ผู้เขียนรวมทั้งผู้อ่าน คงได้นึกสงสัยกันอยู่ว่า ทำไมนักการเมืองไทยของเราจึงได้หยุดอยู่กับที่
และทำไมการเมืองไทยจึงไม่ค่อยก้าวหน้า
ทั้งๆ ที่เราเป็นประชาธิปไตยมาเนิ่นนาน
และบ้านเมืองมีการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
แต่การเมืองไทยกลับไปไม่ถึงไหน ไม่พัฒนาเหมือนนานาอารยะประเทศกับเขาบ้าง
ถ้าจะพิจารณากันให้เด็ดขาดกันลงไป เราคงต้องพิจารณาถึงสาเหตุและปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญๆ อีกหลายๆ อย่างจึงจะเข้าใจ
คงจะพิจารณาเริ่มตั้งแต่ตัวนักการเมืองเป็นรายบุคคล ที่มาที่ไปของนักการเมืองในระบบการเมืองที่มีวิธีการเมืองแบบไทยๆ วิธีและกลยุทธการเลือกตั้งแบบไทย สภาพสังคมในชนบทที่ต่างจากเมือง ปัจจัยด้านเงินทองในการเลือกตั้ง การซื้อและการขายเสียง
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องกลไกแท้ๆ
ยังมีเรื่องสถาบันอีก เช่น สภา ระบบพรรคการเมือง กระบวนการคัดสรรนักการเมืองในระบบพรรคพรรค อำนาจรัฐกับพรรคการเมืองและนักการเมือง รัฐประหารและการปฏิวัติ
เมื่อหันมามาพิจารณานักการเมืองเป็นรายบุคคล
เราต้องพิจารณากันว่าในสภาของเรานั้น มีนักการเมืองไทยที่เล่นการเมืองอยู่เวลานี้แบ่งกันตามอาวุโสกันอย่างไรบ้าง
จะพบได้ว่า พวกหนึ่งเล่นการเมืองกันมานาน
คนละยี่สิบถึงสามสิบปีมีจำนวนไม่น้อยเลย
คนพวกนี้มีบทบาทในฐานะเป็นแกนนำในพรรคการเมืองชั้นนำ
มีบทบาทกำหนดทิศทางการเมืองไทยมายาวนาน เป็นส.ส.ที่เรียกว่าคร่ำหวอด
แต่กลับเล่นการเมืองแบบไม่มีการพัฒนา ทั้งพฤติกรรมทางการเมือง วาทกรรมการเมืองก็แบบซ้ำซากเดิมๆ บุคลิกภาพการเมืองไม่เคยเปลี่ยน ใช้ฐานเสียงเก่าๆ และวิธีการหาเสียงแบบน้ำเน่า อาศัยการแจกเงินหรือซื้อเสียงเพื่อเข้าสภา
นักการเมืองเหล่านี้มีมาก และมีบทบาทเป็นแกนนำเป็นส่วนใหญ่
แกนนำการเมืองในพรรคการเมืองเหล่านี้ ขาดคุณสมบัติของการเป็นผู้นำทางการเมืองในความหมายใหม่ และไม่สามารถกำหนดทิศทางให้พรรคการเมืองมีมิติที่ก้าวหน้าไปสู่อนาคตทางการเมืองที่หลุดไปจากวงจรอุบาทว์ได้เลย
ทำให้การเมืองไทยกลายเป็นการเมืองแบบน้ำเน่า และไม่สามารถพัฒนาไปได้มากไปกว่าที่เราเห็นและเป็นอยู่
ขอยกตัวอย่างพรรคเก่าแก่ซึ่งอาจกล่าวว่าเป็นพรรคที่อาจถือว่าเป็นพรรคที่มีคุณภาพที่สุดแล้วอย่างพรรคประชาธิปัตย์
เราจะเห็นได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์มีผู้นำพรรค กรรมการพรรคซึ่งเป็นผู้บริหารและผู้อาวุโสที่มีบทบาทหรือกรรมการที่ปรึกษาเป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการการเมืองกันมาอย่างน้อยก็คนละยี่สิบหรือสามสิบปี
มีบุคลิกภาพ วิสัยทัศน์ ลีลาทางการเมือง และบทบาทที่เล่นการเมืองแบบจำเจ ซ้ำซาก ไม่ได้มีอะไรใหม่
แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นคนพวกนี้ได้ถ่ายทอดวิธีการเล่นการเมือง พฤติกรรมและวาทกรรมทางการเมืองไปสู่อนุชนรุ่นหลังในพรรค ให้ประพฤติปฏิบัติตามอยู่เสมอ
คนรุ่นหลังในพรรคก็อยากเป็นเหมือนคุณชวน หลีกภัย อยากเหมือนคุณบัญญัติ เหมือนคุณสุเทพ ฯลฯ
พูดง่ายๆ เป็นความพยายามสืบทอดวิธีการเล่นการเมืองแบบเก่า หรือแบบอนุรักษ์นิยมตลอดไปของพรรค โดยไม่หวังพัฒนารูปแบบใหม่ให้ดีขึ้น
