สำหรับคนที่พลาดผมอยากเชิญชวนให้ดูเทปรายการสภาท่าพระอาทิตย์เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาชื่อตอน “ชำแหละน้ำมันแพง..เพราะ?” ที่เชิญ พ.ท.รัฐเศรษฐ แจ้งจำรัส ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการพลังงาน วุฒิสภา กับ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา ได้น้ำได้เนื้อมากชำแหละเงื่อนปมความไม่ชอบมาพากลของระบบพลังงานไทย รับรองในความมันระดับ 5 ดาวเพราะเรื่องพลังงาน-น้ำมันแพง แก๊ซแพงนี่เป็นเรื่องใกล้ตัวแถมยังโยงกับข้ออ้างขึ้นราคาของสินค้าทั้งปวง
ความไม่ชอบมาพากลของพลังงานไทยเป็นเรื่องใหญ่มีรายละเอียดเยอะดังนั้นต้องอาศัยการนำเสนอด้วยแผนภูมิภาพตารางเห็นทั้งภาพทั้งเสียงอธิบายเป็นประเด็นๆ ไปแบบนี้แหละครับเพราะน้อยคนที่จะมีเวลาอ่านรายงานการศึกษาของอนุกรรมาธิการชุดส.ว.รสนา ที่หนาเป็นร้อยๆ หน้าแถมดีไม่ดีอาจจะงงเข้าไปใหญ่เพราะมันเยอะเกินเหตุ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ ที่อาจารย์ปานเทพแนะนำว่าอยู่เบื้องหลังและค่อนข้างปิดตัวเองมาตลอดนี่สามารถจัดลำดับมือกระบี่แถวหน้าที่เป็นของจริงคนหนึ่ง เป็นที่รู้จักในแวดวงผู้สนใจการพลังงานมานานพอสมควรทำงานร่วมกับทีมของส.ว.รสนาที่เกาะติดเรื่องการพลังงานต่อเนื่อง ตอนที่ทนายสุวัตร์ อภัยภักดิ์ ตั้งทีมศึกษาปัญหาปตท.เพื่อจะหาทางฟ้องร้องกลับคืนนั้นก็ได้ “คุณกร” นี่แหละครับช่วยสนับสนุนข้อมูลและคำอธิบาย ระดับที่ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ได้ฟังครั้งแรกยังยกนิ้วให้แถมติดใจเชื้อเชิญให้ไปบรรยายพิเศษให้กับผู้หลักผู้ใหญ่อีกหลายคน
เทปรายการวันดังกล่าวจะทำให้ท่านเห็นซึ้งถึงความฉ้อฉลบิดเบี้ยวของนโยบายและการบริหารจัดการพลังงานไทยที่เอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนบริษัทเอกชน ขุนนางข้าราชการและนักการเมืองที่เกี่ยวข้องอิ่มหมีพีมันกันบนเลือดเนื้อและน้ำตาของชาวบ้านกันแบบไหน
เมื่อก่อนเราต้องยอมฝรั่งแต่ยุคนี้เราต้องคิดใหม่ทำใหม่แล้ว...กิจการพลังงานของไทยเริ่มจากการนิยามตัวเองในฐานะผู้บริโภคที่พยายามช่วยตัวเอง ไม่มีประสบการณ์และเทคโนโลยีขุดเจาะสำรวจเงื่อนไขสัญญาทั้งหลายจึงดูจะเอาใจฝรั่งต่างชาติมาตั้งแต่ต้น การแก้พรบ.ปิโตรเลียม 2514 แต่ละรอบก็เพื่อปลดเงื่อนไขอำนวยความสะดวกให้กับบริษัทต่างชาติ ซึ่งก็ไม่แปลกหากประเทศของเรายังอยู่ในฐานะผู้บริโภคที่ไม่มีทรัพยากรของตัวเอง แต่บัดนี้สถานะของไทยไม่เหมือนเมื่อปี 2514 เรามีปิโตรเลียมและก๊าซที่ติดอันดับโลกแม้จะไม่มากพอจะใช้เองทั้งหมดแต่ระดับ 60% นี่มูลค่าเป็นล้านล้านบาทเชียวนะครับ แต่น่าเสียดายที่ระบบและกลไกการป้องกันรักษาประโยชน์ของเรากลับไม่พัฒนาตาม
