กองเชียร์ของกำนันสุเทพควรจะเลิกใช้ประโยคที่ว่า “สู้ให้ชนะก่อนเรื่องอื่นค่อยว่ากัน” เสียที
แล้วก็เลิกผูกมัดความคิดตัวเองว่า "ต้องชนะก่อนจึงจะปฏิรูปได้" กันได้แล้ว
เพราะประโยคลักษณะนี้เป็นการตัดบทไม่อยากให้เรื่องจุกจิกมากระทบเรื่องใหญ่ เป็นยุทธวิธีการต่อสู้แบบว่าไงว่ากัน เมื่อครั้งกำนันพูดบนเวทีว่าคนที่คิดจะมีสภาปฏิรูปเดินหน้าไปก่อนได้เลยนั้นเป็นพวกโลกสวยจะต้องขจัดระบอบทักษิณที่ขวางอยู่ให้พ้นก่อนจึงจะปฏิรูปสำเร็จ
พี่น้องก็เชื่อตามนั้น โดยบางคน (ย้ำบางคน) ไม่ได้สนใจรับรู้ความคิดเรื่องปฏิรูป จินตนาการถึงแผนการแนวทาง ของเดิมไม่ดียังไง ของใหม่ควรจะเป็นแบบไหน แนวทางเปลี่ยนต้องแก้กฎหมายต้องปรับพฤติกรรมต้องถ่ายโอนกันยังไง ... ไม่ได้สนใจ เรื่องพวกนี้รุงรังเก็บไว้ก่อน รอให้ชนะก่อนค่อยว่า
จึงกลายเป็นชุดความคิดรวบยอดที่เผยแพร่อย่างรวดเร็วในบรรดาชาวนกหวีดที่ว่า “การปฏิรูปประเทศไทยจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อกำจัดระบอบทักษิณออกไปหมดสิ้นจากอำนาจรัฐแล้วเท่านั้น”
ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวผมหรอกนะผู้หลักผู้ใหญ่ผู้รู้อีกหลายคนก็พูดตรงกันว่าคิดแบบนี้มันก็ไม่ถูก เพราะการปฏิรูปนั้นเป็นกระบวนการของการพร้อมใจ เชิญชวน ชักจูงในทางสังคมและแม้จะต้องมีอำนาจในทางกฎหมายก็ไม่ได้หมายความเป็นหนึ่งเดียวว่าต้องมาจากสภาพลเมืองที่ตั้งขึ้นหลังขจัดระบอบทักษิณเสียที่ไหน
มันมีวิธีการมากมายที่จะบรรลุผลของการปฏิรูปใหญ่ ... วิธีการที่กำนันสุเทพเสนอเป็นแค่หนทางหนึ่งเท่านั้น !
ประโยคที่ว่า “สู้ให้ชนะก่อนเรื่องอื่นค่อยว่ากัน” อาจจะเป็นยุทธวิธีที่มีประสิทธิภาพในช่วงแรกของการรบ/ออกตัวเร็ว/รุกแรง/มีเอกภาพ/ไม่วอกแวกเป็นอื่น นั้นเหมาะกับสงครามที่รู้ผลแพ้ชนะม้วนเดียวจบ แต่เมื่อสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปกลายเป็นการตรึงกำลังและยันกันอยู่ยืดเยื้อยุทธวิธีเดิมอาจจะไม่เหมาะสมแล้ว
ผมเคยสนทนาในวงพูดคุยหนึ่งมองว่าประเทศไทยหลังการ “ปฏิวัติประชาชน” จะเป็นเช่นไร วงสนทนาเชื่อว่ารัฐบาลอยู่ไม่ได้แล้วแน่นอนล่ะ แต่บทจบจะเป็นแบบไหนนี่คาดลำบากมีความเป็นไปได้หลายแบบหลายทาง
การปฏิวัติประชาชน หรืออภิวัฒน์ประชาธิปไตยแบบที่กำลังเกิดถือเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่ไม่มีแบบแผนสำเร็จรูปมารองรับล้วนแต่เป็นการสร้างถางทางขึ้นใหม่แทบทั้งหมด โมเดลสภาสนามม้ารัฐบาลพระราชทานสัญญา ธรรมศักดิ์ปี 2516 เป็นแค่หลักอ้างอิงใหญ่เท่านั้น แต่รายละเอียดปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหมดสิ้น
เอาเป็นว่านี่เป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่
ประวัติศาสตร์โลกบอกเราว่า หลังการเปลี่ยนแปลงใหญ่ระดับการปฏิวัติบางสังคมยังมีการตีโต้กลับพลิกไปอีกหลายรอบกว่าจะลงตัว เช่น ฝรั่งเศส 1789 โค่นกษัตริย์ แล้วก็กลับมาใช้ระบบกษัตริย์อีกจึงค่อยมาเป็นสาธารณรัฐเต็มตัวโน่นปี 1848 ใช้เวลาร่วม 60 ปี
หลังการปฏิวัติจะเกิดความไม่ปกติ ระบบต่างๆ เปลี่ยนไป ผู้ปกครองต้องใช้กำปั้นใหญ่ นั่นคือต้องใช้อำนาจเผด็จการจึงจะเอาสถานการณ์อยู่
ประเทศจีนหลังเหมาเจ๋อตงนำพรรคคอมมิวนิสต์ปฏิวัติไล่ก๊กมินตั๋งสำเร็จเกิดกรณีแก๊งสี่คน การปฏิวัติวัฒนธรรมและเยาวชนเรดการ์ดไปไล่จับครูอาจารย์นักบวชคนรวยไปถึงคนใส่แว่นตามาลงโทษ แค่พวกเดียวกันที่คิดต่างอย่าง หลิวเส้าฉีเบอร์สองในพรรครองลงมาจากเหมาถูกจับกุมปลดออกแล้วก็ตายอย่างทรมาน พรรคคอมมิวนิสต์จีนยุคหลังเพิ่งจะมาคืนตำแหน่งและเกียรติยศให้
อียิปต์โค่นมูบารัค ต่อด้วยโค่นมอร์ซีแบบเลือดท่วมท้องช้างรวมสามรอบในแค่ 2 ปีกว่ามานี้ตายเป็นหมื่นๆ สังเวยสถานการณ์พลิกไปพลิกมาที่ไม่ลงตัว
ในวงสนทนา ผมเป็นฝ่ายที่เชื่อว่าหากเกิดการเดินหน้าไปไม่ได้ทั้งสองฝ่ายก็จะเกิดการเจรจาต่อรองใหญ่ที่เรียกว่า Great Compromise แบบที่เคยเกิดในช่วงท้ายของสงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อเอามาเขียนในช่วงแรกๆ ก็ถูกเรียกว่าเป็นพวกโลกสวย เป็นพวกเอาเท้าราน้ำ คนที่เสนอแนวทางออกใดๆ ที่ไม่ใช่แพ้ชนะเด็ดขาดล้วนแต่ถูกเตะออกจากวงสัประยุทธ์ แล้วก็ถูกกองเชียร์ฮาร์ดคอร์ไล่ปาก้อนอิฐซ้ำตามเว็บไซต์หรือคอมเมนท์ต่างๆ อีกต่างหาก
แต่นี่ก็เป็น Scenario – แบบจำลองสถานการณ์หนึ่งที่เป็นไปได้ในทางทฤษฎี
เพราะสถานการณ์จริงต่อให้ทักษิณจะหลังพิงฝา ใกล้จนตรอก ดุลกำลังร่อยหรอไพ่ในมือมีแต่เอ็ม 79 และความรุนแรงรายวัน แล้วก็ซื้อเวลาไปเรื่อยๆ แต่ที่สุดแล้วสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในมือของผู้ใกล้พ่ายแพ้สูญเสียก็คือกูไม่ได้มึงก็ไม่ได้เหมือนกัน สมัยก่อนเขาเผาเมืองทั้งเมืองไม่ให้ข้าศึกได้ใช้ด้วยซ้ำ
หนึ่ง-จะจบแบบไหน? สอง-เขามองการปฏิรูปกันยังไง ?
