นายกรัฐมนตรีออกโทรทัศน์รัฐบาลพบประชาชน โดยชี้แจงการเสนอร่าง พ.ร.บ.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาทต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยยืนยันว่าโครงการดังกล่าวช่วยเชื่อมโยงภูมิภาคเติมเต็มความเจริญในท้องถิ่นสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจในประเทศ ตลอดจนทำให้การเดินทางท่องเที่ยวสะดวกเกิดการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เชื่อว่าภาพรวมของเศรษฐกิจอีก 7 ปีจะมีจีดีพีเพิ่มขึ้นอีก 1 เปอร์เซ็นต์และเกิดการจ้างงานถึง 1.5 แสนอัตรา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะสร้างอนาคตให้ประชาชนและมีการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าวยืนยันว่าการออก พ.ร.บ.กู้เงินดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแน่นอนเพราะปฏิบัติตามกฎหมายที่ดำเนินมาโดยตลอด ส่วนที่มีผู้เตรียมยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความถือเป็นสิทธิที่ทำได้เชื่อมั่นว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัยให้ความเห็นตรงไปตรงมา การบอกว่าตีเช็คเปล่าก็พูดไม่ตรงเพราะ พ.ร.ก.กู้เงินโครงการไทยเข้มแข็งที่ผ่านมา มีเพียงเอกสารเป็นมาตราไม่มีโครงการหรือรายละเอียดใดๆ ให้สภาฯ พิจารณา รัฐบาลเห็นปัญหานั้นแล้วจึงเลือกออกเป็น พ.ร.บ.เพื่อให้สภาฯ พิจารณารายละเอียดและแปรญัตติได้ จึงทำบัญชีแนบท้ายเป็นหลักประกันว่าการแก้ไขโดยรัฐบาลไม่สามารถทำได้ การบอกว่าการกู้เงินจะมีการทุจริต การโกง ถ้าจะทุจริตกู้เงินตามงบประมาณปกติก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ส่วนที่หลายฝ่ายเกรงว่าจะสร้างหนี้ให้ประเทศอีก 50 ปีอยากให้ดูทั้ง 2 ด้านโดยเฉพาะการขนส่งถือเป็นทรัพย์สินที่จะสร้างรายได้ด้วยรัฐบาลไม่ได้กู้เงินมาแจก แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วทรัพย์สินจะอยู่กับประเทศเป็นร้อยๆ ปี
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภากล่าวว่าร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทหลังผ่านสภาฯ วาระแรก วิปวุฒิสภามีมติให้คณะกรรมาธิการการเงินการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน และคณะกรรมาธิการการคมนาคมวุฒิสภาเริ่มพิจารณาควบคู่ไปพร้อมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ที่สภาตั้งขึ้นเพื่อความรวดเร็วหากสภาฯ ผ่านวาระ 2-3 และส่งมาให้วุฒิสภาจะได้พิจารณาได้ทันที เมื่อถามว่าฝ่ายค้านและกลุ่ม 40 ส.ว.ยืนยันจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ นายนิคมตอบว่าต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยแบบไหนเพราะกรณีนี้เป็นการกู้เงินเพื่อมาลงทุนพัฒนาประเทศไม่ใช่กู้มาแจกชาวบ้าน วุฒิสภาก็ต้องดูรายละเอียดอีกที
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์แถลงถึงกรณีสภาฯ ผ่านร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทในวาระแรกว่าฝ่ายค้านได้พยายามให้เหตุผลถึงความไม่เหมาะสม รวมถึงข้อสังเกตเรื่องการคอร์รัปชันและยังมีประเด็นที่น่าสงสัยในด้านยุทธศาสตร์ว่าเพื่อพัฒนาประเทศหรือเพื่อคนเบื้องหลังที่เขียนแผน จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตอบคำถาม 8 ข้อก่อนที่จะดำเนินการคือ
1. มีความจำเป็นต้องกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนอกระบบงบประมาณแทนการตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี 7 ปี 2. ทำไมรัฐบาลไม่เขียนกำกับไว้ว่าจะไม่ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ แต่จะใช้ระเบียบพัสดุสำนักนายกฯ ตามปกติเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ 3. เอกสารประกอบกว่า 200 หน้าที่ให้มาไม่ถือเป็นบัญชีแนบท้ายของพ.ร.บ.กู้เงินฯ จึงไม่มีผลทางกฎหมายรัฐบาลเปลี่ยนแปลงโครงการโยกงบประมาณได้ 4. รัฐบาลจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะใช้หนี้ภายใน 50 ปีเพราะอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตหนี้ 5.16 ล้านล้านบาทอาจต้องใช้เวลาถึงร้อยปีในการใช้หนี้
5. เหตุใดรัฐบาลไม่ทบทวนโครงการที่ขาดวินัยการคลัง เช่น โครงการรับจำนำข้าว โครงการรถคันแรก รัฐบาลควรเลิกโครงการประชาล่มจมต่างๆ ได้แล้ว 6. การที่รัฐบาลอ้างว่าพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่อมเชื่อมโยงอาเซียนไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไม่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน 7. หลายโครงการในเอกสารประกอบบัญชีแนบท้ายเม็ดเงิน 1.4 ล้านล้านบาทยังไม่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.และไม่ผ่านการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และสุขภาพ (เอชไอเอ) และ 8. ราคาค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่คาดว่าจะอยู่ที่ 2,000 บาทแพงกว่าค่าโดยสารสายการบินโลว์คอสต์หากรัฐบาลไม่แทรกแซงเกษตรกรและคนยากจนจะได้ขึ้นหรือไม่ จะถ่างความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากขึ้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลเปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทในมุมมองของประชาชนกรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดจำนวน 2,037 ตัวอย่าง พบว่าข้อดีเสียงส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.2 คิดว่ากู้เงินครั้งนี้จะพัฒนาประเทศไปในทางที่ดีขึ้น ร้อยละ 14.0 ระบุระบบคมนาคมของประเทศจะดีขึ้น ส่วนข้อเสียกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.1 ระบุว่าเป็นการสร้างภาระหนี้สินให้กับประชาชน ร้อยละ 15.6 ระบุเป็นต้นตอของปัญหาทุจริตรุนแรงขึ้น
ทั้งนี้ร้อยละ 38.0 วางใจต่อความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าวยืนยันว่าการออก พ.ร.บ.กู้เงินดังกล่าวไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแน่นอนเพราะปฏิบัติตามกฎหมายที่ดำเนินมาโดยตลอด ส่วนที่มีผู้เตรียมยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความถือเป็นสิทธิที่ทำได้เชื่อมั่นว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัยให้ความเห็นตรงไปตรงมา การบอกว่าตีเช็คเปล่าก็พูดไม่ตรงเพราะ พ.ร.ก.กู้เงินโครงการไทยเข้มแข็งที่ผ่านมา มีเพียงเอกสารเป็นมาตราไม่มีโครงการหรือรายละเอียดใดๆ ให้สภาฯ พิจารณา รัฐบาลเห็นปัญหานั้นแล้วจึงเลือกออกเป็น พ.ร.บ.เพื่อให้สภาฯ พิจารณารายละเอียดและแปรญัตติได้ จึงทำบัญชีแนบท้ายเป็นหลักประกันว่าการแก้ไขโดยรัฐบาลไม่สามารถทำได้ การบอกว่าการกู้เงินจะมีการทุจริต การโกง ถ้าจะทุจริตกู้เงินตามงบประมาณปกติก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ส่วนที่หลายฝ่ายเกรงว่าจะสร้างหนี้ให้ประเทศอีก 50 ปีอยากให้ดูทั้ง 2 ด้านโดยเฉพาะการขนส่งถือเป็นทรัพย์สินที่จะสร้างรายได้ด้วยรัฐบาลไม่ได้กู้เงินมาแจก แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วทรัพย์สินจะอยู่กับประเทศเป็นร้อยๆ ปี
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภากล่าวว่าร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทหลังผ่านสภาฯ วาระแรก วิปวุฒิสภามีมติให้คณะกรรมาธิการการเงินการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน และคณะกรรมาธิการการคมนาคมวุฒิสภาเริ่มพิจารณาควบคู่ไปพร้อมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ที่สภาตั้งขึ้นเพื่อความรวดเร็วหากสภาฯ ผ่านวาระ 2-3 และส่งมาให้วุฒิสภาจะได้พิจารณาได้ทันที เมื่อถามว่าฝ่ายค้านและกลุ่ม 40 ส.ว.ยืนยันจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ นายนิคมตอบว่าต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยแบบไหนเพราะกรณีนี้เป็นการกู้เงินเพื่อมาลงทุนพัฒนาประเทศไม่ใช่กู้มาแจกชาวบ้าน วุฒิสภาก็ต้องดูรายละเอียดอีกที
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์แถลงถึงกรณีสภาฯ ผ่านร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทในวาระแรกว่าฝ่ายค้านได้พยายามให้เหตุผลถึงความไม่เหมาะสม รวมถึงข้อสังเกตเรื่องการคอร์รัปชันและยังมีประเด็นที่น่าสงสัยในด้านยุทธศาสตร์ว่าเพื่อพัฒนาประเทศหรือเพื่อคนเบื้องหลังที่เขียนแผน จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตอบคำถาม 8 ข้อก่อนที่จะดำเนินการคือ
1. มีความจำเป็นต้องกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนอกระบบงบประมาณแทนการตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี 7 ปี 2. ทำไมรัฐบาลไม่เขียนกำกับไว้ว่าจะไม่ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ แต่จะใช้ระเบียบพัสดุสำนักนายกฯ ตามปกติเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ 3. เอกสารประกอบกว่า 200 หน้าที่ให้มาไม่ถือเป็นบัญชีแนบท้ายของพ.ร.บ.กู้เงินฯ จึงไม่มีผลทางกฎหมายรัฐบาลเปลี่ยนแปลงโครงการโยกงบประมาณได้ 4. รัฐบาลจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะใช้หนี้ภายใน 50 ปีเพราะอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตหนี้ 5.16 ล้านล้านบาทอาจต้องใช้เวลาถึงร้อยปีในการใช้หนี้
5. เหตุใดรัฐบาลไม่ทบทวนโครงการที่ขาดวินัยการคลัง เช่น โครงการรับจำนำข้าว โครงการรถคันแรก รัฐบาลควรเลิกโครงการประชาล่มจมต่างๆ ได้แล้ว 6. การที่รัฐบาลอ้างว่าพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่อมเชื่อมโยงอาเซียนไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไม่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน 7. หลายโครงการในเอกสารประกอบบัญชีแนบท้ายเม็ดเงิน 1.4 ล้านล้านบาทยังไม่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.และไม่ผ่านการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และสุขภาพ (เอชไอเอ) และ 8. ราคาค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่คาดว่าจะอยู่ที่ 2,000 บาทแพงกว่าค่าโดยสารสายการบินโลว์คอสต์หากรัฐบาลไม่แทรกแซงเกษตรกรและคนยากจนจะได้ขึ้นหรือไม่ จะถ่างความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากขึ้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลเปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาทในมุมมองของประชาชนกรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดจำนวน 2,037 ตัวอย่าง พบว่าข้อดีเสียงส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.2 คิดว่ากู้เงินครั้งนี้จะพัฒนาประเทศไปในทางที่ดีขึ้น ร้อยละ 14.0 ระบุระบบคมนาคมของประเทศจะดีขึ้น ส่วนข้อเสียกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.1 ระบุว่าเป็นการสร้างภาระหนี้สินให้กับประชาชน ร้อยละ 15.6 ระบุเป็นต้นตอของปัญหาทุจริตรุนแรงขึ้น
ทั้งนี้ร้อยละ 38.0 วางใจต่อความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย