ครั้งหนึ่งนายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูนพรรคเพื่อไทยเคยประกาศว่าอย่าให้ถึงกับคนเสื้อแดงเหนือ-อีสานต้องแยกประเทศมาปกครองกันเอง...ในครั้งนั้นเขาเป็นฝ่ายค้านจึงพูดด้วยน้ำเสียงที่คับแค้นไม่พอใจอำนาจรัฐชนชั้นนำไทยที่กรุงเทพฯ ตลอดถึงคนภาคอื่นที่ส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนฝ่ายทักษิณ ชินวัตร
แม้คำพูดดังกล่าวไม่เป็นความจริงเพราะพรรคเพื่อไทยไม่ได้ดำเนินการใดๆ ตามแนวทางที่ส.ส.คนนี้ประกาศ ในความเป็นจริงต่อให้ขบวนการคนเสื้อแดงเข้มแข็งหรือต่อให้มีศักยภาพที่จะประกาศแบ่งแยกออกไปจริงๆ ก็เหอะ แต่ที่สุดแล้วทักษิณ ชินวัตรตลอดถึงอำมาตย์ที่อยู่ในพรรคเพื่อไทยคงไม่เอาด้วยกับความคิดดังกล่าวแน่นอน .. นั่นเพราะว่าโครงสร้างเศรษฐกิจรายได้ผลประโยชน์ของนายทุนพรรคอำมาตย์ในพรรคไม่ได้อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ-อีสาน
ผู้คนที่เหนือกว่าส.ส.สงวน พงษ์มณี ต้องการได้อำนาจรัฐเพื่อกุมผลประโยชน์รวมศูนย์ที่กรุงเทพฯ กำลังซื้อทั้งหลายก็อยู่ที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคตะวันออก ส่วนภาคเหนือ-อีสานน่ะเป็นแค่ฐานเสียงเพื่อการเข้าสู่อำนาจเท่านั้น
ลองคิดดูสิว่าหากแยกเหนืออีสานไปจริงๆ ประกาศตั้งประเทศเกิดใหม่เรียบร้อยเลยเอ้า...สมมตินามตามท้องเรื่องว่าชื่อประเทศชินแลนด์ ประเทศนี้จะมีประชากรเหนือ 9 จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ลำพูน แม่ฮ่องสอน 6 ล้าน บวกกับประชากรอีสาน 21 ล้านคนรวมเป็น 27 ล้านคน 40% ของประชากรในประเทศไทย แต่ทว่าขนาดเศรษฐกิจของเหนือ-อีสาน รวมกันแล้วไม่ถึง 20% ของเศรษฐกิจประเทศเลย แกนนำเจ้าของพรรคไม่อยากได้หรอกประเทศที่ประชากรมากแต่ยากจน
ฐานรายได้ต่อหัวของอีสาน 5 หมื่นบาท/คน/ปี ส่วนภาคเหนือ 8 หมื่นบาท/คน/ปี ต่ำมากเพราะค่าเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่เกิน 1.5 แสนบาท/คนปีโน่นภาคตะวันออกเกิน 3 แสนต่อคนต่อปีด้วยซ้ำไป
ความคิดเรื่องแยกประเทศล้านนาอีสานตามที่ส.ส.อดีตคอมมิวนิสต์เคยพูดผ่านสื่อจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในทางความเป็นจริง โดยเฉพาะในยุคทุนเสรีนิยม มันน่าตลกมั้ยที่คนของประเทศสงวน พงษ์มณียังจะต้องเดินทางข้ามประเทศไปขายล็อตเตอรี่ยังประเทศเพื่อนบ้านเดือนละ 2 ครั้ง บ้างก็ถือพาสปอร์ตออกไปทำงานขับแท็กซี่ในเขตประเทศเพื่อนบ้าน ไม่มีใครอยากอยู่ทำงานหาเงินในประเทศตัวเองสักเท่าไร จะมีก็แต่พวกส.ส.ผู้ปกครองฝันเฟื่องเท่านั้นที่คิดแยกประเทศบนฐานของความขาดแคลน
สงวน พงษ์มณี พูดเรื่องแยกอีสาน-เหนือเมื่อปี 2553 ไม่น่าเชื่อในอีกสามปีต่อมาคือ 2556 เราก็ได้เห็นถ้อยคำคับแค้นลักษณะเดียวกันเผยแพร่ออกมาทางโซเชี่ยลมีเดียทำนองว่าถ้าบังคับข่มเหงกันนักก็แยกประเทศตัดปักษ์ใต้ไปปกครองกันเองดีกว่า (ดีมั้ย) วะ !