คุณูปการของกำนันก็คือได้สร้างให้เกิดกระแสการปฏิรูปใหญ่เกิดขึ้นมาแท้จริงแล้ว กระแสมาแล้วแต่รายละเอียดกับวิธีการยังเป็นปัญหา
ไม่กลัวระบอบทักษิณไม่แพ้หรอก-เพราะยังไงก็แพ้อยู่แล้ว แต่ที่กลัวคือกลัวกำนันสุเทพจะชนะยังไง-แบบไหนต่างหาก !
อยากจะเห็นชัยชนะที่สามารถปฏิรูปประเทศได้อย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรคใหญ่ ไม่อยากเห็นกระบวนการลุ่มๆ ดอนๆ หรือชัยชนะที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของประเทศชาติในบั้นปลาย
ขอประกาศเรียกก้อนอิฐอีกครั้งก็ได้ว่า...ผมมีความเห็นต่างในวิธีการของกำนันมาตั้งแต่ต้นและขัดหูกับประโยคที่ว่า “ต้องกำจัดระบอบทักษิณก่อนจึงจะสามารถปฏิรูปได้” มานานแล้วเพราะคิดว่าทางนี้มันอ้อมและต้องขึ้นเขา
ก็ได้แต่กระโดดลงจากรถมาเชียร์มวลมหาประชาชนเพื่อนฝูงพี่น้องทั้งนั้นให้ไปให้ถึง
ปรับเปลี่ยนยุทธวิธีกลางศึกก็ไม่แปลกหรอกครับ ในเมื่อสถานการณ์มาถึงรุกไล่จนอีกฝ่ายเหี่ยวอยู่หลังกำแพงเมืองแล้ว กำลังพลฝ่ายนี้ก็ไม่มากพอจะเผด็จศึกรอดินฟ้าอากาศได้แต่ยันกันอีกเดือนสองเดือนหรือไม่รู้อีกเท่าไหร่
การเอาชนะทักษิณได้ต้องใช้การปฏิรูปเป็นเครื่องมือ เป็นหนึ่งในยุทธวิธีที่ต้องเริ่มทำทันทีเลยเท่านั้น ยิ่งทำเร็วชัยชนะจะมาเร็วเท่านั้น
"กระบวนการขับเคลื่อนการปฏิรูป" ไม่ได้เป็นแค่เป้าหมายไกลๆ ที่ต้องยึดอำนาจรัฐก่อนจึงค่อยเริ่มแต่กระบวนการขับเคลื่อนการปฏิรูป คือ กลยุทธ์การต่อสู้ที่จะแสวงหาแนวร่วมเพิ่มขึ้นใหญ่ขึ้นกดทับฝ่ายตรงกันข้ามได้ด้วยเช่นกัน
“การขับเคลื่อน” การปฏิรูปสามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงใหญ่ได้เช่นกัน.... การเริ่มกระบวนการปฏิรูปต่างจริงจังจริงใจเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ปฏิรูปเป็นหลัก อย่าไปผูกกับเป้าหมายอำนาจรัฐต้องมาก่อน คือการนำไปสู่ปรากฏการณ์ Snowball Effect ที่แท้จริง
หิมะที่ไหลลงจากยอดเขาจากก้อนเล็กๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นๆ เป็นก้อนใหญ่ มีพลังและความเร็วยิ่งๆ ขึ้นทุกที
ยุทธวิธีกลิ้งหิมะลงจากเขาแตกต่างจากการเข็นครกขึ้นเขาที่ยิ่งสูงยิ่งต้องอึดออกแรงมาก หยุดก็ไม่ได้ ครกมันจะย้อนทับตัวเองยิ่งไม่ได้อะไรกลับบ้านเลย ก็ต้องทนสู้กันไป.
