กฎหมายและระบบกลไกที่ประเทศของเรามีอยู่ยังไม่เพียงพอจะป้องกันปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นได้ เมื่อไม่กี่ปีก่อนมีการแก้กฎหมายป.ป.ช.เพิ่มอำนาจและรายละเอียดมากมายแต่การโกงเงินหลวงก็ยังมีอยู่แถมหนักหนาสาหัสกว่าเก่าเข้าไปอีก
ต่อให้เพิ่มโทษแจกตะบองให้กับฝ่ายไล่ปราบมากขึ้นยังไงก็ไล่ไม่หมด เนื่องเพราะธรรมเนียมของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้อนุญาตให้โกงได้ สำรวจความเห็นของผู้คนก็ชัดเจนดีเพราะคนส่วนใหญ่ยอมรับให้มีโกงได้ขอให้ทำงานบ้าง
ที่ผ่านมามีแนวคิดจะปฏิรูปการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นขึ้นมา.. โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเพิ่มบทลงโทษและการขยายอายุความคดีทุจริตเป็นประเด็นหลักของกระแสปฏิรูปโกง
เห็นด้วยกับการเพิ่มโทษและขยายอายุความ....แต่...ยังไม่พอครับ!
ฝ่ายไล่พัฒนาขึ้นแต่ฝ่ายหนีพัฒนามากกว่า...วิ่งไล่กันไม่รู้สิ้น ฝ่ายหนึ่งเพิ่งจะเพิ่มสมรรถนะของรถจาก 1800 ซีซี. มาเป็น 2000 ซีซี.เพื่อไล่กวดให้ทันที่ไหนได้ฝ่ายหนีเค้าเปลี่ยนไปเป็นเฟอรารี่ไปโน่นแล้ว
กระบวนคิดของการปฏิรูปการแก้ปัญหาทุจริตคดโกงของเรา จะทำเป็นเหนียมยึดธรรมเนียมมาตรฐานไม่ได้เพราะมันฝังรากลึก ด้านได้อาย-อด เขาโกงกันทั้งเมืองมัวแต่เป็นคนดีก็ไม่ได้กิน ไม่เติบโตก้าวหน้าอีกต่างหาก เชื้อดื้อยาแล้ว ต้องใช้ไม้แข็ง ต้องทุ่มทุน ถือเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐเลยก็ได้เพราะต้นทุนของการโกงนั้นมันมีผลกระทบกับด้านอื่นๆ มากมาย ...ประหารได้ก็ต้องทำ
ต้องเหมือนประเทศจีนประหารไปเลย ประเทศเราไม่เหมือนตะวันตกที่ระบบกลไกสังคมสมบูรณ์พร้อมกดดันการทุจริตได้ มาเหนียมอะไรกับการประหารคนโกง
สังคมไทยที่มันเละเทะเรื้อรังเพราะเชื้อดื้อยา สังคมยอมรับโกงได้เท่ากับสังคมนี้เป็นรังของโรคร้ายเสียเอง มีแต่ต้องใช้ยาแรงคือโทษสูงสุดเท่าที่จะมีได้เท่านั้น
เรื่องการเพิ่มโทษ ขยายอายุความก็สำคัญแต่ยังเป็นแค่มาตรการส่วนเดียว ยังไม่พอจะต้องครอบคลุมกระบวนการทางสังคม และต้องมุ่งป้องกันแต่ต้นน้ำก็คือคนที่เข้าไปมีอำนาจและเกี่ยวข้องกับอำนาจบริหารที่ไปใช้เงินงบประมาณทั้งหลาย
แล้วก็ต้องแก้มาตรการให้ทันสมัยตามให้ทันพวกขี้โกง...อย่างเช่นกฎหมายกำหนดให้นักการเมืองต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังรับตำแหน่ง นี่เป็นหลักการที่ดีและกฎหมายนี้ก็เล่นงานนักการเมืองได้หลายคนเพราะดันแสดงบัญชีไม่ตรง ทักษิณเองก็พลาดเปิดช่องโหว่จากกฎหมายนี้
แต่อย่างไรก็ตามมาตรการนี้เก่าและล้าสมัยไม่เพียงพอแล้ว