มีหลายตอนที่เป็นประเด็นแหลมๆ นึกอยากตัดเป็นคลิปย่อยๆ ให้แชร์กันในโซเชี่ยลมีเดียเช่นนาทีที่ 18 บอกว่าประเทศของเรามีปัญหาที่ระบบการรับรู้ปริมาณและสถานะของน้ำมันใต้ดินของประเทศ ยอมเชื่อตามบริษัทขุดเจาะไปหมด คือให้สัมปทานเขาสำรวจเขาว่ายังไง มีมากน้อยแค่ไหนก็เชื่อตาม...ต่างจากเขมรที่จะจ้าง 2 บริษัทสำรวจก่อนว่ามีมากน้อยแค่ไหนและเพื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง 2 แหล่งเมื่อรู้ปริมาณสำรองแล้วจึงค่อยประกาศเปิดสัมปทาน
ยังมีตอนที่ไม่ควรพลาดหลายตอน เช่น นาที 28 แสดงกราฟที่น่าเจ็บปวดปริมาณก๊าซธรรมชาติที่เราผลิตได้เองมากขึ้นๆ ทุกปี เช่นเดียวกับมูลค่าที่สูงขึ้นตามตัวในสัดส่วนเดียวกันแต่กลับไม่สอดคล้องกับรายได้ที่ส่งให้รัฐที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินแสดงให้เห็นชัดเจนว่าโครงสร้างการจัดเก็บรายได้เพื่อเอาประโยชน์กลับมาสู่แผ่นดินบิดเบี้ยวเพียงใด
หรือตอนนาที 35 แสดงตารางเปรียบเทียบการจัดเก็บรายได้ขุดเจาะสำรวจน้ำมันและก๊าซของเพื่อนบ้านที่มีระบบส่วนแบ่งกำไรนอกจากค่าภาคหลวง และภาษีน้ำมัน ขณะที่ของไทยไม่เก็บส่วนแบ่งกำไร (โดยอ้างว่าเดี๋ยวต่างชาติไม่เข้ามาลงทุน ขณะที่ต่างชาติก็ยังรุมตอมทั้งพม่าและกัมพูชาทั้งๆ ที่เก็บมากกว่าไทย)
ปมปัญหาของความบิดเบี้ยวด้านการพลังงานไทยจึงทำให้คนไทยต้องแบกภาระจ่ายภาษีบวกไปในค่าน้ำมันที่เราใช้จ่ายมากกว่าประเทศอื่นๆ เพราะนโยบายที่เอื้อบริษัทเอกชนมากกว่าประชาชน
ประสบการณ์และประวัติศาสตร์บอกว่ากรณีน้ำมันนี่เราแทบเชื่อใครไม่ได้ เชื่อนักการเมืองไม่ได้ เชื่อนายทุนก็ไม่ได้ อำมาตย์ก็ยิ่งไม่ได้...ในยุครัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นี่แหละที่เกิดความบิดเบี้ยวผิดเพี้ยนหลายอย่างนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์เป็นรมว.พลังงานแก้กฏหมายพรบ.ปิโตรเลียม ปรับปรุงค่าภาคหลวงอ้างว่าปรับจากค่าคงที่ 12.5% มาเป็นขั้นบันไดที่อ้างว่าจะได้ผลคืนรัฐมากขึ้นแต่แท้จริงแล้วรายได้จัดเก็บเฉลี่ยก็ยังอยู่ที่ประมาณ 12% เช่นเดิม ปมสำคัญคือเพิ่มอำนาจให้กับรัฐมนตรีกับอธิบดีอนุมัติสัมปทาน-แก้สัมปทานเบ็ดเสร็จ ปลดล็อกเงื่อนไขให้เพดานเอกชนแต่ละรายห้ามได้สัมปทานเกิน 4-5 แปลงกลายเป็นไม่จำกัดแปลงและจำกัดพื้นที่ และได้เปิดสัมปทานสำรวจขุดเจาะครั้งใหญ่ในยุคนี้อีกต่างหาก
จะรัฐบาลนายทุนนักการเมืองหรืออำมาตย์ก็ครือกั๋น !