ความคับแค้นของคนปักษ์ใต้ที่พูดเรื่องนี้ออกมาคงสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ม็อบยางที่พอมีเหตุหลายๆ เรื่องสะสมทบเข้ามาตั้งแต่กล่าวหาว่าเป็นหน้ากากขาว ต่อมาก็ใช้กำลังสลาย แล้วก็มีการรุกทางการข่าวล่าสุดมีคนตาย
เข้าใจว่าคำพูดเรื่องแยกปักษ์ใต้ออกมาดังกล่าวก็คล้ายกับที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยเคยกล่าวเมื่อปี 2553 คือพูดโดยความคับแค้นไม่ได้เอาจริงอะไรหรอก...
อย่างไรก็ตามเมื่อมีประเด็นตั้งขึ้นมาว่าปักษ์ใต้แยกประเทศก็อดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบความเป็นไปได้กับภาคเหนือ-อีสาน
แล้วก็พบว่า หากเป็นเช่นนั้นจริงปักษ์ใต้สามารถเลี้ยงตัวเองได้สบายๆ เลย !
ปัจจุบันภาคใต้มีขนาดเศรษฐกิจประมาณ 10-12% ของเศรษฐกิจประเทศ ประชากรประมาณ 10 ล้าน (ครึ่งของอีสาน) รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี 1.25 แสนบาท (ปี2554)
แต่นี่เป็นตัวเลขภาพลวงตาครับเพราะหากมีการแยกประเทศออกมาจริงๆ ผลประโยชน์ก๊าซและน้ำมันในอ่าวไทยไม่น้อยกว่า 60% ของที่มีอยู่ที่เคยต่อท่อขึ้นฝั่งตะวันออกจะเปลี่ยนมาขึ้นปักษ์ใต้แทน ตัวเลขส่งออกหลายตัว(ยางแท่ง ถุงมือยาง แร่ )ที่ไปโผล่ที่แหลมฉบังจะกลับย้อนมาเป็นบัญชีส่งออกปักษ์ใต้ ซึ่งถ้าคิดฐานทรัพยากรและรายได้เหล่านี้ประเทศปักษ์ใต้จะร่ำรวยไม่แพ้ชาติใดในอาเซียนเลยนะจะบอกให้ เพราะประชากรมีแค่ 10 ล้านคนเอง
ในแง่เศรษฐกิจการพึ่งตัวเองแล้วความเป็นไปได้ของการแยกปักษ์ใต้ออกมานั้นเป็นไปได้สูงกว่าแยกเหนือ-อีสานแบบที่สงวน พงษ์มณีเคยคิดด้วยซ้ำไป !
แต่ในความเป็นจริงมันก็แค่การแสดงหรือการระบายความคับแค้นแหละครับ เพราะใครที่ไหนก็คงไม่เอาด้วย ต่อให้ประชามติกันจริงๆ คนใต้ส่วนใหญ่ก็คงไม่เอา
การที่คนปักษ์ใต้เขาคับแค้นมันไม่ใช่แค่เรื่องเรียกร้องราคายางแต่อยู่ที่ท่าทีการปฏิบัติและการเอาใจใส่จริงๆ รัฐบาลเพื่อไทยพูดมาได้ไงว่าให้โค่นยางไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน ก็เมื่อปีกลายรัฐบาลนี้เพิ่งจะทำร้ายพี่น้องสวนปาล์มอย่างสาหัสด้วยการอนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์มจากประเทศเพื่อนบ้าน 4 หมื่นตันจนราคาตกเตี้ยเรี่ยดินมาวันนี้อ้าว ! จะให้ปาล์มเป็นพระเอกมาช่วยพยุงสวนยางอีกแล้วทั้งๆ ที่รัฐบาลทักษิณไม่ใช่หรือที่สนับสนุนการปลูกยางเพิ่ม 1 ล้านไร่ในภาคเหนืออีสาน
มีคนประชดว่าต่อไปอีกสัก 6-7 ปีเกิดมีรัฐบาลพวกทักษิณขึ้นมาบริหารคงจะเสนอแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันด้วยการให้โค่นทิ้งมาปลูกยางพาราแทนอีกเป็นแน่ มันง่ายดีบริหารแบบนี้ !