นักการเมืองลายครามรู้แกวและรู้พิษสงของการแสดงบัญชีทรัพย์สินแล้ว ทางเลี่ยงมีมากมายเช่นแสดงทรัพย์สินเกินฐานะตัวไปเลย เว่อร์ๆ ไปก่อนเช่นบอกว่ามีทองคำแท่ง 500 บาท เผื่อว่าตอนที่มีอำนาจโกงมาก็จะซื้อเก็บไว้ ตรวจสอบพบก็ไม่มีใครว่าอะไรเพราะแสดง “ล่วงหน้า” ไปก่อนแล้ว
การปฏิรูปแก้การทุจริตให้ครอบคลุมควรจะเพิ่มมาตรการสำคัญอีกอย่างน้อย 3 มาตรการ
มาตรการแรก-แสดงรายการเสียภาษีย้อนหลังควบคู่กับเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน
มีสื่อมวลชนนำเสนอบัญชีทรัพย์สินผิดปกติของนักการเมือง แต่นั่นแหละสังคมส่วนใหญ่ไม่สนใจเอาผิด ไม่สนใจกดดันตั้งคำถามว่าเฮ้ย เอ็งผิดปกตินะ เพราะเขาหยวนๆ กัน ลงเลือกตั้งอีกรอบพวกกันก็เลือกกันอีกอยู่ดี ไม่เหมือนตะวันตกที่สังคมเขาจะลงโทษเป็นแรงกดดันที่มีประสิทธิภาพ
การปฏิรูปการโกงที่เป็นจริงต้องกำหนดให้นักการเมืองและผู้มีตำแหน่งราชการที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน นอกจากต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินแล้ว จะต้องแสดงรายการ “เสียภาษีเงินได้” ย้อนหลังไปอย่างน้อย 5 ปี
มาตรการทางภาษีเป็นมาตรการที่ชัดเจน ตรวจสอบง่าย เข้าใจง่าย แต่นักการเมืองและข้าราชการไม่อยากให้มีเพราะมิฉะนั้นอาจจะคอขาดกระเด็นไปเกือบทั้งสภา
การแสดงรายการเสียภาษีเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพสูงมาก อเมริกาเอาผิดอัลคาโปนจากเรื่องอื่นไม่ได้แต่เจ้าพ่อใหญ่ดันมาตายกับเรื่องภาษีนี่เอง
มาตรการที่สอง – เพิ่มโทษ เพิ่มรายละเอียดวิธีการใช้กฎหมายข้อมูลข่าวสาร
การโกงจะทำไม่ได้ในสถานที่ไฟสว่าง คนมองเห็น ที่มันโกงกันเพราะทำในที่ลับคนไม่รู้เห็น กฎหมายให้เปิดข้อมูลข่าวสารเปรียบกับแสงสว่างให้คนเข้าไปรู้เห็นได้ กฎหมายนี้ใช้มา 17 ปีแล้ว ไม่เป็นผลจริงในทางปฏิบัติ มุบมิบช่วยกันได้ พวกข้าราชการในสังกัดคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร สำนักนายกรัฐมนตรีนี่แหละตัวดี
ผมขอข้อมูลการใช้สิทธิ์เดินทางโดยเครื่องบินของส.ส.ไปเมื่อปีก่อนโน้น สำนักเลขาธิการสภาฯ ตอบมาว่าอยู่ระหว่างทำข้อมูลแปลสั้นๆ ว่า กูไม่ให้โว้ย พอร้องเรียนไปยังคณะกรรมการข้อมูลข่าวาร มันตอบเพียงว่า ทางรัฐสภาแจ้งว่ากำลังดำเนินการอยู่ อ้าว ! ไอ้การตอบว่ากำลังดำเนินการกับเรื่องง่ายๆ ข้ามปีนี่มัน “ปกติ” ดีแล้วหรือครับ ไปๆ มาๆ ระบบกลไกในปัจจุบันไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนและสังคมในการตรวจสอบการใช้เงินงบประมาณเลยเพราะไม่มีบทลงโทษ ไม่มีเงื่อนไขกำหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการเปิดข้อมูลออกมา
กฎหมายข้อมูลจะต้องถูกยกเครื่อง เพื่อให้การเปิดข้อมูลของราชการเป็นจริงในทางปฏิบัติ นี่เป็นหัวใจหนึ่งของการแก้ปัญหาทุจริต
