ในที่สุดการรอคอยเป็นเวลานานของมวลมหาประชาชน ก็เป็นอันสิ้นสุดลง เมื่อบ่ายวันที่ 7 พฤษภาคมนี้ ซึ่งถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในหมุดหมายประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนต่อระบอบทักษิณ
ถึงมาช้า แต่ก็ยังดีกว่าไม่มา เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยพิพากษาให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งไป เนื่องจากใช้อำนาจในตำแหน่งนายกฯ โดยมีผลประโยชน์ทับซ้อน มีวาระซ่อนเร้น ย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปรับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีโดยไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม
โดยมีเจตนาเพื่อก้าวก่ายแทรกแซงให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ที่เป็นเครือญาติของตัวเองได้ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ขัดต่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ เป็นการดำเนินการไปเพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง จึงเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) (3) จึงมีผลทำให้ ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง
แม้ฝ่ายนายกฯ จะพยายามต่อสู้ว่า ตัวเองพ้นตำแหน่งไปแล้ว แค่รักษาการอยู่จึงจะพ้นตำแหน่งอีกไม่ได้ ประเด็นนี้ศาลได้ตอบอย่างเคลียร์คัทว่า เป็นเพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่ สถานภาพความเป็นรัฐมนตรีจึงยังไม่สิ้นสุด ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐธรรมนูญสิ้นสุดเฉพาะตัวได้
ว่าไปก็เหมือนการ์ตูนของคุณบัญชา คามิน วันก่อน ที่เปรียบเทียบเหมือน “ผี” ที่ตายไปแล้วก็จริง แต่ก็ยังมีฤทธิ์หลอกหลอนผู้อื่นอยู่ หรือถ้าที่ท่านอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เคยให้ความเห็นว่า ถ้าตราบใดที่ยังทำงานกินเงินเดือนจากรัฐอยู่ เมื่อนั้นก็ย่อมต้องถูกศาลตัดสินได้ ซึ่งเป็นเหตุเป็นผลดี คนทั่วไปที่ยังมีสติ มีเหตุผลอยู่ ก็ควรต้องยอมรับเหตุผลเช่นนี้ได้
ที่ศาลนำมาใช้น้ำหนัก และเชื่อว่าการใช้อำนาจย้ายคุณถวิล ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์และ ครม.ก็เป็นไปตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาไว้แล้วด้วยส่วนหนึ่ง ประกอบกับที่ศาลได้พบเห็นเอง ซึ่งต้องยอมรับว่า ศาลรัฐธรรมนูญ “ตาดี” มากๆ เพราะเอกสารปลอมตัวนี้เป็นพยานหลักฐานที่คาดไม่ถึง ไม่มีใครสังเกตความผิดปกติได้เลย แม้ในขั้นตอนการอุทธรณ์คำสั่งในชั้นหน่วยงาน หรือแม้แต่การต่อสู้คดีในศาลปกครอง
โดยมีการแก้เลขในหนังสืออย่างเป็นพิรุธและไม่สอดคล้องต่อความเป็นจริง ออกหนังสือราชการกันในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ และเอกสารสองฉบับอ้างเวลาแย้งกันเองซึ่งเป็นการมัดลงไปอีกชั้นนอกเหนือจากที่ศาลปกครองพิพากษาว่าการย้ายนั้นใช้ดุลพินิจไม่เหมาะสม ข้ามขั้นตอนถึงขนาดใช้เอกสารปลอม โดยศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ลงไปเลยว่า พิรุธต่างๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาพิเศษแอบแฝง
และเจตนาพิเศษนั้นเองคือการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์แก่เครือญาติตัวเอง
เป็นอันเช็กบิลไปสำหรับแม่ปู
แต่เนื่องจากศาลพิจารณาว่า กรณีนี้เป็นเรื่องของการพ้นตำแหน่งเฉพาะตัว ถ้าไปจึงไปแต่ตัว ครม.อื่นๆ รักษาการอยู่ต่อไปได้ ยกเว้นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย คือ ครม.ชุดปู 1 ที่ร่วมกันย้าย คุณถวิล ในการประชุมคราวนั้น
