สถาบันนโยบายศึกษาเพิ่งจัดการพบปะสังสรรค์ประจำปีไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานี้เอง โดยเปิดประเด็นในการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย
ความจริงแล้วสถาบันฯ ได้ดำเนินกิจกรรมด้านสร้างพลเมืองเพื่อประชาธิปไตยมากว่า ๒๐ปีแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย เพราะการจัดการศึกษาในบ้านเราเน้นหลักสูตรสาระ ทั้งที่เรื่องประชาธิปไตยเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพลเมืองคือคนทุกอายุ
ประเทศเยอรมันมีประสบการณ์อันขมขื่นจากยุคฮิตเล่อร์และสงครามโลกครั้งที่สองแม้ในสมัยฮิตเล่อร์จะได้อาศัยประชาธิปไตยแต่ก็ใช้อำนาจเผด็จการนาซีปกครองประเทศ นำเยอรมันรุกรานประเทศอื่นจนในที่สุดก็แพ้ต่อกองทัพสัมพันธมิตร
หลังสงครามผู้นำใหม่ภายใต้คอนราด อาเดนเนาว์ ได้สนับสนุนให้ทุกพรรคการเมืองร่วมมือกันสร้างและให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชนโดยรัฐบาลสนับสนุนด้านการเงิน การให้การศึกษาไม่จำกัดอยู่ที่การอบรมหรือสัมมนา ยังมีการวิจัยและให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ รวมอยู่ด้วย
สำหรับเรื่องการสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยในเยอรมันนั้นประกอบไปด้วย ๒ ลักษณะคือ
ประการแรก ให้ความรู้ที่เป็นสาระและหลักการ กระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ประการที่สอง สร้างทักษะ สำหรับความจำเป็นต่อการเป็นพลเมืองซึ่งเกิดได้ก็ต้องมีข้อมูลข่าวสาร สามารถคิดวิเคราะห์ แสดงออกทางคำพูดและการกระทำ ติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมือง เข้าใจกระบวนการทางการเมืองและเข้าใจและวิจารณ์นโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ได้ ความรู้เช่นนี้สำคัญยิ่งกว่าสาระในหลักการประชาธิปไตยและเป็นความรู้ที่เรียนรู้ด้วยตนเองได้
ในด้านการสร้างทักษะทางการเมืองก็อาจทำได้ด้วย ๒ วิธีคือ
วิธีแรก ด้วยการหยิบยกประเด็นขึ้นมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่ไม่ใช่มาบรรยายกัน
วิธีที่สอง สร้างเหตุการณ์ที่สมมติให้บุคคลได้แสดงบทบาททางความคิดในสถานะต่างๆ กัน
ในแง่การเรียนการสอนประชาธิปไตยนั้น การบรรยายควรมีแค่ ๒๐เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือควรเป็นการฝึกทักษะในรูปแบบทั้งสองวิธีข้างต้น
เพื่อให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ก็ควรให้มีการฝึกทักษะการคิดรวมไว้ในหลักสูตรด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่จะแยกแยะประเด็นปัญหาต่างๆได้ และเป็นการฝึกให้มีการเคารพการรับฟังความคิดของผู้อื่น แม้ว่าความคิดของผู้อื่นนั้นจะแตกต่างไปจากความคิดของตนเอง
เพราะเหตุที่ว่าคนไทยไม่ได้มีระบบการเรียนรู้แบบนี้นี่เอง ทำให้เราไม่มีความชำนาญในการแก้ปัญหาแบบสันติวิธี และเราไม่มีประสบการณ์จากการพูดและแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีและตรงไปตรงมา
ในโรงเรียน ครูซึ่งมีหน้าที่สอนก็ควรสอนประชาธิปไตยโดยการรวบรวมเอากรณีศึกษาต่างๆมาให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ กระตุ้นให้เด็กเกิดความต้องการในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูอาจชี้แนะได้แต่ไม่ควรชี้นำ การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยจึงจะต้องใช้วิธีการแบบนี้ ไม่ใช่การสอนเนื้อหาสาระแบบเดิม
ในกระเทศเยอรมันกระบวนการสร้างพลเมืองเป็นเครื่องมือในการเตรียมประชาชนให้เป็นส่วนหนึ่งในสังคม มีการให้การศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