มาตรการที่สาม – เอาสังคมมาช่วย ให้รางวัลนำจับคดีโกง
ลำพังกลไกราชการ ป.ป.ช.ทำงานไม่ไหวแล้ว คดีหมดอายุความมากมาย กลไกที่เป็นอยู่กระจุกและพึ่งพาองค์กรอิสระมากเกินไป ซึ่งอาจจะเป็นจุดอ่อนได้หากว่าฝ่ายการเมืองแทรกแซงกลไกนี้ได้ก็จบเห่
ความคิดเรื่องเอาสังคมมาช่วย เปิดการมีส่วนร่วมน่ะมีมานานแล้วแต่ไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ คนทั่วไปจะมีสักกี่คนที่เกิดรักชาติเข้าไป “หาเรื่อง” เปิดโปงการทุจริตคดโกงหาเหาให้ตัวเองเพราะเวลาที่พวกนี้มันไล่แก้แค้นชาวบ้านที่ร่วมเปิดโปงเป็นพยานนั่นล่ะที่เดือดร้อน
พลังของสังคมน่ะมีจริงแต่รัฐต้องเสริมให้เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของโลก คนที่จะออกมาเพราะอุดมการณ์น่ะมี--แต่น้อย หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง แก้กฎหมายตั้งรางวัลนำจับคดีโกงให้เหมือนกับคดียาเสพติด ใครที่นำจับนำสืบคดีทุจริตได้สำเร็จคดีใดเอาไป 30%
เช่นถ้าจับโกงงบประมาณก่อสร้างถนนอบต. 5 ล้านบาทได้เอาไปเลย 1.5 ล้านบาท รางวัลนำจับอาจจะให้แบบหมู่คณะเอาไปแบ่งกันก็ได้แล้วรัฐค่อยมาฟ้องร้องเอาจากคนกระทำผิด หากไม่มีกฎหมายก็เพิ่มกฎหมายว่าผู้ใดทุจริตงบประมาณของรัฐนอกจากต้องโทษอาญาแล้วให้จ่ายค่าปรับ เพื่อจะเอาค่าปรับนั้นมาจ่ายสินบนนำจับต่อที่เหลือเข้าคลังไป
มาตรการที่เสนอมาเพิ่มเติมจากแนวคิดขยายอายุความกับการเพิ่มโทษในสองข้อแรก นักการเมืองและข้าราชการระดับสูงไม่อยากให้ทำหรอกเพราะมันมีอานุภาพมาก มีผลกระทบต่อตัวเอง การต้องเปิดเผยการเสียภาษีเท่ากับการเปลือยตัวเองล่อนจ้อน ไอ้นักการเมืองปากดีร่ำรวยมากมายทั้งหลายอาจต้องออกจากการเมืองเพราะตอบไม่ได้ว่าเงินได้มากจากไหนเพราะแต่ละปีแจ้งรายได้และเสียภาษีนิดเดียว ขณะที่กฎหมายข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงในทางปฏิบัติ คือการเปิดไฟสว่างทั้งประเทศ ที่ผ่านมามีแค่กฎหมายที่ไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ การทุจริตคดโกงจึงเพิ่มเอาๆ .
ต่อให้เพิ่มโทษแจกตะบองให้กับฝ่ายไล่ปราบมากขึ้นยังไงก็ไล่ไม่หมด เนื่องเพราะธรรมเนียมของคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้อนุญาตให้โกงได้ สำรวจความเห็นของผู้คนก็ชัดเจนดีเพราะคนส่วนใหญ่ยอมรับให้มีโกงได้ขอให้ทำงานบ้าง
ที่ผ่านมามีแนวคิดจะปฏิรูปการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นขึ้นมา.. โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเพิ่มบทลงโทษและการขยายอายุความคดีทุจริตเป็นประเด็นหลักของกระแสปฏิรูปโกง
เห็นด้วยกับการเพิ่มโทษและขยายอายุความ....แต่...ยังไม่พอครับ!
ฝ่ายไล่พัฒนาขึ้นแต่ฝ่ายหนีพัฒนามากกว่า...วิ่งไล่กันไม่รู้สิ้น ฝ่ายหนึ่งเพิ่งจะเพิ่มสมรรถนะของรถจาก 1800 ซีซี. มาเป็น 2000 ซีซี.เพื่อไล่กวดให้ทันที่ไหนได้ฝ่ายหนีเค้าเปลี่ยนไปเป็นเฟอรารี่ไปโน่นแล้ว
กระบวนคิดของการปฏิรูปการแก้ปัญหาทุจริตคดโกงของเรา จะทำเป็นเหนียมยึดธรรมเนียมมาตรฐานไม่ได้เพราะมันฝังรากลึก ด้านได้อาย-อด เขาโกงกันทั้งเมืองมัวแต่เป็นคนดีก็ไม่ได้กิน ไม่เติบโตก้าวหน้าอีกต่างหาก เชื้อดื้อยาแล้ว ต้องใช้ไม้แข็ง ต้องทุ่มทุน ถือเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐเลยก็ได้เพราะต้นทุนของการโกงนั้นมันมีผลกระทบกับด้านอื่นๆ มากมาย ...ประหารได้ก็ต้องทำ
ต้องเหมือนประเทศจีนประหารไปเลย ประเทศเราไม่เหมือนตะวันตกที่ระบบกลไกสังคมสมบูรณ์พร้อมกดดันการทุจริตได้ มาเหนียมอะไรกับการประหารคนโกง
สังคมไทยที่มันเละเทะเรื้อรังเพราะเชื้อดื้อยา สังคมยอมรับโกงได้เท่ากับสังคมนี้เป็นรังของโรคร้ายเสียเอง มีแต่ต้องใช้ยาแรงคือโทษสูงสุดเท่าที่จะมีได้เท่านั้น
เรื่องการเพิ่มโทษ ขยายอายุความก็สำคัญแต่ยังเป็นแค่มาตรการส่วนเดียว ยังไม่พอจะต้องครอบคลุมกระบวนการทางสังคม และต้องมุ่งป้องกันแต่ต้นน้ำก็คือคนที่เข้าไปมีอำนาจและเกี่ยวข้องกับอำนาจบริหารที่ไปใช้เงินงบประมาณทั้งหลาย
แล้วก็ต้องแก้มาตรการให้ทันสมัยตามให้ทันพวกขี้โกง...อย่างเช่นกฎหมายกำหนดให้นักการเมืองต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินก่อนและหลังรับตำแหน่ง นี่เป็นหลักการที่ดีและกฎหมายนี้ก็เล่นงานนักการเมืองได้หลายคนเพราะดันแสดงบัญชีไม่ตรง ทักษิณเองก็พลาดเปิดช่องโหว่จากกฎหมายนี้
แต่อย่างไรก็ตามมาตรการนี้เก่าและล้าสมัยไม่เพียงพอแล้ว
นักการเมืองลายครามรู้แกวและรู้พิษสงของการแสดงบัญชีทรัพย์สินแล้ว ทางเลี่ยงมีมากมายเช่นแสดงทรัพย์สินเกินฐานะตัวไปเลย เว่อร์ๆ ไปก่อนเช่นบอกว่ามีทองคำแท่ง 500 บาท เผื่อว่าตอนที่มีอำนาจโกงมาก็จะซื้อเก็บไว้ ตรวจสอบพบก็ไม่มีใครว่าอะไรเพราะแสดง “ล่วงหน้า” ไปก่อนแล้ว
การปฏิรูปแก้การทุจริตให้ครอบคลุมควรจะเพิ่มมาตรการสำคัญอีกอย่างน้อย 3 มาตรการ
มาตรการแรก-แสดงรายการเสียภาษีย้อนหลังควบคู่กับเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน
มีสื่อมวลชนนำเสนอบัญชีทรัพย์สินผิดปกติของนักการเมือง แต่นั่นแหละสังคมส่วนใหญ่ไม่สนใจเอาผิด ไม่สนใจกดดันตั้งคำถามว่าเฮ้ย เอ็งผิดปกตินะ เพราะเขาหยวนๆ กัน ลงเลือกตั้งอีกรอบพวกกันก็เลือกกันอีกอยู่ดี ไม่เหมือนตะวันตกที่สังคมเขาจะลงโทษเป็นแรงกดดันที่มีประสิทธิภาพ
การปฏิรูปการโกงที่เป็นจริงต้องกำหนดให้นักการเมืองและผู้มีตำแหน่งราชการที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน นอกจากต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินแล้ว จะต้องแสดงรายการ “เสียภาษีเงินได้” ย้อนหลังไปอย่างน้อย 5 ปี
มาตรการทางภาษีเป็นมาตรการที่ชัดเจน ตรวจสอบง่าย เข้าใจง่าย แต่นักการเมืองและข้าราชการไม่อยากให้มีเพราะมิฉะนั้นอาจจะคอขาดกระเด็นไปเกือบทั้งสภา
การแสดงรายการเสียภาษีเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพสูงมาก อเมริกาเอาผิดอัลคาโปนจากเรื่องอื่นไม่ได้แต่เจ้าพ่อใหญ่ดันมาตายกับเรื่องภาษีนี่เอง