นี่เป็นตัวอย่างจากพรรคเก่าแก่
เราไม่ได้บอกว่านี่ผิด
แต่มันตอกย้ำว่าเราจะไม่ได้การเมืองอะไรที่ใหม่จากพรรคการเมืองเก่าๆ
ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ ที่มีแกนนำเก่าๆ แม้จะมีทุนใหม่ๆ แต่การผลัดอำนาจก็เหมือนการซื้อขายตำแหน่ง ไม่ได้หมายถึงการแข่งขันทางอุดมการณ์หรือใช้วิสัยทัศน์
แต่อาศัยบุญบารมีของเครือญาติพวกพ้องเท่านั้น
พรรคการเมืองเกือบทุกพรรคมีตัวตายตัวแทนที่มาจากลูกหลานหรือใช้เครือญาติสืบทอดตำแหน่ง ส.ส.กันอยู่มาก
พรรคนายทุนก็อยากให้เครือญาติเข้ามาเป็นผู้สืบทอดโดยมีตำแหน่งสูงในพรรคโดยไม่ได้ดูกันที่อุดมการณ์ใดๆ
นี่คือสัจธรรมของพรรคบางพรรคที่ต้องการมาเป็นรัฐบาลหน้าที่เตรียมตัวจะลงเลือกตั้งโดยหวังที่จะได้เสียงข้างมากเสียด้วย
มันคือน้ำเน่าในระบบนายทุนการเมือง
อีกกลุ่มหนึ่งที่ทำให้รากเง่าการเมืองไม่พัฒนาและจำเจคือเท็คโนแครตจำเจ ซึ่งคนพวกนี้มักถูกเลือกโดยพรรคการเมืองอยู่เสมอไม่ว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ดร.โกร่ง วีรพงษ์ หรือ ดร.คนอื่นๆ ที่ชื่อเสียงติดปาก ในเวทีการเมืองคนกลุ่มนี้มีชื่ออยู่ในวงนักการเมืองที่จะมาเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจนับสิบยี่สิบปีแล้ว ทั้งที่เรามีเท็คโนแครตอีกนับพันๆ คนที่มีผลงานและความสามารถอยู่ในประเทศมากมายที่เป็นคนใหม่
การเมืองไทยโดยภาพรวมทั้งนักการเมืองและพวกเท็คโนแครตที่จะอาสาเข้ามาบริหารจึงย่ำแย่ซ้ำซากกันอยู่ยี่สิบสามสิบปี โดยไม่มีอะไรใหม่ที่ก้าวหน้าไปเลยแม้แต่น้อยครับ น่าเศร้าใจไหมครับ
และทำไมการเมืองไทยจึงไม่ค่อยก้าวหน้า
ทั้งๆ ที่เราเป็นประชาธิปไตยมาเนิ่นนาน
และบ้านเมืองมีการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
แต่การเมืองไทยกลับไปไม่ถึงไหน ไม่พัฒนาเหมือนนานาอารยะประเทศกับเขาบ้าง
ถ้าจะพิจารณากันให้เด็ดขาดกันลงไป เราคงต้องพิจารณาถึงสาเหตุและปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญๆ อีกหลายๆ อย่างจึงจะเข้าใจ
คงจะพิจารณาเริ่มตั้งแต่ตัวนักการเมืองเป็นรายบุคคล ที่มาที่ไปของนักการเมืองในระบบการเมืองที่มีวิธีการเมืองแบบไทยๆ วิธีและกลยุทธการเลือกตั้งแบบไทย สภาพสังคมในชนบทที่ต่างจากเมือง ปัจจัยด้านเงินทองในการเลือกตั้ง การซื้อและการขายเสียง
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องกลไกแท้ๆ
ยังมีเรื่องสถาบันอีก เช่น สภา ระบบพรรคการเมือง กระบวนการคัดสรรนักการเมืองในระบบพรรคพรรค อำนาจรัฐกับพรรคการเมืองและนักการเมือง รัฐประหารและการปฏิวัติ
เมื่อหันมามาพิจารณานักการเมืองเป็นรายบุคคล
เราต้องพิจารณากันว่าในสภาของเรานั้น มีนักการเมืองไทยที่เล่นการเมืองอยู่เวลานี้แบ่งกันตามอาวุโสกันอย่างไรบ้าง
จะพบได้ว่า พวกหนึ่งเล่นการเมืองกันมานาน
คนละยี่สิบถึงสามสิบปีมีจำนวนไม่น้อยเลย
คนพวกนี้มีบทบาทในฐานะเป็นแกนนำในพรรคการเมืองชั้นนำ
มีบทบาทกำหนดทิศทางการเมืองไทยมายาวนาน เป็นส.ส.ที่เรียกว่าคร่ำหวอด
แต่กลับเล่นการเมืองแบบไม่มีการพัฒนา ทั้งพฤติกรรมทางการเมือง วาทกรรมการเมืองก็แบบซ้ำซากเดิมๆ บุคลิกภาพการเมืองไม่เคยเปลี่ยน ใช้ฐานเสียงเก่าๆ และวิธีการหาเสียงแบบน้ำเน่า อาศัยการแจกเงินหรือซื้อเสียงเพื่อเข้าสภา
นักการเมืองเหล่านี้มีมาก และมีบทบาทเป็นแกนนำเป็นส่วนใหญ่
แกนนำการเมืองในพรรคการเมืองเหล่านี้ ขาดคุณสมบัติของการเป็นผู้นำทางการเมืองในความหมายใหม่ และไม่สามารถกำหนดทิศทางให้พรรคการเมืองมีมิติที่ก้าวหน้าไปสู่อนาคตทางการเมืองที่หลุดไปจากวงจรอุบาทว์ได้เลย
ทำให้การเมืองไทยกลายเป็นการเมืองแบบน้ำเน่า และไม่สามารถพัฒนาไปได้มากไปกว่าที่เราเห็นและเป็นอยู่
ขอยกตัวอย่างพรรคเก่าแก่ซึ่งอาจกล่าวว่าเป็นพรรคที่อาจถือว่าเป็นพรรคที่มีคุณภาพที่สุดแล้วอย่างพรรคประชาธิปัตย์
เราจะเห็นได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์มีผู้นำพรรค กรรมการพรรคซึ่งเป็นผู้บริหารและผู้อาวุโสที่มีบทบาทหรือกรรมการที่ปรึกษาเป็นนักการเมืองรุ่นเก่าที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการการเมืองกันมาอย่างน้อยก็คนละยี่สิบหรือสามสิบปี
มีบุคลิกภาพ วิสัยทัศน์ ลีลาทางการเมือง และบทบาทที่เล่นการเมืองแบบจำเจ ซ้ำซาก ไม่ได้มีอะไรใหม่
แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นคนพวกนี้ได้ถ่ายทอดวิธีการเล่นการเมือง พฤติกรรมและวาทกรรมทางการเมืองไปสู่อนุชนรุ่นหลังในพรรค ให้ประพฤติปฏิบัติตามอยู่เสมอ
คนรุ่นหลังในพรรคก็อยากเป็นเหมือนคุณชวน หลีกภัย อยากเหมือนคุณบัญญัติ เหมือนคุณสุเทพ ฯลฯ
พูดง่ายๆ เป็นความพยายามสืบทอดวิธีการเล่นการเมืองแบบเก่า หรือแบบอนุรักษ์นิยมตลอดไปของพรรค โดยไม่หวังพัฒนารูปแบบใหม่ให้ดีขึ้น
นี่เป็นตัวอย่างจากพรรคเก่าแก่
เราไม่ได้บอกว่านี่ผิด
แต่มันตอกย้ำว่าเราจะไม่ได้การเมืองอะไรที่ใหม่จากพรรคการเมืองเก่าๆ
ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ ที่มีแกนนำเก่าๆ แม้จะมีทุนใหม่ๆ แต่การผลัดอำนาจก็เหมือนการซื้อขายตำแหน่ง ไม่ได้หมายถึงการแข่งขันทางอุดมการณ์หรือใช้วิสัยทัศน์
แต่อาศัยบุญบารมีของเครือญาติพวกพ้องเท่านั้น
พรรคการเมืองเกือบทุกพรรคมีตัวตายตัวแทนที่มาจากลูกหลานหรือใช้เครือญาติสืบทอดตำแหน่ง ส.ส.กันอยู่มาก
พรรคนายทุนก็อยากให้เครือญาติเข้ามาเป็นผู้สืบทอดโดยมีตำแหน่งสูงในพรรคโดยไม่ได้ดูกันที่อุดมการณ์ใดๆ
นี่คือสัจธรรมของพรรคบางพรรคที่ต้องการมาเป็นรัฐบาลหน้าที่เตรียมตัวจะลงเลือกตั้งโดยหวังที่จะได้เสียงข้างมากเสียด้วย
มันคือน้ำเน่าในระบบนายทุนการเมือง
อีกกลุ่มหนึ่งที่ทำให้รากเง่าการเมืองไม่พัฒนาและจำเจคือเท็คโนแครตจำเจ ซึ่งคนพวกนี้มักถูกเลือกโดยพรรคการเมืองอยู่เสมอไม่ว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ดร.โกร่ง วีรพงษ์ หรือ ดร.คนอื่นๆ ที่ชื่อเสียงติดปาก ในเวทีการเมืองคนกลุ่มนี้มีชื่ออยู่ในวงนักการเมืองที่จะมาเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจนับสิบยี่สิบปีแล้ว ทั้งที่เรามีเท็คโนแครตอีกนับพันๆ คนที่มีผลงานและความสามารถอยู่ในประเทศมากมายที่เป็นคนใหม่
การเมืองไทยโดยภาพรวมทั้งนักการเมืองและพวกเท็คโนแครตที่จะอาสาเข้ามาบริหารจึงย่ำแย่ซ้ำซากกันอยู่ยี่สิบสามสิบปี โดยไม่มีอะไรใหม่ที่ก้าวหน้าไปเลยแม้แต่น้อยครับ น่าเศร้าใจไหมครับ