ยางตกให้โค่นยางปลูกปาล์ม...พอปาล์มตกพ่อก็คงให้โค่นปาล์มปลูกยางแทน..หึหึ !!
คนปักษ์ใต้ขาดการเอาใจใส่ทุ่มเทในเชิงสาธารณูปโภคและเชิงนโยบายมานานแล้ว เพราะประชาธิปัตย์เองก็ไม่ได้มีนโยบายสร้างสรรค์อะไรใหม่ขึ้นมาเพื่อพัฒนาภาคใต้ เอาแค่เรื่องปาล์มน้ำมันที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักอีกตัวก็ยังจมอยู่กับวังวนที่ไม่แน่นอนทั้งๆ ที่มีศักยภาพสูงมากเป็นที่ต้องการหลากหลายทั้งการอุปโภคเช่นทำสบู่ พลาสติก การบริโภคซึ่งไม่ใช่แค่บรรจุขวดไว้ทอดผัดเท่านั้น ยังใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอีกหลายตัว ครีมเทียม นมข้นหวาน ไอศรีมก็ใช่ และที่สำคัญเป็นส่วนผสมสำหรับไบโอดีเซล เป็นพลังงานทดแทนที่เราสามารถปลูกเองได้
ที่ผ่านมาภาครัฐปล่อยให้ความต้องการแต่ละภาคส่วนคือ การผลิต การใช้ในภาคอาหารโรงงานอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ โรงงานบรรจุขวด และโรงงานไบโอดีเซล แย่งผลผลิตกันเองโดยไม่ได้ไปจัดการอะไร พอขาดตลาดขึ้นมาก็เซ็นอนุมัติไปครั้ง ไม่ได้เข้ามาจัดการแบ่งลำดับความสำคัญว่า ภาคพลังงานทดแทนเป็นเรื่องใหม่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศรัฐอุ้มในระยะแรกเพื่อให้ราคาต้นทุนคงที่แต่ชาวสวนต้องอยู่ได้ เช่นโซนนิ่งการปลูกปาล์มสำหรับพลังงานทดแทนเท่านั้นและรับประกันราคาชดเชยให้เพื่อให้ราคาไบโอดีเซลดึงดูดต่อเนื่องให้ค่ายรถยนต์ปรับเครื่องยนต์ให้ใช้น้ำมัน บี.สูงๆ กว่า บี.5 เช่น บี.10
แต่ที่ผ่านมารัฐไม่ได้เข้ามาจัดการอะไร ไม่มีแผนยุทธศาสตร์ คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันยุคยิ่งลักษณ์อาศัยจังหวะผลผลิตขาดเมื่อปีก่อนให้นำเข้ามากเกินไปช่วยโรงงานอาหารบางแห่ง(เพราะราคาเมืองนอกต่ำกว่าของไทย) แต่ก็กลายเป็นกระทืบซ้ำชาวสวนดังที่เห็นกันอยู่
ถ้านักการเมืองมีวิสัยทัศน์ต้องการช่วยทั้งชาวสวนและเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนแบบพึ่งพาตนเองจริงต้องเจรจากับทั้งค่ายรถและปตท.(ที่แอบเสนอยุทธศาสตร์ NGV เพื่อผลักดันก๊าซให้ติดตลาด) ทั้งประชาธิปัตย์ทั้งเพื่อไทยหรือพรรคอื่นๆ ต้องกล้าตั้งธงไปเลยว่ามาตรฐานเครื่องยนต์และน้ำมันดีเซลของไทยคือ บี.20 แต่ที่ไม่ทำกันเพราะไม่เอาจริงแถมไปขัดผลประโยชน์กับอุตสาหกรรมจากไฮโดรคาร์บอนใช่หรือไม่ ?