มีแต่ประชาชนเท่านั้นที่จะช่วยตนเองได้ อย่าหวังกับพรรคการเมืองเลยครับ ยิ่งข้าราชการยิ่งแล้วใหญ่เพราะตัวใหญ่ๆ ในกระทรวงพลังงานและในหน่วยงานกำกับทั้งหลายที่ควรจะดูแลผลประโยชน์ให้กับประชาชนกลับไปนั่งกินเบี้ยเลี้ยงกินตำแหน่งในบอร์ดปตท. ทั้งรายได้ทั้งงบประมาณใหญ่บะเริ่มเทิ่มยิ่งกว่ารัฐมนตรีอีกหลายกระทรวงเสียอีก
ดังที่กล่าวไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วครับว่าการจะทำให้การพลังงานวางอยู่บนผลประโยชน์ของชาติและประชาชนส่วนรวมจริงๆ ต้องปรับแก้กันยกใหญ่ในระดับโครงสร้างซึ่งอาจเรียกว่า “ปฏิรูปการพลังงาน” ที่ครอบคลุมตั้งแต่ประเด็นการจัดแบ่งรายได้ที่เป็นธรรม กระจายผลประโยชน์จากการพลังงานให้กับประชาชนส่วนใหญ่ให้ได้มากที่สุด ปรับแก้กลไกข้อกฏหมาย ตลอดถึงนโยบาย ซึ่งหนทางหนึ่งก็คือการเสนอให้บรรจุเพิ่มลงในรัฐธรรมนูญ
ส.ว.คำนูณ สิทธิสมานเพิ่งเขียนในบทความล่าสุดว่า จะแปรญัตติเพิ่มข้อความในมาตรา 291 ในประเด็นการนิยามปิโตรเลียมว่า “กำหนดให้ทรัพยากรแร่และปิโตรเลี่ยมเป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าว ซึ่งต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ และต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน”
ช่องทางนี้จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นกับกระแสเรียกร้องของประชาชนทั้งปวงเข้ามาร่วมผลักดันด้วย อย่างไรเสียปัญหาปิโตรเลียมเป็นเรื่องส่วนรวม ทุกคนต้องใช้น้ำมันใช้แก๊สที่แพงกว่าเพื่อนบ้านโดยรอบ มันน่าตลกมั้ยล่ะพม่าต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากมาเลเซียแต่สามารถขายได้แค่ลิตรละ 20 กว่าบาทแต่ของเราผลิตเองได้แถมมีโรงกลั่นเพื่อการส่งออกกลับแพงกว่าถึงเกือบเท่าตัว เห็นด้วยกับคุณกรที่ว่าหากการจัดการภายใต้ระบบกลไกโหล่ยโท่ยเช่นนี้มิสู้เก็บทรัพยากรของเราไว้ใต้ดินเหมือนเดิมไว้ให้ลูกหลานใช้แล้วนำเข้าจากมาเลเซียไม่ดีกว่าเรอะ !!?
ถ้าประชาชนไม่ช่วยกันเรียกร้อง เป็นไปไม่ได้หรอกครับที่จะเกิดการปฏิรูปการพลังงานให้วางอยู่บนผลประโยชน์ของชาติและประชาชนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง!
ความไม่ชอบมาพากลของพลังงานไทยเป็นเรื่องใหญ่มีรายละเอียดเยอะดังนั้นต้องอาศัยการนำเสนอด้วยแผนภูมิภาพตารางเห็นทั้งภาพทั้งเสียงอธิบายเป็นประเด็นๆ ไปแบบนี้แหละครับเพราะน้อยคนที่จะมีเวลาอ่านรายงานการศึกษาของอนุกรรมาธิการชุดส.ว.รสนา ที่หนาเป็นร้อยๆ หน้าแถมดีไม่ดีอาจจะงงเข้าไปใหญ่เพราะมันเยอะเกินเหตุ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ ที่อาจารย์ปานเทพแนะนำว่าอยู่เบื้องหลังและค่อนข้างปิดตัวเองมาตลอดนี่สามารถจัดลำดับมือกระบี่แถวหน้าที่เป็นของจริงคนหนึ่ง เป็นที่รู้จักในแวดวงผู้สนใจการพลังงานมานานพอสมควรทำงานร่วมกับทีมของส.ว.รสนาที่เกาะติดเรื่องการพลังงานต่อเนื่อง ตอนที่ทนายสุวัตร์ อภัยภักดิ์ ตั้งทีมศึกษาปัญหาปตท.เพื่อจะหาทางฟ้องร้องกลับคืนนั้นก็ได้ “คุณกร” นี่แหละครับช่วยสนับสนุนข้อมูลและคำอธิบาย ระดับที่ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ ได้ฟังครั้งแรกยังยกนิ้วให้แถมติดใจเชื้อเชิญให้ไปบรรยายพิเศษให้กับผู้หลักผู้ใหญ่อีกหลายคน
