บุคคลสาธารณะนอกจากเป็นแหล่งข่าวชั้นดีสำหรับสื่อต่างๆแล้ว ยังมีฐานะเป็นสื่อเองอีกด้วย สิ่งที่บุคคลสาธารณะทำหรือพูดย่อมเป็นข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สาธารณชน ตั้งโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าจะพูดหรือไม่พูดผ่านสื่อจึงไม่สำคัญ เพราะตัวของบุคคลสาธารณะเองนั่นแหละคือสื่อประเภทหนึ่ง
รศ.ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา อดีตคณะบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนคนสำคัญคนหนึ่งของไทย ได้เสนอหลักการเรื่อง “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication)” ไว้ในหนังสือ “ระหว่างกระจกกับตะเกียง” (หน้า 218-220) ไว้ 4 ประการ ดังนี้
1. นักสื่อสารสาธารณะ จะต้องตระหนักว่า ณ นาทีที่เขาส่งสารสาธารณะออกไปนั้น เขาคือผู้ผูกขาดการนำเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็นนั้นๆโดยไร้การแข่งขันใดๆ ดังนั้น สานของเขาควรจะเป็นอะไรที่บ่งบอกได้ว่า เขา (1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ (2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ นั้นๆ (3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุป ในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ และ (4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของ ความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน
2. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะคัดเลือกและนำเสนอสารของตนอย่างเป็นธรรม และอย่างเคารพความเที่ยงตรง โดยจะต้องซึมซับการใฝ่หาความยุติธรรมจนกลายเป็นนิสัย (habit of justice) ฉะนั้นเขาจะไม่เจาะจงตกแต่งหรือบิดเบือนความคิดตามลีลาของนักโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยการตั้งใจหรือปกปิดหรือซ่อนเร้นจุดสำคัญๆ ซึ่งผู้รับสารจำเป็นต้องทราบในอันที่จะใช้เป็นหลักในการประเมินข้อมูลและข้อ คิดเห็นของเขาได้อย่างถูกต้อง ภารกิจตลอดกาลของเขาคือการสร้างความเสมอภาคแห่งโอกาสของความคิดต่างๆ (equality of opportunity among ideas)
3. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะมีนิสัยที่ชอบตริตรอง เรื่องราวเกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ ให้มากๆ จนกระทั่งเห็นว่าเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องใหญ่โตกว่าเรื่องส่วนตัว ในกรณีที่การนำเสนอของเขาจำเป็นต้องมีมุมมองเฉพาะของตนเอง เขาควรอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเปิดเผยที่มาของข้อมูล และการก่อรูปของความคิดเห็นของตนอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งความพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบเจตนารมณ์ที่แท้จริงของตนได้ ตามหลักของความโปร่งใสด้วย
4. เต็มใจที่จะรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับของตน ทว่าในท้ายที่สุด การสื่อสารของเขาเองจะต้องไม่ยินยอมสูญเสียหลักการที่เขาเชื่อมั่นว่าได้ ผ่านการตริตรองมาเป็นอย่างดีแล้ว โดยไม่ประนีประนอมง่ายๆ นอกจากนี้ นักสื่อสารสาธารณะที่ทำงานของตนมาอย่างเต็มที่แล้ว จะต้องยินดีที่จะประจันหน้ากับการท้าทายใดๆมากกว่าการสมยอมอย่างผิดๆ
พิจารณาตามหลักการข้างต้นย่อมได้ความว่า นักสื่อสารสาธารณะไม่ได้จำกัดเฉพาะนักสื่อสารมวลชนเท่านั้น แต่รวมถึงบุคคลสาธารณะทุกประเภท ผู้บริหารของรัฐและเอกชน ข้าราชการ นักวิชาชีพต่างๆ ที่จำเป็นต้องสื่อสารข้อความทางสังคมกับสาธารณชน รวมถึงนักการเมืองด้วย
โดยเฉพาะนักการเมืองนั้น มีฐานะพิเศษกว่าบุคคลสาธารณะอื่นๆเพราะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองซึ่งมีผลต่อประชาชนทุกคน ฉะนั้น นักการเมืองจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้มี “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” มากกว่าบุคลสาธารณะอื่นๆ เพราะสิ่งที่นักการเมืองสื่อสารสู่สาธารณชนนั้นย่อมเกิดผลกระทบแก่สังคมไม่มากก็น้อย