ไม่เพียงระดับนโยบายเท่านั้น ระดับปฏิบัติการในพื้นที่นี่ก็อีกส่วนที่ก่อให้เกิดความเคียดแค้นเจ็บช้ำ ผู้ว่าฯเอย ผู้การตำรวจเอย คงไม่แปลกอะไรเลยครับหากจากนี้ไปกระแสเรียกร้องให้ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้นไปจนถึงการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดตามกระแสจังหวัดจัดการตนเอง
ในเมื่อหวังอะไรไม่ได้จากทั้งพรรคการเมืองเก่าใหม่ หวังไม่ได้จากกลไกการปกครองที่เป็นอยู่ปัจจุบัน...ไม่ต้องถึงกับแยกประเทศหรอกอย่างที่มีบางคนโพสต์ขึ้นหรอก...แค่เรียกร้องให้เกิดกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้นตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง ให้เลือกตั้งผู้ว่าฯของตนเอง ผิดนักก็ไม่ต้องเลือกใหม่ ดีกว่าส่งเสื้อแดงปากกล้าขาสั่นที่ไหนมารู้มาปกครอง..มีรายได้มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาและจัดการตนเองไม่ต้องรอนักการเมืองซึ่งมีประโยชน์จากค่ายรถ จากปตทหนุนหลังฉุดขาอยู่....เท่านี้ก็จะสะเทือนยิ่งใหญ่ต่อทั้งพรรคการเมืองตลอดถึงข้าราชการขี้ข้าอย่างพลิกฟ้าคว่ำดินเลยเชื่อไหม?
และถ้าไปถึงขั้นนั้นจริงนี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งใหญ่ด้วยมือของประชาชนแท้ๆ ที่ต้องจารึกไว้
เหตุการณ์ที่ชะอวดเริ่มต้นจากราคายางแท้ๆ แต่เมื่อถึงตอนนี้ไม่ได้มีแค่เรื่องราคายางแล้ว !
แม้คำพูดดังกล่าวไม่เป็นความจริงเพราะพรรคเพื่อไทยไม่ได้ดำเนินการใดๆ ตามแนวทางที่ส.ส.คนนี้ประกาศ ในความเป็นจริงต่อให้ขบวนการคนเสื้อแดงเข้มแข็งหรือต่อให้มีศักยภาพที่จะประกาศแบ่งแยกออกไปจริงๆ ก็เหอะ แต่ที่สุดแล้วทักษิณ ชินวัตรตลอดถึงอำมาตย์ที่อยู่ในพรรคเพื่อไทยคงไม่เอาด้วยกับความคิดดังกล่าวแน่นอน .. นั่นเพราะว่าโครงสร้างเศรษฐกิจรายได้ผลประโยชน์ของนายทุนพรรคอำมาตย์ในพรรคไม่ได้อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ-อีสาน
ผู้คนที่เหนือกว่าส.ส.สงวน พงษ์มณี ต้องการได้อำนาจรัฐเพื่อกุมผลประโยชน์รวมศูนย์ที่กรุงเทพฯ กำลังซื้อทั้งหลายก็อยู่ที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคตะวันออก ส่วนภาคเหนือ-อีสานน่ะเป็นแค่ฐานเสียงเพื่อการเข้าสู่อำนาจเท่านั้น
