ข่าวชิ้นหนึ่งของโพสต์ทูเดย์ฉบับ 2 มีนาคมที่ผ่านมาจั่วหัวให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า “มท.ตื่นกระแสยุบผู้ว่าฯ จ่อเสวนายุบ-ไม่ยุบปกครองส่วนภูมิภาค” เนื้อข่าวอ้างถึงนายประชา เตรัตน์รองปลัดกระทรวงมหาดไทยบอกว่าเนื่องในโอกาสครบ 150 ปีวันประสูติกรมพระยาดำรงฯ และ 50 ปีกระทรวงมหาดไทยจะจัดสัมมนาใหญ่ 4 ภูมิภาคถกเถียงและรับฟังความเห็นกรณีมีกระแสเรียกร้องจากภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมากที่เสนอให้ยุบการปกครองส่วนภูมิภาคลงไป และให้อำนาจเต็มกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่น่าสนใจในเนื้อข่าวคือทัศนะของรองปลัดกระทรวงที่บอกว่า “ความเห็นผมก็คือหากยุบการปกครองส่วนภูมิภาค ก็ต้องยุบกระทรวงมหาดไทยไปเลย”
หากฟังเผินๆ แค่บรรทัดเดียวเหมือนรองปลัดท่านนี้ออกหมัดหนักที่น่าตื่นเต้นเอาการอยู่ ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ถึงขั้นนั้นดอกครับเพราะคำพูดบรรทัดต่อไปของรองปลัดกระทรวงท่านนี้อธิบายต่อว่า
“แต่การปกครองทุกรูปแบบในโลกต้องมีการปรับเข้ากับยุคสมัยอยู่แล้ว ซึ่งก็แน่นอนในอนาคตการปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับบทบาทของการปกครองส่วนภูมิภาคภายใต้ผู้ว่าราชการจังหวัดก็จะลดน้อยลงเช่นเดียวกัน แต่เราต้องรับฟังความคิดเห็นร่วมกันว่าจุดกึ่งกลางจะอยู่ตรงไหน หรือจะให้ยุบการปกครองส่วนภูมิภาคไปเลย ซึ่งการจัดเวทีนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะนำเหตุผลของทุกฝ่ายมาหักล้างกัน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยเงียบมานาน จึงถึงเวลาแล้วที่จะรับฟังความคิดเห็นของสังคมเสียที”
กระแสเรียกร้องการปกครองตนเองโดยนัยคือปฏิรูปโครงสร้างอำนาจโดยกระบวนการกระจายอำนาจครั้งใหญ่ทางหนึ่งก็น่า “ตื่น” อยู่พอสมควรเพราะมันขยายวงไล่จากจังหวัดไปสู่อีกจังหวัดกลายเป็นกระแสที่ไม่อาจมองข้ามที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด ท่านที่อยู่ในเมืองหลวงคงไม่ได้สัมผัสเรื่องเหล่านี้นักแต่สำหรับคนที่อยู่ในต่างจังหวัดหรือมีส่วนรับรู้เรื่องราวในต่างจังหวัดแบบผมสัมผัสเองโดยตรงขอยืนยันว่าคึกคักมาก จากใต้สุดขึ้นมาเหนือสุดไปถึงภาคอีสาน
ก็สมควรอยู่ที่มหาดไทยจะ “ตื่นกระแส” เหมือนกับที่โพสต์ทูเดย์จั่วหัวข่าว แต่อีกทางหนึ่งก็เป็นไปตามที่รองปลัดอธิบายนั่นแหละว่าการปกครองทุกรูปในโลกต้องปรับตัวเข้ากับยุคสมัยดังนั้นท่านผู้เกี่ยวข้องจะ “ตื่น” กันยังไงก็ไม่จำเป็นต้อง “ตกใจ” หรือ “ตื่นตูม” เกินเหตุ
ทราบมาว่าในช่วงแรกๆ ที่คณะผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจจัดการตนเองเริ่มจัดประชุมสัมมนาผลักดันแนวคิดมีผู้ที่ไม่ไว้วางใจคณะเคลื่อนไหวอยู่พอสมควรไปจัดที่ใต้แถวปัตตานีก็ถูกเชื่อมไปถึงการแยกดินแดน ไปจัดที่เชียงใหม่มีแกนนำเสื้อแดงเข้ามาร่วมอยู่บ้างบางท่านโยงไปถึงการยกระดับหมู่บ้านเสื้อแดงทั้งๆ ที่คนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีทุกสีทุกฝ่าย จะว่าไปหลายคนที่ทำงานเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนมีกีฬาสีเสียอีก
ผมเห็นว่ากระทรวงมหาดไทยตื่นตัวและจัดสัมมนาถกเรื่องนี้เป็นเรื่องดีครับ ดีกว่าปล่อยให้พูดหรือทำกันคนละหนุบหนับ อย่างไรก็ตามโดยเบื้องต้นผมยังเห็นแย้งกับรองปลัดประชา เตรัตน์ ที่ว่าถ้าให้ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้ยุบกระทรวงมหาดไทยไปเลย เพราะมันดูเป็นการประชดมากกว่าความเห็นบนข้อเท็จจริงและทำให้คนที่อ่านไขว้เขว
แนวคิดการจัดการตนเองที่กำลังเคลื่อนไหวพื้นที่ต่างๆ แท้จริงแล้วเป็นเรื่องเดียวกันกับข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปชุดหมอประเวศ-อานันท์ ปันยารชุน ซึ่งเขาได้ทำเอกสารสรุปเป็นพ็อกเก็ตบุ้คเล่มสีส้มด้วยภาษาที่อ่านไม่ยาก โดยสรุปคือชี้ว่าการปรับรื้อโครงสร้างอำนาจบริหารราชการเสียใหม่ไม่ให้กระจุกอยู่ที่กระทรวงแต่ให้กระจายออกให้มากกว่าที่เป็นอยู่จะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและโดยเฉพาะการเมือง คนที่ร่วมร่างข้อเสนอและเห็นด้วยกับการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจคนหนึ่งชื่อว่าพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยนั่นเอง
ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช เคยเขียนบทความหนึ่งชื่อ “กระจายอำนาจคือคำตอบ” ซึ่งนี่ไม่ใช่ชิ้นแรกและชิ้นเดียวที่เขียนทำนองนี้ คนในแวดวงที่ผลักดันจัดหวัดจัดการตนเองเขาก็มีความคิดตรงกันว่าการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจโดยการกระจายอำนาจครั้งใหญ่คือหนทางสว่างแก้ปัญหาการเมืองไทยได้ในระดับสำคัญ
การรณรงค์กระจายอำนาจแบบที่กำลังดำเนินอยู่จึงไม่ใช่แค่เสนอยุบการบริราชการส่วนภูมิภาค(โดยปริยาย) และเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดเองที่มีผลแค่อำนาจของผู้ว่าฯและกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น หากแต่หมายถึงอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินที่กระจุกอยู่ในส่วนกลางให้ระดับอธิบดีขึ้นไปเซ็นลงนามรวมไปถึงอำนาจทั้งหลายในแผ่นดินกระจุกอยู่ที่ตัวรัฐมนตรีเพียงกระจุกเดียว
ปัจจุบันผลประโยชน์โภชน์ผลงบประมาณ การแต่งตั้งโยกย้าย การอนุมัติ-ยกเลิก การทำโครงการต่างๆ ที่ใช้เงินล้วนก็คือ “อำนาจ” และเชื่อไหมครับว่า อำนาจที่เป็นเงินเป็นทองส่วนใหญ่อยู่ที่ส่วนกลางทั้งสิ้น ไม่ว่าการให้มีสัมปทานเหมืองหิน ขุดแร่ ขุดทราย โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางขึ้นไป เส้นทางเดินรถ ฯลฯ ล้วนแต่อยู่ส่วนกลาง
ถ้าลองตัดอำนาจเหล่านี้รวมทั้งงบประมาณดำเนินโครงการจัดซื้อจัดจ้างทำถนน สร้างโรงเรียนและการโยกย้ายทั้งหลายมาอยู่ที่ท้องถิ่น รัฐมนตรีก็จะเหลืออำนาจอะไร และพรรคการเมืองจะซื้อเสียงฟาดฟันกันเพื่อส่งคนไปนั่งคุมงบประมาณไม่มาก งบพัฒนาแทบไม่มี อำนาจโยกย้ายไม่เหลือกันไปทำไม ???
