ภาษาไทยเป็นภาษาที่ดิ้นได้ มีระดับชั้น ละเมียดละไม ซ่อนความแยบยลเอาไว้หลายมิติ แถมจริตคนไทยก็รู้ๆ ว่าเจ้าบทเจ้ากลอน ชอบพูดจากันอ้อมๆ ค้อมเป็นวงกว่าจะมาลงเข้าเรื่อง คำประพันธ์ร้อยกรองก็ถอดจริตดังกล่าวออกมาทั้งหมด
มีตัวอย่างร้อยกรองมากมาย แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ประชดประเทียด หลอกด่า หลอกแดก (ไม่ใช่แดกที่หมายถึงกิน หากหมายถึงแดกดัน) เช่น
“โรคมาก รากโมกต้มกินหาย” ............ ฟังเผินๆ เหมือนจะเป็นตำรายา แต่ทว่าเมื่อผวนกลับกลายเป็น “ต้มกินหาย” มีเสียง “ตาย”ซ่อนอยู่ในความ
ภาษาที่มีระดับชั้น ที่ใช้กับผู้ใหญ่เขาจึงเข้มงวดกับคำที่แปรความไปในทางลบ เช่น ผักบุ้ง ปลาสลิด ดอกสลิด อะไรเหล่านี้
เมื่อนำมาใส่ในคำอวยพรจึงต้องระวังคำที่มีความหมายแปรนัย – ซ่อนนัย เหล่านี้ แม้กระทั่งคำพ้องเสียงเขาก็ยังหลีกเลี่ยงไม่ใช้กันเช่นคำว่า “โลกันต์” ที่มีบทอาเศียรวาทชิ้นหนึ่งของหน่วยงานใหญ่ปรากฏในมติชนเมื่อปีที่แล้ว หน่วยงานนั้นแรกก็เถียงว่าหมายถึงโลก ซึ่งเป็นการเถียงแบบข้างๆ คูๆ เพราะธรรมเนียมของอาเศียรวาทจะไม่ใช้คำแบบนั้นเลย เพราะมันใกล้กับ “โลกันตร์” แถม “โลกันต์” ก็ไม่มีความหมายอะไร เหมือนกับภาษาพาไป ควบคุมภาษาที่ใช้ไม่ได้
มาถึงบทอาเศียรวาทของมติชนรายวันที่กำลังเป็นที่สนใจของโซเชียลมีเดียกันต่อ
เมื่อวานผมตั้งข้อสังเกตว่า คนแต่งฝีมือไม่ถึง พยายามซ่อนความหมาย ความนัยชั้นสูง แต่เมื่อมือไม่ถึง จึงไม่เนียน ไม่แยบยล และหมิ่นเหม่ ... วันนี้จะอธิบายเพิ่ม
น่าประหลาดใจที่ปกติแล้วบทอาเศียรวาทที่ขึ้นหน้าหนึ่ง เป็นตัวแทน “ในนามองค์กร” คือประพันธ์ในนามหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับจะต้องมาจากผู้ประพันธ์ที่มีชื่อเสียง หรือได้รับความไว้วางใจจากองค์กรนั้นๆ ปกติแล้วเขาจะมีชื่อจริงสกุลจริงเป็นเกียรติให้ผู้แต่ง ผมเคยได้ยินมาว่าซีไรต์ท่านหนึ่งเขียนแค่ 2 บรรทัดก็ได้หลักแสนบาทเขียนให้ “ในนาม” บรรษัทการค้ายักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง แต่หากไม่มีชื่อเขียนในนามองค์กรเลยก็ไม่มีข้อห้ามไว้ สิ่งเดียวที่คนในวงการนี้ทำกันคือ ในเมื่อเผยแพร่ออกมาสู่สาธารณะแล้ว ผิดชอบชั่วดียังไงองค์กรนั้นๆ (ก็คือมติชนรายวัน) ก็ต้องค้อมรับเอาไว้ เนื่องเพราะเผยแพร่ “ในนาม” องค์กรตน
ในเมื่อมติชนยอมรับให้เป็นบทอาเศียรวาทขององค์กรย่อมต้องผ่านการคัดกรอง ตรวจสอบผ่านตามาแล้ว ตีความได้ว่า บทประพันธ์ชิ้นนี้มีความดีเด่น อาจจะซ่อนความหมายลึกซึ้ง ยากแก่คนทั่วไปตีความ ประมาณว่าคนที่มีสติปัญญาทั่วไปไม่เข้าใจอาเศียรวาทบทนั้นของมติชนได้
แต่ในความเป็นจริงคนในองค์กรสื่อด้วยกันก็ต่างรู้กันว่า มันไม่มีจริงหรอกกระบวนการคัดกรองเนื้อหาบทประพันธ์ก่อนจะตีพิมพ์แบบที่ทุกคนเชื่อว่านี่เป็นบทประพันธ์ที่ล้ำลึกสุดยอดอะไรนั่น เพราะแท้จริงแล้ว อาจจะแค่มี “คนเส้นใหญ่” คนหนึ่งที่ร้อนวิชาเขียนขึ้นมาแล้วผลักดันลงกันเองก็เป็นไปได้ ที่สำคัญอ่านยังไงก็ไม่สามารถเรียกว่าลึกซึ้งได้เพราะ การประพันธ์ก็คือการสื่อสารชั้นสูง หากไม่สามารถสื่อออกมาได้ดี..การรับสารย่อมยากจะเข้าใจสิ่งที่ต้องการแสดงออกอยู่ดี
มองในแง่ดี – ผู้เขียน มีความตั้งใจดี ประมาณว่าจะเปรียบเทียบว่ายามที่บ้านเมืองปกติฟ้ายังแจ้งสว่าง ชาวนาไร่ไพร่ฟ้าก็สดชื่นมีสุข ในวันที่บ้านเมืองไม่ปกติฟ้าไม่สว่างเกิดทุกข์เข็ญ ไพร่ฟ้าตั้งหน้ารอวันที่บ้านเมืองดีด้วยพระบารมีอีกครั้ง ฯ แต่อย่างไรก็ตาม อย่างที่บอกว่าผู้เขียนไม่ใช่นักกลอนที่ช่ำชอง ดูจากวรรคที่สอง “ลมแล้งในใจไห้โหยหาย” ที่ไม่มีความหมาย เป็นกลอนพาไป ลากคำให้ลงสัมผัสเท่านั้น ยิ่งเมื่อร้อยคำทั้ง 2 บทเข้าด้วยกัน ยิ่งพบเห็นสิ่งบกพร่องใน “สื่อคำ” ที่ต้องการ “ส่งสาร” ออกไป เพราะผู้แต่งไม่สามารถหยิบคำที่สื่อออกมาแล้วคนอ่านเข้าใจได้มาใช้
ต่อให้ผู้เขียนมีความตั้งใจดีเพียงใด แต่กฎเกณฑ์-เป้าหมายของบทประพันธ์แต่ละอย่างจะบังคับเป็นพื้นฐาน เช่น หากเขียนอาเศียรวาท ก็ควรเข้าใจว่านี่คือคำสรรเสริญ ปกติแล้วจะใช้ลีลาชั้นสูง(ฉันท์-กาพย์) หรือต่อให้เป็นแค่กลอนก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขคำสรรเสริญ ดังนั้นผู้แต่งต้องหลีกเลี่ยงใช้คำกำกวม มีความหมายส่อนัยด้านลบ