ลองคิดดูสิว่าหากแยกเหนืออีสานไปจริงๆ ประกาศตั้งประเทศเกิดใหม่เรียบร้อยเลยเอ้า...สมมตินามตามท้องเรื่องว่าชื่อประเทศชินแลนด์ ประเทศนี้จะมีประชากรเหนือ 9 จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ลำพูน แม่ฮ่องสอน 6 ล้าน บวกกับประชากรอีสาน 21 ล้านคนรวมเป็น 27 ล้านคน 40% ของประชากรในประเทศไทย แต่ทว่าขนาดเศรษฐกิจของเหนือ-อีสาน รวมกันแล้วไม่ถึง 20% ของเศรษฐกิจประเทศเลย แกนนำเจ้าของพรรคไม่อยากได้หรอกประเทศที่ประชากรมากแต่ยากจน
ฐานรายได้ต่อหัวของอีสาน 5 หมื่นบาท/คน/ปี ส่วนภาคเหนือ 8 หมื่นบาท/คน/ปี ต่ำมากเพราะค่าเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่เกิน 1.5 แสนบาท/คนปีโน่นภาคตะวันออกเกิน 3 แสนต่อคนต่อปีด้วยซ้ำไป
ความคิดเรื่องแยกประเทศล้านนาอีสานตามที่ส.ส.อดีตคอมมิวนิสต์เคยพูดผ่านสื่อจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในทางความเป็นจริง โดยเฉพาะในยุคทุนเสรีนิยม มันน่าตลกมั้ยที่คนของประเทศสงวน พงษ์มณียังจะต้องเดินทางข้ามประเทศไปขายล็อตเตอรี่ยังประเทศเพื่อนบ้านเดือนละ 2 ครั้ง บ้างก็ถือพาสปอร์ตออกไปทำงานขับแท็กซี่ในเขตประเทศเพื่อนบ้าน ไม่มีใครอยากอยู่ทำงานหาเงินในประเทศตัวเองสักเท่าไร จะมีก็แต่พวกส.ส.ผู้ปกครองฝันเฟื่องเท่านั้นที่คิดแยกประเทศบนฐานของความขาดแคลน
สงวน พงษ์มณี พูดเรื่องแยกอีสาน-เหนือเมื่อปี 2553 ไม่น่าเชื่อในอีกสามปีต่อมาคือ 2556 เราก็ได้เห็นถ้อยคำคับแค้นลักษณะเดียวกันเผยแพร่ออกมาทางโซเชี่ยลมีเดียทำนองว่าถ้าบังคับข่มเหงกันนักก็แยกประเทศตัดปักษ์ใต้ไปปกครองกันเองดีกว่า (ดีมั้ย) วะ !
ความคับแค้นของคนปักษ์ใต้ที่พูดเรื่องนี้ออกมาคงสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ม็อบยางที่พอมีเหตุหลายๆ เรื่องสะสมทบเข้ามาตั้งแต่กล่าวหาว่าเป็นหน้ากากขาว ต่อมาก็ใช้กำลังสลาย แล้วก็มีการรุกทางการข่าวล่าสุดมีคนตาย
เข้าใจว่าคำพูดเรื่องแยกปักษ์ใต้ออกมาดังกล่าวก็คล้ายกับที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยเคยกล่าวเมื่อปี 2553 คือพูดโดยความคับแค้นไม่ได้เอาจริงอะไรหรอก...
อย่างไรก็ตามเมื่อมีประเด็นตั้งขึ้นมาว่าปักษ์ใต้แยกประเทศก็อดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบความเป็นไปได้กับภาคเหนือ-อีสาน
แล้วก็พบว่า หากเป็นเช่นนั้นจริงปักษ์ใต้สามารถเลี้ยงตัวเองได้สบายๆ เลย !
