เป็นธรรมเนียมปฏิบัตินะครับว่า ช่วงอาทิตย์ก่อนวันเลือกตั้ง พระบาทไม่ขอใช้วิจารณญาณใดๆ กับผู้สมัครพรรคใดทั้งนั้น ถ้าจะเขียนถึงก็จะไม่วิจารณ์มากไปกว่าฐานะของการเป็นผู้สมัครโดยทั่วไป
แต่พระบาทจะเขียนถึงการเลือกตั้งทั่วๆไป และระบอบประชาธิปไตย และการปรับปรุงให้ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่าเดิม
สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ มีความแปลกใหม่คือ เรื่องตัวผู้สมัครที่ชิงตำแหน่งกันระหว่างผู้สมัครหญิงฝ่ายหนึ่ง ที่หวังจะเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย กับนายกรัฐมนตรีคนหน้าเดิม แม้จะไม่ใช่ผู้สมัครหน้าใหม่ แต่ก็เป็นผู้ที่มีเดิมพันสูง มีตำแหน่งที่เอาหัวหน้าพรรคเป็นเดิมพันและมีศักดิ์ศรีของพรรคเก่าแก่เป็นเกียรติยศ
ในเชิงนโยบาย หลายพรรครวมทั้งพรรคใหญ่และพรรคขนาดกลาง มีนโยบายใหม่ๆ ที่พยายามเอาใจประชาชน โดยถ้าวัดงบประมาณจากการเสนอนโยบายออกมาแล้ว แต่ละพรรคก็จะใช้งบประมาณคนละนับหลายพันล้าน และเป็นงบผูกพันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีทั้งความเป็นไปได้และเป็นไปได้ยาก
ที่น่าสนใจก็คือ ทุกพรรคการเมืองหลีกไม่พ้นที่จะมีนโยบายลดแลกแจกแถม เอาใจประชาชนสุดๆ มีตั้งแต่ให้บริการไปจนถึงสัญญาที่จะสร้างโน่นสร้างนี้ ลดภาษีรถยนต์คันแรก ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม และอะไรต่อมิอะไรอีก บางพรรคก็จะทวงเอาดินแดนเขาพระวิหารคืนมาก็มี
สองพรรคใหญ่มีนโยบายเศรษฐกิจที่สู้กันในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้นในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมและการส่งออก รวมทั้งพยายามกระตุ้นให้เกิดรายได้ด้วย
เรียกว่าสองพรรคใหญ่สู้กันอย่างดุเดือด แย่งชิงพื้นที่หาเสียงกันอย่างชัดเจน และไม่ยอมเสียเปรียบซึ่งกันและกัน
สำหรับระบอบประชาธิปไตยบ้านเรา บัดนี้เดินมาไกล แต่ก็ยังต้องพิสูจน์กันอีกครั้งว่า เงินจะเป็นปัจจัยอีกหรือไม่ สำหรับการชี้ขาดว่าส.ส.นั้นได้มาด้วยการซื้อเสียงเหมือนที่ผ่านมาหรือเปล่า และเราจะหลีกหนีจากวงจรอุบาทว์นี้พ้นหรือไม่
แม้ว่าส.ส.ทั้งในเมืองและในชนบทจะโฆษณาหาเสียง เป็นสิ่งของแลกเปลี่ยนมากกว่าการใช้นโยบาย หรือการที่จะทำหน้าที่การออกกฎหมายตามหน้าที่ส.ส. แต่ยังคงมีเจตนาสัญญาจะบริการประชาชนทำโน่นทำนี่ ทำโครงการเพื่อชุมชนต่างๆ
แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิธีการนี้เป็นรูปธรรมที่ประชาชนเห็นได้ชัดเจนที่สุดว่าเขาจะได้อะไรจากส.ส.ในพื้นที่
ในฐานะที่เป็นส.ส.ในพื้นที่นั้น เขาสามารถดำเนินการทำหน้าที่ที่พึงมีหรือให้บริการอื่นๆได้ หากเขาคิดจะให้บริการประชาชน
๑. จัดตั้งสาขาหรือสำนักงานของส.ส.และให้บริการแนะนำด้านกฎหมายเป็นที่พึ่งพิงแก่ประชาชนในชุมชนในพื้นที่เขตเลือกตั้งของเขาหลังการเลือกตั้ง
๒. ให้บริการด้านการศึกษาประชาธิปไตยเป็นความรู้ที่ก้าวหน้าเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยแก่ชุมชน
๓. ให้สำนักงานเป็นศูนย์กลางในการระดมประชาชนทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์และมีกิจกรรมทางการเมืองในชุมชน
ทั้งสามข้อนี้ สามารถทำได้ และควรทำให้ชุมชนเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน ควรจัดตั้งและทำถาวรต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นแค่สาขาไม่มีกิจกรรมเท่านั้น และเข้าใจว่าทางสภาและรัฐมีงบประมาณให้ส.ส.เพื่อการนี้แล้วด้วย