แล้วก็เลิกผูกมัดความคิดตัวเองว่า "ต้องชนะก่อนจึงจะปฏิรูปได้" กันได้แล้ว
เพราะประโยคลักษณะนี้เป็นการตัดบทไม่อยากให้เรื่องจุกจิกมากระทบเรื่องใหญ่ เป็นยุทธวิธีการต่อสู้แบบว่าไงว่ากัน เมื่อครั้งกำนันพูดบนเวทีว่าคนที่คิดจะมีสภาปฏิรูปเดินหน้าไปก่อนได้เลยนั้นเป็นพวกโลกสวยจะต้องขจัดระบอบทักษิณที่ขวางอยู่ให้พ้นก่อนจึงจะปฏิรูปสำเร็จ
พี่น้องก็เชื่อตามนั้น โดยบางคน (ย้ำบางคน) ไม่ได้สนใจรับรู้ความคิดเรื่องปฏิรูป จินตนาการถึงแผนการแนวทาง ของเดิมไม่ดียังไง ของใหม่ควรจะเป็นแบบไหน แนวทางเปลี่ยนต้องแก้กฎหมายต้องปรับพฤติกรรมต้องถ่ายโอนกันยังไง ... ไม่ได้สนใจ เรื่องพวกนี้รุงรังเก็บไว้ก่อน รอให้ชนะก่อนค่อยว่า
จึงกลายเป็นชุดความคิดรวบยอดที่เผยแพร่อย่างรวดเร็วในบรรดาชาวนกหวีดที่ว่า “การปฏิรูปประเทศไทยจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อกำจัดระบอบทักษิณออกไปหมดสิ้นจากอำนาจรัฐแล้วเท่านั้น”
ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวผมหรอกนะผู้หลักผู้ใหญ่ผู้รู้อีกหลายคนก็พูดตรงกันว่าคิดแบบนี้มันก็ไม่ถูก เพราะการปฏิรูปนั้นเป็นกระบวนการของการพร้อมใจ เชิญชวน ชักจูงในทางสังคมและแม้จะต้องมีอำนาจในทางกฎหมายก็ไม่ได้หมายความเป็นหนึ่งเดียวว่าต้องมาจากสภาพลเมืองที่ตั้งขึ้นหลังขจัดระบอบทักษิณเสียที่ไหน
มันมีวิธีการมากมายที่จะบรรลุผลของการปฏิรูปใหญ่ ... วิธีการที่กำนันสุเทพเสนอเป็นแค่หนทางหนึ่งเท่านั้น !
ประโยคที่ว่า “สู้ให้ชนะก่อนเรื่องอื่นค่อยว่ากัน” อาจจะเป็นยุทธวิธีที่มีประสิทธิภาพในช่วงแรกของการรบ/ออกตัวเร็ว/รุกแรง/มีเอกภาพ/ไม่วอกแวกเป็นอื่น นั้นเหมาะกับสงครามที่รู้ผลแพ้ชนะม้วนเดียวจบ แต่เมื่อสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปกลายเป็นการตรึงกำลังและยันกันอยู่ยืดเยื้อยุทธวิธีเดิมอาจจะไม่เหมาะสมแล้ว
ผมเคยสนทนาในวงพูดคุยหนึ่งมองว่าประเทศไทยหลังการ “ปฏิวัติประชาชน” จะเป็นเช่นไร วงสนทนาเชื่อว่ารัฐบาลอยู่ไม่ได้แล้วแน่นอนล่ะ แต่บทจบจะเป็นแบบไหนนี่คาดลำบากมีความเป็นไปได้หลายแบบหลายทาง
การปฏิวัติประชาชน หรืออภิวัฒน์ประชาธิปไตยแบบที่กำลังเกิดถือเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่ไม่มีแบบแผนสำเร็จรูปมารองรับล้วนแต่เป็นการสร้างถางทางขึ้นใหม่แทบทั้งหมด โมเดลสภาสนามม้ารัฐบาลพระราชทานสัญญา ธรรมศักดิ์ปี 2516 เป็นแค่หลักอ้างอิงใหญ่เท่านั้น แต่รายละเอียดปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหมดสิ้น