ปัจจุบันภาคใต้มีขนาดเศรษฐกิจประมาณ 10-12% ของเศรษฐกิจประเทศ ประชากรประมาณ 10 ล้าน (ครึ่งของอีสาน) รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี 1.25 แสนบาท (ปี2554)
แต่นี่เป็นตัวเลขภาพลวงตาครับเพราะหากมีการแยกประเทศออกมาจริงๆ ผลประโยชน์ก๊าซและน้ำมันในอ่าวไทยไม่น้อยกว่า 60% ของที่มีอยู่ที่เคยต่อท่อขึ้นฝั่งตะวันออกจะเปลี่ยนมาขึ้นปักษ์ใต้แทน ตัวเลขส่งออกหลายตัว(ยางแท่ง ถุงมือยาง แร่ )ที่ไปโผล่ที่แหลมฉบังจะกลับย้อนมาเป็นบัญชีส่งออกปักษ์ใต้ ซึ่งถ้าคิดฐานทรัพยากรและรายได้เหล่านี้ประเทศปักษ์ใต้จะร่ำรวยไม่แพ้ชาติใดในอาเซียนเลยนะจะบอกให้ เพราะประชากรมีแค่ 10 ล้านคนเอง
ในแง่เศรษฐกิจการพึ่งตัวเองแล้วความเป็นไปได้ของการแยกปักษ์ใต้ออกมานั้นเป็นไปได้สูงกว่าแยกเหนือ-อีสานแบบที่สงวน พงษ์มณีเคยคิดด้วยซ้ำไป !
แต่ในความเป็นจริงมันก็แค่การแสดงหรือการระบายความคับแค้นแหละครับ เพราะใครที่ไหนก็คงไม่เอาด้วย ต่อให้ประชามติกันจริงๆ คนใต้ส่วนใหญ่ก็คงไม่เอา
การที่คนปักษ์ใต้เขาคับแค้นมันไม่ใช่แค่เรื่องเรียกร้องราคายางแต่อยู่ที่ท่าทีการปฏิบัติและการเอาใจใส่จริงๆ รัฐบาลเพื่อไทยพูดมาได้ไงว่าให้โค่นยางไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน ก็เมื่อปีกลายรัฐบาลนี้เพิ่งจะทำร้ายพี่น้องสวนปาล์มอย่างสาหัสด้วยการอนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์มจากประเทศเพื่อนบ้าน 4 หมื่นตันจนราคาตกเตี้ยเรี่ยดินมาวันนี้อ้าว ! จะให้ปาล์มเป็นพระเอกมาช่วยพยุงสวนยางอีกแล้วทั้งๆ ที่รัฐบาลทักษิณไม่ใช่หรือที่สนับสนุนการปลูกยางเพิ่ม 1 ล้านไร่ในภาคเหนืออีสาน
มีคนประชดว่าต่อไปอีกสัก 6-7 ปีเกิดมีรัฐบาลพวกทักษิณขึ้นมาบริหารคงจะเสนอแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันด้วยการให้โค่นทิ้งมาปลูกยางพาราแทนอีกเป็นแน่ มันง่ายดีบริหารแบบนี้ !
ยางตกให้โค่นยางปลูกปาล์ม...พอปาล์มตกพ่อก็คงให้โค่นปาล์มปลูกยางแทน..หึหึ !!
คนปักษ์ใต้ขาดการเอาใจใส่ทุ่มเทในเชิงสาธารณูปโภคและเชิงนโยบายมานานแล้ว เพราะประชาธิปัตย์เองก็ไม่ได้มีนโยบายสร้างสรรค์อะไรใหม่ขึ้นมาเพื่อพัฒนาภาคใต้ เอาแค่เรื่องปาล์มน้ำมันที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักอีกตัวก็ยังจมอยู่กับวังวนที่ไม่แน่นอนทั้งๆ ที่มีศักยภาพสูงมากเป็นที่ต้องการหลากหลายทั้งการอุปโภคเช่นทำสบู่ พลาสติก การบริโภคซึ่งไม่ใช่แค่บรรจุขวดไว้ทอดผัดเท่านั้น ยังใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอีกหลายตัว ครีมเทียม นมข้นหวาน ไอศรีมก็ใช่ และที่สำคัญเป็นส่วนผสมสำหรับไบโอดีเซล เป็นพลังงานทดแทนที่เราสามารถปลูกเองได้