เทปรายการวันดังกล่าวจะทำให้ท่านเห็นซึ้งถึงความฉ้อฉลบิดเบี้ยวของนโยบายและการบริหารจัดการพลังงานไทยที่เอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนบริษัทเอกชน ขุนนางข้าราชการและนักการเมืองที่เกี่ยวข้องอิ่มหมีพีมันกันบนเลือดเนื้อและน้ำตาของชาวบ้านกันแบบไหน
เมื่อก่อนเราต้องยอมฝรั่งแต่ยุคนี้เราต้องคิดใหม่ทำใหม่แล้ว...กิจการพลังงานของไทยเริ่มจากการนิยามตัวเองในฐานะผู้บริโภคที่พยายามช่วยตัวเอง ไม่มีประสบการณ์และเทคโนโลยีขุดเจาะสำรวจเงื่อนไขสัญญาทั้งหลายจึงดูจะเอาใจฝรั่งต่างชาติมาตั้งแต่ต้น การแก้พรบ.ปิโตรเลียม 2514 แต่ละรอบก็เพื่อปลดเงื่อนไขอำนวยความสะดวกให้กับบริษัทต่างชาติ ซึ่งก็ไม่แปลกหากประเทศของเรายังอยู่ในฐานะผู้บริโภคที่ไม่มีทรัพยากรของตัวเอง แต่บัดนี้สถานะของไทยไม่เหมือนเมื่อปี 2514 เรามีปิโตรเลียมและก๊าซที่ติดอันดับโลกแม้จะไม่มากพอจะใช้เองทั้งหมดแต่ระดับ 60% นี่มูลค่าเป็นล้านล้านบาทเชียวนะครับ แต่น่าเสียดายที่ระบบและกลไกการป้องกันรักษาประโยชน์ของเรากลับไม่พัฒนาตาม
มีหลายตอนที่เป็นประเด็นแหลมๆ นึกอยากตัดเป็นคลิปย่อยๆ ให้แชร์กันในโซเชี่ยลมีเดียเช่นนาทีที่ 18 บอกว่าประเทศของเรามีปัญหาที่ระบบการรับรู้ปริมาณและสถานะของน้ำมันใต้ดินของประเทศ ยอมเชื่อตามบริษัทขุดเจาะไปหมด คือให้สัมปทานเขาสำรวจเขาว่ายังไง มีมากน้อยแค่ไหนก็เชื่อตาม...ต่างจากเขมรที่จะจ้าง 2 บริษัทสำรวจก่อนว่ามีมากน้อยแค่ไหนและเพื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง 2 แหล่งเมื่อรู้ปริมาณสำรองแล้วจึงค่อยประกาศเปิดสัมปทาน
ยังมีตอนที่ไม่ควรพลาดหลายตอน เช่น นาที 28 แสดงกราฟที่น่าเจ็บปวดปริมาณก๊าซธรรมชาติที่เราผลิตได้เองมากขึ้นๆ ทุกปี เช่นเดียวกับมูลค่าที่สูงขึ้นตามตัวในสัดส่วนเดียวกันแต่กลับไม่สอดคล้องกับรายได้ที่ส่งให้รัฐที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินแสดงให้เห็นชัดเจนว่าโครงสร้างการจัดเก็บรายได้เพื่อเอาประโยชน์กลับมาสู่แผ่นดินบิดเบี้ยวเพียงใด
หรือตอนนาที 35 แสดงตารางเปรียบเทียบการจัดเก็บรายได้ขุดเจาะสำรวจน้ำมันและก๊าซของเพื่อนบ้านที่มีระบบส่วนแบ่งกำไรนอกจากค่าภาคหลวง และภาษีน้ำมัน ขณะที่ของไทยไม่เก็บส่วนแบ่งกำไร (โดยอ้างว่าเดี๋ยวต่างชาติไม่เข้ามาลงทุน ขณะที่ต่างชาติก็ยังรุมตอมทั้งพม่าและกัมพูชาทั้งๆ ที่เก็บมากกว่าไทย)
ปมปัญหาของความบิดเบี้ยวด้านการพลังงานไทยจึงทำให้คนไทยต้องแบกภาระจ่ายภาษีบวกไปในค่าน้ำมันที่เราใช้จ่ายมากกว่าประเทศอื่นๆ เพราะนโยบายที่เอื้อบริษัทเอกชนมากกว่าประชาชน
ประสบการณ์และประวัติศาสตร์บอกว่ากรณีน้ำมันนี่เราแทบเชื่อใครไม่ได้ เชื่อนักการเมืองไม่ได้ เชื่อนายทุนก็ไม่ได้ อำมาตย์ก็ยิ่งไม่ได้...ในยุครัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นี่แหละที่เกิดความบิดเบี้ยวผิดเพี้ยนหลายอย่างนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์เป็นรมว.พลังงานแก้กฏหมายพรบ.ปิโตรเลียม ปรับปรุงค่าภาคหลวงอ้างว่าปรับจากค่าคงที่ 12.5% มาเป็นขั้นบันไดที่อ้างว่าจะได้ผลคืนรัฐมากขึ้นแต่แท้จริงแล้วรายได้จัดเก็บเฉลี่ยก็ยังอยู่ที่ประมาณ 12% เช่นเดิม ปมสำคัญคือเพิ่มอำนาจให้กับรัฐมนตรีกับอธิบดีอนุมัติสัมปทาน-แก้สัมปทานเบ็ดเสร็จ ปลดล็อกเงื่อนไขให้เพดานเอกชนแต่ละรายห้ามได้สัมปทานเกิน 4-5 แปลงกลายเป็นไม่จำกัดแปลงและจำกัดพื้นที่ และได้เปิดสัมปทานสำรวจขุดเจาะครั้งใหญ่ในยุคนี้อีกต่างหาก
จะรัฐบาลนายทุนนักการเมืองหรืออำมาตย์ก็ครือกั๋น !