มาตรการที่สอง – เพิ่มโทษ เพิ่มรายละเอียดวิธีการใช้กฎหมายข้อมูลข่าวสาร
การโกงจะทำไม่ได้ในสถานที่ไฟสว่าง คนมองเห็น ที่มันโกงกันเพราะทำในที่ลับคนไม่รู้เห็น กฎหมายให้เปิดข้อมูลข่าวสารเปรียบกับแสงสว่างให้คนเข้าไปรู้เห็นได้ กฎหมายนี้ใช้มา 17 ปีแล้ว ไม่เป็นผลจริงในทางปฏิบัติ มุบมิบช่วยกันได้ พวกข้าราชการในสังกัดคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร สำนักนายกรัฐมนตรีนี่แหละตัวดี
ผมขอข้อมูลการใช้สิทธิ์เดินทางโดยเครื่องบินของส.ส.ไปเมื่อปีก่อนโน้น สำนักเลขาธิการสภาฯ ตอบมาว่าอยู่ระหว่างทำข้อมูลแปลสั้นๆ ว่า กูไม่ให้โว้ย พอร้องเรียนไปยังคณะกรรมการข้อมูลข่าวาร มันตอบเพียงว่า ทางรัฐสภาแจ้งว่ากำลังดำเนินการอยู่ อ้าว ! ไอ้การตอบว่ากำลังดำเนินการกับเรื่องง่ายๆ ข้ามปีนี่มัน “ปกติ” ดีแล้วหรือครับ ไปๆ มาๆ ระบบกลไกในปัจจุบันไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนและสังคมในการตรวจสอบการใช้เงินงบประมาณเลยเพราะไม่มีบทลงโทษ ไม่มีเงื่อนไขกำหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการเปิดข้อมูลออกมา
กฎหมายข้อมูลจะต้องถูกยกเครื่อง เพื่อให้การเปิดข้อมูลของราชการเป็นจริงในทางปฏิบัติ นี่เป็นหัวใจหนึ่งของการแก้ปัญหาทุจริต
มาตรการที่สาม – เอาสังคมมาช่วย ให้รางวัลนำจับคดีโกง
ลำพังกลไกราชการ ป.ป.ช.ทำงานไม่ไหวแล้ว คดีหมดอายุความมากมาย กลไกที่เป็นอยู่กระจุกและพึ่งพาองค์กรอิสระมากเกินไป ซึ่งอาจจะเป็นจุดอ่อนได้หากว่าฝ่ายการเมืองแทรกแซงกลไกนี้ได้ก็จบเห่
ความคิดเรื่องเอาสังคมมาช่วย เปิดการมีส่วนร่วมน่ะมีมานานแล้วแต่ไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ คนทั่วไปจะมีสักกี่คนที่เกิดรักชาติเข้าไป “หาเรื่อง” เปิดโปงการทุจริตคดโกงหาเหาให้ตัวเองเพราะเวลาที่พวกนี้มันไล่แก้แค้นชาวบ้านที่ร่วมเปิดโปงเป็นพยานนั่นล่ะที่เดือดร้อน
พลังของสังคมน่ะมีจริงแต่รัฐต้องเสริมให้เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของโลก คนที่จะออกมาเพราะอุดมการณ์น่ะมี--แต่น้อย หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง แก้กฎหมายตั้งรางวัลนำจับคดีโกงให้เหมือนกับคดียาเสพติด ใครที่นำจับนำสืบคดีทุจริตได้สำเร็จคดีใดเอาไป 30%
เช่นถ้าจับโกงงบประมาณก่อสร้างถนนอบต. 5 ล้านบาทได้เอาไปเลย 1.5 ล้านบาท รางวัลนำจับอาจจะให้แบบหมู่คณะเอาไปแบ่งกันก็ได้แล้วรัฐค่อยมาฟ้องร้องเอาจากคนกระทำผิด หากไม่มีกฎหมายก็เพิ่มกฎหมายว่าผู้ใดทุจริตงบประมาณของรัฐนอกจากต้องโทษอาญาแล้วให้จ่ายค่าปรับ เพื่อจะเอาค่าปรับนั้นมาจ่ายสินบนนำจับต่อที่เหลือเข้าคลังไป
มาตรการที่เสนอมาเพิ่มเติมจากแนวคิดขยายอายุความกับการเพิ่มโทษในสองข้อแรก นักการเมืองและข้าราชการระดับสูงไม่อยากให้ทำหรอกเพราะมันมีอานุภาพมาก มีผลกระทบต่อตัวเอง การต้องเปิดเผยการเสียภาษีเท่ากับการเปลือยตัวเองล่อนจ้อน ไอ้นักการเมืองปากดีร่ำรวยมากมายทั้งหลายอาจต้องออกจากการเมืองเพราะตอบไม่ได้ว่าเงินได้มากจากไหนเพราะแต่ละปีแจ้งรายได้และเสียภาษีนิดเดียว ขณะที่กฎหมายข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงในทางปฏิบัติ คือการเปิดไฟสว่างทั้งประเทศ ที่ผ่านมามีแค่กฎหมายที่ไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ การทุจริตคดโกงจึงเพิ่มเอาๆ .