคัญที่สุดเท่าๆ กับสถาบันกษัตริย์ที่ค้ำจุนให้สังคมไทย ลาว เขมร พม่า มอญ ไตแต่ละเมืองแต่ละอาณาจักรดำรงอยู่ได้ เพราะสถาบันสงฆ์ทำหน้าที่ทั้งการศึกษา ภูมิปัญญา ปรัชญาความเชื่อ โลกทัศน์ กรอบความดีงามป้องไม่ให้คนกระทำผิดอาชญากรรม และที่สำคัญคือสนับสนุนความเชื่อเรื่องพุทธราชา/ธรรมราชาของมหากษัตริย์ ในพม่าเชื่อว่ากษัตริย์ก็คือพระโพธิสัตว์อนาคตพระพุทธเจ้าฝ่ายอาณาจักรจึงค้ำจุนศาสนจักรควบคู่กันมา
นี่แหละคือตัวอย่าง “การเมือง” ของศาสนาที่ลึกซึ้งลงไปถึงระดับปรัชญาการเมือง (Political Philosophy)
จะว่าตามจริงเถรวาทแบบคนไทยและคนละแวกนี้นับถือเองก็ไม่ได้บริสุทธิ์ผุดผ่องนัก พงศาวดารประวัติศาสตร์ของทุกสังคมแถบนี้บอกคล้ายๆ กันถึงความเหลวไหลไม่เอาไหนของพระภิกษุ ไม่เคร่งครัด เมื่อถึงเวลาทีกษัตริย์ก็จะสังคายนากันที แต่ก็บางครั้งการสังคายนามาจากฝ่ายสงฆ์เช่นในพม่าที่สงฆ์เคร่งครัดมาจากลังกา แล้วมาสร้างโบสถ์แบบลังกาชักชวนให้ภิกษุท้องถิ่นบวชใหม่เพื่อให้เกิดความบริสุทธ์ ตามนัยของมันคือล้างกรอบแนวคิดของฝ่ายดั้งเดิมให้มาอยู่ในร่องรอยของนิกายกรอบปฏิบัติใหม่ ส่วนของไทยเรามีวิธีการหลากหลายขนาดกษัตริย์จับสึกเองก็มี หรือแบบที่เจ้าฟ้ามงกุฎท่านสถาปนาธรรมยุติกนิกายขึ้นมา แล้วก็เป็นนิกายหลักที่มีบทบาทในการเมืองการปกครองสงฆ์คู่กับฝ่ายอาณาจักรของรัตนโกสินทร์เรื่อยมา
ปัญหาในองค์กรสงฆ์ไทยในอดีตส่วนใหญ่ย้อนหลัง 500-600 ปี ก็แค่มาจากการวินัยหย่อนยาน เพิ่งจะมายุคนี้เองที่เกิดจากการตีความสร้างแบบแผนใหม่สร้างรูปแบบพิธีกรรมใหม่ด้วยความเชื่อชุดใหม่แทรกเข้ามาแทนความเชื่อชุดเดิม นี่อาจเป็นผลมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป !!
ลัทธิธรรมกายเกิดขึ้นมาบนสภาพการใหม่ของสังคมไทยที่แปรเป็นสังคมทุน ครอบครัวและผู้คนเป็นปัจเจกนิยมมากขึ้น และก็เป็นสังคมที่ระบบราชการรวมศูนย์สังวาสกับทุนการเมืองเป็นอำนาจนำแทนสังคมจารีตสิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยงแบบเดิม การแต่งกายนุ่งขาวอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมปรุงแต่งให้พิสุทธิ์ใสอลังการตระการตาแบบที่นำมาโชว์อยู่ตอบสนองผู้คนยุคใหม่ได้ เพราะคนยุคใหม่ต้องการอะไรที่ดับร้อนแบบง่ายๆ ชั่วคราวไม่เหมือนคนรุ่นก่อนที่หอบหมอนหิ้วเสื่อไปนอนวัดทุกวันธรรมสวนะ
อานุภาพขององค์กรสงฆ์ที่จัดตั้งแบบบริษัทยุคใหม่ของธรรมกายไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์แค่นั้น เพราะสังคมการเมืองยุคใหม่อำนาจทุนเป็นอำนาจหลักที่สำคัญและมีน้ำหนักที่สุดเหนือกว่าอำนาจใด คำสั่งสอนชักจูงควักกระเป๋าทำบุญมากๆ เพื่อร่ำรวยๆ หรือเพื่อซื้อความสะดวกสบายบนสวรรค์มันเป็นข้อแลกเปลี่ยนซื้อขายที่พอเข้าใจได้สำหรับคนยุคใหม่ ธรรมกายจึงร่ำรวยขึ้นและมีอำนาจมากขึ้นทั้งในฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักร
เพราะที่มาของอำนาจการปกครองยุคใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องอิงความเป็นธรรมราชา/กษัตริย์องค์อุปถัมภกยกยอพระศาสนาดั่งแต่ก่อน อำนาจปกครองยุคใหม่มาจากคะแนนเสียงจากหีบเลือกตั้ง ซึ่งองค์กรสงฆ์สามารถมอบให้นักการเมืองได้ เมื่อก่อนราว 20 ปีก่อนนักการเมืองวิ่งหาเจ้าอาวาสแต่ละชุมชนขอคะแนนเสียง สัญญาจะสร้างโบสถ์วิหารถวายวัด เวลาผ่านไปธรรมกายได้พัฒนาการเทคะแนนเสียงแบบยกล็อตขึ้นมา บอกคำเดียวมีสาวกชุดขาวลงคะแนนให้เป็นหมื่นๆ เพราะแบบนี้จึงมีอำนาจต่อรองสูง เรียกความร่วมมือเป็นพวกเดียวกับพรรคการเมืองได้สำเร็จ จึงเห็นภาพทักษิณและครอบครัว ยิ่งลักษณ์พร้อมครม. ไปนุ่งขาวอยู่กับธรรมกายพร้อมหน้า
นี่เป็นสารัตถะใหม่ของการเมืองเรื่องศาสนา ที่ต่างไปจากยุคเดิม ! ลัทธิสงฆ์แบบธรรมกายสามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของการเมืองแบบหัวคะแนนที่อาศัยจำนวนเสียงในหีบมาเป็นสิทธิธรรมขึ้นสู่อำนาจ และต้องอาศัยทุนในการดำเนินการ
ธรรมกายได้เปลี่ยนบทบาทของสงฆ์ในยุคก่อนที่เป็น Soft Power แปรมาเป็น Hard Power มีเงินง้างเหล็กจ้างผีจ้างสมเด็จราชาคณะมาโม่แป้งแถมมีคะแนนโหวตพร้อมเทให้อีกต่างหาก
ธรรมชโยหลุดรอดคดีความเพราะอัยการไปถอนฟ้องใครก็รู้กันว่ามาจากเหตุใด พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชในพระโกศถูกยื้อและลองดีจากสงฆ์ระดับบนราชาคณะทั้งหลายเพราะการเมืองในองค์กรสงฆ์เองก็มีมาก่อนและเริ่มแหลมคมขึ้นตามสภาพสังคมการเมืองที่แปรเปลี่ยนไป สมเด็จพระสังฆราชสายธรรมยุตในพ.ศ.ที่ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ย่อมไม่เข้มแข็งเด็ดขาดเท่ากับยุคก่อน 2475 นับจากนั้นสายที่สนับสนุนธรรมกายก็เติบใหญ่เรื่อยมาพร้อมๆ กับพรรคการเมืองชินวัตร
ที่จริงแล้วลัทธิธรรมกายอาจจะไม่มีปัญหาอะไรกับสังคมเลยหากว่าแยกนิกายออกไปไม่ขึ้นกับมหาเถรสมาคมที่เป็นองค์กรหลักของพุทธศาสนาเถรวาทนิกายแบบไทย แต่ในเมื่อลัทธิยืนยันจะอยู่ภายใต้มหาเถรสมาคมอันเป็นองค์กรหลักของชาติ แถมขยายอิทธิพลของตนจากอำนาจทุนและเครือข่ายการเมืองออกไปมากขึ้นๆ ข้ามไปถึงโรงเรียนเด็กเยาวชนกระทรวงศึกษาธิการ ขนาดที่สมเด็จราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดทำหน้าที่พระสังฆราชก็ยังเข้าข้างเป็นหนึ่งเดียวกัน มันสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดระดับรากเหง้าปรัชญาความเชื่อใหม่ของศาสนาหลักของชาติเลยทีเดียว
ซึ่งนี่แหละที่เป็นความขัดแย้งเพราะคนในสังคมอีกมากมายที่ไม่เห็นด้วยที่จะมีใครก็ตามมาเทคโอเวอร์องค์กรหลักทางศาสนาแบบ Back door แล้วก็ปรับเปลี่ยนนโยบายแนวทางไปจากที่เคยนับถือกันมาเป็นร้อยพันปี
สภาพที่เกิดขึ้นอยู่นี้เป็นการเมืองทั้งภายในคณะสงฆ์เองและการเมืองแบบใหม่ของฝ่ายศาสนากับฝ่ายอาณาจักรอย่างชัดเจน !
