xs
xsm
sm
md
lg

พระเจ้ามิลินทร์

เผยแพร่:   โดย: พระบาท นามเมือง

ก่อนที่ผมจะเข้าเรื่องพระเจ้ามิลินทร์ ขอนำเหรียญกษาปณ์ของพระเจ้ากนิษฐกะจากบทความที่แล้ว มาแสดงให้เห็นก่อนในที่นี้

จะเห็นจากภาพนี้ว่า เหรียญของพระองค์ด้านหลังเป็นรูปพระพุทธเจ้าทรงประทับยืนพร้อมอักษรกรีกจารึกว่าพุทธะหรือพุทธโธ พระเจ้ากนิษฐกะทรงประกาศว่า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในบวรพระพุทธศาสนา

ส่วนพระเจ้ามิลินทร์นั้นทรงเป็นกษัตรย์กรีกที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และนักประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญต่อพระองค์มากกว่าพระเจ้าอเล็กซานเด้อร์มหาราชด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะเหตุผลที่อาณาจักร์ของพระองค์นั้นกว้างใหญ่ไพศาลกว่าของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงมีกองทหารรถม้าศึกวิ่งตรวจตลอดแนวมาจนถึงพรมแดนพม่าตอนเหนือในปัจจับนและพรมแดนของพระองค์นั้น เกือบประชิดสยามประเทศทางตอนเหนือ

อาณาจักรของพระองค์นอกจากจะสงบ ยังรุ่งเรื่อง การค้าขายเติบโต

หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเห็นว่าพระเจ้ามิลินทร์ทรงมีพระชนมายุและครองราชย์ในระหว่างปี ๑๘๐จนถึง ๖๐ก่อนคริสตกาล และเข้ามาปกครองดินแดนเดิมที่กรีกปกครองอยู่ก่อนแล้ว แต่ได้มาขยายอาณาจักรให้กินพื้นที่ตั้งแต่บริเวณลุ่มน้ำเจลุ่ม ณ เมืองกัสปิเรีย(กรีกเรียกKaspeiria)ไปจนถึงบริเวณแม่น้ำราวี และกินพื้นที่ไปถึงพื้นที่ตอนใต้ของแคว้นกัษมีระหรือแคชเมียร์ นอกจากนี้ยังกว้างไปจรดเมืองกุลินธานีบริเวณหุบเขาเมืองบียส์ รวมถึงแม่น้ำ คงนาและยมนาด้วยซึ่งเวลานั้นมีชุมชนชาวกรีกอาศัยอยู่ที่เมืองอภิราและปาฎะลีน

ชุมชนชาวกรีกยังมีอยู่อีกที่บริเวณบุนเนื่อ์ บาจัว์ และสวัสดิ์ รวมทั้งที่เมืองบุษีลาติ ซึ่งตั้งระหว่างแม่น้ำ สวัสดิ์และแม่น้ำกาบูลปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน

ในทางทิศตะวันตก อาณาจักรของพระเจ้ามิลินทร์กินไปยังชายแดนปาโรปามิซาเดวึ่งติดกับสุรัตธาณีทางทิศตะวันออก ด่านสุดท้ายของอาณาจักรกรีกคือบริเวณฝั่งตะวันออกของปัญจาป

นอกเหนือจากเมืองมถุราแล้วเมืองสังฆาระก็อยู่ในอำนาจของพระเจ้ามิลินทร์

ในทิศเหนือนี้มีกรีกนับถือพุทธอยู่กันมากเมืองสังฆาระนั้นเป็นเมืองพุทธโดยแท้ แม้พวกกรีกจะพ่ายแพ้ไป แต่เหรียญที่ผลิตออกมาก็ยังคงใช้รูปแบบกรีกอยู่ เหรียญของพระองค์แผ่ไปทั่วชมพูทวีปรวมไปถึงเกาะอังกฤษทั้งนี้จากข้อมูลใน WIKIPEDIA

พระองค์ทรงตั้งเมืองหลวงที่สังฆาลาซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำชีนับกับราวีและยังมีพระราชวังฤดูร้อนในเมืองหลวงอยู่บนภูเขาอีกแห่งหนึ่งด้วย

พระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบสุขเนื่องจากได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกชนเผ่าในขณะนั้น

ในรัชสมัยของพระองค์การค้าการพาณิชย์รุ่งเรื่องมากโดยท่าเรื่อที่บารีกาซาเป็นทางออกทะเลสู่ตะวนตกผ่านทะเลแดงไปอียิปต์และจากทะเลในอ่างเปอร์เซียสู่บาบิโลเนียโดยกรีกคุมท่าเรือที่สุราชสถานในแคว้นเกรโดเซีย

การที่พระเจ้ามิลินทร์นับถือพระพุทธศาสนา พระองค์จึงได้รับพระนามด้วยว่า ทรงเป็นธรรมราชาโดยเรื่องนี้ได้ถูกบันทึกไว้โดยพลูตาร์คด้วย นอกจากนี้ศาสตราจารย์ทาร์นยังระบุว่าพระองค์ทรงเป็นผู้อ้างว่าเป็นกษัริย์ตามนัยยะของจักรวาทินหรือกษัตริย์แห่งกงล้อแห่งธรรมจักรนั่นเอง แม้กระทั่งพลูตาร์คก็บันทึกว่าพระองค์สวรรคตโดยได้รับเกียรติ์ในฐานะที่ยังเป็นจักรวาทินอยู่ ตำแหน่งนี้มีความยิ่งใหญ่มากสำหรับคนอินเดีย แต่ไม่ได้มีนัยยะต่อชาวกรีกในอินเดีย

พลูตาร์คกล่าวว่าภายหลังที่พระเจ้ามิลินทร์สวรรคตไปแล้วเถ้าถ่านของพระองค์ได้ถูกแบ่งปันกันไปยังบุคคลและกษัตริย์ทั้งหลายเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีตำนานเก่าแก่จากอนโดจีนระบุว่าพระแก้วมรกตนั้นถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์โดยพระนาคเสนเป็นผู้เสกมรกตขึ้นมาให้
เหรียญกษาปณ์ใช้ในรัชสมัยพระยามิลินทร์

เหรียญพระยามิลินทร์
เรื่องตำนานพระแก้วมรกตนั้นแม้ว่าจะมีมานานแต่ก็หาได้พิสูจน์ว่าเป็นจริงและแม้จะอยู่ในมิลินทปัญหาก็เถอะ

กลับมาพิจารณาเรื่องมิลินทปัญหานั้น เห็นกันทางปราชญ์ตะวันตกว่า น่าจะเขียนขึ้นภายหลังที่พระเจ้ามิลินทร์สวรรคตไปแล้ว และในบันทึกของกรีกที่ทำไว้นั้น มิลินทปัญหาได้ถูกส่งเก็บไว้ที่ห้องสมุด ณ เมืองอเล็กซานเดรียด้วย อย่างน้อย ๑ ฉบับ ห้องสมุดที่เมืองอเล็กซานเดอร์เป็นห้องสมุดที่รวมเอกสารต่างๆที่ใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ต่อมาได้เกิดไฟไหม้และเอกสารต่างๆถูกทำลายไปหมด

สำหรับคนที่เข้ามาศึกษาปัญหาในตะวันออกนั้น คงได้อ่านมิลินทร์ปัญหาในอินเดีย ประมาณ ๑๐๐ ปีก่อนคริสตกาลแล้ว

การประพันธ์มิลินทปัญาใช้ตรรกะปฏิบัติในรูปแบบของวิธิการแบบโสกราตีส
ภาพพระเจ้ามิลินทร์ยืนประทับ
จากข้อมูลของรีส เดวีส เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๙๐ ระบุว่าพระองค์ สละราชบัลลังค์ให้กับพระราชโอรส หลังจากนั้นทางผนวชเป็นพระภิกขุและสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แต่ข้อมูลของพลูตาร์คกลับบันทึกไว้ว่าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ในค่ายในช่วงเสด็จไปทำสงคราม

อย่างไรก็ตามมีหลักฐานว่า เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว มเหสี คืออกาโธคลีอ์ ทรงขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการอยู่ระยะหนึ่งกระทั่งพระราชโอรสมีความพร้อมจึงให้ครองราชย์ในเวลาต่อมา เป็นกษัตริย์พระนามว่า ศตราโต

เรื่องราวมีแค่นี้
กำลังโหลดความคิดเห็น