แต่ปัญหาก็คือ นักการเมืองมี “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” มากน้อยเพียงใดในปัจจุบันนี้ คำตอบก็คือ หากยึดถือตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น ยากนักที่จะให้คะแนนนักการเมืองสอบผ่านหลักจริธรรมดังกล่าว ซึ่งผู้เขียนได้วิเคราะห์ไว้ในบทความเรื่อง “การสื่อสารสาธารณะ” กับ “ไวยากรทางจริยธรรม” เมื่อหลายปีก่อนและเห็นว่ายังมีมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยวิเคราะห์ไว้จึงขอยกข้อเคราะห์นั้นมากล่าวซ้ำในที่คือ
(1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ - ขอให้พิจารณาดู ว่า นักการเมืองไทยมีความรู้เพียงพอในเรื่องที่เขาสื่อสารออกมาหรือไม่ หากมีความรู้เพียงพอย่อมสามารถยืนยันหรือกล่าวซ้ำได้โดยไม่แปรเปลี่ยนถ้อยคำ หรือท่าทีที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งนักการเมืองไทยมักจะใช้เวลาไม่นานเลยในการเปลี่ยนแปลงคำพูดของตน
(2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ - นักการเมืองไทยมีคุณสมบัติข้อนี้หรือไม่ ซึ่งส่วนมากแล้ว นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่สนใจข้อนี้ เพราะพวกเขาพร้อมที่จะสื่อสารได้ทุกเรื่อง ทุกสถานที่ ทุกเวลา
(3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ - นักการ เมืองเคยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลหรือไม่ มีข้อสรุปในสิ่งที่ตนแสดงความคิดเห็น ซึ่งก็คือ “ความเข้าใจ” ในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริงหรือไม่ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนักการเมืองไทยทำ เพราะเขาสามารถสื่อสารในเรื่องที่ถูกถามได้ทุกเรื่องโดยทันที
(4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของ ความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆ กัน - ข้อนี้ นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่คิดและสื่อสารอะไรที่มีความซับซ้อนแบบนี้
นั่นคือสิ่งที่ผู้เขียนได้มองเห็นเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังคงดำรงอยู่ นั่นหมายความว่า หากเราต้องการเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงจากนักการเมือง อันเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินและประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนแล้ว ไม่ว่าจากฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล มีให้เห็นน้อยมาก ตัวอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ก็คือ การที่ฝ่ายรัฐบาลมุ่งโจมตีเรื่องการหนีทหารของผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องของประชาชน หรือไม่ใช่เรื่องที่เร่งด่วน ซึ่งหากจะวิพากษ์วิจารณ์จริงๆ ฝ่ายรัฐบาลควรที่จะวิพากษ์วิจารณ์จุดอ่อนการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านที่ไม่สามารถสร้างประโยชน์เป็นชิ้นเป็นอันแก่ประชาชนได้ หรือหากฝ่ายค้านจะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ก็ควรที่จะชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาล ด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เห็นได้ชัดเจน แนะแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยมุ่งที่ผลประโยชน์ของประชาชนไม่ใช่เพื่อจะโค่นล้มรัฐบาล โฆษกพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน โฆษกส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีและของผู้นำฝ่ายค้าน ควรที่จะพูดถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์โภชน์ผลของส่วนรวม ไม่ใช่พูดเรื่องส่วนตัวโจมตีกันและกัน ไม่ต่างจากการโต้วาทีที่มุ่งเอาชนะด้วยโวหารและความสะใจของทั้งผู้พูดและผู้ฟังที่เลือกข้างเชียร์ดังที่เป็นอยู่
หากเป็นดังเช่นทุกวันนี้ ก็หมายความว่า นักการเมืองที่เป็นบุคคลสาธารณะ เป็นสื่อสาธารณะ เป็นนักสื่อสารสาธารณะตามหลักการ “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ก็เป็นแค่สื่อสาธารณะที่ด้อยคุณภาพ เป็นนักสื่อสารสาธารณะที่ไร้คุณภาพ แล้วสังคมจะได้อะไรหรือคาดหวังอะไรได้จากการทำหน้าที่ของนักการเมือง.
