ได้มีการเผยแพร่คำสั่งศาลปกครองกลาง โดยนายอภิรัฐ ปานเทพอินทร์ ตุลาการศาลปกครองกลางในฐานะตุลาการเจ้าของสำนวนและองค์คณะ ในคดีหมายเลขดำที่๑๗๔๖/๒๕๕๕ และคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๔๗/๒๕๕๕ ที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ปลัดกระทรวงกลาโหม และพล.อ.ชาตรี ทัตติ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ยื่นฟ้องรมว.กลาโหมต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ ๓๘๓/๕๕ ลงวันที่๒๗ ส.ค. ๒๕๕๕ ที่ให้ พล.อ.เสถียร และ พล.อ.ชาตรี ไปช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และขอต่อศาลว่าระหว่างที่ยังไม่มีคำพิพากษาขอศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้คำสั่งทางปกครอง คือให้ระงับคำสั่งที่ให้ พล.อ.เสถียร และ พล.อ.ชาตรี ไปช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมไว้ก่อน จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษานั้น หลังจากศาลปกครองโดยได้แจ้งผลการพิจารณาคำขอทุเลาการบังคับใช้คำสั่งไปยังคู่กรณีเรียบร้อยแล้วว่าในคดีหมายเลขดำที่๑๗๔๗/๒๕๕๕ที่พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหมฟ้องรมว.กลาโหม ศาลไม่มีคำสั่งระงับคำสั่งของรมว.กลาโหม ที่ให้พล.อ.เสถียรไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกลาโหม โดยให้เหตุผลว่า พล.อ.เสถียร เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและเป็นกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของกระทรวงกลาโหมจึงมีหน้าที่จัดทำบัญชีโยกย้ายนายทหารชั้นนายพลของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม แต่ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การพิจารณาแต่งตั้งดังกล่าวยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จึงถือว่าเป็นความลับของราชการไม่สามารถนำไปเปิดเผยแก่บุคคลภายนอก ดังนั้น การที่รมว.กลาโหมออกคำสั่งให้ พล.อเสถียรไปช่วยปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกลาโหม จึงยังฟังไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับใช้คำสั่งทางปกครองตามที่ พล.อ.เสถียรขอมา
คำสั่งของศาลปกครองยังระบุอีกว่าในส่วนคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๔๖/๒๕๕๕ของพล.อ.ชาตรี ศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งของ รมว.ก.ห.ที่ให้พล.อ.ชาตรีไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกลาโหมและ สั่งให้พล.อ.ชาตรีกลับไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหมเหมือนเดิมจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาระบุว่าข้อเท็จจริงเบื้องต้นไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่ฟังได้ว่าพล.อ.ชาตรีมีส่วนรู้เห็นนำความลับของราชการในการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของกระทรวงกลาโหม ไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก มีเพียงคำกล่าวอ้างของรมว.กลาโหมที่อ้างว่าพล.อ.ชาตรีไม่ได้ยับยั้งกรณีที่พล.อ.เสถียร และพล.อ.พิณภาษณ์ สริวัฒน์ เสมียนตราได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและเข้าพบองคมนตรีเกี่ยวกับการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลซึ่งพล.อ.ชาตรีที่ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหมมีหน้าที่ตามที่ปลัดกระทรวงกลาโหมกำหนดหรือมอบหมายเท่านั้น ประกอบกับการสั่งให้ข้าราชการไปช่วยปฏิบัติราชการในตำแหน่งอื่นซึ่งไม่ใช่หน้าที่ตามปกติและให้พ้นจากตำแหน่งเดิมจะต้องมีเหตุผลเป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการหรือหากให้ข้าราชการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งเดิมต่อไปอาจเกิดความเสียหายกับทางราชการได้ ซึ่งในกรณีนี้ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว อีกทั้งคำสั่งที่ให้พล.อ.ชาตรีไปช่วยราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกลาโหมไม่ได้ระบุเวลาสิ้นสุดการไปช่วยปฏิบัติราชการว่าจะให้กลับมาดำรงตำแหน่งเดิมเมื่อใด จึงกระทบต่อความมั่นคงในการปฏิบัติราชการของพล.อ.