เอาเป็นว่านี่เป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่
ประวัติศาสตร์โลกบอกเราว่า หลังการเปลี่ยนแปลงใหญ่ระดับการปฏิวัติบางสังคมยังมีการตีโต้กลับพลิกไปอีกหลายรอบกว่าจะลงตัว เช่น ฝรั่งเศส 1789 โค่นกษัตริย์ แล้วก็กลับมาใช้ระบบกษัตริย์อีกจึงค่อยมาเป็นสาธารณรัฐเต็มตัวโน่นปี 1848 ใช้เวลาร่วม 60 ปี
หลังการปฏิวัติจะเกิดความไม่ปกติ ระบบต่างๆ เปลี่ยนไป ผู้ปกครองต้องใช้กำปั้นใหญ่ นั่นคือต้องใช้อำนาจเผด็จการจึงจะเอาสถานการณ์อยู่
ประเทศจีนหลังเหมาเจ๋อตงนำพรรคคอมมิวนิสต์ปฏิวัติไล่ก๊กมินตั๋งสำเร็จเกิดกรณีแก๊งสี่คน การปฏิวัติวัฒนธรรมและเยาวชนเรดการ์ดไปไล่จับครูอาจารย์นักบวชคนรวยไปถึงคนใส่แว่นตามาลงโทษ แค่พวกเดียวกันที่คิดต่างอย่าง หลิวเส้าฉีเบอร์สองในพรรครองลงมาจากเหมาถูกจับกุมปลดออกแล้วก็ตายอย่างทรมาน พรรคคอมมิวนิสต์จีนยุคหลังเพิ่งจะมาคืนตำแหน่งและเกียรติยศให้
อียิปต์โค่นมูบารัค ต่อด้วยโค่นมอร์ซีแบบเลือดท่วมท้องช้างรวมสามรอบในแค่ 2 ปีกว่ามานี้ตายเป็นหมื่นๆ สังเวยสถานการณ์พลิกไปพลิกมาที่ไม่ลงตัว
ในวงสนทนา ผมเป็นฝ่ายที่เชื่อว่าหากเกิดการเดินหน้าไปไม่ได้ทั้งสองฝ่ายก็จะเกิดการเจรจาต่อรองใหญ่ที่เรียกว่า Great Compromise แบบที่เคยเกิดในช่วงท้ายของสงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อเอามาเขียนในช่วงแรกๆ ก็ถูกเรียกว่าเป็นพวกโลกสวย เป็นพวกเอาเท้าราน้ำ คนที่เสนอแนวทางออกใดๆ ที่ไม่ใช่แพ้ชนะเด็ดขาดล้วนแต่ถูกเตะออกจากวงสัประยุทธ์ แล้วก็ถูกกองเชียร์ฮาร์ดคอร์ไล่ปาก้อนอิฐซ้ำตามเว็บไซต์หรือคอมเมนท์ต่างๆ อีกต่างหาก
แต่นี่ก็เป็น Scenario – แบบจำลองสถานการณ์หนึ่งที่เป็นไปได้ในทางทฤษฎี
เพราะสถานการณ์จริงต่อให้ทักษิณจะหลังพิงฝา ใกล้จนตรอก ดุลกำลังร่อยหรอไพ่ในมือมีแต่เอ็ม 79 และความรุนแรงรายวัน แล้วก็ซื้อเวลาไปเรื่อยๆ แต่ที่สุดแล้วสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในมือของผู้ใกล้พ่ายแพ้สูญเสียก็คือกูไม่ได้มึงก็ไม่ได้เหมือนกัน สมัยก่อนเขาเผาเมืองทั้งเมืองไม่ให้ข้าศึกได้ใช้ด้วยซ้ำ
หนึ่ง-จะจบแบบไหน? สอง-เขามองการปฏิรูปกันยังไง ?