พรรคการเมืองที่แย่งกันแทบเป็นแทบตายที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็เพื่ออำนาจสูงสุดที่กระจุกอยู่ที่ส่วนกลาง ความชั่วร้ายการวิ่งเต้นคดโกงประดามีจึงวิ่งไปกระจุกอยู่กับระบบส่วนกลาง มีเรื่องเล่ากันในแวดวงการเมืองใครเป็นรัฐมนตรีไม่ต้องโกงทวนน้ำอะไรนักหนาแค่นั่งเฉยๆ ส่วนแบ่งมันก็ไหลมาตามระบบ ผมเคยได้ยินกับหูจากผู้เกี่ยวข้องว่าการได้ใบอนุญาตสร้างอาคารโรงงานอุตสาหกรรมใหม่แห่งหนึ่งถูกต้องทุกอย่างแต่จำเป็นต้องมีจ่ายให้เป็นสินน้ำใจ “ตามระบบ” จำนวน xxx แสนบาท
งบประมาณแผ่นดินปีหนึ่งๆ กระจุกอยู่กับอำนาจส่วนกลางทั้งสิ้นแม้กระทั่งงบอุดหนุนท้องถิ่นก็ยังเป็นอำนาจของรัฐมนตรีมหาดไทยถืออยู่เพื่อจะได้เป็นบุญเป็นคุณกับองค์การปกครองท้องถิ่น เรากระจายอำนาจกันมาหลายปีแต่พรรคการเมืองและมหาดไทยก็ยังคุมงบประมาณส่วนใหญ่ของท้องถิ่นไว้ อำนาจส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่อยู่ในสังกัดมหาดไทยก็เช่นกัน สังเกตเถิดครับไอ้ประเภทใบอนุญาต หรือใบสั่งฟันยกเลิกอะไรที่เป็นเงินเป็นทองแบบนี้ล้วนอยู่ที่อธิบดีหมด แล้วเราจะมีหัวหน้าส่วนจังหวัดหรือเขตไปให้เปลืองงบประมาณทำไม
ดังนั้นการกระจายอำนาจรอบใหม่ที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่จึงไม่ใช่การเรียกร้องเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงเหมือนเมื่อช่วงปี 33-38 ซึ่งจำกัดวงอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย แต่หมายถึง การดึงหรือจัดสรรเอาอำนาจบริหารราชการรวมถึงงบประมาณจากกระทรวงกรมต่างๆ เกลี่ยมาไว้ในท้องถิ่นเพื่อให้สามารถบริหารจัดการตนเองได้ดียิ่งขึ้น
งานส่วนไหนที่ระบบบริหารราชการส่วนกลางยังคงต้องมีก็มีอยู่คงเดิม ผมจึงทะแม่งๆ กับคำสัมภาษณ์ของรองปลัดฯที่ว่าถ้างั้นยุบมหาดไทยไปเลยเพราะมันค่อนข้างไปไกลเกิน เพราะภารกิจงานของกระทรวงมหาดไทยไม่ได้จำกัดอยู่แค่กรมการปกครองเท่านั้น สิ่งที่จะกระทบจริงๆ คือตำแหน่งรองผู้ว่าฯ ผู้ว่าฯ และปริมาณคนมหาศาลที่อยู่ในอำเภอทั่วประเทศซึ่งหากวันนั้นมาถึงคนมหาดไทยก็ต้องทำใจยอมรับเพราะปัจจุบันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดเองก็แทบไม่มีอำนาจสั่งการอะไรใครได้
อย่างเช่นผู้ว่าเชียงใหม่ฯคนปัจจุบันก็ต้องยอมรับว่าท่านก็เอางานเอาการอยู่หากแต่เอางานเอาการแค่ไหนแต่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของความไร้ซึ่งอำนาจ เดือนตุลาฯ ผู้ว่าฯเริ่มให้ข่าวขอความร่วมมือประชาชนห้ามเผาในที่โล่งป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศต่อให้พูดในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดที่จัดทุกสิ้นเดือนก็เถอะมีใครทำตามบ้าง คำแถลงของผู้ว่าฯจึงเป็นเหมือนควันไฟลอยตามลมสั่งการราชการส่วนใดก็ไม่ได้ บูรณาการประเภทมีศูนย์รับแจ้งเหตุ ที่พร้อมส่งหน่วยดับเพลิงและเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าหน้าที่ปกครองไปว่ากล่าวตักเตือนดำเนินคดีก็ไม่มีจริงในทางปฏิบัติ ผู้ว่าฯจึงเป็นแค่ผู้ประกาศตามพิธีกรรมราชการเมื่อถึงหน้าหนาวก็พยายามใช้งบประมาณโดยการประกาสพื้นที่ภัยหนาวทั้งๆ มันไม่ได้หนาวยาวนาน 3 วัน 5 วันคลื่นหนาวก็หาย แต่พอมีภัยพิบัติหมอกควันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้คนเป็นล้านๆ ของจริงกลไกผู้ว่าฯและการบริหารราชการส่วนภูมิภาคแทบเป็นง่อยทำอะไรไม่ได้เลย จะเห็นแต่หน่วยงานปกครองท้องถิ่นบางแห่งเท่านั้นที่พยายามช่วยตัวเองโดยการพ่นฉีดน้ำลดผลกระทบและสร้างความชื้น (ซึ่งก็ไม่เพียงพอ)
เมื่อ 100 กว่าปีก่อนตอนที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองรวบอำนาจเข้าส่วนกลางนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สอดคล้องกับภาวะเปลี่ยนแปลงของโลกยุคอาณานิคม ถ้าไม่ทำล้านนา อีสาน ใต้ คงเสร็จมหาอำนาจตะวันตกดีไม่ดีสยามทั้งประเทศคงเสร็จมหาอำนาจตะวันตกไปหมด การปฏิรูปจัดมณฑลเทศภิบาล จังหวัด อำเภอเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของประเทศ แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป 100 กว่าปี รูปแบบการบริหารแผ่นดินพื้นฐานที่เป็นมา 100 กว่าปีมันไม่เพียงพอต่อการตอบสนองข้อปัญหาและข้อเท็จจริง ก็ถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามที่รองปลัดฯพูดไว้นั่นแหละ ไม่มีการปกครองรูปแบบใดในโลกที่ไม่เปลี่ยนแปลง มันต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ดังนั้นผมไม่อยากให้คนมหาดไทยหรือท่านรองปลัดฯ นึกน้อยใจทำนองประชดว่าถ้างั้นก็ยุบมหาดไทยไปเลย ไม่ถึงขั้นนั้นหรอกครับหลายประเทศที่มีรูปแบบบริหารราชการแบบท้องถิ่นเต็มรูปแบบก็ยังมี Ministry of Interior ในส่วนของรัฐบาลกลาง และที่สำคัญนี่ไม่ใช่เรื่องของคนต่างจังหวัดมาประกาศยื้อแย่งอำนาจจากมหาดไทย
ผิดเลยครับไม่ได้ยื้ออำนาจจากมหาดไทย แต่เราต้องการแบ่งปันอำนาจที่รัฐมนตรีและกระทรวงทบวงกรมส่วนกลางดึงไปนั่งทับเสวยโภคผลกลับมาเพื่อให้สามารถดำเนินการปกครอง-แก้ปัญหาและพัฒนาตนเองได้อย่างพอสมควรเป็นการจัดการยกระดับการปกครองตนเองที่มีประสิทธิภาพขึ้น
และหากเป็นเช่นนั้นจริงจะถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหายกระดับการดูแลทุกข์สุขให้กับประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ได้อาศัยในกรุงเทพฯ ให้สิทิ์ให้เสียงในการจัดการตนเองมากขึ้น
ที่สำคัญ...นอกจากแล้วยังมีผลต่อการจัดระเบียบโครงสร้างอำนาจการเมืองครั้งสำคัญไปพร้อมกันด้วย คนหรือพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งไปเป็นรัฐบาลจะไม่สามารถ “กินรวบประเทศไทย” ได้อีกต่อไป !
