อาจจะเป็นเพราะความกดดันจากต่างชาติ ทำให้ คสช.ต้องกำหนดกรอบเวลาในการอยู่ในอำนาจ และการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปประเทศที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมกำหนดได้ตามปฏิทิน จากที่เดิมได้กำหนดไว้แบบมีหน่วยเป็นเดือนเป็นปี
เริ่มต้นด้วยการที่ประกาศว่ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว (ส่วนใหญ่จะเรียกว่าธรรมนูญการปกครองประเทศ) จะประกาศใช้บังคับให้ได้ภายในเดือนนี้
สาระของรัฐธรรมนูญชั่วคราว หรือธรรมนูญการปกครองเท่าที่แย้มหรือแพลมออกมาผ่านสื่อต่างๆ ประกอบกับธรรมเนียมของธรรมนูญการปกครองประเทศที่ผ่านมา ก็มีสาระว่าจะมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติจากการแต่งตั้ง และให้รัฐบาลชั่วคราวขึ้นมาทำหน้าที่บริหารประเทศ
จุดที่อาจจะแตกต่างอยู่บ้าง คือจะมีบท “สงวนอำนาจ” ของ คสช.เอาไว้ด้วย ว่าให้ คสช.สามารถใช้อำนาจเข้ามาแก้ปัญหาประเทศได้แม้แต่มีรัฐบาลรักษาการแล้ว หากมีเหตุจำเป็นที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง คล้ายๆ มาตรา 17 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรือมาตรา 27 ในสมัย รสช. (อย่างไรก็ตาม ในสมัย รสช.ไม่มีการใช้อำนาจนี้) เพื่อให้หลักประกันว่า การแก้ไขปัญหาและปฏิรูปประเทศครั้งนี้จะต้องไม่สะดุดลง
ส่วนศาลต่างๆ นั้นก็คงเดิมไม่แตะต้อง แม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญที่ตอนรัฐประหาร 2549 นั้นยุบไปตั้งเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ ในธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ก็จะยังให้คงไว้ โดยมีอำนาจจำกัดตามธรรมนูญการปกครองนี้
แต่ที่คนคาดหวังและจับตากันมาก คือ “สภาปฏิรูปประเทศ” ขึ้นมาเพื่อวางแผนการปฏิรูปประเทศและการเมือง รวมถึงร่างรัฐธรรมนูญใหม่
การก่อตั้งสภาต่างๆ ทั้งหมดน่าจะสิ้นสุด และเริ่มงานกันได้ภายในเดือนสิงหาคม และจะให้ดำเนินกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญกัน และรัฐธรรมนูญฉบับถาวร หรือฉบับ 2558 จะมีผลใช้บังคับได้ในราวกลางปีหน้า และอาจจัดให้มีการเลือกตั้งได้ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน
รวมระยะเวลาเริ่มตั้งแต่การเข้าควบคุมอำนาจ จนถึงการมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นหมุดหมายที่ถือว่าเป็นการจบภารกิจของการเข้าควบคุมอำนาจโดย คสช. แล้ว ก็จะใช้เวลาประมาณเกือบปีครึ่ง ซึ่งก็เป็นไปตามกรอบเวลาคร่าวๆ ที่เคยมีการประกาศไว้
หลายคนสงสัยว่า ระยะเวลาเพียงปีเดียว จะสามารถแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่หมักหมมมานานได้หรือ รวมทั้งการล้างระบอบทักษิณที่เหมือนฝังรากไปทั่ว ที่ตอนนี้เหมือนแค่สลบไปด้วย
แต่ก็ต้องเข้าใจว่า สภาพการปกครองที่แม้จะมีรัฐบาลชั่วคราว มีนายกฯ ชั่วคราวก็ตาม แต่ในสายตาของประชาคมโลก มันก็ยังถือเป็นการปกครองในระบอบทหาร
แม้เราจะกล่าวว่าเราไม่ต้องแคร์โลก แต่ถึงอย่างไร มันก็มี “กติกา” บางอย่างที่เราจำใจต้องเล่น ก็คล้ายการไปงานศพของคนที่เราก็ไม่ได้รู้จัก แต่จำเป็นต้องไปตามธรรมเนียมของสังคมนั่นแหละครับ
ก็เพราะโลกนี้มี “แบบพิธี” ว่า ประเทศต่างๆ ในโลกจะต้องปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยสากล มีรัฐบาล มีสภาจากการเลือกตั้ง ประเทศใดที่ “ไม่เข้ามาตรฐาน” นี้ก็จะไม่สามารถติดต่อทั้งในทางราษฎร์ทางหลวงได้อย่างเต็มที่ ดังเช่นล่าสุดที่สหภาพยุโรปประกาศห้ามการ Official Visit ระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป นั่นคือเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีขึ้นไปนั้น ห้ามไปเยือนกันอย่างเป็นทางการ
ส่วนทางการค้าขายของเอกชน หรือการเดินทางของข้าราชการระดับรองลงมานั้นไม่เกี่ยว แต่การที่ระดับ “รัฐมนตรี” ของเราไม่อาจไปเยือนได้ ก็ต้องยอมรับว่ากระทบกระเทือน
เพราะ “แบบพิธี” ที่ว่านี่แหละ ทำให้การผ่าตัดปฏิรูปประเทศของเรานั้นถึงจำเป็นต้องทำ ก็ต้องรีบทำให้เร็วที่สุด เพื่อให้กลับสู่ภาวะปกติได้อย่างที่ประเทศเสียหายน้อยที่สุดให้ได้
จึงต้องให้เรื่องตกเป็นความรับผิดชอบของสภาปฏิรูปประเทศ ที่จะรวบรวมปัญหาของประเทศและแสวงหาวิธีการแก้ไขให้รวดเร็วที่สุด ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญนั้นไม่น่ายาก เพราะมีต้นแบบมาจากรัฐธรรมนูญทั้งปี 2540 และ 2550 ให้เห็นแล้วว่า ปัญหา ข้อขัดข้อง หรือจุดแข็งจุดอ่อนนั้นเป็นอย่างไร หรืออาจจะใช้การศึกษาจากต้นแบบประสบการณ์ของต่างประเทศที่ได้มีการศึกษากันไว้แล้วก็ได้
หรือถึงจะยกร่างขึ้นใหม่โดยไม่ต้องสนใจสองฉบับนั้นเลยก็ยังอาจจะทำได้ หากจะพบหนทางที่ดีกว่า ที่เหมาะสมกับบริบท สิ่งแวดล้อม และสภาพการณ์อันแท้จริงของการเมืองไทย อย่างที่ไม่สามารถหยิบยกเอารูปแบบที่ใดมาเป็นตัวตั้งเลยก็ย่อมได้
ซึ่งจะทำได้แน่ หาก คสช.นั้นให้โอกาส และให้อำนาจสภาปฏิรูปได้ดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นอย่างใช้บังคับโดยอิสระภายใต้การกำกับดูแล แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาสำคัญในชั้นของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรอยู่ว่า เมื่อสภาปฏิรูปจัดทำรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้มีผลใช้บังคับนั้น สมควรจะมีการนำมาให้ประชาชนลงประชามติหรือไม่ โดยที่ฝ่าย คสช.มีแนวทางว่า จะไม่ต้องทำประชามติ แต่คณะทำงานที่ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว บางส่วนเห็นว่าสมควรต้องมีการทำประชามติ
จริงๆ การทำประชามตินั้นก็มีประโยชน์อยู่สองประการ คือ ในแง่ปรัชญาและรูปแบบ การเอารัฐธรรมนูญมาให้ประชาชนทำประชามติ ย่อมสะท้อนถึงว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญที่แท้จริง และเท่ากับว่าในภาพรวม ประชาชนให้ความ “เห็นชอบ” ต่อการปฏิรูปประเทศตามแนวทางของ คสช. แล้ว ผ่านการยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับอนาคต
และการที่รัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติมา ก็เป็นเหมือนการ “ลงยันต์” สร้างความเข้มแข็งให้รัฐธรรมนูญเอง โดยถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากมติมหาชน ที่นักการเมืองเพียงชนะการเลือกตั้งมาจะมาแก้เองตามอำเภอใจไม่ได้ เหมือนเช่นที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 ทั้งฉบับโดยตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเองนั้นทำไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญผ่านประชามติมา จึงต้องทำประชามติถามประชาชนว่า ประสงค์จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่
แต่การลงประชามติก็มีข้อเสียสำคัญอยู่สองประการ คืออาจจะทำให้เครือข่ายต้านรัฐประหาร และเครือข่ายระบอบทักษิณฟื้นขึ้นมาปลุกปั่นประชาชนผ่านกระบวนการประชามตินี้ได้
หากใครยังจำได้ คงระลึกได้ว่าในช่วงที่มีการทำประชามติว่าจะให้ใช้บังคับรัฐธรรมนูญ 2550 ก็มีการปลุกปั่นต่อต้านให้คนออกมา “โหวตโน” ไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 อยู่เหมือนกัน ผลประชามติออกมาเฉียดฉิว คือเห็นชอบ 57 ไม่เห็นชอบ 42 และจังหวัดส่วนใหญ่ในภาคอีสานและภาคเหนือ เสียง “โหวตโน” ชนะ
แน่นอนว่าถ้าเปิดโอกาสให้มีการลงประชามติรัฐธรรมนูญ 2558 ภาพเก่าๆเหล่านี้อาจจะกลับมาอีกก็ได้ การแบ่งแยกประชาชนออกเป็น “เอา - ไม่เอา” รัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะลามไปจนเป็นเรื่องเอาหรือไม่เอารัฐประหาร ซึ่งเห็นเค้าลางของความวุ่นวายได้
การลงประชามติรัฐธรรมนูญ จึงเป็นตัวเลือกที่มีเดิมพันราคาแพงที่ คสช.ต้องใคร่ครวญในวาระสุดท้ายก่อนนำรัฐธรรมนูญชั่วคราวขึ้นทูลเกล้าฯ ก่อนมีผลใช้บังคับ
เริ่มต้นด้วยการที่ประกาศว่ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว (ส่วนใหญ่จะเรียกว่าธรรมนูญการปกครองประเทศ) จะประกาศใช้บังคับให้ได้ภายในเดือนนี้
สาระของรัฐธรรมนูญชั่วคราว หรือธรรมนูญการปกครองเท่าที่แย้มหรือแพลมออกมาผ่านสื่อต่างๆ ประกอบกับธรรมเนียมของธรรมนูญการปกครองประเทศที่ผ่านมา ก็มีสาระว่าจะมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติจากการแต่งตั้ง และให้รัฐบาลชั่วคราวขึ้นมาทำหน้าที่บริหารประเทศ
จุดที่อาจจะแตกต่างอยู่บ้าง คือจะมีบท “สงวนอำนาจ” ของ คสช.เอาไว้ด้วย ว่าให้ คสช.สามารถใช้อำนาจเข้ามาแก้ปัญหาประเทศได้แม้แต่มีรัฐบาลรักษาการแล้ว หากมีเหตุจำเป็นที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง คล้ายๆ มาตรา 17 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หรือมาตรา 27 ในสมัย รสช. (อย่างไรก็ตาม ในสมัย รสช.ไม่มีการใช้อำนาจนี้) เพื่อให้หลักประกันว่า การแก้ไขปัญหาและปฏิรูปประเทศครั้งนี้จะต้องไม่สะดุดลง
ส่วนศาลต่างๆ นั้นก็คงเดิมไม่แตะต้อง แม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญที่ตอนรัฐประหาร 2549 นั้นยุบไปตั้งเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ ในธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ก็จะยังให้คงไว้ โดยมีอำนาจจำกัดตามธรรมนูญการปกครองนี้