ที่สำคัญคนไทยรู้ดีว่าสัญลักษณ์ที่ใช้แทนพระเจ้าแผ่นดินที่เข้าใจกันทั่วไปคือ “ฟ้า” ผู้ประพันธ์จงใจเล่นกับ “ฟ้า” คือฟ้าสว่าง กับ วันที่ฟ้ามืดเมฆมัว มองยังไงก็เข้าใจว่าต้องการสื่อถึงพระมหากษัตริย์ หากไม่มีความช่ำชอง ร้อยคำที่มีความหมายสื่อสารชัดเจน ความเข้าใจของผู้รับสารจะแตกต่าง ตีความเป็นลบได้ .. โดยเฉพาะวรรคส่งบทท้าย “ฝันว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร” ชวนให้ประหวัดถึงคำขวัญของ พคท.ในอดีตที่ว่า “เมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพ” พร้อมๆ กัน (แม้ผู้แต่งอาจจะไม่ตั้งใจก็ตาม)
ในมิติของการมองในแง่ดี เนื่องจากผู้แต่งยังอ่อนด้อยไม่สามารถเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสม การสื่อสารเลยเกิดปัญหาให้เกิดการตีความในแง่ลบ ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัติว่าด้วยอาเศียรวาทเขาถือกันเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าเป็นยุคสมบูรณาญาสิทธิราชคงมีปัญหาแล้ว
มองในแง่ลบ – เนื่องจากค่ายมติชนรายวันสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรฝ่ายแดงที่มีหลายเฉด รวมไปถึงข้อเสนอเรื่องแก้กฎหมาย ม.112 ฯลฯ อาจต้องการนำเสนอ “อุดมการณ์ความคิด” แบบที่เคยมีผู้เสนออยากเห็นสถาบันกษัตริย์เป็นแบบเนปาล ญี่ปุ่น ฯลฯ ผู้ประพันธ์จึงต้องการแทรกอุดมการณ์ความคิดลงในบทอาเศียรวาท จึงปรากฏชุดคำที่สื่อความหมายถึง “ฟ้า” การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศและท้องฟ้า รวมไปถึงการถวิลหา “ฟ้าสว่าง” แทนที่สภาพปัจจุบัน ซึ่งคิดว่าแม้จะมีความเป็นไปได้อยู่บ้างแต่ผู้บริหารมติชนคงไม่เหิมเกริมถึงขั้นนั้น (หรอกน่า) อย่างไรก็ตามด้วยชั้นเชิงของคนประพันธ์ที่ยังอ่อนด้อยอยู่ ทำให้การพยายามจะนำเสนออุดมการณ์ทั้งชุดยังไม่ละเมียดละไม ปรากฏเพียง “ชุดคำสีแดง” ที่แยกๆ แตกๆ กันแต่ละบทละวรรคให้พอจับต้องเป็นร่องรอยได้
ถามว่าสังคมประชาธิปไตยแบบเปิด รธน.รับรอง Right of speech ทำได้มั้ย..ตอบว่าทำได้ แต่ในมิติทางสังคมวัฒนธรรมแล้วดูยังไงก็ไม่เหมาะสมกับกาละเทศะด้วยประการทั้งปวง
………..
(ป.ล.สำหรับท่านที่ต้องการสาระจริงๆ ควรข้ามบทวิเคราะห์แบบอัลเธอร์เนถีบด้านล่าง)
มองในแง่อัลเธอร์เนถีบ (ฮา) - คงจะแค่ต้องการแสดงอิทธิฤทธิ์ของความเป็นปัญญาชนคนก้าวหน้าที่ต้องการจะฉีกธรรมเนียมอาเศียรวาทแบบโบราณมาเป็นสมัยใหม่ โดยใช้ภาษาเด็กแว้น เด็กแนว คือภาษาที่คนทั่วไปไม่เข้าใจ เป็นการยกระดับคำประพันธ์ของไทยก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 คือ กลอนแอ๊บสแตรก อ่าน 100 คนตีความได้ 100 อย่าง ดังนั้นการตีความว่ามติชนกระทำไม่เหมาะสมที่ใช้อาเศียรวาทแบบนี้จึงเป็นความคิดล้าหลังของสลิ่มหัวโบราณ ไม่เท่าทันแว้นศตวรรษที่ 21
จบ-บทวิเคราะห์แบบกึ่งยิงกึ่งผ่าน
มีตัวอย่างร้อยกรองมากมาย แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ประชดประเทียด หลอกด่า หลอกแดก (ไม่ใช่แดกที่หมายถึงกิน หากหมายถึงแดกดัน) เช่น
“โรคมาก รากโมกต้มกินหาย” ............ ฟังเผินๆ เหมือนจะเป็นตำรายา แต่ทว่าเมื่อผวนกลับกลายเป็น “ต้มกินหาย” มีเสียง “ตาย”ซ่อนอยู่ในความ
ภาษาที่มีระดับชั้น ที่ใช้กับผู้ใหญ่เขาจึงเข้มงวดกับคำที่แปรความไปในทางลบ เช่น ผักบุ้ง ปลาสลิด ดอกสลิด อะไรเหล่านี้
เมื่อนำมาใส่ในคำอวยพรจึงต้องระวังคำที่มีความหมายแปรนัย – ซ่อนนัย เหล่านี้ แม้กระทั่งคำพ้องเสียงเขาก็ยังหลีกเลี่ยงไม่ใช้กันเช่นคำว่า “โลกันต์” ที่มีบทอาเศียรวาทชิ้นหนึ่งของหน่วยงานใหญ่ปรากฏในมติชนเมื่อปีที่แล้ว หน่วยงานนั้นแรกก็เถียงว่าหมายถึงโลก ซึ่งเป็นการเถียงแบบข้างๆ คูๆ เพราะธรรมเนียมของอาเศียรวาทจะไม่ใช้คำแบบนั้นเลย เพราะมันใกล้กับ “โลกันตร์” แถม “โลกันต์” ก็ไม่มีความหมายอะไร เหมือนกับภาษาพาไป ควบคุมภาษาที่ใช้ไม่ได้
มาถึงบทอาเศียรวาทของมติชนรายวันที่กำลังเป็นที่สนใจของโซเชียลมีเดียกันต่อ
เมื่อวานผมตั้งข้อสังเกตว่า คนแต่งฝีมือไม่ถึง พยายามซ่อนความหมาย ความนัยชั้นสูง แต่เมื่อมือไม่ถึง จึงไม่เนียน ไม่แยบยล และหมิ่นเหม่ ... วันนี้จะอธิบายเพิ่ม
น่าประหลาดใจที่ปกติแล้วบทอาเศียรวาทที่ขึ้นหน้าหนึ่ง เป็นตัวแทน “ในนามองค์กร” คือประพันธ์ในนามหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับจะต้องมาจากผู้ประพันธ์ที่มีชื่อเสียง หรือได้รับความไว้วางใจจากองค์กรนั้นๆ ปกติแล้วเขาจะมีชื่อจริงสกุลจริงเป็นเกียรติให้ผู้แต่ง ผมเคยได้ยินมาว่าซีไรต์ท่านหนึ่งเขียนแค่ 2 บรรทัดก็ได้หลักแสนบาทเขียนให้ “ในนาม” บรรษัทการค้ายักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง แต่หากไม่มีชื่อเขียนในนามองค์กรเลยก็ไม่มีข้อห้ามไว้ สิ่งเดียวที่คนในวงการนี้ทำกันคือ ในเมื่อเผยแพร่ออกมาสู่สาธารณะแล้ว ผิดชอบชั่วดียังไงองค์กรนั้นๆ (ก็คือมติชนรายวัน) ก็ต้องค้อมรับเอาไว้ เนื่องเพราะเผยแพร่ “ในนาม” องค์กรตน
ในเมื่อมติชนยอมรับให้เป็นบทอาเศียรวาทขององค์กรย่อมต้องผ่านการคัดกรอง ตรวจสอบผ่านตามาแล้ว ตีความได้ว่า บทประพันธ์ชิ้นนี้มีความดีเด่น อาจจะซ่อนความหมายลึกซึ้ง ยากแก่คนทั่วไปตีความ ประมาณว่าคนที่มีสติปัญญาทั่วไปไม่เข้าใจอาเศียรวาทบทนั้นของมติชนได้
แต่ในความเป็นจริงคนในองค์กรสื่อด้วยกันก็ต่างรู้กันว่า มันไม่มีจริงหรอกกระบวนการคัดกรองเนื้อหาบทประพันธ์ก่อนจะตีพิมพ์แบบที่ทุกคนเชื่อว่านี่เป็นบทประพันธ์ที่ล้ำลึกสุดยอดอะไรนั่น เพราะแท้จริงแล้ว อาจจะแค่มี “คนเส้นใหญ่” คนหนึ่งที่ร้อนวิชาเขียนขึ้นมาแล้วผลักดันลงกันเองก็เป็นไปได้ ที่สำคัญอ่านยังไงก็ไม่สามารถเรียกว่าลึกซึ้งได้เพราะ การประพันธ์ก็คือการสื่อสารชั้นสูง หากไม่สามารถสื่อออกมาได้ดี..การรับสารย่อมยากจะเข้าใจสิ่งที่ต้องการแสดงออกอยู่ดี
มองในแง่ดี – ผู้เขียน มีความตั้งใจดี ประมาณว่าจะเปรียบเทียบว่ายามที่บ้านเมืองปกติฟ้ายังแจ้งสว่าง ชาวนาไร่ไพร่ฟ้าก็สดชื่นมีสุข ในวันที่บ้านเมืองไม่ปกติฟ้าไม่สว่างเกิดทุกข์เข็ญ ไพร่ฟ้าตั้งหน้ารอวันที่บ้านเมืองดีด้วยพระบารมีอีกครั้ง ฯ แต่อย่างไรก็ตาม อย่างที่บอกว่าผู้เขียนไม่ใช่นักกลอนที่ช่ำชอง ดูจากวรรคที่สอง “ลมแล้งในใจไห้โหยหาย” ที่ไม่มีความหมาย เป็นกลอนพาไป ลากคำให้ลงสัมผัสเท่านั้น ยิ่งเมื่อร้อยคำทั้ง 2 บทเข้าด้วยกัน ยิ่งพบเห็นสิ่งบกพร่องใน “สื่อคำ” ที่ต้องการ “ส่งสาร” ออกไป เพราะผู้แต่งไม่สามารถหยิบคำที่สื่อออกมาแล้วคนอ่านเข้าใจได้มาใช้
ต่อให้ผู้เขียนมีความตั้งใจดีเพียงใด แต่กฎเกณฑ์-เป้าหมายของบทประพันธ์แต่ละอย่างจะบังคับเป็นพื้นฐาน เช่น หากเขียนอาเศียรวาท ก็ควรเข้าใจว่านี่คือคำสรรเสริญ ปกติแล้วจะใช้ลีลาชั้นสูง(ฉันท์-กาพย์) หรือต่อให้เป็นแค่กลอนก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขคำสรรเสริญ ดังนั้นผู้แต่งต้องหลีกเลี่ยงใช้คำกำกวม มีความหมายส่อนัยด้านลบ
ที่สำคัญคนไทยรู้ดีว่าสัญลักษณ์ที่ใช้แทนพระเจ้าแผ่นดินที่เข้าใจกันทั่วไปคือ “ฟ้า” ผู้ประพันธ์จงใจเล่นกับ “ฟ้า” คือฟ้าสว่าง กับ วันที่ฟ้ามืดเมฆมัว มองยังไงก็เข้าใจว่าต้องการสื่อถึงพระมหากษัตริย์ หากไม่มีความช่ำชอง ร้อยคำที่มีความหมายสื่อสารชัดเจน ความเข้าใจของผู้รับสารจะแตกต่าง ตีความเป็นลบได้ .. โดยเฉพาะวรรคส่งบทท้าย “ฝันว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร” ชวนให้ประหวัดถึงคำขวัญของ พคท.ในอดีตที่ว่า “เมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพ” พร้อมๆ กัน (แม้ผู้แต่งอาจจะไม่ตั้งใจก็ตาม)
ในมิติของการมองในแง่ดี เนื่องจากผู้แต่งยังอ่อนด้อยไม่สามารถเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสม การสื่อสารเลยเกิดปัญหาให้เกิดการตีความในแง่ลบ ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัติว่าด้วยอาเศียรวาทเขาถือกันเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าเป็นยุคสมบูรณาญาสิทธิราชคงมีปัญหาแล้ว
มองในแง่ลบ – เนื่องจากค่ายมติชนรายวันสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรฝ่ายแดงที่มีหลายเฉด รวมไปถึงข้อเสนอเรื่องแก้กฎหมาย ม.112 ฯลฯ อาจต้องการนำเสนอ “อุดมการณ์ความคิด” แบบที่เคยมีผู้เสนออยากเห็นสถาบันกษัตริย์เป็นแบบเนปาล ญี่ปุ่น ฯลฯ ผู้ประพันธ์จึงต้องการแทรกอุดมการณ์ความคิดลงในบทอาเศียรวาท จึงปรากฏชุดคำที่สื่อความหมายถึง “ฟ้า” การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศและท้องฟ้า รวมไปถึงการถวิลหา “ฟ้าสว่าง” แทนที่สภาพปัจจุบัน ซึ่งคิดว่าแม้จะมีความเป็นไปได้อยู่บ้างแต่ผู้บริหารมติชนคงไม่เหิมเกริมถึงขั้นนั้น (หรอกน่า) อย่างไรก็ตามด้วยชั้นเชิงของคนประพันธ์ที่ยังอ่อนด้อยอยู่ ทำให้การพยายามจะนำเสนออุดมการณ์ทั้งชุดยังไม่ละเมียดละไม ปรากฏเพียง “ชุดคำสีแดง” ที่แยกๆ แตกๆ กันแต่ละบทละวรรคให้พอจับต้องเป็นร่องรอยได้
ถามว่าสังคมประชาธิปไตยแบบเปิด รธน.รับรอง Right of speech ทำได้มั้ย..ตอบว่าทำได้ แต่ในมิติทางสังคมวัฒนธรรมแล้วดูยังไงก็ไม่เหมาะสมกับกาละเทศะด้วยประการทั้งปวง
………..
(ป.ล.สำหรับท่านที่ต้องการสาระจริงๆ ควรข้ามบทวิเคราะห์แบบอัลเธอร์เนถีบด้านล่าง)
มองในแง่อัลเธอร์เนถีบ (ฮา) - คงจะแค่ต้องการแสดงอิทธิฤทธิ์ของความเป็นปัญญาชนคนก้าวหน้าที่ต้องการจะฉีกธรรมเนียมอาเศียรวาทแบบโบราณมาเป็นสมัยใหม่ โดยใช้ภาษาเด็กแว้น เด็กแนว คือภาษาที่คนทั่วไปไม่เข้าใจ เป็นการยกระดับคำประพันธ์ของไทยก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 คือ กลอนแอ๊บสแตรก อ่าน 100 คนตีความได้ 100 อย่าง ดังนั้นการตีความว่ามติชนกระทำไม่เหมาะสมที่ใช้อาเศียรวาทแบบนี้จึงเป็นความคิดล้าหลังของสลิ่มหัวโบราณ ไม่เท่าทันแว้นศตวรรษที่ 21
จบ-บทวิเคราะห์แบบกึ่งยิงกึ่งผ่าน