ความสำเร็จในเยอรมันอยู่ที่ความเป็นอิสระโดยรัฐไม่เข้าไปก้าวก่ายและเปิดให้มีความคิดหลากหลาย เพราะสิ่งที่สำคัญมากที่สุดประการหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยคือการแบ่งปันคุณค่าและความเชื่อต่อกัน
ในเยอรมันมีพรรคการเมือง๖พรรค ๖ อุดมการณ์ทางการเมือง แต่ละพรรคได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามอุดมการณ์ของตนโดยผ่านมูลนิธิทางการเมืองที่พรรคจัดตั้งขึ้น และพรรคก็ไม่เข้าไปก้าวก่ายกับมูลนิธิของตนด้วย มูลนิธิจึงมีอิสระในการเลือกวิธีการและกลุ่มเป้าหมาย มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการ
จะเห็นได้ว่าตัวอย่างในเยอรมันบ่งบอกถึงความก้าวหน้าและความใจกว้างในส่วนของรัฐและในส่วนของพรรค รวมทั้งระบบการจัดการเพื่อให้ประชาธิปไตยดำเนินไปได้ภายใต้กรอบและกติกาที่วางไว้อย่างยุติธรรมต่อบรรดาพรรคการเมืองทั้งหลาย
การที่ประชาธิปไตยในไทยจะเติบโตขึ้นได้นั้น เราอาจจะไม่ต้องเลียนแบบใคร แต่เราควรมีกติการเป็นของเราเอง
นอกจากนั้นเราควรสร้างและให้มีการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรัฐต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการริเริ่มตั้งแต่เด็กๆ เพื่อให้มีการเรียนรู้เป็นพื้นฐานที่มั่นคง เมื่อเติบโตขึ้นมาก็จะเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
เรายังเห็นด้วยว่า พรรคการเมืองไทยน่าจะมีมูลนิธิที่ได้รับการสนับสนุนในด้านงบประมาณจากรัฐเพื่อให้การศึกษาต่อประชาชนในด้านการสร้างพลเมือง โดยมูลนิธินี้ พรรคการเมืองไม่ควรเข้ามาก้าวก่าย เช่นเดียวกับที่เยอรมัน
หากเราทำได้สำเร็จ เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีแผนพัฒนาทางการเมืองด้วยซ้ำไปเพราะการเมืองไทยจะพัฒนาโดยตัวของมันไปเอง
ความจริงแล้วสถาบันฯ ได้ดำเนินกิจกรรมด้านสร้างพลเมืองเพื่อประชาธิปไตยมากว่า ๒๐ปีแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย เพราะการจัดการศึกษาในบ้านเราเน้นหลักสูตรสาระ ทั้งที่เรื่องประชาธิปไตยเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพลเมืองคือคนทุกอายุ
ประเทศเยอรมันมีประสบการณ์อันขมขื่นจากยุคฮิตเล่อร์และสงครามโลกครั้งที่สองแม้ในสมัยฮิตเล่อร์จะได้อาศัยประชาธิปไตยแต่ก็ใช้อำนาจเผด็จการนาซีปกครองประเทศ นำเยอรมันรุกรานประเทศอื่นจนในที่สุดก็แพ้ต่อกองทัพสัมพันธมิตร
หลังสงครามผู้นำใหม่ภายใต้คอนราด อาเดนเนาว์ ได้สนับสนุนให้ทุกพรรคการเมืองร่วมมือกันสร้างและให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชนโดยรัฐบาลสนับสนุนด้านการเงิน การให้การศึกษาไม่จำกัดอยู่ที่การอบรมหรือสัมมนา ยังมีการวิจัยและให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ รวมอยู่ด้วย
สำหรับเรื่องการสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยในเยอรมันนั้นประกอบไปด้วย ๒ ลักษณะคือ
ประการแรก ให้ความรู้ที่เป็นสาระและหลักการ กระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ประการที่สอง สร้างทักษะ สำหรับความจำเป็นต่อการเป็นพลเมืองซึ่งเกิดได้ก็ต้องมีข้อมูลข่าวสาร สามารถคิดวิเคราะห์ แสดงออกทางคำพูดและการกระทำ ติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมือง เข้าใจกระบวนการทางการเมืองและเข้าใจและวิจารณ์นโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ได้ ความรู้เช่นนี้สำคัญยิ่งกว่าสาระในหลักการประชาธิปไตยและเป็นความรู้ที่เรียนรู้ด้วยตนเองได้
ในด้านการสร้างทักษะทางการเมืองก็อาจทำได้ด้วย ๒ วิธีคือ
วิธีแรก ด้วยการหยิบยกประเด็นขึ้นมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่ไม่ใช่มาบรรยายกัน
วิธีที่สอง สร้างเหตุการณ์ที่สมมติให้บุคคลได้แสดงบทบาททางความคิดในสถานะต่างๆ กัน
ในแง่การเรียนการสอนประชาธิปไตยนั้น การบรรยายควรมีแค่ ๒๐เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือควรเป็นการฝึกทักษะในรูปแบบทั้งสองวิธีข้างต้น
เพื่อให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ก็ควรให้มีการฝึกทักษะการคิดรวมไว้ในหลักสูตรด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนสามารถที่จะแยกแยะประเด็นปัญหาต่างๆได้ และเป็นการฝึกให้มีการเคารพการรับฟังความคิดของผู้อื่น แม้ว่าความคิดของผู้อื่นนั้นจะแตกต่างไปจากความคิดของตนเอง
เพราะเหตุที่ว่าคนไทยไม่ได้มีระบบการเรียนรู้แบบนี้นี่เอง ทำให้เราไม่มีความชำนาญในการแก้ปัญหาแบบสันติวิธี และเราไม่มีประสบการณ์จากการพูดและแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีและตรงไปตรงมา
ในโรงเรียน ครูซึ่งมีหน้าที่สอนก็ควรสอนประชาธิปไตยโดยการรวบรวมเอากรณีศึกษาต่างๆมาให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ กระตุ้นให้เด็กเกิดความต้องการในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูอาจชี้แนะได้แต่ไม่ควรชี้นำ การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยจึงจะต้องใช้วิธีการแบบนี้ ไม่ใช่การสอนเนื้อหาสาระแบบเดิม
ในกระเทศเยอรมันกระบวนการสร้างพลเมืองเป็นเครื่องมือในการเตรียมประชาชนให้เป็นส่วนหนึ่งในสังคม มีการให้การศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
ความสำเร็จในเยอรมันอยู่ที่ความเป็นอิสระโดยรัฐไม่เข้าไปก้าวก่ายและเปิดให้มีความคิดหลากหลาย เพราะสิ่งที่สำคัญมากที่สุดประการหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยคือการแบ่งปันคุณค่าและความเชื่อต่อกัน
ในเยอรมันมีพรรคการเมือง๖พรรค ๖ อุดมการณ์ทางการเมือง แต่ละพรรคได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามอุดมการณ์ของตนโดยผ่านมูลนิธิทางการเมืองที่พรรคจัดตั้งขึ้น และพรรคก็ไม่เข้าไปก้าวก่ายกับมูลนิธิของตนด้วย มูลนิธิจึงมีอิสระในการเลือกวิธีการและกลุ่มเป้าหมาย มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการ
จะเห็นได้ว่าตัวอย่างในเยอรมันบ่งบอกถึงความก้าวหน้าและความใจกว้างในส่วนของรัฐและในส่วนของพรรค รวมทั้งระบบการจัดการเพื่อให้ประชาธิปไตยดำเนินไปได้ภายใต้กรอบและกติกาที่วางไว้อย่างยุติธรรมต่อบรรดาพรรคการเมืองทั้งหลาย
การที่ประชาธิปไตยในไทยจะเติบโตขึ้นได้นั้น เราอาจจะไม่ต้องเลียนแบบใคร แต่เราควรมีกติการเป็นของเราเอง
นอกจากนั้นเราควรสร้างและให้มีการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรัฐต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการริเริ่มตั้งแต่เด็กๆ เพื่อให้มีการเรียนรู้เป็นพื้นฐานที่มั่นคง เมื่อเติบโตขึ้นมาก็จะเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
เรายังเห็นด้วยว่า พรรคการเมืองไทยน่าจะมีมูลนิธิที่ได้รับการสนับสนุนในด้านงบประมาณจากรัฐเพื่อให้การศึกษาต่อประชาชนในด้านการสร้างพลเมือง โดยมูลนิธินี้ พรรคการเมืองไม่ควรเข้ามาก้าวก่าย เช่นเดียวกับที่เยอรมัน
หากเราทำได้สำเร็จ เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีแผนพัฒนาทางการเมืองด้วยซ้ำไปเพราะการเมืองไทยจะพัฒนาโดยตัวของมันไปเอง