แต่ที่คนคาดหวังและจับตากันมาก คือ “สภาปฏิรูปประเทศ” ขึ้นมาเพื่อวางแผนการปฏิรูปประเทศและการเมือง รวมถึงร่างรัฐธรรมนูญใหม่
การก่อตั้งสภาต่างๆ ทั้งหมดน่าจะสิ้นสุด และเริ่มงานกันได้ภายในเดือนสิงหาคม และจะให้ดำเนินกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญกัน และรัฐธรรมนูญฉบับถาวร หรือฉบับ 2558 จะมีผลใช้บังคับได้ในราวกลางปีหน้า และอาจจัดให้มีการเลือกตั้งได้ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน
รวมระยะเวลาเริ่มตั้งแต่การเข้าควบคุมอำนาจ จนถึงการมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นหมุดหมายที่ถือว่าเป็นการจบภารกิจของการเข้าควบคุมอำนาจโดย คสช. แล้ว ก็จะใช้เวลาประมาณเกือบปีครึ่ง ซึ่งก็เป็นไปตามกรอบเวลาคร่าวๆ ที่เคยมีการประกาศไว้
หลายคนสงสัยว่า ระยะเวลาเพียงปีเดียว จะสามารถแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่หมักหมมมานานได้หรือ รวมทั้งการล้างระบอบทักษิณที่เหมือนฝังรากไปทั่ว ที่ตอนนี้เหมือนแค่สลบไปด้วย
แต่ก็ต้องเข้าใจว่า สภาพการปกครองที่แม้จะมีรัฐบาลชั่วคราว มีนายกฯ ชั่วคราวก็ตาม แต่ในสายตาของประชาคมโลก มันก็ยังถือเป็นการปกครองในระบอบทหาร
แม้เราจะกล่าวว่าเราไม่ต้องแคร์โลก แต่ถึงอย่างไร มันก็มี “กติกา” บางอย่างที่เราจำใจต้องเล่น ก็คล้ายการไปงานศพของคนที่เราก็ไม่ได้รู้จัก แต่จำเป็นต้องไปตามธรรมเนียมของสังคมนั่นแหละครับ
ก็เพราะโลกนี้มี “แบบพิธี” ว่า ประเทศต่างๆ ในโลกจะต้องปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยสากล มีรัฐบาล มีสภาจากการเลือกตั้ง ประเทศใดที่ “ไม่เข้ามาตรฐาน” นี้ก็จะไม่สามารถติดต่อทั้งในทางราษฎร์ทางหลวงได้อย่างเต็มที่ ดังเช่นล่าสุดที่สหภาพยุโรปประกาศห้ามการ Official Visit ระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป นั่นคือเจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรีขึ้นไปนั้น ห้ามไปเยือนกันอย่างเป็นทางการ
ส่วนทางการค้าขายของเอกชน หรือการเดินทางของข้าราชการระดับรองลงมานั้นไม่เกี่ยว แต่การที่ระดับ “รัฐมนตรี” ของเราไม่อาจไปเยือนได้ ก็ต้องยอมรับว่ากระทบกระเทือน
เพราะ “แบบพิธี” ที่ว่านี่แหละ ทำให้การผ่าตัดปฏิรูปประเทศของเรานั้นถึงจำเป็นต้องทำ ก็ต้องรีบทำให้เร็วที่สุด เพื่อให้กลับสู่ภาวะปกติได้อย่างที่ประเทศเสียหายน้อยที่สุดให้ได้
จึงต้องให้เรื่องตกเป็นความรับผิดชอบของสภาปฏิรูปประเทศ ที่จะรวบรวมปัญหาของประเทศและแสวงหาวิธีการแก้ไขให้รวดเร็วที่สุด ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญนั้นไม่น่ายาก เพราะมีต้นแบบมาจากรัฐธรรมนูญทั้งปี 2540 และ 2550 ให้เห็นแล้วว่า ปัญหา ข้อขัดข้อง หรือจุดแข็งจุดอ่อนนั้นเป็นอย่างไร หรืออาจจะใช้การศึกษาจากต้นแบบประสบการณ์ของต่างประเทศที่ได้มีการศึกษากันไว้แล้วก็ได้