คุณูปการของกำนันก็คือได้สร้างให้เกิดกระแสการปฏิรูปใหญ่เกิดขึ้นมาแท้จริงแล้ว กระแสมาแล้วแต่รายละเอียดกับวิธีการยังเป็นปัญหา
ไม่กลัวระบอบทักษิณไม่แพ้หรอก-เพราะยังไงก็แพ้อยู่แล้ว แต่ที่กลัวคือกลัวกำนันสุเทพจะชนะยังไง-แบบไหนต่างหาก !
อยากจะเห็นชัยชนะที่สามารถปฏิรูปประเทศได้อย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรคใหญ่ ไม่อยากเห็นกระบวนการลุ่มๆ ดอนๆ หรือชัยชนะที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของประเทศชาติในบั้นปลาย
ขอประกาศเรียกก้อนอิฐอีกครั้งก็ได้ว่า...ผมมีความเห็นต่างในวิธีการของกำนันมาตั้งแต่ต้นและขัดหูกับประโยคที่ว่า “ต้องกำจัดระบอบทักษิณก่อนจึงจะสามารถปฏิรูปได้” มานานแล้วเพราะคิดว่าทางนี้มันอ้อมและต้องขึ้นเขา
ก็ได้แต่กระโดดลงจากรถมาเชียร์มวลมหาประชาชนเพื่อนฝูงพี่น้องทั้งนั้นให้ไปให้ถึง
ปรับเปลี่ยนยุทธวิธีกลางศึกก็ไม่แปลกหรอกครับ ในเมื่อสถานการณ์มาถึงรุกไล่จนอีกฝ่ายเหี่ยวอยู่หลังกำแพงเมืองแล้ว กำลังพลฝ่ายนี้ก็ไม่มากพอจะเผด็จศึกรอดินฟ้าอากาศได้แต่ยันกันอีกเดือนสองเดือนหรือไม่รู้อีกเท่าไหร่
การเอาชนะทักษิณได้ต้องใช้การปฏิรูปเป็นเครื่องมือ เป็นหนึ่งในยุทธวิธีที่ต้องเริ่มทำทันทีเลยเท่านั้น ยิ่งทำเร็วชัยชนะจะมาเร็วเท่านั้น
"กระบวนการขับเคลื่อนการปฏิรูป" ไม่ได้เป็นแค่เป้าหมายไกลๆ ที่ต้องยึดอำนาจรัฐก่อนจึงค่อยเริ่มแต่กระบวนการขับเคลื่อนการปฏิรูป คือ กลยุทธ์การต่อสู้ที่จะแสวงหาแนวร่วมเพิ่มขึ้นใหญ่ขึ้นกดทับฝ่ายตรงกันข้ามได้ด้วยเช่นกัน
“การขับเคลื่อน” การปฏิรูปสามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงใหญ่ได้เช่นกัน.... การเริ่มกระบวนการปฏิรูปต่างจริงจังจริงใจเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ปฏิรูปเป็นหลัก อย่าไปผูกกับเป้าหมายอำนาจรัฐต้องมาก่อน คือการนำไปสู่ปรากฏการณ์ Snowball Effect ที่แท้จริง
หิมะที่ไหลลงจากยอดเขาจากก้อนเล็กๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นๆ เป็นก้อนใหญ่ มีพลังและความเร็วยิ่งๆ ขึ้นทุกที
ยุทธวิธีกลิ้งหิมะลงจากเขาแตกต่างจากการเข็นครกขึ้นเขาที่ยิ่งสูงยิ่งต้องอึดออกแรงมาก หยุดก็ไม่ได้ ครกมันจะย้อนทับตัวเองยิ่งไม่ได้อะไรกลับบ้านเลย ก็ต้องทนสู้กันไป.