หลายคนอาจจะรู้สึกไม่พอใจ รู้สึกเหมือนว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ฟันก็ฟันไม่สุด เหลือไว้ทำไม เหลือไว้แล้วจะเกิดผลอย่างไร “แม่ปู” ตายไปคนเดียว แต่ “ลูกปู” ยังเหลืออยู่ และระบอบทักษิณก็ยังตายไม่หมด มีการตั้งนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล เป็นรักษาการนายกฯ ต่อไป และมีทีท่าว่า คณะรัฐมนตรีผีหัวขาดชุดนี้จะรักษาการยื้อสถานการณ์ต่อไปอีก
เรื่องนี้ก็อยากให้ทำความเข้าใจกับศาลรัฐธรรมนูญบ้างว่า นั่นเพราะศาลจำเป็นต้องตัดสินไปตามตัวบทกฎหมาย คือรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดขอบเขตการพ้นตำแหน่งไว้แค่นั้น ก็จะต้องเป็นไปแค่นั้น
ถ้าหากจะฟัน “สุดดาบ” จริงๆ ศาลรัฐธรรมนูญก็จะไม่มีฐานกฎหมายรองรับอำนาจ ซึ่งเป็นอันตราย เนื่องจากฝ่ายเสื้อแดงนั้นพยายามโจมตีเรื่องศาลรัฐธรรมนูญตัดสินโดยไม่มีอำนาจ หรือไม่มีตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญรองรับ ซึ่งคำพูดของพวกคนเสื้อแดง หรือนักวิชาการเสื้อแดงเหล่านี้ จะเป็น “เท็จ” อยู่ เท่าที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เดินล้ำเส้นออกไปเสียเอง
กล่าวสั้นๆ คือ ศาลรัฐธรรมนูญไปได้สุดความเป็นไปได้ของข้อกฎหมายแล้ว ที่เหลืออาจจะเป็นหน้าที่ขององค์กรอื่นๆ ต่อไป เช่น ป.ป.ช.ที่กำลังรอจะชี้มูลคดีทุจริตจำนำข้าว ซึ่งหากเป็นไปได้ อาจจะเห็นผลในวันนี้ (พฤหัสที่ 8 พฤษภาคม) เลยเช่นกันซึ่งก็อาจจะทำให้มีรัฐมนตรีร่วงได้อีกพวงหนึ่ง
หรือการดำเนินการของวุฒิสภา ที่อาจจะต้องอาศัยช่องทางตีความว่า เมื่อนายกฯ พ้นตำแหน่งไปเฉพาะตัวตามมาตรา 180 นี้ รัฐธรรมนูญกำหนดให้ดำเนินการตามมาตรา 172 และมาตรา 173 โดยอนุโลม
ซึ่งมาตรา 172 กำหนดว่า “ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก”
น่าสนใจว่า เมื่อในขณะนี้ ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและไม่อาจจะมีได้โดยแน่แท้เนื่องจากยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งขึ้นมาแทนฉบับที่ตกเป็นโมฆะไปนั้น การเรียกประชุมวุฒิสภาครั้งแรกหลังจากที่ได้สมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งชุดใหม่มานั้น อาจจะถือว่าเป็น “การเรียกประชุมรัฐสภาในครั้งแรกได้หรือไม่”
และจะอนุโลมถือว่า “วุฒิสภา” ในกรณีนี้ อาจปฏิบัติหน้าที่แทน “สภาผู้แทนราษฎร” ได้หรือไม่ หากในกรอบเวลา 30 วันดังกล่าว ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎรได้
ข้อกฎหมายนี้อาจจะดูห่างไกล ที่ต้องอาศัยการตีความแบบเทียบเคียงหลายชั้น
แต่สิ่งหนึ่งที่จะมาช่วยสนับสนุนความเป็นไปได้นั้นเกิดขึ้น คงจะต้องขึ้นอยู่กับจำนวนของ “มวลมหาประชาชน” ที่จะออกมาแสดงพลัง ซึ่งเหมือนเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะในวันที่ “มะม่วงหล่น” ได้สำเร็จ ในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคมนี้
จำนวนของผู้คนที่ปฏิเสธระบอบทักษิณ ผู้คนที่ออกมาอย่างมหาศาลเพื่อส่งสัญญาณว่า ขอพักการเมืองแบบเก่าลงไปชั่วคราวก่อน จนกว่าจะมีการปฏิรูปกติกาที่ยอมรับได้ร่วมกัน และเป็นกติกาที่จะทำให้ประเทศชาติปลอดภัยจากระบอบทักษิณ หรือระบอบอื่นใดที่จะครอบงำกัดกินประเทศเช่นนี้ต่อไปอีกในอนาคต
จำนวนของมวลมหาประชาชน อาจจะนำมาซึ่งปาฏิหาริย์ที่จะเป็นการกวาดล้างกองเศษที่เหลือของระบอบทักษิณออกไปได้.