ไม่ว่าคนๆ นั้นจะใช้นามสกุลชินวัตรหรือนามสกุลไหน ไม่ว่าจะมาจากพรรคเพื่อไทยหรือประชาธิปัตย์ !!!
ที่น่าสนใจในเนื้อข่าวคือทัศนะของรองปลัดกระทรวงที่บอกว่า “ความเห็นผมก็คือหากยุบการปกครองส่วนภูมิภาค ก็ต้องยุบกระทรวงมหาดไทยไปเลย”
หากฟังเผินๆ แค่บรรทัดเดียวเหมือนรองปลัดท่านนี้ออกหมัดหนักที่น่าตื่นเต้นเอาการอยู่ ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ถึงขั้นนั้นดอกครับเพราะคำพูดบรรทัดต่อไปของรองปลัดกระทรวงท่านนี้อธิบายต่อว่า
“แต่การปกครองทุกรูปแบบในโลกต้องมีการปรับเข้ากับยุคสมัยอยู่แล้ว ซึ่งก็แน่นอนในอนาคตการปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับบทบาทของการปกครองส่วนภูมิภาคภายใต้ผู้ว่าราชการจังหวัดก็จะลดน้อยลงเช่นเดียวกัน แต่เราต้องรับฟังความคิดเห็นร่วมกันว่าจุดกึ่งกลางจะอยู่ตรงไหน หรือจะให้ยุบการปกครองส่วนภูมิภาคไปเลย ซึ่งการจัดเวทีนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะนำเหตุผลของทุกฝ่ายมาหักล้างกัน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยเงียบมานาน จึงถึงเวลาแล้วที่จะรับฟังความคิดเห็นของสังคมเสียที”
กระแสเรียกร้องการปกครองตนเองโดยนัยคือปฏิรูปโครงสร้างอำนาจโดยกระบวนการกระจายอำนาจครั้งใหญ่ทางหนึ่งก็น่า “ตื่น” อยู่พอสมควรเพราะมันขยายวงไล่จากจังหวัดไปสู่อีกจังหวัดกลายเป็นกระแสที่ไม่อาจมองข้ามที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด ท่านที่อยู่ในเมืองหลวงคงไม่ได้สัมผัสเรื่องเหล่านี้นักแต่สำหรับคนที่อยู่ในต่างจังหวัดหรือมีส่วนรับรู้เรื่องราวในต่างจังหวัดแบบผมสัมผัสเองโดยตรงขอยืนยันว่าคึกคักมาก จากใต้สุดขึ้นมาเหนือสุดไปถึงภาคอีสาน
ก็สมควรอยู่ที่มหาดไทยจะ “ตื่นกระแส” เหมือนกับที่โพสต์ทูเดย์จั่วหัวข่าว แต่อีกทางหนึ่งก็เป็นไปตามที่รองปลัดอธิบายนั่นแหละว่าการปกครองทุกรูปในโลกต้องปรับตัวเข้ากับยุคสมัยดังนั้นท่านผู้เกี่ยวข้องจะ “ตื่น” กันยังไงก็ไม่จำเป็นต้อง “ตกใจ” หรือ “ตื่นตูม” เกินเหตุ
ทราบมาว่าในช่วงแรกๆ ที่คณะผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจจัดการตนเองเริ่มจัดประชุมสัมมนาผลักดันแนวคิดมีผู้ที่ไม่ไว้วางใจคณะเคลื่อนไหวอยู่พอสมควรไปจัดที่ใต้แถวปัตตานีก็ถูกเชื่อมไปถึงการแยกดินแดน ไปจัดที่เชียงใหม่มีแกนนำเสื้อแดงเข้ามาร่วมอยู่บ้างบางท่านโยงไปถึงการยกระดับหมู่บ้านเสื้อแดงทั้งๆ ที่คนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีทุกสีทุกฝ่าย จะว่าไปหลายคนที่ทำงานเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนมีกีฬาสีเสียอีก
ผมเห็นว่ากระทรวงมหาดไทยตื่นตัวและจัดสัมมนาถกเรื่องนี้เป็นเรื่องดีครับ ดีกว่าปล่อยให้พูดหรือทำกันคนละหนุบหนับ อย่างไรก็ตามโดยเบื้องต้นผมยังเห็นแย้งกับรองปลัดประชา เตรัตน์ ที่ว่าถ้าให้ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้ยุบกระทรวงมหาดไทยไปเลย เพราะมันดูเป็นการประชดมากกว่าความเห็นบนข้อเท็จจริงและทำให้คนที่อ่านไขว้เขว
แนวคิดการจัดการตนเองที่กำลังเคลื่อนไหวพื้นที่ต่างๆ แท้จริงแล้วเป็นเรื่องเดียวกันกับข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปชุดหมอประเวศ-อานันท์ ปันยารชุน ซึ่งเขาได้ทำเอกสารสรุปเป็นพ็อกเก็ตบุ้คเล่มสีส้มด้วยภาษาที่อ่านไม่ยาก โดยสรุปคือชี้ว่าการปรับรื้อโครงสร้างอำนาจบริหารราชการเสียใหม่ไม่ให้กระจุกอยู่ที่กระทรวงแต่ให้กระจายออกให้มากกว่าที่เป็นอยู่จะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและโดยเฉพาะการเมือง คนที่ร่วมร่างข้อเสนอและเห็นด้วยกับการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจคนหนึ่งชื่อว่าพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยนั่นเอง
ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช เคยเขียนบทความหนึ่งชื่อ “กระจายอำนาจคือคำตอบ” ซึ่งนี่ไม่ใช่ชิ้นแรกและชิ้นเดียวที่เขียนทำนองนี้ คนในแวดวงที่ผลักดันจัดหวัดจัดการตนเองเขาก็มีความคิดตรงกันว่าการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจโดยการกระจายอำนาจครั้งใหญ่คือหนทางสว่างแก้ปัญหาการเมืองไทยได้ในระดับสำคัญ
การรณรงค์กระจายอำนาจแบบที่กำลังดำเนินอยู่จึงไม่ใช่แค่เสนอยุบการบริราชการส่วนภูมิภาค(โดยปริยาย) และเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดเองที่มีผลแค่อำนาจของผู้ว่าฯและกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น หากแต่หมายถึงอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินที่กระจุกอยู่ในส่วนกลางให้ระดับอธิบดีขึ้นไปเซ็นลงนามรวมไปถึงอำนาจทั้งหลายในแผ่นดินกระจุกอยู่ที่ตัวรัฐมนตรีเพียงกระจุกเดียว
ปัจจุบันผลประโยชน์โภชน์ผลงบประมาณ การแต่งตั้งโยกย้าย การอนุมัติ-ยกเลิก การทำโครงการต่างๆ ที่ใช้เงินล้วนก็คือ “อำนาจ” และเชื่อไหมครับว่า อำนาจที่เป็นเงินเป็นทองส่วนใหญ่อยู่ที่ส่วนกลางทั้งสิ้น ไม่ว่าการให้มีสัมปทานเหมืองหิน ขุดแร่ ขุดทราย โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางขึ้นไป เส้นทางเดินรถ ฯลฯ ล้วนแต่อยู่ส่วนกลาง
ถ้าลองตัดอำนาจเหล่านี้รวมทั้งงบประมาณดำเนินโครงการจัดซื้อจัดจ้างทำถนน สร้างโรงเรียนและการโยกย้ายทั้งหลายมาอยู่ที่ท้องถิ่น รัฐมนตรีก็จะเหลืออำนาจอะไร และพรรคการเมืองจะซื้อเสียงฟาดฟันกันเพื่อส่งคนไปนั่งคุมงบประมาณไม่มาก งบพัฒนาแทบไม่มี อำนาจโยกย้ายไม่เหลือกันไปทำไม ???