ที่ผ่านมาภาครัฐปล่อยให้ความต้องการแต่ละภาคส่วนคือ การผลิต การใช้ในภาคอาหารโรงงานอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ โรงงานบรรจุขวด และโรงงานไบโอดีเซล แย่งผลผลิตกันเองโดยไม่ได้ไปจัดการอะไร พอขาดตลาดขึ้นมาก็เซ็นอนุมัติไปครั้ง ไม่ได้เข้ามาจัดการแบ่งลำดับความสำคัญว่า ภาคพลังงานทดแทนเป็นเรื่องใหม่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศรัฐอุ้มในระยะแรกเพื่อให้ราคาต้นทุนคงที่แต่ชาวสวนต้องอยู่ได้ เช่นโซนนิ่งการปลูกปาล์มสำหรับพลังงานทดแทนเท่านั้นและรับประกันราคาชดเชยให้เพื่อให้ราคาไบโอดีเซลดึงดูดต่อเนื่องให้ค่ายรถยนต์ปรับเครื่องยนต์ให้ใช้น้ำมัน บี.สูงๆ กว่า บี.5 เช่น บี.10
แต่ที่ผ่านมารัฐไม่ได้เข้ามาจัดการอะไร ไม่มีแผนยุทธศาสตร์ คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันยุคยิ่งลักษณ์อาศัยจังหวะผลผลิตขาดเมื่อปีก่อนให้นำเข้ามากเกินไปช่วยโรงงานอาหารบางแห่ง(เพราะราคาเมืองนอกต่ำกว่าของไทย) แต่ก็กลายเป็นกระทืบซ้ำชาวสวนดังที่เห็นกันอยู่
ถ้านักการเมืองมีวิสัยทัศน์ต้องการช่วยทั้งชาวสวนและเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนแบบพึ่งพาตนเองจริงต้องเจรจากับทั้งค่ายรถและปตท.(ที่แอบเสนอยุทธศาสตร์ NGV เพื่อผลักดันก๊าซให้ติดตลาด) ทั้งประชาธิปัตย์ทั้งเพื่อไทยหรือพรรคอื่นๆ ต้องกล้าตั้งธงไปเลยว่ามาตรฐานเครื่องยนต์และน้ำมันดีเซลของไทยคือ บี.20 แต่ที่ไม่ทำกันเพราะไม่เอาจริงแถมไปขัดผลประโยชน์กับอุตสาหกรรมจากไฮโดรคาร์บอนใช่หรือไม่ ?
ไม่เพียงระดับนโยบายเท่านั้น ระดับปฏิบัติการในพื้นที่นี่ก็อีกส่วนที่ก่อให้เกิดความเคียดแค้นเจ็บช้ำ ผู้ว่าฯเอย ผู้การตำรวจเอย คงไม่แปลกอะไรเลยครับหากจากนี้ไปกระแสเรียกร้องให้ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้นไปจนถึงการเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดตามกระแสจังหวัดจัดการตนเอง
ในเมื่อหวังอะไรไม่ได้จากทั้งพรรคการเมืองเก่าใหม่ หวังไม่ได้จากกลไกการปกครองที่เป็นอยู่ปัจจุบัน...ไม่ต้องถึงกับแยกประเทศหรอกอย่างที่มีบางคนโพสต์ขึ้นหรอก...แค่เรียกร้องให้เกิดกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้นตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง ให้เลือกตั้งผู้ว่าฯของตนเอง ผิดนักก็ไม่ต้องเลือกใหม่ ดีกว่าส่งเสื้อแดงปากกล้าขาสั่นที่ไหนมารู้มาปกครอง..มีรายได้มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาและจัดการตนเองไม่ต้องรอนักการเมืองซึ่งมีประโยชน์จากค่ายรถ จากปตทหนุนหลังฉุดขาอยู่....เท่านี้ก็จะสะเทือนยิ่งใหญ่ต่อทั้งพรรคการเมืองตลอดถึงข้าราชการขี้ข้าอย่างพลิกฟ้าคว่ำดินเลยเชื่อไหม?
และถ้าไปถึงขั้นนั้นจริงนี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งใหญ่ด้วยมือของประชาชนแท้ๆ ที่ต้องจารึกไว้
เหตุการณ์ที่ชะอวดเริ่มต้นจากราคายางแท้ๆ แต่เมื่อถึงตอนนี้ไม่ได้มีแค่เรื่องราคายางแล้ว !