ถึงมาช้า แต่ก็ยังดีกว่าไม่มา เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยพิพากษาให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งไป เนื่องจากใช้อำนาจในตำแหน่งนายกฯ โดยมีผลประโยชน์ทับซ้อน มีวาระซ่อนเร้น ย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปรับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีโดยไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม
โดยมีเจตนาเพื่อก้าวก่ายแทรกแซงให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ที่เป็นเครือญาติของตัวเองได้ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร.ขัดต่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ เป็นการดำเนินการไปเพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง จึงเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) (3) จึงมีผลทำให้ ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง
แม้ฝ่ายนายกฯ จะพยายามต่อสู้ว่า ตัวเองพ้นตำแหน่งไปแล้ว แค่รักษาการอยู่จึงจะพ้นตำแหน่งอีกไม่ได้ ประเด็นนี้ศาลได้ตอบอย่างเคลียร์คัทว่า เป็นเพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีใหม่เข้าปฏิบัติหน้าที่ สถานภาพความเป็นรัฐมนตรีจึงยังไม่สิ้นสุด ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐธรรมนูญสิ้นสุดเฉพาะตัวได้
ว่าไปก็เหมือนการ์ตูนของคุณบัญชา คามิน วันก่อน ที่เปรียบเทียบเหมือน “ผี” ที่ตายไปแล้วก็จริง แต่ก็ยังมีฤทธิ์หลอกหลอนผู้อื่นอยู่ หรือถ้าที่ท่านอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เคยให้ความเห็นว่า ถ้าตราบใดที่ยังทำงานกินเงินเดือนจากรัฐอยู่ เมื่อนั้นก็ย่อมต้องถูกศาลตัดสินได้ ซึ่งเป็นเหตุเป็นผลดี คนทั่วไปที่ยังมีสติ มีเหตุผลอยู่ ก็ควรต้องยอมรับเหตุผลเช่นนี้ได้
ที่ศาลนำมาใช้น้ำหนัก และเชื่อว่าการใช้อำนาจย้ายคุณถวิล ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์และ ครม.ก็เป็นไปตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาไว้แล้วด้วยส่วนหนึ่ง ประกอบกับที่ศาลได้พบเห็นเอง ซึ่งต้องยอมรับว่า ศาลรัฐธรรมนูญ “ตาดี” มากๆ เพราะเอกสารปลอมตัวนี้เป็นพยานหลักฐานที่คาดไม่ถึง ไม่มีใครสังเกตความผิดปกติได้เลย แม้ในขั้นตอนการอุทธรณ์คำสั่งในชั้นหน่วยงาน หรือแม้แต่การต่อสู้คดีในศาลปกครอง
โดยมีการแก้เลขในหนังสืออย่างเป็นพิรุธและไม่สอดคล้องต่อความเป็นจริง ออกหนังสือราชการกันในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ และเอกสารสองฉบับอ้างเวลาแย้งกันเองซึ่งเป็นการมัดลงไปอีกชั้นนอกเหนือจากที่ศาลปกครองพิพากษาว่าการย้ายนั้นใช้ดุลพินิจไม่เหมาะสม ข้ามขั้นตอนถึงขนาดใช้เอกสารปลอม โดยศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ลงไปเลยว่า พิรุธต่างๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาพิเศษแอบแฝง
และเจตนาพิเศษนั้นเองคือการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์แก่เครือญาติตัวเอง
เป็นอันเช็กบิลไปสำหรับแม่ปู
แต่เนื่องจากศาลพิจารณาว่า กรณีนี้เป็นเรื่องของการพ้นตำแหน่งเฉพาะตัว ถ้าไปจึงไปแต่ตัว ครม.อื่นๆ รักษาการอยู่ต่อไปได้ ยกเว้นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย คือ ครม.ชุดปู 1 ที่ร่วมกันย้าย คุณถวิล ในการประชุมคราวนั้น