พรรคการเมืองที่แย่งกันแทบเป็นแทบตายที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็เพื่ออำนาจสูงสุดที่กระจุกอยู่ที่ส่วนกลาง ความชั่วร้ายการวิ่งเต้นคดโกงประดามีจึงวิ่งไปกระจุกอยู่กับระบบส่วนกลาง มีเรื่องเล่ากันในแวดวงการเมืองใครเป็นรัฐมนตรีไม่ต้องโกงทวนน้ำอะไรนักหนาแค่นั่งเฉยๆ ส่วนแบ่งมันก็ไหลมาตามระบบ ผมเคยได้ยินกับหูจากผู้เกี่ยวข้องว่าการได้ใบอนุญาตสร้างอาคารโรงงานอุตสาหกรรมใหม่แห่งหนึ่งถูกต้องทุกอย่างแต่จำเป็นต้องมีจ่ายให้เป็นสินน้ำใจ “ตามระบบ” จำนวน xxx แสนบาท
งบประมาณแผ่นดินปีหนึ่งๆ กระจุกอยู่กับอำนาจส่วนกลางทั้งสิ้นแม้กระทั่งงบอุดหนุนท้องถิ่นก็ยังเป็นอำนาจของรัฐมนตรีมหาดไทยถืออยู่เพื่อจะได้เป็นบุญเป็นคุณกับองค์การปกครองท้องถิ่น เรากระจายอำนาจกันมาหลายปีแต่พรรคการเมืองและมหาดไทยก็ยังคุมงบประมาณส่วนใหญ่ของท้องถิ่นไว้ อำนาจส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่อยู่ในสังกัดมหาดไทยก็เช่นกัน สังเกตเถิดครับไอ้ประเภทใบอนุญาต หรือใบสั่งฟันยกเลิกอะไรที่เป็นเงินเป็นทองแบบนี้ล้วนอยู่ที่อธิบดีหมด แล้วเราจะมีหัวหน้าส่วนจังหวัดหรือเขตไปให้เปลืองงบประมาณทำไม
ดังนั้นการกระจายอำนาจรอบใหม่ที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่จึงไม่ใช่การเรียกร้องเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงเหมือนเมื่อช่วงปี 33-38 ซึ่งจำกัดวงอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย แต่หมายถึง การดึงหรือจัดสรรเอาอำนาจบริหารราชการรวมถึงงบประมาณจากกระทรวงกรมต่างๆ เกลี่ยมาไว้ในท้องถิ่นเพื่อให้สามารถบริหารจัดการตนเองได้ดียิ่งขึ้น
งานส่วนไหนที่ระบบบริหารราชการส่วนกลางยังคงต้องมีก็มีอยู่คงเดิม ผมจึงทะแม่งๆ กับคำสัมภาษณ์ของรองปลัดฯที่ว่าถ้างั้นยุบมหาดไทยไปเลยเพราะมันค่อนข้างไปไกลเกิน เพราะภารกิจงานของกระทรวงมหาดไทยไม่ได้จำกัดอยู่แค่กรมการปกครองเท่านั้น สิ่งที่จะกระทบจริงๆ คือตำแหน่งรองผู้ว่าฯ ผู้ว่าฯ และปริมาณคนมหาศาลที่อยู่ในอำเภอทั่วประเทศซึ่งหากวันนั้นมาถึงคนมหาดไทยก็ต้องทำใจยอมรับเพราะปัจจุบันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดเองก็แทบไม่มีอำนาจสั่งการอะไรใครได้
อย่างเช่นผู้ว่าเชียงใหม่ฯคนปัจจุบันก็ต้องยอมรับว่าท่านก็เอางานเอาการอยู่หากแต่เอางานเอาการแค่ไหนแต่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของความไร้ซึ่งอำนาจ เดือนตุลาฯ ผู้ว่าฯเริ่มให้ข่าวขอความร่วมมือประชาชนห้ามเผาในที่โล่งป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศต่อให้พูดในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดที่จัดทุกสิ้นเดือนก็เถอะมีใครทำตามบ้าง คำแถลงของผู้ว่าฯจึงเป็นเหมือนควันไฟลอยตามลมสั่งการราชการส่วนใดก็ไม่ได้ บูรณาการประเภทมีศูนย์รับแจ้งเหตุ ที่พร้อมส่งหน่วยดับเพลิงและเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าหน้าที่ปกครองไปว่ากล่าวตักเตือนดำเนินคดีก็ไม่มีจริงในทางปฏิบัติ ผู้ว่าฯจึงเป็นแค่ผู้ประกาศตามพิธีกรรมราชการเมื่อถึงหน้าหนาวก็พยายามใช้งบประมาณโดยการประกาสพื้นที่ภัยหนาวทั้งๆ มันไม่ได้หนาวยาวนาน 3 วัน 5 วันคลื่นหนาวก็หาย แต่พอมีภัยพิบัติหมอกควันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้คนเป็นล้านๆ ของจริงกลไกผู้ว่าฯและการบริหารราชการส่วนภูมิภาคแทบเป็นง่อยทำอะไรไม่ได้เลย จะเห็นแต่หน่วยงานปกครองท้องถิ่นบางแห่งเท่านั้นที่พยายามช่วยตัวเองโดยการพ่นฉีดน้ำลดผลกระทบและสร้างความชื้น (ซึ่งก็ไม่เพียงพอ)
เมื่อ 100 กว่าปีก่อนตอนที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการปกครองรวบอำนาจเข้าส่วนกลางนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สอดคล้องกับภาวะเปลี่ยนแปลงของโลกยุคอาณานิคม ถ้าไม่ทำล้านนา อีสาน ใต้ คงเสร็จมหาอำนาจตะวันตกดีไม่ดีสยามทั้งประเทศคงเสร็จมหาอำนาจตะวันตกไปหมด การปฏิรูปจัดมณฑลเทศภิบาล จังหวัด อำเภอเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของประเทศ แต่เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป 100 กว่าปี รูปแบบการบริหารแผ่นดินพื้นฐานที่เป็นมา 100 กว่าปีมันไม่เพียงพอต่อการตอบสนองข้อปัญหาและข้อเท็จจริง ก็ถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามที่รองปลัดฯพูดไว้นั่นแหละ ไม่มีการปกครองรูปแบบใดในโลกที่ไม่เปลี่ยนแปลง มันต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ดังนั้นผมไม่อยากให้คนมหาดไทยหรือท่านรองปลัดฯ นึกน้อยใจทำนองประชดว่าถ้างั้นก็ยุบมหาดไทยไปเลย ไม่ถึงขั้นนั้นหรอกครับหลายประเทศที่มีรูปแบบบริหารราชการแบบท้องถิ่นเต็มรูปแบบก็ยังมี Ministry of Interior ในส่วนของรัฐบาลกลาง และที่สำคัญนี่ไม่ใช่เรื่องของคนต่างจังหวัดมาประกาศยื้อแย่งอำนาจจากมหาดไทย
ผิดเลยครับไม่ได้ยื้ออำนาจจากมหาดไทย แต่เราต้องการแบ่งปันอำนาจที่รัฐมนตรีและกระทรวงทบวงกรมส่วนกลางดึงไปนั่งทับเสวยโภคผลกลับมาเพื่อให้สามารถดำเนินการปกครอง-แก้ปัญหาและพัฒนาตนเองได้อย่างพอสมควรเป็นการจัดการยกระดับการปกครองตนเองที่มีประสิทธิภาพขึ้น
และหากเป็นเช่นนั้นจริงจะถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหายกระดับการดูแลทุกข์สุขให้กับประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ได้อาศัยในกรุงเทพฯ ให้สิทิ์ให้เสียงในการจัดการตนเองมากขึ้น
ที่สำคัญ...นอกจากแล้วยังมีผลต่อการจัดระเบียบโครงสร้างอำนาจการเมืองครั้งสำคัญไปพร้อมกันด้วย คนหรือพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งไปเป็นรัฐบาลจะไม่สามารถ “กินรวบประเทศไทย” ได้อีกต่อไป !
ไม่ว่าคนๆ นั้นจะใช้นามสกุลชินวัตรหรือนามสกุลไหน ไม่ว่าจะมาจากพรรคเพื่อไทยหรือประชาธิปัตย์ !!!