ชาตรีเป็นอย่างยิ่ง ขัดต่อความมั่นคงในอาชีพตามระบบคุณธรรมที่ทางราชการยึดเป็นหลักในการบริหารงานบุคคลภาครัฐมาตลอด คำสั่งดังกล่าวจึงน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของศาลปกครองยังระบุอีกว่า การให้คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ และมีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมที่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง การให้พล.อ.ชาตรีกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม ก็ไม่ทำให้เป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม หรือสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมแต่อย่างใด ส่วนคำขอที่พล.อ.ชาตรีขอให้ศาลมีคำสั่งไม่ให้รมว.กลาโหมกระทำการใดๆ เกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลนั้น ศาลเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นหน้าที่ของรมว.กลาโหมศาลไม่มีอำนาจที่จะสั่งห้ามไม่ให้รมว.กลาโหมกระทำการดังกล่าว ศาลจึงมีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้คำสั่งทางปกครองโดยสั่งระงับคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ให้ พล.อ.ชาตรีไปช่วยราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
คำสั่งของศาลปกครองยังระบุอีกว่าในส่วนคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๔๖/๒๕๕๕ของพล.อ.ชาตรี ศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งของ รมว.ก.ห.ที่ให้พล.อ.ชาตรีไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกลาโหมและ สั่งให้พล.อ.ชาตรีกลับไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหมเหมือนเดิมจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาระบุว่าข้อเท็จจริงเบื้องต้นไม่ปรากฏพยานหลักฐานที่ฟังได้ว่าพล.อ.ชาตรีมีส่วนรู้เห็นนำความลับของราชการในการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของกระทรวงกลาโหม ไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก มีเพียงคำกล่าวอ้างของรมว.กลาโหมที่อ้างว่าพล.อ.ชาตรีไม่ได้ยับยั้งกรณีที่พล.อ.เสถียร และพล.อ.พิณภาษณ์ สริวัฒน์ เสมียนตราได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและเข้าพบองคมนตรีเกี่ยวกับการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลซึ่งพล.อ.ชาตรีที่ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหมมีหน้าที่ตามที่ปลัดกระทรวงกลาโหมกำหนดหรือมอบหมายเท่านั้น ประกอบกับการสั่งให้ข้าราชการไปช่วยปฏิบัติราชการในตำแหน่งอื่นซึ่งไม่ใช่หน้าที่ตามปกติและให้พ้นจากตำแหน่งเดิมจะต้องมีเหตุผลเป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการหรือหากให้ข้าราชการผู้นั้นอยู่ในตำแหน่งเดิมต่อไปอาจเกิดความเสียหายกับทางราชการได้ ซึ่งในกรณีนี้ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว อีกทั้งคำสั่งที่ให้พล.อ.ชาตรีไปช่วยราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกลาโหมไม่ได้ระบุเวลาสิ้นสุดการไปช่วยปฏิบัติราชการว่าจะให้กลับมาดำรงตำแหน่งเดิมเมื่อใด จึงกระทบต่อความมั่นคงในการปฏิบัติราชการของพล.อ.ชาตรีเป็นอย่างยิ่ง ขัดต่อความมั่นคงในอาชีพตามระบบคุณธรรมที่ทางราชการยึดเป็นหลักในการบริหารงานบุคคลภาครัฐมาตลอด คำสั่งดังกล่าวจึงน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของศาลปกครองยังระบุอีกว่า การให้คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ และมีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมที่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลัง การให้พล.อ.ชาตรีกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม ก็ไม่ทำให้เป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม หรือสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมแต่อย่างใด ส่วนคำขอที่พล.อ.ชาตรีขอให้ศาลมีคำสั่งไม่ให้รมว.กลาโหมกระทำการใดๆ เกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลนั้น ศาลเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นหน้าที่ของรมว.กลาโหมศาลไม่มีอำนาจที่จะสั่งห้ามไม่ให้รมว.กลาโหมกระทำการดังกล่าว ศาลจึงมีคำสั่งทุเลาการบังคับใช้คำสั่งทางปกครองโดยสั่งระงับคำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ให้ พล.อ.ชาตรีไปช่วยราชการที่สำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น