หลายคนอาจจะรู้สึกไม่พอใจ รู้สึกเหมือนว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ฟันก็ฟันไม่สุด เหลือไว้ทำไม เหลือไว้แล้วจะเกิดผลอย่างไร “แม่ปู” ตายไปคนเดียว แต่ “ลูกปู” ยังเหลืออยู่ และระบอบทักษิณก็ยังตายไม่หมด มีการตั้งนายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล เป็นรักษาการนายกฯ ต่อไป และมีทีท่าว่า คณะรัฐมนตรีผีหัวขาดชุดนี้จะรักษาการยื้อสถานการณ์ต่อไปอีก
เรื่องนี้ก็อยากให้ทำความเข้าใจกับศาลรัฐธรรมนูญบ้างว่า นั่นเพราะศาลจำเป็นต้องตัดสินไปตามตัวบทกฎหมาย คือรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดขอบเขตการพ้นตำแหน่งไว้แค่นั้น ก็จะต้องเป็นไปแค่นั้น
ถ้าหากจะฟัน “สุดดาบ” จริงๆ ศาลรัฐธรรมนูญก็จะไม่มีฐานกฎหมายรองรับอำนาจ ซึ่งเป็นอันตราย เนื่องจากฝ่ายเสื้อแดงนั้นพยายามโจมตีเรื่องศาลรัฐธรรมนูญตัดสินโดยไม่มีอำนาจ หรือไม่มีตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญรองรับ ซึ่งคำพูดของพวกคนเสื้อแดง หรือนักวิชาการเสื้อแดงเหล่านี้ จะเป็น “เท็จ” อยู่ เท่าที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เดินล้ำเส้นออกไปเสียเอง
กล่าวสั้นๆ คือ ศาลรัฐธรรมนูญไปได้สุดความเป็นไปได้ของข้อกฎหมายแล้ว ที่เหลืออาจจะเป็นหน้าที่ขององค์กรอื่นๆ ต่อไป เช่น ป.ป.ช.ที่กำลังรอจะชี้มูลคดีทุจริตจำนำข้าว ซึ่งหากเป็นไปได้ อาจจะเห็นผลในวันนี้ (พฤหัสที่ 8 พฤษภาคม) เลยเช่นกันซึ่งก็อาจจะทำให้มีรัฐมนตรีร่วงได้อีกพวงหนึ่ง
หรือการดำเนินการของวุฒิสภา ที่อาจจะต้องอาศัยช่องทางตีความว่า เมื่อนายกฯ พ้นตำแหน่งไปเฉพาะตัวตามมาตรา 180 นี้ รัฐธรรมนูญกำหนดให้ดำเนินการตามมาตรา 172 และมาตรา 173 โดยอนุโลม
ซึ่งมาตรา 172 กำหนดว่า “ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก”
น่าสนใจว่า เมื่อในขณะนี้ ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและไม่อาจจะมีได้โดยแน่แท้เนื่องจากยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งขึ้นมาแทนฉบับที่ตกเป็นโมฆะไปนั้น การเรียกประชุมวุฒิสภาครั้งแรกหลังจากที่ได้สมาชิกวุฒิสภาจากการเลือกตั้งชุดใหม่มานั้น อาจจะถือว่าเป็น “การเรียกประชุมรัฐสภาในครั้งแรกได้หรือไม่”
และจะอนุโลมถือว่า “วุฒิสภา” ในกรณีนี้ อาจปฏิบัติหน้าที่แทน “สภาผู้แทนราษฎร” ได้หรือไม่ หากในกรอบเวลา 30 วันดังกล่าว ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎรได้
ข้อกฎหมายนี้อาจจะดูห่างไกล ที่ต้องอาศัยการตีความแบบเทียบเคียงหลายชั้น
แต่สิ่งหนึ่งที่จะมาช่วยสนับสนุนความเป็นไปได้นั้นเกิดขึ้น คงจะต้องขึ้นอยู่กับจำนวนของ “มวลมหาประชาชน” ที่จะออกมาแสดงพลัง ซึ่งเหมือนเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะในวันที่ “มะม่วงหล่น” ได้สำเร็จ ในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคมนี้
จำนวนของผู้คนที่ปฏิเสธระบอบทักษิณ ผู้คนที่ออกมาอย่างมหาศาลเพื่อส่งสัญญาณว่า ขอพักการเมืองแบบเก่าลงไปชั่วคราวก่อน จนกว่าจะมีการปฏิรูปกติกาที่ยอมรับได้ร่วมกัน และเป็นกติกาที่จะทำให้ประเทศชาติปลอดภัยจากระบอบทักษิณ หรือระบอบอื่นใดที่จะครอบงำกัดกินประเทศเช่นนี้ต่อไปอีกในอนาคต
จำนวนของมวลมหาประชาชน อาจจะนำมาซึ่งปาฏิหาริย์ที่จะเป็นการกวาดล้างกองเศษที่เหลือของระบอบทักษิณออกไปได้.