มีแต่ประชาชนเท่านั้นที่จะช่วยตนเองได้ อย่าหวังกับพรรคการเมืองเลยครับ ยิ่งข้าราชการยิ่งแล้วใหญ่เพราะตัวใหญ่ๆ ในกระทรวงพลังงานและในหน่วยงานกำกับทั้งหลายที่ควรจะดูแลผลประโยชน์ให้กับประชาชนกลับไปนั่งกินเบี้ยเลี้ยงกินตำแหน่งในบอร์ดปตท. ทั้งรายได้ทั้งงบประมาณใหญ่บะเริ่มเทิ่มยิ่งกว่ารัฐมนตรีอีกหลายกระทรวงเสียอีก
ดังที่กล่าวไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วครับว่าการจะทำให้การพลังงานวางอยู่บนผลประโยชน์ของชาติและประชาชนส่วนรวมจริงๆ ต้องปรับแก้กันยกใหญ่ในระดับโครงสร้างซึ่งอาจเรียกว่า “ปฏิรูปการพลังงาน” ที่ครอบคลุมตั้งแต่ประเด็นการจัดแบ่งรายได้ที่เป็นธรรม กระจายผลประโยชน์จากการพลังงานให้กับประชาชนส่วนใหญ่ให้ได้มากที่สุด ปรับแก้กลไกข้อกฏหมาย ตลอดถึงนโยบาย ซึ่งหนทางหนึ่งก็คือการเสนอให้บรรจุเพิ่มลงในรัฐธรรมนูญ
ส.ว.คำนูณ สิทธิสมานเพิ่งเขียนในบทความล่าสุดว่า จะแปรญัตติเพิ่มข้อความในมาตรา 291 ในประเด็นการนิยามปิโตรเลียมว่า “กำหนดให้ทรัพยากรแร่และปิโตรเลี่ยมเป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าว ซึ่งต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ และต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน”
ช่องทางนี้จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นกับกระแสเรียกร้องของประชาชนทั้งปวงเข้ามาร่วมผลักดันด้วย อย่างไรเสียปัญหาปิโตรเลียมเป็นเรื่องส่วนรวม ทุกคนต้องใช้น้ำมันใช้แก๊สที่แพงกว่าเพื่อนบ้านโดยรอบ มันน่าตลกมั้ยล่ะพม่าต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากมาเลเซียแต่สามารถขายได้แค่ลิตรละ 20 กว่าบาทแต่ของเราผลิตเองได้แถมมีโรงกลั่นเพื่อการส่งออกกลับแพงกว่าถึงเกือบเท่าตัว เห็นด้วยกับคุณกรที่ว่าหากการจัดการภายใต้ระบบกลไกโหล่ยโท่ยเช่นนี้มิสู้เก็บทรัพยากรของเราไว้ใต้ดินเหมือนเดิมไว้ให้ลูกหลานใช้แล้วนำเข้าจากมาเลเซียไม่ดีกว่าเรอะ !!?
ถ้าประชาชนไม่ช่วยกันเรียกร้อง เป็นไปไม่ได้หรอกครับที่จะเกิดการปฏิรูปการพลังงานให้วางอยู่บนผลประโยชน์ของชาติและประชาชนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง!