Fred w. Riggs เขียนหนังสือ Thailand: The Modernization of a Bureaucratic Polity เมื่อปี 1966 เป็นที่มาของศัพท์ “อำมาตยาธิปไตย” อันโด่งดัง
ดูจากสภาพการณ์ตลอดถึงเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในปัจจุบัน อดคิดไม่ได้ว่าถ้า Riggs ยังมีชีวิตอยู่ ไม่แน่! อาจจะเห็นงานต่อยอดเขียนบทความชิ้นใหม่ชื่อว่า Thailand: The Compromisation of a Neo-Bureaucratic Polity ที่พรรณนาว่าด้วยพฤติกรรมการเข้าไปมีส่วนในอำนาจการเมืองของระบบราชการยุคใหม่
อาศัยศัพท์บัญญัติเค้าโครงเดิมอาจจะเรียกว่า “อำมาตยาธิปไตยใหม่” ได้กระมัง
กรอบเค้าโครงแนวความคิดร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จำนวน 5 แผ่นที่เปิดเผยออกมาเมื่อก่อนสิ้นปี มีหลายประเด็นที่เป็นเรื่องใหม่และสมควรกระทำ เช่นให้มีส.ส.อิสระ และระบบเลือกตั้งที่นับคะแนนทุกเม็ดแบบเยอรมัน ฯลฯ แต่ก็มีหลายประเด็นที่บ่งบอกว่าแนวโน้มของรัฐธรรมนูญใหม่จะให้บทบาทกับฝ่ายข้าราชการประจำและเทคโนแครตมากยิ่งขึ้นผ่านช่องทางวุฒิสภา มากขนาดมีส่วนในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีซึ่งจะทำให้สัดส่วนเค้าโครงที่มาของอำนาจเปลี่ยนแปลงไปจากระบบเดิมที่ทำมาในหลายสิบปีหลังแทบทั้งหมด
เอาล่ะ ! นี่เป็นแค่เค้าโครงหลักยังไม่เห็นองค์ประกอบรวมทั้งหมด ยังเร็วเกินไปที่จะฟันธงวิจารณ์แบบติเรือทั้งโกลน เพราะเรายังไม่เห็นรายละเอียดหมวดและเนื้อหารองรับอำนาจของฝ่ายอื่นๆ เช่น ฝ่ายการเมืองจากการเลือกตั้ง ฝ่ายศาล ฝ่ายองค์กรอิสระ และโดยเฉพาะฝ่ายประชาชนในรายละเอียด แต่อย่างไรก็ตามเอาแค่เท่าที่ปรากฏในกระดาษ 5 แผ่นนั้นก็มากพอจะมองเห็น “แนวโน้ม” ว่าน้ำหนักของรัฐธรรมนูญใหม่จะเทไปทางใด พอจะอภิปรายได้ในระดับหนึ่ง
คนไทยจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่าความขัดแย้งที่ผ่านมาเป็นการปะทะกันระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ แต่ที่แท้ภาพรวมของความขัดแย้งหลักเป็นเรื่องของขั้วอำนาจอำมาตยาธิปไตย (ข้าราชการ ฝ่ายประจำ ทุนยุคเดิม) ต่อสู้กับ ขั้วทุนใหม่และการเมืองจากการเลือกตั้ง ซึ่งโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ประชาธิปไตยสู้กับเผด็จการบ้าบออะไรตามที่นักก้าวหน้าบ้าเห่อเขาว่ากันเลยจริงๆ
ก็แค่ความขัดแย้งชั่วคราวระหว่างที่การจัดสรรอำนาจผลประโยชน์ยังไม่สมดุลลงตัวเท่านั้น!
เอาง่ายๆ แกนนำแดงเคยประกาศแข็งกร้าวเวทีแล้วเวทีเล่า หากมีการยึดอำนาจจะออกมาต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ประชาธิปไตยจนตัวตาย...จะ บลาๆๆ หุหุ ! ตอนนี้กินอิ่มนอนอุ่น เพราะพี่ใหญ่-พี่รองของผู้มีอำนาจล้วนแต่กว้างขวาง มองไปทางไหนก็คนกันเองทั้งนั้น
มีแต่การเมืองอุดมการณ์เท่านั้นที่จะต่อสู้แตกหัก !
ส่วนการเมืองที่แค่ผลประโยชน์ไม่ลงตัว แค่ต้องการพื้นที่หรือแค่ขออยู่ในเกม ต่อรอง เขาไม่แตกหักกัน !!
เริ่มเป็นที่ชัดเจนแน่นอนว่าจะไม่มีการไล่ล่า กวาดล้าง เอาผิดอะไรกับฝ่ายไหน .......จึงน่าสนใจตรงที่ในห้วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศไทยหลังรัฐประหารที่ประชาชนเบื่อหน่ายความขัดแย้งยาวนาน ขั้วอำนาจฝ่ายชนะคือระบบราชการฝ่ายประจำและกองทัพที่เคยถูกเรียกว่าอำมาตยาธิปไตยจะขยับไปในทิศทางใด เช่นไร?
การเมืองและสังคมไทยสมัยที่ Fred W. Riggs เข้ามาศึกษาเป็นยุคหลัง 2500 ที่มีรัฐบาลทหารปกครองยาวนานจากจอมพลสฤษดิ์มาถึงจอมพลถนอม ทุนใหญ่ที่เป็นอิสระไม่มี ก็มีแต่อุตสาหกรรมเพิ่งเริ่มตั้งและผูกขาดรวมไปถึงทุนธนาคารยุคแรกๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนของพรรคการเมืองจริงจัง Riggs จึงเห็นได้ชัดเจนถึงพลังของ Bureaucratic Politics ที่เป็นอำนาจเดี่ยวโดดเด่นนับจากนั้นระบบราชการไทยก็ใหญ่โตขยายออกทุกขณะ แต่ยิ่งขยายก็ยิ่งรวมศูนย์มากขึ้นๆ
หลายสิบปีต่อมา ทุนเก่าพัฒนาขึ้น มีทุนหน้าใหม่จากเทคโนยีใหม่ มีชนชั้นกลางและนักการเมืองจากท้องถิ่นเข้ามาในกระดานอำนาจ แต่ระบบราชการที่เคยโดดเด่นตั้งแต่ยุค Riggs ก็ยังคงโดดเด่นเป็นหัวใจของกระดานอำนาจเช่นเดิม
นั่นเพราะว่าระบบการรวมศูนย์อำนาจทำให้ทั้งทุนและฝ่ายการเมืองยังต้องอาศัย/พึ่งพา/หรือบังคับใช้ระบบราชการเป็นช่องทางอยู่ดี พร้อมๆ กันนั้นระบบราชการเองก็รวมศูนย์มากขึ้นและโตเอาๆ ต่อไป...กระทรวงทบวงกรมมักจะอ้างว่าต้องขยายหน่วยงานระดับเขตและระดับจังหวัดออกไปเพื่อการบริการที่ดีใกล้ชิดขึ้นแต่จนถึงบัดนี้อำนาจอนุมัติสุดท้ายของหน่วยงานส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ที่กรุงเทพฯ ที่กระจายออกไปก็แค่ตำแหน่งและระดับซีมากขึ้น ไม่ใช่แค่พลเรือน หน่วยทหารและตำรวจก็เช่นกัน
ในยุครัฐบาลทักษิณอำนาจของฝ่ายการเมืองมีมาก มากจนเข้าไปมีบทบาทเหนือธรรมเนียมและความสัมพันธ์แบบเดิมๆ ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประจำ มองเผินๆ เหมือนว่าฝ่ายทุน+การเมือง เกิดความขัดแย้งอย่างยิ่งใหญ่กับ ฝ่ายประจำ+ขรก.+เทคโนแครต แต่ที่แท้ก็แค่ปฏิกิริยาของระบบความสัมพันธ์แบบใหม่ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประจำแค่นั้น และกลุ่มที่มีปฏิกิริยาก็เป็นแค่ส่วนน้อยของระบบอันเทอะทะ ไม่ว่านายถวิล เปลี่ยนสี,คุณหญิงเป็ด หรือใครต่อใคร
เวลาพูดถึงอำมาตยาธิปไตยในยุคนี้หรือยุคต่อๆ ไปต้องมองที่อำนาจนำและธรรมเนียมส่วนใหญ่ พี่ใหญ่ พี่รอง, ระบบตำรวจ ผู้บัญชาการภาค หรือผู้กำกับที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงขั้วอะไรเพราะตำรวจเป็นแบบนี้แทบทั้งองค์กรอยู่แล้ว หรือกระทั่งธรรมเนียมปฏิบัติในกระทรวงและกรมต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่า มีภาษาพูดที่แตกต่างจากถวิล เปลี่ยนสี หรือคุณหญิงเป็ดอย่างแน่นอน
เราต้องมองระบบราชการว่าเป็นกลุ่มผลประโยชน์หนึ่งในสังคมประชาธิปไตยอันซับซ้อน....ระบบอันใหญ่โตรวมศูนย์ยาวนานมีผลประโยชน์ให้ตักตวงมากมาย สังคมได้รับรู้ครั้งแล้วครั้งเล่าผู้นำหน่วยราชการมีรายได้มากมายจากไหนไม่รู้ ทำราชการ กับทำการเมือง จู่ๆ ก็รวยขึ้นมาได้ไม่แพ้กัน เราจะมองว่าระบบราชการเป็นที่พึ่งอันคาดหวังได้ว่าจะไปคานอำนาจและถ่วงดุลการโกงกินของนักการเมืองกับพ่อค้าไม่ได้ เพราะฝันแบบนี้เป็นฝันที่ทำให้ประเทศล่มจมในบั้นปลาย
มันไม่ใช่คู่ขัดแย้ง เพราะที่แท้ขั้วอำนาจทั้งสองแบบที่ดูเหมือนขัดแย้งน่ะ ยังต้องอาศัยซึ่งกันและกัน..ยิ่งเกื้อกูลยิ่งได้งานใหญ่กำไรงาม !
มีประเด็นที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดประเด็นหนึ่ง นั่นก็คือ รัฐบาล/กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญ/สนช./สปช. จะเอาอย่างไรกับการกระจายอำนาจกันแน่? เพราะมันคือการลดทอนอำนาจของอำมาตยาธิปไตยลงมา แถมยังทำลายระบบความสัมพันธ์เกื้อกูลทำมาหากิน ระหว่างพ่อค้าทุน-นักการเมืองและระบบราชการแบบเดิมๆ ลงไปด้วย
ระยะสิบปีหลังมากนี้ฝ่ายการเมืองออกแบบนวัตกรรมใหม่สร้างอาณาจักรราชการเพื่อการทำมาหากินที่กว้างขวางขึ้นโดยอาศัยการจัดตั้งองค์การมหาชนที่แต่เดิมมุ่งตั้งให้คล่องตัวและเป็นกิจการที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ฝ่ายการเมืองอาศัยช่องจัดตั้งองค์กรมหาชนที่ไปกินพื้นที่และทับซ้อนกับหน่วยงานอื่น กลายเป็น Super Structure ขึ้นมาเช่น อพท.ที่เดิมปลอดประสพกำกับดูแล ต่อมาก็ขยายไปตามพื้นที่ต่างๆ ไปทาสีถนนเมืองน่านเกิดการต่อต้านขนานใหญ่ เพราะไปทับซ้อนกับภารกิจหน้าที่ปฏิบัติของหน่วยอื่น อพท.ที่แท้ควรจะวางแผนประสานเท่านั้น ตัวอย่างชัดเจนอีกเรื่องคือการตั้งสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ซึ่งไปทำหน้าที่ทับหน่วยบริหารราชการส่วนกลางในท้องถิ่น ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ททท.มั่วไปหมด โมเดลการขยายหน่วยงานราชการรวมศูนย์แบบนี้เป็นช่องทางประสานผลประโยชน์ระหว่างฝ่ายประจำกับฝ่ายการเมืองที่แยบยลแนบเนียนมากขึ้นๆ
จนกล่าวได้ว่า ผลประโยชน์ของระบบราชการรวมศูนย์แยกไม่ออกกับฝ่ายการเมืองและทุนการเมือง
ซึ่งมันเป็นคนละเรื่องกับประโยชน์โดยรวมของประชาชน!
สมการใหม่ที่ก่อให้เกิดความดุลยภาพใหม่จริงๆ ควรทำให้อำนาจรัฐเล็กลง (ฝ่ายการเมือง+ราชการรวมศูนย์เล็กลง) และอำนาจประชาชนใหญ่ขึ้น ไม่ใช่การสร้างอำมาตยาธิปไตยโฉมใหม่ขึ้นมาแล้วหวังว่าจะเป็นตัวคานอำนาจกับฝ่ายการเมืองรักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน โมเดลแบบนี้คาดหวังได้แค่ไหนดูจากเรื่องพลังงานเรื่องเดียวก็พอแล้ว
ตอนนี้ยังไม่เห็นรายละเอียดว่ารัฐธรรมนูญใหม่จะกระจายอำนาจและให้ประชาชนใหญ่ขึ้นจริงหรือแค่กระป๋องเปล่าเคาะโป๊งๆ เสียงดัง ลำพังให้จัดตั้งสมัชชาพลเมืองระดับจังหวัดนัยว่าเพื่อตรวจสอบอำนาจทุกฝ่ายยังไม่พอครับ ยังต้องเพิ่มในรายละเอียดอีกมาก
ทั้งนี้ได้บอกไปแล้วว่าจะยังไม่ติเรือทั้งโกลน จะขอรอดูรายละเอียดเพิ่ม ส่วนที่เขียนๆ ไปข้างบนเป็นบทวิจารณ์ตามความคืบหน้าของกระบวนการ ให้ถือเป็นปฏิกิริยาข้อแลกเปลี่ยนในระหว่างทางจากประชาชนคนหนึ่งถึงบรรดากรรมาธิการก็แล้วกันครับ.
ดูจากสภาพการณ์ตลอดถึงเค้าโครงร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในปัจจุบัน อดคิดไม่ได้ว่าถ้า Riggs ยังมีชีวิตอยู่ ไม่แน่! อาจจะเห็นงานต่อยอดเขียนบทความชิ้นใหม่ชื่อว่า Thailand: The Compromisation of a Neo-Bureaucratic Polity ที่พรรณนาว่าด้วยพฤติกรรมการเข้าไปมีส่วนในอำนาจการเมืองของระบบราชการยุคใหม่
อาศัยศัพท์บัญญัติเค้าโครงเดิมอาจจะเรียกว่า “อำมาตยาธิปไตยใหม่” ได้กระมัง
กรอบเค้าโครงแนวความคิดร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จำนวน 5 แผ่นที่เปิดเผยออกมาเมื่อก่อนสิ้นปี มีหลายประเด็นที่เป็นเรื่องใหม่และสมควรกระทำ เช่นให้มีส.ส.อิสระ และระบบเลือกตั้งที่นับคะแนนทุกเม็ดแบบเยอรมัน ฯลฯ แต่ก็มีหลายประเด็นที่บ่งบอกว่าแนวโน้มของรัฐธรรมนูญใหม่จะให้บทบาทกับฝ่ายข้าราชการประจำและเทคโนแครตมากยิ่งขึ้นผ่านช่องทางวุฒิสภา มากขนาดมีส่วนในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีซึ่งจะทำให้สัดส่วนเค้าโครงที่มาของอำนาจเปลี่ยนแปลงไปจากระบบเดิมที่ทำมาในหลายสิบปีหลังแทบทั้งหมด
เอาล่ะ ! นี่เป็นแค่เค้าโครงหลักยังไม่เห็นองค์ประกอบรวมทั้งหมด ยังเร็วเกินไปที่จะฟันธงวิจารณ์แบบติเรือทั้งโกลน เพราะเรายังไม่เห็นรายละเอียดหมวดและเนื้อหารองรับอำนาจของฝ่ายอื่นๆ เช่น ฝ่ายการเมืองจากการเลือกตั้ง ฝ่ายศาล ฝ่ายองค์กรอิสระ และโดยเฉพาะฝ่ายประชาชนในรายละเอียด แต่อย่างไรก็ตามเอาแค่เท่าที่ปรากฏในกระดาษ 5 แผ่นนั้นก็มากพอจะมองเห็น “แนวโน้ม” ว่าน้ำหนักของรัฐธรรมนูญใหม่จะเทไปทางใด พอจะอภิปรายได้ในระดับหนึ่ง
คนไทยจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่าความขัดแย้งที่ผ่านมาเป็นการปะทะกันระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ แต่ที่แท้ภาพรวมของความขัดแย้งหลักเป็นเรื่องของขั้วอำนาจอำมาตยาธิปไตย (ข้าราชการ ฝ่ายประจำ ทุนยุคเดิม) ต่อสู้กับ ขั้วทุนใหม่และการเมืองจากการเลือกตั้ง ซึ่งโดยเนื้อแท้มันไม่ใช่ความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ประชาธิปไตยสู้กับเผด็จการบ้าบออะไรตามที่นักก้าวหน้าบ้าเห่อเขาว่ากันเลยจริงๆ
ก็แค่ความขัดแย้งชั่วคราวระหว่างที่การจัดสรรอำนาจผลประโยชน์ยังไม่สมดุลลงตัวเท่านั้น!
เอาง่ายๆ แกนนำแดงเคยประกาศแข็งกร้าวเวทีแล้วเวทีเล่า หากมีการยึดอำนาจจะออกมาต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ประชาธิปไตยจนตัวตาย...จะ บลาๆๆ หุหุ ! ตอนนี้กินอิ่มนอนอุ่น เพราะพี่ใหญ่-พี่รองของผู้มีอำนาจล้วนแต่กว้างขวาง มองไปทางไหนก็คนกันเองทั้งนั้น
มีแต่การเมืองอุดมการณ์เท่านั้นที่จะต่อสู้แตกหัก !
ส่วนการเมืองที่แค่ผลประโยชน์ไม่ลงตัว แค่ต้องการพื้นที่หรือแค่ขออยู่ในเกม ต่อรอง เขาไม่แตกหักกัน !!
เริ่มเป็นที่ชัดเจนแน่นอนว่าจะไม่มีการไล่ล่า กวาดล้าง เอาผิดอะไรกับฝ่ายไหน .......จึงน่าสนใจตรงที่ในห้วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศไทยหลังรัฐประหารที่ประชาชนเบื่อหน่ายความขัดแย้งยาวนาน ขั้วอำนาจฝ่ายชนะคือระบบราชการฝ่ายประจำและกองทัพที่เคยถูกเรียกว่าอำมาตยาธิปไตยจะขยับไปในทิศทางใด เช่นไร?
การเมืองและสังคมไทยสมัยที่ Fred W. Riggs เข้ามาศึกษาเป็นยุคหลัง 2500 ที่มีรัฐบาลทหารปกครองยาวนานจากจอมพลสฤษดิ์มาถึงจอมพลถนอม ทุนใหญ่ที่เป็นอิสระไม่มี ก็มีแต่อุตสาหกรรมเพิ่งเริ่มตั้งและผูกขาดรวมไปถึงทุนธนาคารยุคแรกๆ ไม่มีการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนของพรรคการเมืองจริงจัง Riggs จึงเห็นได้ชัดเจนถึงพลังของ Bureaucratic Politics ที่เป็นอำนาจเดี่ยวโดดเด่นนับจากนั้นระบบราชการไทยก็ใหญ่โตขยายออกทุกขณะ แต่ยิ่งขยายก็ยิ่งรวมศูนย์มากขึ้นๆ
หลายสิบปีต่อมา ทุนเก่าพัฒนาขึ้น มีทุนหน้าใหม่จากเทคโนยีใหม่ มีชนชั้นกลางและนักการเมืองจากท้องถิ่นเข้ามาในกระดานอำนาจ แต่ระบบราชการที่เคยโดดเด่นตั้งแต่ยุค Riggs ก็ยังคงโดดเด่นเป็นหัวใจของกระดานอำนาจเช่นเดิม
นั่นเพราะว่าระบบการรวมศูนย์อำนาจทำให้ทั้งทุนและฝ่ายการเมืองยังต้องอาศัย/พึ่งพา/หรือบังคับใช้ระบบราชการเป็นช่องทางอยู่ดี พร้อมๆ กันนั้นระบบราชการเองก็รวมศูนย์มากขึ้นและโตเอาๆ ต่อไป...กระทรวงทบวงกรมมักจะอ้างว่าต้องขยายหน่วยงานระดับเขตและระดับจังหวัดออกไปเพื่อการบริการที่ดีใกล้ชิดขึ้นแต่จนถึงบัดนี้อำนาจอนุมัติสุดท้ายของหน่วยงานส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ที่กรุงเทพฯ ที่กระจายออกไปก็แค่ตำแหน่งและระดับซีมากขึ้น ไม่ใช่แค่พลเรือน หน่วยทหารและตำรวจก็เช่นกัน
ในยุครัฐบาลทักษิณอำนาจของฝ่ายการเมืองมีมาก มากจนเข้าไปมีบทบาทเหนือธรรมเนียมและความสัมพันธ์แบบเดิมๆ ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประจำ มองเผินๆ เหมือนว่าฝ่ายทุน+การเมือง เกิดความขัดแย้งอย่างยิ่งใหญ่กับ ฝ่ายประจำ+ขรก.+เทคโนแครต แต่ที่แท้ก็แค่ปฏิกิริยาของระบบความสัมพันธ์แบบใหม่ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประจำแค่นั้น และกลุ่มที่มีปฏิกิริยาก็เป็นแค่ส่วนน้อยของระบบอันเทอะทะ ไม่ว่านายถวิล เปลี่ยนสี,คุณหญิงเป็ด หรือใครต่อใคร
เวลาพูดถึงอำมาตยาธิปไตยในยุคนี้หรือยุคต่อๆ ไปต้องมองที่อำนาจนำและธรรมเนียมส่วนใหญ่ พี่ใหญ่ พี่รอง, ระบบตำรวจ ผู้บัญชาการภาค หรือผู้กำกับที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงขั้วอะไรเพราะตำรวจเป็นแบบนี้แทบทั้งองค์กรอยู่แล้ว หรือกระทั่งธรรมเนียมปฏิบัติในกระทรวงและกรมต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่า มีภาษาพูดที่แตกต่างจากถวิล เปลี่ยนสี หรือคุณหญิงเป็ดอย่างแน่นอน
เราต้องมองระบบราชการว่าเป็นกลุ่มผลประโยชน์หนึ่งในสังคมประชาธิปไตยอันซับซ้อน....ระบบอันใหญ่โตรวมศูนย์ยาวนานมีผลประโยชน์ให้ตักตวงมากมาย สังคมได้รับรู้ครั้งแล้วครั้งเล่าผู้นำหน่วยราชการมีรายได้มากมายจากไหนไม่รู้ ทำราชการ กับทำการเมือง จู่ๆ ก็รวยขึ้นมาได้ไม่แพ้กัน เราจะมองว่าระบบราชการเป็นที่พึ่งอันคาดหวังได้ว่าจะไปคานอำนาจและถ่วงดุลการโกงกินของนักการเมืองกับพ่อค้าไม่ได้ เพราะฝันแบบนี้เป็นฝันที่ทำให้ประเทศล่มจมในบั้นปลาย
มันไม่ใช่คู่ขัดแย้ง เพราะที่แท้ขั้วอำนาจทั้งสองแบบที่ดูเหมือนขัดแย้งน่ะ ยังต้องอาศัยซึ่งกันและกัน..ยิ่งเกื้อกูลยิ่งได้งานใหญ่กำไรงาม !
มีประเด็นที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดประเด็นหนึ่ง นั่นก็คือ รัฐบาล/กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญ/สนช./สปช. จะเอาอย่างไรกับการกระจายอำนาจกันแน่? เพราะมันคือการลดทอนอำนาจของอำมาตยาธิปไตยลงมา แถมยังทำลายระบบความสัมพันธ์เกื้อกูลทำมาหากิน ระหว่างพ่อค้าทุน-นักการเมืองและระบบราชการแบบเดิมๆ ลงไปด้วย
ระยะสิบปีหลังมากนี้ฝ่ายการเมืองออกแบบนวัตกรรมใหม่สร้างอาณาจักรราชการเพื่อการทำมาหากินที่กว้างขวางขึ้นโดยอาศัยการจัดตั้งองค์การมหาชนที่แต่เดิมมุ่งตั้งให้คล่องตัวและเป็นกิจการที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ฝ่ายการเมืองอาศัยช่องจัดตั้งองค์กรมหาชนที่ไปกินพื้นที่และทับซ้อนกับหน่วยงานอื่น กลายเป็น Super Structure ขึ้นมาเช่น อพท.ที่เดิมปลอดประสพกำกับดูแล ต่อมาก็ขยายไปตามพื้นที่ต่างๆ ไปทาสีถนนเมืองน่านเกิดการต่อต้านขนานใหญ่ เพราะไปทับซ้อนกับภารกิจหน้าที่ปฏิบัติของหน่วยอื่น อพท.ที่แท้ควรจะวางแผนประสานเท่านั้น ตัวอย่างชัดเจนอีกเรื่องคือการตั้งสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ซึ่งไปทำหน้าที่ทับหน่วยบริหารราชการส่วนกลางในท้องถิ่น ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ททท.มั่วไปหมด โมเดลการขยายหน่วยงานราชการรวมศูนย์แบบนี้เป็นช่องทางประสานผลประโยชน์ระหว่างฝ่ายประจำกับฝ่ายการเมืองที่แยบยลแนบเนียนมากขึ้นๆ
จนกล่าวได้ว่า ผลประโยชน์ของระบบราชการรวมศูนย์แยกไม่ออกกับฝ่ายการเมืองและทุนการเมือง
ซึ่งมันเป็นคนละเรื่องกับประโยชน์โดยรวมของประชาชน!
สมการใหม่ที่ก่อให้เกิดความดุลยภาพใหม่จริงๆ ควรทำให้อำนาจรัฐเล็กลง (ฝ่ายการเมือง+ราชการรวมศูนย์เล็กลง) และอำนาจประชาชนใหญ่ขึ้น ไม่ใช่การสร้างอำมาตยาธิปไตยโฉมใหม่ขึ้นมาแล้วหวังว่าจะเป็นตัวคานอำนาจกับฝ่ายการเมืองรักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน โมเดลแบบนี้คาดหวังได้แค่ไหนดูจากเรื่องพลังงานเรื่องเดียวก็พอแล้ว
ตอนนี้ยังไม่เห็นรายละเอียดว่ารัฐธรรมนูญใหม่จะกระจายอำนาจและให้ประชาชนใหญ่ขึ้นจริงหรือแค่กระป๋องเปล่าเคาะโป๊งๆ เสียงดัง ลำพังให้จัดตั้งสมัชชาพลเมืองระดับจังหวัดนัยว่าเพื่อตรวจสอบอำนาจทุกฝ่ายยังไม่พอครับ ยังต้องเพิ่มในรายละเอียดอีกมาก
ทั้งนี้ได้บอกไปแล้วว่าจะยังไม่ติเรือทั้งโกลน จะขอรอดูรายละเอียดเพิ่ม ส่วนที่เขียนๆ ไปข้างบนเป็นบทวิจารณ์ตามความคืบหน้าของกระบวนการ ให้ถือเป็นปฏิกิริยาข้อแลกเปลี่ยนในระหว่างทางจากประชาชนคนหนึ่งถึงบรรดากรรมาธิการก็แล้วกันครับ.