พรรคการเมืองเองก็ควรมีกิจกรรมตามวาระ เช่น การเปิดอบรม หรือสัมมนาทางวิชาการ หรือกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมเป็นครั้งคราวด้วย เช่น นำประชาชนเข้าฟังการอภิปรายในสภา ซึ่งทุกพรรคก็มีการทำกันอยู่แล้ว แต่ก็ควรขยายให้บ่อยกว่านี้ และเปิดให้มีการสัมมนาและกิจกรรมให้ประชาชนเข้าถึงการเรียนรู้ถึงกลไกการทำงานในสภาด้วย
การให้ประชาชนจัดตั้งกันให้เข้ามาช่วยส.ส.ทำงาน เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้ประชาชนได้ช่วยงานส.ส.ในพื้นที่ พัฒนาความใกล้ชิดและเข้าในกลไกการทำงานการเมืองมากยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยที่มีผู้แทน ยังมีอะไรให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อีกมาก
นอกจากนี้ ก็ยังมีสถาบันอื่นๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง เช่น องค์กรกลางเพื่อการเลือกตั้ง ซึ่งแทนที่จะทำงานในช่วงการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ก็อาจขยายขอบเขตทำงานหลังเลือกตั้ง และจัดตั้งเป็นองค์กรแสวงหาแนวร่วมกับองค์กรอื่นๆ หรือพัฒนาตัวเองให้เป็นองค์กรเพื่อให้ประชาชน เข้ามาช่วยพัฒนาเป็นองค์กรทำหน้าที่วิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือจัดตั้งเป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับส.ส.โดยร่วมกับรัฐสภาและหน่วยงานอื่นๆ
องค์กรกลางยังทำหน้าที่เป็นองค์กร ให้ข้อมูลทางด้านวิชาการ หรือประสานงานกับสถาบันวิชาการจัดสัมมนาทางวิชาการเป็นครั้งคราว เกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือประชาธิปไตยได้ โดยร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
นี่เป็นบทบาทที่เราเห็นว่า จะช่วยให้การพัฒนาประชาธิปไตยสามารถหยั่งรากลึก และพัฒนาไปสู่ความมั่นคงได้
นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยให้สถาบันรัฐสภาได้มีบทบาทมากขึ้น ในการเข้ามามีบทบาทประสานงานวิชาการกับสถาบันทางการศึกษาในการให้ความรู้กับประชาชน
ครับ เราหวังว่าประชาธิปไตยไม่ได้หยุดแค่การเลือกตั้งเท่านั้น
แต่พระบาทจะเขียนถึงการเลือกตั้งทั่วๆไป และระบอบประชาธิปไตย และการปรับปรุงให้ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่าเดิม
สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ มีความแปลกใหม่คือ เรื่องตัวผู้สมัครที่ชิงตำแหน่งกันระหว่างผู้สมัครหญิงฝ่ายหนึ่ง ที่หวังจะเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย กับนายกรัฐมนตรีคนหน้าเดิม แม้จะไม่ใช่ผู้สมัครหน้าใหม่ แต่ก็เป็นผู้ที่มีเดิมพันสูง มีตำแหน่งที่เอาหัวหน้าพรรคเป็นเดิมพันและมีศักดิ์ศรีของพรรคเก่าแก่เป็นเกียรติยศ
ในเชิงนโยบาย หลายพรรครวมทั้งพรรคใหญ่และพรรคขนาดกลาง มีนโยบายใหม่ๆ ที่พยายามเอาใจประชาชน โดยถ้าวัดงบประมาณจากการเสนอนโยบายออกมาแล้ว แต่ละพรรคก็จะใช้งบประมาณคนละนับหลายพันล้าน และเป็นงบผูกพันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีทั้งความเป็นไปได้และเป็นไปได้ยาก
ที่น่าสนใจก็คือ ทุกพรรคการเมืองหลีกไม่พ้นที่จะมีนโยบายลดแลกแจกแถม เอาใจประชาชนสุดๆ มีตั้งแต่ให้บริการไปจนถึงสัญญาที่จะสร้างโน่นสร้างนี้ ลดภาษีรถยนต์คันแรก ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม และอะไรต่อมิอะไรอีก บางพรรคก็จะทวงเอาดินแดนเขาพระวิหารคืนมาก็มี
สองพรรคใหญ่มีนโยบายเศรษฐกิจที่สู้กันในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการผลิตเพิ่มขึ้นในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมและการส่งออก รวมทั้งพยายามกระตุ้นให้เกิดรายได้ด้วย
เรียกว่าสองพรรคใหญ่สู้กันอย่างดุเดือด แย่งชิงพื้นที่หาเสียงกันอย่างชัดเจน และไม่ยอมเสียเปรียบซึ่งกันและกัน