อ่านบทความเรื่อง “การสื่อสารสาธารณะ” กับ “ไวยากรทางจริยธรรม” ฉบับเต็มได้ที่ http://mediatalkblog.wordpress.com/2008/04/04/public-communication
รศ.ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา อดีตคณะบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนคนสำคัญคนหนึ่งของไทย ได้เสนอหลักการเรื่อง “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication)” ไว้ในหนังสือ “ระหว่างกระจกกับตะเกียง” (หน้า 218-220) ไว้ 4 ประการ ดังนี้
1. นักสื่อสารสาธารณะ จะต้องตระหนักว่า ณ นาทีที่เขาส่งสารสาธารณะออกไปนั้น เขาคือผู้ผูกขาดการนำเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็นนั้นๆโดยไร้การแข่งขันใดๆ ดังนั้น สานของเขาควรจะเป็นอะไรที่บ่งบอกได้ว่า เขา (1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ (2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ นั้นๆ (3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุป ในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ และ (4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของ ความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน
2. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะคัดเลือกและนำเสนอสารของตนอย่างเป็นธรรม และอย่างเคารพความเที่ยงตรง โดยจะต้องซึมซับการใฝ่หาความยุติธรรมจนกลายเป็นนิสัย (habit of justice) ฉะนั้นเขาจะไม่เจาะจงตกแต่งหรือบิดเบือนความคิดตามลีลาของนักโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยการตั้งใจหรือปกปิดหรือซ่อนเร้นจุดสำคัญๆ ซึ่งผู้รับสารจำเป็นต้องทราบในอันที่จะใช้เป็นหลักในการประเมินข้อมูลและข้อ คิดเห็นของเขาได้อย่างถูกต้อง ภารกิจตลอดกาลของเขาคือการสร้างความเสมอภาคแห่งโอกาสของความคิดต่างๆ (equality of opportunity among ideas)
3. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะมีนิสัยที่ชอบตริตรอง เรื่องราวเกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ ให้มากๆ จนกระทั่งเห็นว่าเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องใหญ่โตกว่าเรื่องส่วนตัว ในกรณีที่การนำเสนอของเขาจำเป็นต้องมีมุมมองเฉพาะของตนเอง เขาควรอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเปิดเผยที่มาของข้อมูล และการก่อรูปของความคิดเห็นของตนอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งความพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบเจตนารมณ์ที่แท้จริงของตนได้ ตามหลักของความโปร่งใสด้วย
4. เต็มใจที่จะรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับของตน ทว่าในท้ายที่สุด การสื่อสารของเขาเองจะต้องไม่ยินยอมสูญเสียหลักการที่เขาเชื่อมั่นว่าได้ ผ่านการตริตรองมาเป็นอย่างดีแล้ว โดยไม่ประนีประนอมง่ายๆ นอกจากนี้ นักสื่อสารสาธารณะที่ทำงานของตนมาอย่างเต็มที่แล้ว จะต้องยินดีที่จะประจันหน้ากับการท้าทายใดๆมากกว่าการสมยอมอย่างผิดๆ
พิจารณาตามหลักการข้างต้นย่อมได้ความว่า นักสื่อสารสาธารณะไม่ได้จำกัดเฉพาะนักสื่อสารมวลชนเท่านั้น แต่รวมถึงบุคคลสาธารณะทุกประเภท ผู้บริหารของรัฐและเอกชน ข้าราชการ นักวิชาชีพต่างๆ ที่จำเป็นต้องสื่อสารข้อความทางสังคมกับสาธารณชน รวมถึงนักการเมืองด้วย
โดยเฉพาะนักการเมืองนั้น มีฐานะพิเศษกว่าบุคคลสาธารณะอื่นๆเพราะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองซึ่งมีผลต่อประชาชนทุกคน ฉะนั้น นักการเมืองจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้มี “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” มากกว่าบุคลสาธารณะอื่นๆ เพราะสิ่งที่นักการเมืองสื่อสารสู่สาธารณชนนั้นย่อมเกิดผลกระทบแก่สังคมไม่มากก็น้อย
แต่ปัญหาก็คือ นักการเมืองมี “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” มากน้อยเพียงใดในปัจจุบันนี้ คำตอบก็คือ หากยึดถือตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น ยากนักที่จะให้คะแนนนักการเมืองสอบผ่านหลักจริธรรมดังกล่าว ซึ่งผู้เขียนได้วิเคราะห์ไว้ในบทความเรื่อง “การสื่อสารสาธารณะ” กับ “ไวยากรทางจริยธรรม” เมื่อหลายปีก่อนและเห็นว่ายังมีมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยวิเคราะห์ไว้จึงขอยกข้อเคราะห์นั้นมากล่าวซ้ำในที่คือ
(1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ - ขอให้พิจารณาดู ว่า นักการเมืองไทยมีความรู้เพียงพอในเรื่องที่เขาสื่อสารออกมาหรือไม่ หากมีความรู้เพียงพอย่อมสามารถยืนยันหรือกล่าวซ้ำได้โดยไม่แปรเปลี่ยนถ้อยคำ หรือท่าทีที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งนักการเมืองไทยมักจะใช้เวลาไม่นานเลยในการเปลี่ยนแปลงคำพูดของตน
(2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ - นักการเมืองไทยมีคุณสมบัติข้อนี้หรือไม่ ซึ่งส่วนมากแล้ว นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่สนใจข้อนี้ เพราะพวกเขาพร้อมที่จะสื่อสารได้ทุกเรื่อง ทุกสถานที่ ทุกเวลา
(3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ - นักการ เมืองเคยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลหรือไม่ มีข้อสรุปในสิ่งที่ตนแสดงความคิดเห็น ซึ่งก็คือ “ความเข้าใจ” ในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริงหรือไม่ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนักการเมืองไทยทำ เพราะเขาสามารถสื่อสารในเรื่องที่ถูกถามได้ทุกเรื่องโดยทันที
(4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของ ความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆ กัน - ข้อนี้ นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่คิดและสื่อสารอะไรที่มีความซับซ้อนแบบนี้
นั่นคือสิ่งที่ผู้เขียนได้มองเห็นเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังคงดำรงอยู่ นั่นหมายความว่า หากเราต้องการเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงจากนักการเมือง อันเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินและประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนแล้ว ไม่ว่าจากฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล มีให้เห็นน้อยมาก ตัวอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ก็คือ การที่ฝ่ายรัฐบาลมุ่งโจมตีเรื่องการหนีทหารของผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องของประชาชน หรือไม่ใช่เรื่องที่เร่งด่วน ซึ่งหากจะวิพากษ์วิจารณ์จริงๆ ฝ่ายรัฐบาลควรที่จะวิพากษ์วิจารณ์จุดอ่อนการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านที่ไม่สามารถสร้างประโยชน์เป็นชิ้นเป็นอันแก่ประชาชนได้ หรือหากฝ่ายค้านจะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ก็ควรที่จะชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาล ด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เห็นได้ชัดเจน แนะแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยมุ่งที่ผลประโยชน์ของประชาชนไม่ใช่เพื่อจะโค่นล้มรัฐบาล โฆษกพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน โฆษกส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีและของผู้นำฝ่ายค้าน ควรที่จะพูดถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์โภชน์ผลของส่วนรวม ไม่ใช่พูดเรื่องส่วนตัวโจมตีกันและกัน ไม่ต่างจากการโต้วาทีที่มุ่งเอาชนะด้วยโวหารและความสะใจของทั้งผู้พูดและผู้ฟังที่เลือกข้างเชียร์ดังที่เป็นอยู่
หากเป็นดังเช่นทุกวันนี้ ก็หมายความว่า นักการเมืองที่เป็นบุคคลสาธารณะ เป็นสื่อสาธารณะ เป็นนักสื่อสารสาธารณะตามหลักการ “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ก็เป็นแค่สื่อสาธารณะที่ด้อยคุณภาพ เป็นนักสื่อสารสาธารณะที่ไร้คุณภาพ แล้วสังคมจะได้อะไรหรือคาดหวังอะไรได้จากการทำหน้าที่ของนักการเมือง.
อ่านบทความเรื่อง “การสื่อสารสาธารณะ” กับ “ไวยากรทางจริยธรรม” ฉบับเต็มได้ที่ http://mediatalkblog.wordpress.com/2008/04/04/public-communication