การเมืองเพื่อช่วงชิงอำนาจปกครอง เพื่อกำหนดทิศทางรูปแบบวิธีการตามแบบที่ตนเชื่อ พร้อมๆ กันนั้นอำนาจปกครองของคณะสงฆ์แบบรวมศูนย์ของไทยก็เอื้อให้พระสงฆ์แสวงหาลาภสมบัติและอะไรต่อมิอะไรง่ายดายด้วยสิ เพราะยุคนี้การเป็นขุนนางพระมันสำคัญ ไม่ใช่แค่ยศช้างอีกแล้ว
เรื่องราวเหล่านี้เดินมาถึงจุดที่ต้องรู้ดำรู้แดง เพราะเดิมพันของมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับอำนาจปกครองของมหาเถรสมาคมและยังเกี่ยวกับผู้ทำหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ต่อไปอีกด้วย
สังคมไทยเคยชินกับภาษิตชั่วช่างชีดีช่างสงฆ์มานาน ที่ผ่านมามีพระเมาเหล้า เคล้านารี รีดไถ ไสยศาสตร์ พระทำเรื่องไม่ดีมากมายคนก็ยังทนได้ หรือแม้แต่เห็นความพิสดารของธรรมกายมาหลายปีก็ยังอดทนอยู่เนื่องเพราะเข้าใจว่ายังมีองค์กรสงฆ์คือมหาเถรสมาคมเป็นหลักให้วางใจได้อยู่ แต่พอมีข้อยืนยันชัดเจนว่ามหาเถรสมาคมเองก็ไปกับเขาด้วยแล้ว ความรู้สึกไม่มั่นคงวิตกกังวลของประดาพุทธศาสนิกจึงปรากฏอยู่ทั่วไป
จากนี้ เราอาจจะเห็นการแสดงออกของฝ่ายต่างๆ หนุนต้านออกมา แต่อย่างไรก็ตามกรุณาอย่าได้ติดความคิดแบบสองขั้ว จับยัดใครต่อใครที่ต้านธรรมกายให้เป็นฝ่ายพระเป่านกหวีด แล้วก็หนุนธรรมกายให้เป็นเสื้อแดงหมดเลยครับเพราะประเด็นนี้เป็นเรื่องของพุทธศาสนิกร่วมกัน... ใครจะแสดงออกแบบไหนต่างก็มีแนวทางของตน
เมื่อสงฆ์ในศาสนาเล่นการเมือง การเมืองก็ล่อกลับฝ่ายศาสนา และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองกับศาสนาดอกเลย ในอดีตที่ยาวนานเคยมีมาก่อนหน้าแล้วทั้งในศาสนาพุทธเองและศาสนาอื่น.
มองย้อนไปในประวัติศาสตร์ การเมืองกับการศาสนาเกี่ยวพันกันแยกไม่ออก ลัทธิความเชื่อเพียวๆ ที่ไม่เกี่ยวกับอำนาจการเมืองไม่เคยที่ตั้งอยู่ได้ ถ้าไม่ถูกกีดกันก็อาจถูกกวาดล้างไปเลย ยุโรปสมัยกลางการเมืองอยู่ภายใต้อำนาจของโป๊ป นักบวชสะสมอำนาจทรัพย์ศฤงคารราวกับเป็นนักการเมืองเสียเอง เร่ขายใบไถ่บาปเหมือนพระแถวนี้เร่ขายทางสวรรค์ เสื่อมทรามถึงที่สุด เมื่อฝ่ายศาสนาเล่นการเมือง การเมืองเลยเล่นกลับฝ่ายศาสนา กษัตริย์ฝรั่งเศสเคยยึดอำนาจโป๊ปอีกทอด อีรุงตุงนัง เป็นเหตุให้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่กินเวลาหลายสิบปี ก่อเกิดโปรแตสแตนท์และการยกเครื่องของฝ่ายคาธอลิคเอง
ในสังคมมุสลิม คำสอนทางศาสนาคือกฎหมายของทางโลก การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใหญ่ๆหลายครั้งมาจากผู้นำศาสนา มุสลิมเคยกวาดพุทธฮินดูตกอินเดีย เผามหาวิทยาลัยนาลันธา แม้กระทั่งเรื่องราวน่าสลดในยุคนี้ของ ISIS ก็มาจากการตีความศาสนา ใช้ศาสนาขับเคลื่อนอุดมการณ์การเมือง ส่วนในประเทศจีนยุคโบราณลัทธิศาสนามีมากมายจะรุ่งโรจน์ตกต่ำขึ้นกับรสนิยมฮ่องเต้ การเปลี่ยนแปลงฮ่องเต้หรือราชวงศ์ที่แท้คือผลแพ้ชนะของลัทธิศาสนาไปพร้อมกัน
ศาสนาเป็นสถาบันสำคัญคู่มากับอารยธรรมมนุษยชาติ สถาบันศาสนามีบทบาทสำคัญที่ทำให้สังคมนั้นๆ ประคับประคองพยุงรูปร่างก่อรูปรวมกันให้ตั้งมั่นอยู่ได้ เพราะลำพังอำนาจดาบอย่างเก่งก็แค่ทำให้สังคมนั้นตั้งอยู่ได้ชั่วคราว ดังนั้นฝ่ายศาสนจักรกับอาณาจักรของแต่ละสังคมจึงเกื้อหนุนควบคู่กันไป แต่ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะเฉพาะของสังคมนั้นๆ
อย่างอินเดียผู้คนมากหลากหลายและกว้างใหญ่ ฮินดูแบ่งผู้คนเป็นวรรณะ เนื้อแท้คือการจัดระเบียบภารกิจหน้าที่และเงื่อนไขความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ให้เกิดสมดุลขึ้นในสังคมนี่เป็นเหตุผลหนึ่งทำไมฮินดูจึงหยั่งรากได้ลึกมากในดินแดนชมพูทวีปแต่กลับไม่เติบโตดินแดนอื่นซึ่งมีผู้คนน้อยกว่าหรือมีขนาดพื้นที่เล็กกว่าและมีสภาพภูมิศาสตร์แตกต่างไป สมมติว่าถ้าพระเจ้าสุริยวรมันที่สองผู้สร้างปราสาทนครวัดซึ่งแม้นับถือฮินดูไวษณพนิกาย (พระนารายณ์) หากรับแนวทางฮินดูมาทั้งดุ้นจัดแบ่งผู้คนชาวขแมร์ขอมโบราณให้มี 4 วรรณะก็ไม่แน่ว่าอาจไม่มีผู้คนมากพอจะทำหน้าที่นั้น และไม่ใช่แค่นั้นบางกลุ่มบางวรรณะอาจจะมีผู้ผูกขาดหยิบมือเดียวสร้างดุลอำนาจใหม่ขึ้นมา กลับมีปัญหาต่อการเมืองการปกครองอีก แต่ละสังคมจึงมีรายละเอียดความเหมาะสมปรับแต่งรูปแบบลัทธิความเชื่อต่างกันไปในรายละเอียด
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทแบบที่ประเทศไทยเรานับถือเป็นศาสนาหลักในดินแดนภูมิภาคแถบนี้ (ลังกา พม่า มอญ ไทย ฉาน เขมร ล้านนา ล้านช้าง) มาตั้งแต่ราวก่อนหน้าพ.ศ. 1800 เล็กน้อย ก่อนหน้านั้นเป็นยุครุ่งเรืองของฝ่ายมหายาน คำถามที่น่าสนใจคือทำไมต้องเป็นเถรวาท ทำไมไม่เอามหายาน? ทำไมมหายานสายตันตระวัชรยานที่เน้นมนตราอาคมสมัยนครธมจึงไม่รุ่งยืนยาว? คำตอบมีมากมาย หากมองในมิติการเมือง มหากษัตริย์ฝ่ายอาณาจักรในย่านนี้อาจเล็งเห็นว่ากรอบความเชื่อแบบแผนเถรวาทเหมาะสมกับสภาพการเมืองการปกครองแบบสุวรรณอาคเนย์ พม่าจึงรับเถรวาทเข้ามาจากมอญ-ลังกาตั้งแต่ปลายยุคพุกามก่อนมองโกลจะเข้าตี แล้วก็รุ่งเรืองต่อมาในภายหลังโดยเฉพาะราชวงศ์ตองอู สอดคล้องกับฝ่ายมอญและอยุธยาเช่นกัน
พุทธศาสนาสายเถรวาทก็คือสถาบันทางสังคมที่สำคัญที่สุดเท่าๆ กับสถาบันกษัตริย์ที่ค้ำจุนให้สังคมไทย ลาว เขมร พม่า มอญ ไตแต่ละเมืองแต่ละอาณาจักรดำรงอยู่ได้ เพราะสถาบันสงฆ์ทำหน้าที่ทั้งการศึกษา ภูมิปัญญา ปรัชญาความเชื่อ โลกทัศน์ กรอบความดีงามป้องไม่ให้คนกระทำผิดอาชญากรรม และที่สำคัญคือสนับสนุนความเชื่อเรื่องพุทธราชา/ธรรมราชาของมหากษัตริย์ ในพม่าเชื่อว่ากษัตริย์ก็คือพระโพธิสัตว์อนาคตพระพุทธเจ้าฝ่ายอาณาจักรจึงค้ำจุนศาสนจักรควบคู่กันมา
นี่แหละคือตัวอย่าง “การเมือง” ของศาสนาที่ลึกซึ้งลงไปถึงระดับปรัชญาการเมือง (Political Philosophy)
จะว่าตามจริงเถรวาทแบบคนไทยและคนละแวกนี้นับถือเองก็ไม่ได้บริสุทธิ์ผุดผ่องนัก พงศาวดารประวัติศาสตร์ของทุกสังคมแถบนี้บอกคล้ายๆ กันถึงความเหลวไหลไม่เอาไหนของพระภิกษุ ไม่เคร่งครัด เมื่อถึงเวลาทีกษัตริย์ก็จะสังคายนากันที แต่ก็บางครั้งการสังคายนามาจากฝ่ายสงฆ์เช่นในพม่าที่สงฆ์เคร่งครัดมาจากลังกา แล้วมาสร้างโบสถ์แบบลังกาชักชวนให้ภิกษุท้องถิ่นบวชใหม่เพื่อให้เกิดความบริสุทธ์ ตามนัยของมันคือล้างกรอบแนวคิดของฝ่ายดั้งเดิมให้มาอยู่ในร่องรอยของนิกายกรอบปฏิบัติใหม่ ส่วนของไทยเรามีวิธีการหลากหลายขนาดกษัตริย์จับสึกเองก็มี หรือแบบที่เจ้าฟ้ามงกุฎท่านสถาปนาธรรมยุติกนิกายขึ้นมา แล้วก็เป็นนิกายหลักที่มีบทบาทในการเมืองการปกครองสงฆ์คู่กับฝ่ายอาณาจักรของรัตนโกสินทร์เรื่อยมา
ปัญหาในองค์กรสงฆ์ไทยในอดีตส่วนใหญ่ย้อนหลัง 500-600 ปี ก็แค่มาจากการวินัยหย่อนยาน เพิ่งจะมายุคนี้เองที่เกิดจากการตีความสร้างแบบแผนใหม่สร้างรูปแบบพิธีกรรมใหม่ด้วยความเชื่อชุดใหม่แทรกเข้ามาแทนความเชื่อชุดเดิม นี่อาจเป็นผลมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป !!
ลัทธิธรรมกายเกิดขึ้นมาบนสภาพการใหม่ของสังคมไทยที่แปรเป็นสังคมทุน ครอบครัวและผู้คนเป็นปัจเจกนิยมมากขึ้น และก็เป็นสังคมที่ระบบราชการรวมศูนย์สังวาสกับทุนการเมืองเป็นอำนาจนำแทนสังคมจารีตสิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยงแบบเดิม การแต่งกายนุ่งขาวอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมปรุงแต่งให้พิสุทธิ์ใสอลังการตระการตาแบบที่นำมาโชว์อยู่ตอบสนองผู้คนยุคใหม่ได้ เพราะคนยุคใหม่ต้องการอะไรที่ดับร้อนแบบง่ายๆ ชั่วคราวไม่เหมือนคนรุ่นก่อนที่หอบหมอนหิ้วเสื่อไปนอนวัดทุกวันธรรมสวนะ
อานุภาพขององค์กรสงฆ์ที่จัดตั้งแบบบริษัทยุคใหม่ของธรรมกายไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์แค่นั้น เพราะสังคมการเมืองยุคใหม่อำนาจทุนเป็นอำนาจหลักที่สำคัญและมีน้ำหนักที่สุดเหนือกว่าอำนาจใด คำสั่งสอนชักจูงควักกระเป๋าทำบุญมากๆ เพื่อร่ำรวยๆ หรือเพื่อซื้อความสะดวกสบายบนสวรรค์มันเป็นข้อแลกเปลี่ยนซื้อขายที่พอเข้าใจได้สำหรับคนยุคใหม่ ธรรมกายจึงร่ำรวยขึ้นและมีอำนาจมากขึ้นทั้งในฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักร
เพราะที่มาของอำนาจการปกครองยุคใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องอิงความเป็นธรรมราชา/กษัตริย์องค์อุปถัมภกยกยอพระศาสนาดั่งแต่ก่อน อำนาจปกครองยุคใหม่มาจากคะแนนเสียงจากหีบเลือกตั้ง ซึ่งองค์กรสงฆ์สามารถมอบให้นักการเมืองได้ เมื่อก่อนราว 20 ปีก่อนนักการเมืองวิ่งหาเจ้าอาวาสแต่ละชุมชนขอคะแนนเสียง สัญญาจะสร้างโบสถ์วิหารถวายวัด เวลาผ่านไปธรรมกายได้พัฒนาการเทคะแนนเสียงแบบยกล็อตขึ้นมา บอกคำเดียวมีสาวกชุดขาวลงคะแนนให้เป็นหมื่นๆ เพราะแบบนี้จึงมีอำนาจต่อรองสูง เรียกความร่วมมือเป็นพวกเดียวกับพรรคการเมืองได้สำเร็จ จึงเห็นภาพทักษิณและครอบครัว ยิ่งลักษณ์พร้อมครม. ไปนุ่งขาวอยู่กับธรรมกายพร้อมหน้า
นี่เป็นสารัตถะใหม่ของการเมืองเรื่องศาสนา ที่ต่างไปจากยุคเดิม ! ลัทธิสงฆ์แบบธรรมกายสามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของการเมืองแบบหัวคะแนนที่อาศัยจำนวนเสียงในหีบมาเป็นสิทธิธรรมขึ้นสู่อำนาจ และต้องอาศัยทุนในการดำเนินการ
ธรรมกายได้เปลี่ยนบทบาทของสงฆ์ในยุคก่อนที่เป็น Soft Power แปรมาเป็น Hard Power มีเงินง้างเหล็กจ้างผีจ้างสมเด็จราชาคณะมาโม่แป้งแถมมีคะแนนโหวตพร้อมเทให้อีกต่างหาก
ธรรมชโยหลุดรอดคดีความเพราะอัยการไปถอนฟ้องใครก็รู้กันว่ามาจากเหตุใด พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชในพระโกศถูกยื้อและลองดีจากสงฆ์ระดับบนราชาคณะทั้งหลายเพราะการเมืองในองค์กรสงฆ์เองก็มีมาก่อนและเริ่มแหลมคมขึ้นตามสภาพสังคมการเมืองที่แปรเปลี่ยนไป สมเด็จพระสังฆราชสายธรรมยุตในพ.ศ.ที่ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ย่อมไม่เข้มแข็งเด็ดขาดเท่ากับยุคก่อน 2475 นับจากนั้นสายที่สนับสนุนธรรมกายก็เติบใหญ่เรื่อยมาพร้อมๆ กับพรรคการเมืองชินวัตร
ที่จริงแล้วลัทธิธรรมกายอาจจะไม่มีปัญหาอะไรกับสังคมเลยหากว่าแยกนิกายออกไปไม่ขึ้นกับมหาเถรสมาคมที่เป็นองค์กรหลักของพุทธศาสนาเถรวาทนิกายแบบไทย แต่ในเมื่อลัทธิยืนยันจะอยู่ภายใต้มหาเถรสมาคมอันเป็นองค์กรหลักของชาติ แถมขยายอิทธิพลของตนจากอำนาจทุนและเครือข่ายการเมืองออกไปมากขึ้นๆ ข้ามไปถึงโรงเรียนเด็กเยาวชนกระทรวงศึกษาธิการ ขนาดที่สมเด็จราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดทำหน้าที่พระสังฆราชก็ยังเข้าข้างเป็นหนึ่งเดียวกัน มันสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดระดับรากเหง้าปรัชญาความเชื่อใหม่ของศาสนาหลักของชาติเลยทีเดียว
ซึ่งนี่แหละที่เป็นความขัดแย้งเพราะคนในสังคมอีกมากมายที่ไม่เห็นด้วยที่จะมีใครก็ตามมาเทคโอเวอร์องค์กรหลักทางศาสนาแบบ Back door แล้วก็ปรับเปลี่ยนนโยบายแนวทางไปจากที่เคยนับถือกันมาเป็นร้อยพันปี
สภาพที่เกิดขึ้นอยู่นี้เป็นการเมืองทั้งภายในคณะสงฆ์เองและการเมืองแบบใหม่ของฝ่ายศาสนากับฝ่ายอาณาจักรอย่างชัดเจน !
การเมืองเพื่อช่วงชิงอำนาจปกครอง เพื่อกำหนดทิศทางรูปแบบวิธีการตามแบบที่ตนเชื่อ พร้อมๆ กันนั้นอำนาจปกครองของคณะสงฆ์แบบรวมศูนย์ของไทยก็เอื้อให้พระสงฆ์แสวงหาลาภสมบัติและอะไรต่อมิอะไรง่ายดายด้วยสิ เพราะยุคนี้การเป็นขุนนางพระมันสำคัญ ไม่ใช่แค่ยศช้างอีกแล้ว
เรื่องราวเหล่านี้เดินมาถึงจุดที่ต้องรู้ดำรู้แดง เพราะเดิมพันของมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับอำนาจปกครองของมหาเถรสมาคมและยังเกี่ยวกับผู้ทำหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ต่อไปอีกด้วย
สังคมไทยเคยชินกับภาษิตชั่วช่างชีดีช่างสงฆ์มานาน ที่ผ่านมามีพระเมาเหล้า เคล้านารี รีดไถ ไสยศาสตร์ พระทำเรื่องไม่ดีมากมายคนก็ยังทนได้ หรือแม้แต่เห็นความพิสดารของธรรมกายมาหลายปีก็ยังอดทนอยู่เนื่องเพราะเข้าใจว่ายังมีองค์กรสงฆ์คือมหาเถรสมาคมเป็นหลักให้วางใจได้อยู่ แต่พอมีข้อยืนยันชัดเจนว่ามหาเถรสมาคมเองก็ไปกับเขาด้วยแล้ว ความรู้สึกไม่มั่นคงวิตกกังวลของประดาพุทธศาสนิกจึงปรากฏอยู่ทั่วไป
จากนี้ เราอาจจะเห็นการแสดงออกของฝ่ายต่างๆ หนุนต้านออกมา แต่อย่างไรก็ตามกรุณาอย่าได้ติดความคิดแบบสองขั้ว จับยัดใครต่อใครที่ต้านธรรมกายให้เป็นฝ่ายพระเป่านกหวีด แล้วก็หนุนธรรมกายให้เป็นเสื้อแดงหมดเลยครับเพราะประเด็นนี้เป็นเรื่องของพุทธศาสนิกร่วมกัน... ใครจะแสดงออกแบบไหนต่างก็มีแนวทางของตน
เมื่อสงฆ์ในศาสนาเล่นการเมือง การเมืองก็ล่อกลับฝ่ายศาสนา และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองกับศาสนาดอกเลย ในอดีตที่ยาวนานเคยมีมาก่อนหน้าแล้วทั้งในศาสนาพุทธเองและศาสนาอื่น.