สำหรับระบอบประชาธิปไตยบ้านเรา บัดนี้เดินมาไกล แต่ก็ยังต้องพิสูจน์กันอีกครั้งว่า เงินจะเป็นปัจจัยอีกหรือไม่ สำหรับการชี้ขาดว่าส.ส.นั้นได้มาด้วยการซื้อเสียงเหมือนที่ผ่านมาหรือเปล่า และเราจะหลีกหนีจากวงจรอุบาทว์นี้พ้นหรือไม่
แม้ว่าส.ส.ทั้งในเมืองและในชนบทจะโฆษณาหาเสียง เป็นสิ่งของแลกเปลี่ยนมากกว่าการใช้นโยบาย หรือการที่จะทำหน้าที่การออกกฎหมายตามหน้าที่ส.ส. แต่ยังคงมีเจตนาสัญญาจะบริการประชาชนทำโน่นทำนี่ ทำโครงการเพื่อชุมชนต่างๆ
แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิธีการนี้เป็นรูปธรรมที่ประชาชนเห็นได้ชัดเจนที่สุดว่าเขาจะได้อะไรจากส.ส.ในพื้นที่
ในฐานะที่เป็นส.ส.ในพื้นที่นั้น เขาสามารถดำเนินการทำหน้าที่ที่พึงมีหรือให้บริการอื่นๆได้ หากเขาคิดจะให้บริการประชาชน
๑. จัดตั้งสาขาหรือสำนักงานของส.ส.และให้บริการแนะนำด้านกฎหมายเป็นที่พึ่งพิงแก่ประชาชนในชุมชนในพื้นที่เขตเลือกตั้งของเขาหลังการเลือกตั้ง
๒. ให้บริการด้านการศึกษาประชาธิปไตยเป็นความรู้ที่ก้าวหน้าเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยแก่ชุมชน
๓. ให้สำนักงานเป็นศูนย์กลางในการระดมประชาชนทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์และมีกิจกรรมทางการเมืองในชุมชน
ทั้งสามข้อนี้ สามารถทำได้ และควรทำให้ชุมชนเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน ควรจัดตั้งและทำถาวรต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นแค่สาขาไม่มีกิจกรรมเท่านั้น และเข้าใจว่าทางสภาและรัฐมีงบประมาณให้ส.ส.เพื่อการนี้แล้วด้วย
พรรคการเมืองเองก็ควรมีกิจกรรมตามวาระ เช่น การเปิดอบรม หรือสัมมนาทางวิชาการ หรือกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมเป็นครั้งคราวด้วย เช่น นำประชาชนเข้าฟังการอภิปรายในสภา ซึ่งทุกพรรคก็มีการทำกันอยู่แล้ว แต่ก็ควรขยายให้บ่อยกว่านี้ และเปิดให้มีการสัมมนาและกิจกรรมให้ประชาชนเข้าถึงการเรียนรู้ถึงกลไกการทำงานในสภาด้วย
การให้ประชาชนจัดตั้งกันให้เข้ามาช่วยส.ส.ทำงาน เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้ประชาชนได้ช่วยงานส.ส.ในพื้นที่ พัฒนาความใกล้ชิดและเข้าในกลไกการทำงานการเมืองมากยิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยที่มีผู้แทน ยังมีอะไรให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อีกมาก
นอกจากนี้ ก็ยังมีสถาบันอื่นๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง เช่น องค์กรกลางเพื่อการเลือกตั้ง ซึ่งแทนที่จะทำงานในช่วงการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ก็อาจขยายขอบเขตทำงานหลังเลือกตั้ง และจัดตั้งเป็นองค์กรแสวงหาแนวร่วมกับองค์กรอื่นๆ หรือพัฒนาตัวเองให้เป็นองค์กรเพื่อให้ประชาชน เข้ามาช่วยพัฒนาเป็นองค์กรทำหน้าที่วิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือจัดตั้งเป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับส.ส.โดยร่วมกับรัฐสภาและหน่วยงานอื่นๆ
องค์กรกลางยังทำหน้าที่เป็นองค์กร ให้ข้อมูลทางด้านวิชาการ หรือประสานงานกับสถาบันวิชาการจัดสัมมนาทางวิชาการเป็นครั้งคราว เกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือประชาธิปไตยได้ โดยร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
นี่เป็นบทบาทที่เราเห็นว่า จะช่วยให้การพัฒนาประชาธิปไตยสามารถหยั่งรากลึก และพัฒนาไปสู่ความมั่นคงได้
นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยให้สถาบันรัฐสภาได้มีบทบาทมากขึ้น ในการเข้ามามีบทบาทประสานงานวิชาการกับสถาบันทางการศึกษาในการให้ความรู้กับประชาชน
ครับ เราหวังว่าประชาธิปไตยไม่ได้หยุดแค่การเลือกตั้งเท่านั้น