หรือถึงจะยกร่างขึ้นใหม่โดยไม่ต้องสนใจสองฉบับนั้นเลยก็ยังอาจจะทำได้ หากจะพบหนทางที่ดีกว่า ที่เหมาะสมกับบริบท สิ่งแวดล้อม และสภาพการณ์อันแท้จริงของการเมืองไทย อย่างที่ไม่สามารถหยิบยกเอารูปแบบที่ใดมาเป็นตัวตั้งเลยก็ย่อมได้
ซึ่งจะทำได้แน่ หาก คสช.นั้นให้โอกาส และให้อำนาจสภาปฏิรูปได้ดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นอย่างใช้บังคับโดยอิสระภายใต้การกำกับดูแล แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาสำคัญในชั้นของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรอยู่ว่า เมื่อสภาปฏิรูปจัดทำรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้มีผลใช้บังคับนั้น สมควรจะมีการนำมาให้ประชาชนลงประชามติหรือไม่ โดยที่ฝ่าย คสช.มีแนวทางว่า จะไม่ต้องทำประชามติ แต่คณะทำงานที่ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว บางส่วนเห็นว่าสมควรต้องมีการทำประชามติ
จริงๆ การทำประชามตินั้นก็มีประโยชน์อยู่สองประการ คือ ในแง่ปรัชญาและรูปแบบ การเอารัฐธรรมนูญมาให้ประชาชนทำประชามติ ย่อมสะท้อนถึงว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญที่แท้จริง และเท่ากับว่าในภาพรวม ประชาชนให้ความ “เห็นชอบ” ต่อการปฏิรูปประเทศตามแนวทางของ คสช. แล้ว ผ่านการยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับอนาคต
และการที่รัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติมา ก็เป็นเหมือนการ “ลงยันต์” สร้างความเข้มแข็งให้รัฐธรรมนูญเอง โดยถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากมติมหาชน ที่นักการเมืองเพียงชนะการเลือกตั้งมาจะมาแก้เองตามอำเภอใจไม่ได้ เหมือนเช่นที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 ทั้งฉบับโดยตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเองนั้นทำไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญผ่านประชามติมา จึงต้องทำประชามติถามประชาชนว่า ประสงค์จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่
แต่การลงประชามติก็มีข้อเสียสำคัญอยู่สองประการ คืออาจจะทำให้เครือข่ายต้านรัฐประหาร และเครือข่ายระบอบทักษิณฟื้นขึ้นมาปลุกปั่นประชาชนผ่านกระบวนการประชามตินี้ได้
หากใครยังจำได้ คงระลึกได้ว่าในช่วงที่มีการทำประชามติว่าจะให้ใช้บังคับรัฐธรรมนูญ 2550 ก็มีการปลุกปั่นต่อต้านให้คนออกมา “โหวตโน” ไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 อยู่เหมือนกัน ผลประชามติออกมาเฉียดฉิว คือเห็นชอบ 57 ไม่เห็นชอบ 42 และจังหวัดส่วนใหญ่ในภาคอีสานและภาคเหนือ เสียง “โหวตโน” ชนะ
แน่นอนว่าถ้าเปิดโอกาสให้มีการลงประชามติรัฐธรรมนูญ 2558 ภาพเก่าๆเหล่านี้อาจจะกลับมาอีกก็ได้ การแบ่งแยกประชาชนออกเป็น “เอา - ไม่เอา” รัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะลามไปจนเป็นเรื่องเอาหรือไม่เอารัฐประหาร ซึ่งเห็นเค้าลางของความวุ่นวายได้
การลงประชามติรัฐธรรมนูญ จึงเป็นตัวเลือกที่มีเดิมพันราคาแพงที่ คสช.ต้องใคร่ครวญในวาระสุดท้ายก่อนนำรัฐธรรมนูญชั่วคราวขึ้นทูลเกล้าฯ ก่อนมีผลใช้บังคับ