สมมติว่า คุณกำลังจะขุดหลุมเพื่อปลูกต้นไม้ในที่ดินบ้านคุณ แล้วเจอไหบรรจุวัตถุโบราณ มี แก้ว แหวน เงิน ทอง ต่างๆ .... ลองถามใจตัวเองก่อนว่า คุณจะ???
๑.เก็บไว้เป็นมรดกตกทอดต่อลูกหลาน ๒.นำไปขาย ๓.ส่งกรมศิลปากรมาพิสูจน์
ถ้ามองกันในมโนคติ ทุกคนก็เลือกข้อ ๓ ทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผมก็เชื่อว่าคุณๆ ก็ต้องเลือกข้อ ๒ หรือ ๑ เป็นอันดับต้นๆ
ที่ดินของญาติฝั่งพ่อผมซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษก็เคยมีเรื่องเล่าแบบนี้เหมือนกัน มีร่างทรงนั่งทางในแล้วบอกว่า ใต้ต้นสะตือถ้าขุดลงไปจะเจอสมบัติในไหฝังอยู่ใต้ดินนั้น ผมฟังแล้วก็ อืมมม์ ไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ และญาติๆ เขาก็ไม่มีใครคิดจะขุดขึ้นมาหรอก
ที่อารมภบทเรื่องนี้มาเพราะผมอ่านเจอข่าวที่ค่อนข้างฮือฮาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีชาวบ้านขุดเจอทองคำแผ่นนั้นล่ะ
เรื่องจากข่าวมันมีอยู่ว่า เมื่อวันที่ ๒๗ พ.ค.มีรายงานว่า ชาว อ.เขาชัยสน จ.พังงา เจ้าของที่ดินแกกำลังขุดแปลงนาเพื่อทำแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน พอขุดยกร่องเสร็จพบแผ่นทองคำน้ำหนักแผ่นละ ๑ บาท รวมทั้งสร้อยคอ กำไลทองคำอีกจำนวนมาก ก็เลยเอาไปขายได้เงินกว่า ๓ ล้านบาท จากนั้นเพื่อนบ้านก็พากันมามาขุดเป็นจำนวนมาก บางคนได้ทองคำคนละ ๑ - ๒ แผ่น และได้กำไล ทองคำ ตุ้มหู เจ้าของที่แกอ้างว่า ผู้เฒ่าในหมู่บ้านเล่าว่าน่าจะเป็นทองคำของเรือสำเภาจีนในสมัยอดีต เพราะก่อนหน้านี้เมื่อ ๗ ปีที่แล้ว มีคนขุดพบซากเรือโบราณ ไห เครื่องถ้วยชามสังคโลกจำนวนมาก ซึ่งแต่ก่อนเป็นลำคลอง และป่าพรุ แต่ปัจจุบันดินตะกอนทับถมจนตื้นเขิน
แกเล่าเพิ่มเติมว่า ได้ชื้อที่ดินแปลงนี้มาเมื่อ ๓ เดือนที่แล้ว แล้วทำการยกร่อง โดยใช้รถแบ็กโฮขุดไว้เมื่อ ๒๐ วันก่อน พอจะนำกล้าปาล์มมาปลูก ลูกชายก็เจอทองคำแผ่น ตอนแรกคิดว่าเป็นทองคำปลอม แต่ดันมาเจอจี้ทอง และทองคำแท่ง จึงได้ช่วยกันเก็บ จนกระทั่งค่ำจึงได้เดินทางกลับบ้าน และรุ่งเช้ามาขุดหาซ้ำจนได้ทองคำแผ่น ทองคำแท่ง กำไล แหวน สร้อยคอจำนวนมาก โดยประมาณค่าไม่ได้ เมื่อนำไปขายร้านทองในตัวเมืองหาดใหญ่ร้านทองชื้อในราคาแผ่นละ ๓๗,๐๐๐ บาท ซึ่งร้านทองบอกว่าเป็นทองคำแท้บริสุทธิ์
รวมๆ แล้วพอหลังจากชาวบ้านแห่มาขุดได้ไปร่วม ๑๐๐ แผ่น เลยทีเดียว
ต่อมาวัฒนธรรมจังหวัด ก็ได้เดินทางมาตรวจสอบ และได้ประสานไปทางฝ่ายปกครองของอำเภอ เพื่อระงับการขุดพร้อมประสานไปยังกรมศิลปากร ให้เข้าตรวจในวันพรุ่งนี้ ซึ่งทองคำทุกแผ่นจะมีภาษาจีนโบราณสลักไว้ และไหโบราณที่พบลักษณะเหมือนไหจีนโบราณเช่นกัน ขณะที่ชาวบ้านรายหนึ่งอ้างว่า น่าจะเป็นของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในแหลมมลายู ที่จะนำไปปิดยอดพระบรมธาตุ แต่การเดินทางลำบาก จึงได้ฝังทองคำไว้แทน
เช้าวันที่ ๒๘ เจ้าของที่ และเจ้าหน้าที่อำเภอ มาปิดกั้นพื้นที่เพื่อรอการตรวจสอบ แต่ถูกชาวบ้านทะลวงเข้าไปขุดทองกันต่อ เจ้าของแกก็เลยไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เพื่อเอาผิดพวกที่บุกรุกเข้าไปขุดทอง ต่อมาอธิบดีกรมศิลปากรก็มาตรวจสอบ พบว่าเป็นทองแท้ๆ แสดงถึงกวนเกษียรสมุทร ซึ่งเป็นการเอานาคมาพันโยงกับทองดังกล่าวแล้วใส่น้ำลงไป จากนั้นเอาน้ำมาดื่มกินเพื่อมิให้เสียชีวิตตามความเชื่อของศาสนาฮินดู โดยมีอายุรุ่นเดียวกับปราสาทนครวัด ประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ ปี ซึ่งทองรูปพรรณที่ขุดได้ถือเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน หากผู้ที่ขุดพบนำมามอบให้แก่ทางราชการ ก็จะใช้เงินให้ในราคา ๑/๓ ของทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งน่าจะมีราคามากกว่าในท้องตลาดถึง ๑๐ เท่า ส่วนเจ้าของที่ และชาวบ้านจะคืนให้หรือไม่เป็นสิทธิของผู้ขุดพบ
"น่าเสียดายหากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีจะถูกหลอมไปเพียงเพื่อประโยชน์ชั่วครั้งชั่วคราว ได้เงินมาแล้วก็หมดไป" อธิบดีกรมศิลปากร ได้กล่าวไว้ในวันรุ่งขึ้น ๒๙ พ.ค. พร้อมกับเชื่อว่าน่าจะเป็นทองคำของเจ้านายในระดับเจ้าเมือง หรือขุนนางชั้นสูง หรือคหบดี โดยได้ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอให้ประกาศให้พื้นที่แหล่งโบราณคดี ห้ามประชาชนเข้ามาขุดค้น และจะประสานไปยังกองทัพภาคที่ ๔ ในการเข้าจัดระเบียบด้วย
บางคนก็ขู่ว่า เป็นของที่คนเขานำมาเพื่อบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ หากนำไปทำในทางไม่ถูกไม่ควร จะยิ่งสร้างความเสื่อมให้แก่ตนเอง และครอบครัว โดยมีตัวอย่างมาแล้วหลายกรณี พอช่วงบ่ายแก่ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง ได้ส่งกำลังมาปิดล้อมสถานที่ไม่ให้ชาวบ้านขุดทอง ตามที่มีประกาศเป็นพื้นที่โบราณคดี ตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔
วันที่ ๓๐ พ.ค.ในช่วงเช้าชาวบ้านยังคงมีขุดทองกันต่อ แต่พอบ่ายๆ ตำรวจ และทหาร ๓ กองร้อยได้เข้ามาเคลียร์ให้นักแสวงโชคออกจากพื้นที่ โดยประกาศตรึงกำลังจนกว่านักโบราณคดีจะเข้ามาตรวจสอบในวันจันทร์ (๒ มิ.ย.) สร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านจำนวนมาก
๓๑ พ.ค.ตำรวจ และทหารนำรั้วลวดหนามมาล้อมพื้นที่ไว้ไม่ให้ชาวบ้านมาขุด พร้อมปิดกั้นไม่ให้รถเข้ามาในรัศมี ๒ กิโลเมตร ส่วนนักวิชาการประวัติศาสตร์พัทลุง เชื่อว่า ทองคำน่าจะถูกขโมยมา แล้วเอามาฝังดินไว้ เหตุทองที่ขุดพบนั้นฝังไว้ตื้นมากไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร และคาดว่าน่าจะมาจากพระธาตุวัดเขียนบางแก้ว ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ที่ในปี ๒๕๒๐ ที่มีโจรเข้าไปขโมยทรัพย์สินทองคำ และปลียอดพระธาตุได้ทองคำรูปพรรณไปร้อยกว่าบาท เพราะจากชิ้นส่วนทองที่พบมีลักษณะใกล้เคียงกัน มีศิลปะอินเดีย ชวา และเจ๊ก ปะปนอยู่ และจุดที่ขุดพบก็ห่างจากวัดประมาณ ๑๕ กม.
คุณเห็นอะไรจากข่าวนี้ครับ ....
ผมเห็นปัญหาของสมบัติชาติครับ
ผมเข้าใจว่า แต่แรกเริ่มเจ้าของที่ดิน คงไม่คิดว่ามันมีความสำคัญอะไรทางประวัติศาสตร์มาก จึงนำมันไปขาย แต่เมื่อมีคนมาขอขุดและทราบถึงความสำคัญจึงระงับแต่ก็ไม่ทัน โดยส่วนตัวก็ว่าไปโทษเขาเต็มๆ ก็ไม่น่าจะได้ แต่ในส่วนของผู้ที่เข้าไปขุดและนำทองคำไปขาย ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของสำคัญทางประวัติศาสตร์ ผมว่าต้องมีการปฏิรูปกันใหญ่
ลองสมมุติว่าตัวเองเป็นคนในพื้นที่ อาการก็คงจะประมาณว่า มีคนมาบอกเฮ้ย บ้านโน้นขุดเจอทองเราไปขุดกันมั้ย เอามาขายได้หลายหมื่นเชียว เจ้าของได้เป็นล้านน่ะ รวยแน่ๆ ... รวย รวย รวย นี่น่าจะเป็นจุดสำคัญที่บังตาจนลืมไปว่า ไอ้สิ่งที่เราจะเอาไปขายเนี่ย มันสำคัญต่อคนรุ่นหลังยังไง แถมมันไม่ใช่ของเราทั้งนั้น
ขนาดยังไม่ได้มีการตรวจสอบอย่างเต็มรูปแบบยังมีการวิเคราะห์กันไปได้หลายทางแล้ว แถมมีอักขระภาษาโบราณที่อาจบ่งบอกความเป็นมา แหล่งที่มา ใครเป็นเจ้าของ เกี่ยวข้องอะไรกับพื้นที่ ทุกอย่างที่พูดมานี้จะละลายหายไปเมื่อทองคำเหล่านั้นถูกส่งไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินในห้างทองเรียบร้อยแล้ว .... เขาไม่มีความอยากรู้กันเหรอ ผมเชื่อว่า ไม่ ...เงิน คือสิ่งที่ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น มันสำคัญกว่าเยอะ ขนาดเขาห้ามแล้วก็ยังจะเข้าไปอีก
เอาง่ายๆ ขนาดรถขนปลาคว่ำ ยังมีคนไปขโมยปลาเขาไปขายอย่างที่เคยเป็นข่าวให้เห็น ไม่ได้คิดเลยว่า เจ้าของเขาคือใคร เสียหายเท่าใด รู้เพียงแค่ ลาภลอย ได้ปลากินฟรีๆ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นตลอดในประเทศสยาม
แล้วจะแก้ปัญหายังไง? ผมมองเห็นแสงสว่างยังมี เริ่มจากโรงเรียนก็ต้องสั่งสอนว่าการกระทำดังกล่าวไม่ต่างอะไรกับการลักทรัพย์ รวมทั้งให้รู้จักว่า สิ่งเหล่านี้มันจะมีประโยชน์ต่อการสืบค้นว่าพื้นดินที่เราเหยียบ เมื่อก่อนมันคืออะไร แต่ปัญหามันอยู่ที่บ้าน ครอบครัวของเด็กนั่น เมื่อโรงเรียนสอนดี แต่บ้านเสือกมีพ่อแม่เห็นแก่ได้ ไม่เข้าใจ ก็จบเลยครับ
นี่ยังไม่รวมประเด็นแหล่งโบราณสถานที่มีพวกมือบอนไปขูดขีดเขียนจารึกชื่อโคตรพ่อโคตรแม่ตัวเองไว้ให้ภาคภูมิใจอีกนะ แค่บ่นๆ มานี่ก็หน่ายแล้ว
วิธีทางแก้ที่ดีที่สุดอาจจะต้องใช้กฏหมายจัดการเอาผิดแก่ผู้กระทำการให้เด็ดขาด แม้ใครจะมาดราม่าว่ารังแกคนผู้น้อยก็อย่าสน แต่ปัญหามันก็จะกลับมาสู่ที่ว่า ผู้รักษากฏหมายจะบังคับใช้มันอย่างเข้มงวดหรือไม่ ..... นั่นคือสิ่งที่ต้องปฏิรูปกันอย่างเร่งด่วน เชื่อว่าถ้าทำได้ สันดานคนเห็นแก่ได้ก็จะเริ่มลดลงไปเอง
หรืออย่างในกรณีนี้คิดเล่นๆ ถ้าพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น เคยเป็นคลอง เป็นแหล่งเดินเรือ หรือท่าเรือ ไม่ใช่แค่มีวัตถุโบราณ ก็อาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่นไปทำความเข้าใจชาวบ้านว่าที่ตรงนี้หากเราไม่เข้าไปเอาทองมาขาย ก็สามารถทำเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทองพัทลุงอะไรก็ว่ากันไป พัฒนาพื้นที่ให้มีคุณค่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ แหล่งการเรียนรู้ เพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน และเขาก็จะเริ่มรู้สึกว่ามันมีค่ามากกว่าเงินฉาบฉวย เพราะมันคือแหล่งทำกินแห่งใหม่ที่ยั่งยืนด้วย
แต่ในเบื้องต้นผมมีแผนเด็ดกว่านั้นครับ ....
ให้กรมศิลป์ฯ จ้างใครสักคนที่เอาทองมาคืน ไปกุข่าวว่า ฝันว่าเจอชายใส่ชุดคนจีนสมัยก่อนมายืนที่ปลายเท้า แล้วขึ้นมาเหยียบหน้าอก ชี้หน้าบอกมึงเอาทองกูไป มึงต้องเอามาคืน ถ้าไม่คืนกูจะตามจ้องล้างจ้องผลาญมึง .... รับรองแค่นี้ก็น่าจะทำให้คนรีบเอามาคืนกันอย่างรวดเร็วแล้วล่ะ....เชื่อสิ
๑.เก็บไว้เป็นมรดกตกทอดต่อลูกหลาน ๒.นำไปขาย ๓.ส่งกรมศิลปากรมาพิสูจน์
ถ้ามองกันในมโนคติ ทุกคนก็เลือกข้อ ๓ ทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผมก็เชื่อว่าคุณๆ ก็ต้องเลือกข้อ ๒ หรือ ๑ เป็นอันดับต้นๆ
ที่ดินของญาติฝั่งพ่อผมซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษก็เคยมีเรื่องเล่าแบบนี้เหมือนกัน มีร่างทรงนั่งทางในแล้วบอกว่า ใต้ต้นสะตือถ้าขุดลงไปจะเจอสมบัติในไหฝังอยู่ใต้ดินนั้น ผมฟังแล้วก็ อืมมม์ ไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ และญาติๆ เขาก็ไม่มีใครคิดจะขุดขึ้นมาหรอก
ที่อารมภบทเรื่องนี้มาเพราะผมอ่านเจอข่าวที่ค่อนข้างฮือฮาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีชาวบ้านขุดเจอทองคำแผ่นนั้นล่ะ
เรื่องจากข่าวมันมีอยู่ว่า เมื่อวันที่ ๒๗ พ.ค.มีรายงานว่า ชาว อ.เขาชัยสน จ.พังงา เจ้าของที่ดินแกกำลังขุดแปลงนาเพื่อทำแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน พอขุดยกร่องเสร็จพบแผ่นทองคำน้ำหนักแผ่นละ ๑ บาท รวมทั้งสร้อยคอ กำไลทองคำอีกจำนวนมาก ก็เลยเอาไปขายได้เงินกว่า ๓ ล้านบาท จากนั้นเพื่อนบ้านก็พากันมามาขุดเป็นจำนวนมาก บางคนได้ทองคำคนละ ๑ - ๒ แผ่น และได้กำไล ทองคำ ตุ้มหู เจ้าของที่แกอ้างว่า ผู้เฒ่าในหมู่บ้านเล่าว่าน่าจะเป็นทองคำของเรือสำเภาจีนในสมัยอดีต เพราะก่อนหน้านี้เมื่อ ๗ ปีที่แล้ว มีคนขุดพบซากเรือโบราณ ไห เครื่องถ้วยชามสังคโลกจำนวนมาก ซึ่งแต่ก่อนเป็นลำคลอง และป่าพรุ แต่ปัจจุบันดินตะกอนทับถมจนตื้นเขิน
แกเล่าเพิ่มเติมว่า ได้ชื้อที่ดินแปลงนี้มาเมื่อ ๓ เดือนที่แล้ว แล้วทำการยกร่อง โดยใช้รถแบ็กโฮขุดไว้เมื่อ ๒๐ วันก่อน พอจะนำกล้าปาล์มมาปลูก ลูกชายก็เจอทองคำแผ่น ตอนแรกคิดว่าเป็นทองคำปลอม แต่ดันมาเจอจี้ทอง และทองคำแท่ง จึงได้ช่วยกันเก็บ จนกระทั่งค่ำจึงได้เดินทางกลับบ้าน และรุ่งเช้ามาขุดหาซ้ำจนได้ทองคำแผ่น ทองคำแท่ง กำไล แหวน สร้อยคอจำนวนมาก โดยประมาณค่าไม่ได้ เมื่อนำไปขายร้านทองในตัวเมืองหาดใหญ่ร้านทองชื้อในราคาแผ่นละ ๓๗,๐๐๐ บาท ซึ่งร้านทองบอกว่าเป็นทองคำแท้บริสุทธิ์
รวมๆ แล้วพอหลังจากชาวบ้านแห่มาขุดได้ไปร่วม ๑๐๐ แผ่น เลยทีเดียว
ต่อมาวัฒนธรรมจังหวัด ก็ได้เดินทางมาตรวจสอบ และได้ประสานไปทางฝ่ายปกครองของอำเภอ เพื่อระงับการขุดพร้อมประสานไปยังกรมศิลปากร ให้เข้าตรวจในวันพรุ่งนี้ ซึ่งทองคำทุกแผ่นจะมีภาษาจีนโบราณสลักไว้ และไหโบราณที่พบลักษณะเหมือนไหจีนโบราณเช่นกัน ขณะที่ชาวบ้านรายหนึ่งอ้างว่า น่าจะเป็นของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในแหลมมลายู ที่จะนำไปปิดยอดพระบรมธาตุ แต่การเดินทางลำบาก จึงได้ฝังทองคำไว้แทน
เช้าวันที่ ๒๘ เจ้าของที่ และเจ้าหน้าที่อำเภอ มาปิดกั้นพื้นที่เพื่อรอการตรวจสอบ แต่ถูกชาวบ้านทะลวงเข้าไปขุดทองกันต่อ เจ้าของแกก็เลยไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เพื่อเอาผิดพวกที่บุกรุกเข้าไปขุดทอง ต่อมาอธิบดีกรมศิลปากรก็มาตรวจสอบ พบว่าเป็นทองแท้ๆ แสดงถึงกวนเกษียรสมุทร ซึ่งเป็นการเอานาคมาพันโยงกับทองดังกล่าวแล้วใส่น้ำลงไป จากนั้นเอาน้ำมาดื่มกินเพื่อมิให้เสียชีวิตตามความเชื่อของศาสนาฮินดู โดยมีอายุรุ่นเดียวกับปราสาทนครวัด ประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ ปี ซึ่งทองรูปพรรณที่ขุดได้ถือเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน หากผู้ที่ขุดพบนำมามอบให้แก่ทางราชการ ก็จะใช้เงินให้ในราคา ๑/๓ ของทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งน่าจะมีราคามากกว่าในท้องตลาดถึง ๑๐ เท่า ส่วนเจ้าของที่ และชาวบ้านจะคืนให้หรือไม่เป็นสิทธิของผู้ขุดพบ
"น่าเสียดายหากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีจะถูกหลอมไปเพียงเพื่อประโยชน์ชั่วครั้งชั่วคราว ได้เงินมาแล้วก็หมดไป" อธิบดีกรมศิลปากร ได้กล่าวไว้ในวันรุ่งขึ้น ๒๙ พ.ค. พร้อมกับเชื่อว่าน่าจะเป็นทองคำของเจ้านายในระดับเจ้าเมือง หรือขุนนางชั้นสูง หรือคหบดี โดยได้ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอให้ประกาศให้พื้นที่แหล่งโบราณคดี ห้ามประชาชนเข้ามาขุดค้น และจะประสานไปยังกองทัพภาคที่ ๔ ในการเข้าจัดระเบียบด้วย
บางคนก็ขู่ว่า เป็นของที่คนเขานำมาเพื่อบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ หากนำไปทำในทางไม่ถูกไม่ควร จะยิ่งสร้างความเสื่อมให้แก่ตนเอง และครอบครัว โดยมีตัวอย่างมาแล้วหลายกรณี พอช่วงบ่ายแก่ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง ได้ส่งกำลังมาปิดล้อมสถานที่ไม่ให้ชาวบ้านขุดทอง ตามที่มีประกาศเป็นพื้นที่โบราณคดี ตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔
วันที่ ๓๐ พ.ค.ในช่วงเช้าชาวบ้านยังคงมีขุดทองกันต่อ แต่พอบ่ายๆ ตำรวจ และทหาร ๓ กองร้อยได้เข้ามาเคลียร์ให้นักแสวงโชคออกจากพื้นที่ โดยประกาศตรึงกำลังจนกว่านักโบราณคดีจะเข้ามาตรวจสอบในวันจันทร์ (๒ มิ.ย.) สร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านจำนวนมาก
๓๑ พ.ค.ตำรวจ และทหารนำรั้วลวดหนามมาล้อมพื้นที่ไว้ไม่ให้ชาวบ้านมาขุด พร้อมปิดกั้นไม่ให้รถเข้ามาในรัศมี ๒ กิโลเมตร ส่วนนักวิชาการประวัติศาสตร์พัทลุง เชื่อว่า ทองคำน่าจะถูกขโมยมา แล้วเอามาฝังดินไว้ เหตุทองที่ขุดพบนั้นฝังไว้ตื้นมากไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร และคาดว่าน่าจะมาจากพระธาตุวัดเขียนบางแก้ว ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ที่ในปี ๒๕๒๐ ที่มีโจรเข้าไปขโมยทรัพย์สินทองคำ และปลียอดพระธาตุได้ทองคำรูปพรรณไปร้อยกว่าบาท เพราะจากชิ้นส่วนทองที่พบมีลักษณะใกล้เคียงกัน มีศิลปะอินเดีย ชวา และเจ๊ก ปะปนอยู่ และจุดที่ขุดพบก็ห่างจากวัดประมาณ ๑๕ กม.
คุณเห็นอะไรจากข่าวนี้ครับ ....
ผมเห็นปัญหาของสมบัติชาติครับ
ผมเข้าใจว่า แต่แรกเริ่มเจ้าของที่ดิน คงไม่คิดว่ามันมีความสำคัญอะไรทางประวัติศาสตร์มาก จึงนำมันไปขาย แต่เมื่อมีคนมาขอขุดและทราบถึงความสำคัญจึงระงับแต่ก็ไม่ทัน โดยส่วนตัวก็ว่าไปโทษเขาเต็มๆ ก็ไม่น่าจะได้ แต่ในส่วนของผู้ที่เข้าไปขุดและนำทองคำไปขาย ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของสำคัญทางประวัติศาสตร์ ผมว่าต้องมีการปฏิรูปกันใหญ่
ลองสมมุติว่าตัวเองเป็นคนในพื้นที่ อาการก็คงจะประมาณว่า มีคนมาบอกเฮ้ย บ้านโน้นขุดเจอทองเราไปขุดกันมั้ย เอามาขายได้หลายหมื่นเชียว เจ้าของได้เป็นล้านน่ะ รวยแน่ๆ ... รวย รวย รวย นี่น่าจะเป็นจุดสำคัญที่บังตาจนลืมไปว่า ไอ้สิ่งที่เราจะเอาไปขายเนี่ย มันสำคัญต่อคนรุ่นหลังยังไง แถมมันไม่ใช่ของเราทั้งนั้น
ขนาดยังไม่ได้มีการตรวจสอบอย่างเต็มรูปแบบยังมีการวิเคราะห์กันไปได้หลายทางแล้ว แถมมีอักขระภาษาโบราณที่อาจบ่งบอกความเป็นมา แหล่งที่มา ใครเป็นเจ้าของ เกี่ยวข้องอะไรกับพื้นที่ ทุกอย่างที่พูดมานี้จะละลายหายไปเมื่อทองคำเหล่านั้นถูกส่งไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินในห้างทองเรียบร้อยแล้ว .... เขาไม่มีความอยากรู้กันเหรอ ผมเชื่อว่า ไม่ ...เงิน คือสิ่งที่ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น มันสำคัญกว่าเยอะ ขนาดเขาห้ามแล้วก็ยังจะเข้าไปอีก
เอาง่ายๆ ขนาดรถขนปลาคว่ำ ยังมีคนไปขโมยปลาเขาไปขายอย่างที่เคยเป็นข่าวให้เห็น ไม่ได้คิดเลยว่า เจ้าของเขาคือใคร เสียหายเท่าใด รู้เพียงแค่ ลาภลอย ได้ปลากินฟรีๆ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นตลอดในประเทศสยาม
แล้วจะแก้ปัญหายังไง? ผมมองเห็นแสงสว่างยังมี เริ่มจากโรงเรียนก็ต้องสั่งสอนว่าการกระทำดังกล่าวไม่ต่างอะไรกับการลักทรัพย์ รวมทั้งให้รู้จักว่า สิ่งเหล่านี้มันจะมีประโยชน์ต่อการสืบค้นว่าพื้นดินที่เราเหยียบ เมื่อก่อนมันคืออะไร แต่ปัญหามันอยู่ที่บ้าน ครอบครัวของเด็กนั่น เมื่อโรงเรียนสอนดี แต่บ้านเสือกมีพ่อแม่เห็นแก่ได้ ไม่เข้าใจ ก็จบเลยครับ
นี่ยังไม่รวมประเด็นแหล่งโบราณสถานที่มีพวกมือบอนไปขูดขีดเขียนจารึกชื่อโคตรพ่อโคตรแม่ตัวเองไว้ให้ภาคภูมิใจอีกนะ แค่บ่นๆ มานี่ก็หน่ายแล้ว
วิธีทางแก้ที่ดีที่สุดอาจจะต้องใช้กฏหมายจัดการเอาผิดแก่ผู้กระทำการให้เด็ดขาด แม้ใครจะมาดราม่าว่ารังแกคนผู้น้อยก็อย่าสน แต่ปัญหามันก็จะกลับมาสู่ที่ว่า ผู้รักษากฏหมายจะบังคับใช้มันอย่างเข้มงวดหรือไม่ ..... นั่นคือสิ่งที่ต้องปฏิรูปกันอย่างเร่งด่วน เชื่อว่าถ้าทำได้ สันดานคนเห็นแก่ได้ก็จะเริ่มลดลงไปเอง
หรืออย่างในกรณีนี้คิดเล่นๆ ถ้าพื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น เคยเป็นคลอง เป็นแหล่งเดินเรือ หรือท่าเรือ ไม่ใช่แค่มีวัตถุโบราณ ก็อาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่นไปทำความเข้าใจชาวบ้านว่าที่ตรงนี้หากเราไม่เข้าไปเอาทองมาขาย ก็สามารถทำเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทองพัทลุงอะไรก็ว่ากันไป พัฒนาพื้นที่ให้มีคุณค่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ แหล่งการเรียนรู้ เพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน และเขาก็จะเริ่มรู้สึกว่ามันมีค่ามากกว่าเงินฉาบฉวย เพราะมันคือแหล่งทำกินแห่งใหม่ที่ยั่งยืนด้วย
แต่ในเบื้องต้นผมมีแผนเด็ดกว่านั้นครับ ....
ให้กรมศิลป์ฯ จ้างใครสักคนที่เอาทองมาคืน ไปกุข่าวว่า ฝันว่าเจอชายใส่ชุดคนจีนสมัยก่อนมายืนที่ปลายเท้า แล้วขึ้นมาเหยียบหน้าอก ชี้หน้าบอกมึงเอาทองกูไป มึงต้องเอามาคืน ถ้าไม่คืนกูจะตามจ้องล้างจ้องผลาญมึง .... รับรองแค่นี้ก็น่าจะทำให้คนรีบเอามาคืนกันอย่างรวดเร็วแล้วล่ะ....เชื่อสิ