ในฐานะกลไกเล็ก ๆ กึ่งนอกกึ่งในขบวนการเคลื่อนไหว ผมไม่ทราบรายละเอียดแนวทางที่คุณ สนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศให้รอฟังแนวทางการเมืองใหม่ของพันธมิตร ซึ่งกำหนดจะเปิดเผยในวันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคมนี้
เงี่ยหูรอฟังพร้อม ๆ กับพี่น้องประชาชนทั้งที่เป็นเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อขาว เหมือนกัน
โดยส่วนตัวรู้สึกกังวลอยู่บ้างว่าคำประกาศดังกล่าวไม่ว่าจะออกมาเป็นแนวทางกว้าง ๆ, ไม่ว่าจะเป็นชุดแนวคิด, ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์เขียว หรือเป็นคัมภีร์ ล้วนแล้วแต่สุ่มเสี่ยงต่อการรุมสหบาทาจากรอบด้าน
แบบนี้แหละที่เป็นอาหารอันโอชะของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญการอ้างทฤษฎีมาชำแหละ สามารถแจกแจงได้ว่าบกพร่องอย่างไร มีจุดดีจุดด้อยอย่างไร
ที่สำคัญนี่เป็นแนวปฏิบัติไปแล้วกระมังที่ท่วงทำนองของการวิจารณ์งานประเภทนี้ส่วนหนึ่งมักจะสอดใส่ลูกเหน็บ ลูกตอด ลูกเหยียด ลงไปด้วยเพื่อให้เกิดความมันส์อันสุนทร
สถานการณ์การเมืองไทยเวลานี้ ต่อให้นักคิดระดับโลก อย่าง อดัม สมิท, จอหน์ ล็อก, มาเคียวเวลี, มาร์กซ์, เองเกล ฯลฯ กลับชาติมา หากสวมเสื้อเหลือง แล้วประกาศชุดความคิดหนึ่งใดออกมา ย่อมหนีไม่พ้นการถูกรุมชำแหละ หาจุดบกพร่อง หรือถูกสกัดกั้น-โจมตี
พยายามคิดว่าเป็นเรื่องปกติของสังคมเปิดแบบประชาธิปไตย !!!?
ตลอด 10 กว่าวันมานี้ มีบทวิพากษ์วิจารณ์ “การเมืองใหม่” ที่พันธมิตรพูดถึงอยู่พอสมควร บางท่านพยายามคาดคั้นเอาให้ได้ว่า ความคิดเรื่องนี้ที่เป็นพิมพ์เขียว หรือ เป็นคัมภีร์ คืออะไร เพื่อจะได้จับให้มั่นคั้นให้ตายได้มากกว่าการเหน็บแนมการเมืองแบบโควตาอ้อย หรือ บางท่านบอกว่าที่พันธมิตรไม่ได้ประกาศรายละเอียดเพราะกลัวสังคมจับได้ว่าเป็นความคิดล้าหลัง บางท่านไปกันใหญ่ถึงขั้นการเตรียมยึดอำนาจรัฐโดยกองกำลังติดอาวุธ
เพราะไปกันใหญ่แบบนี้กระมัง จึงต้องมีการอธิบายให้ชัดขึ้น
ซึ่งแน่นอนว่า เตรียมรอรับทั้งก้อนอิฐและดอกไม้กันไว้เลย ดูแนวโน้มแล้วสนุกกันใหญ่แน่นอน
สังคมไทยมักจะให้ความสนใจ ชุดความคิดสำเร็จรูป มากกว่า กระบวนการ
ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะสังเกตว่า ข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมแทบทั้งหมดพุ่งเป้าไปที่ การพยายามเค้นหาชุดความคิดสำเร็จรูปที่ดิ้นไม่ได้ เพื่อจะหยิบมาชำแหละได้ง่าย และ สะดวก
มีน้อยคนที่ให้ความสนใจ “กระบวนการ”
ทั้ง ๆ ที่กระบวนการมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน .. ก็ยังดีที่สังคมไทยเริ่มมีคนที่พยายามร่วมคิด ร่วมต่อยอด และเริ่มมีความรู้สึกว่าตนจะมีส่วนคิดส่วนสร้างแนวทางทำให้การเมืองในฝันเป็นอย่างไร
ยกตัวอย่างที่จับต้องได้ บทความเรื่อง “การเมืองใหม่” ภายใต้การต่อสู้ของพันธมิตรฯ ของ สุริยะใส กตะศิลา ที่ออนไลน์ค้างอยู่บนหน้าแรกของเว็บผู้จัดการตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน มีผู้เยี่ยมชมมากกว่า 18,000 คน มีความเห็นแลกเปลี่ยนมากกว่า 300 ความเห็น
นี่เป็นการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนผู้สนใจปัญหาชาติบ้านเมือง มีส่วนคิด ส่วนแย้ง ส่วนแลกเปลี่ยนกับข้อเสนอที่เป็นตุ๊กตา
ต่อยอดความคิดทั้งทางกว้าง และ ทางลึก
กระบวนการดังกล่าว เป็นกระบวนการแบบเปิด ..เรียกให้โก้ว่า “Open Source”
จากการตามไปฟัง แอบติดตามการพูดในหลาย ๆ ที่...ผมกล้าพูดว่าคุณ สนธิ ลิ้มทองกุล เชื่อในหลัก Open Source อย่างน้อยที่สุดก็นำหลักการดังกล่าวมาใช้เป็นปรัชญาก่อตั้งเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ จนประสบความสำเร็จ
การเปิดกว้างให้ต่อยอดแนวคิด และ ความรู้ ตามแนวนี้ก็เหมือนกับซอฟท์แวร์ Linux ที่กำลังเป็นหนามยอกบรรษัทยักษ์ใหญ่ผูกขาดเวลานี้
หรือไม่ก็คล้าย ๆ กับพจนานุกรมออนไลน์ Wikipedia นั่นแหละครับ
ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ๆ เลย ที่ประชาชนคนเดินดินทั่วไป ที่ไม่ได้อยู่ในวงวิชาการ -ไม่ได้เป็นนักรัฐศาสตร์จะออกมาแสดงตนร่วมเสนอความคิดว่าด้วย ระบบการเมือง ร่วมกันแลกเปลี่ยนออกแบบระบบการเมืองที่ตนอยากให้เป็น
กระบวนการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่จับต้องได้ของ ขบวนการประชาชนใหม่
สังเกตดูสิครับ ก่อนหน้านี้แทบไม่มีหรอกที่ประชาชนคนเดินดินจะออกมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อออกแบบการเมืองใหม่ร่วมกันแบบนี้ .!!! .. ร้อยทั้งร้อยปล่อยให้เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของ นักวิชาการ นักการเมือง ข้าราชการ ว่ากันไปเฉพาะกลุ่ม
แบบนี้แหละครับที่เรียกว่าการเมืองใหม่
นี่เป็นคุณูปการอย่างหนึ่งของบทความชิ้นนี้ที่สุริยะใสสร้างขึ้น...จะด้วยจงใจหรือไม่-ไม่รู้ แต่มันก็กระตุ้นให้คนได้ร่วมคิด เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างการเมืองใหม่โดยประชาชน
คำประกาศการสร้างการเมืองใหม่โดยประชาชน ที่คุณสนธิ จะพูดในวันที่ 4 นี้ .. แน่นอนว่าจะมีทั้งก้อนอิฐทั้งดอกไม้ และจะถูกขยายต่อทั้งบวกลบ
โดยส่วนตัว ผมหวังว่า นี่จะเป็นจุดกระตุ้นครั้งสำคัญของวิวาทะว่าด้วย “เราจะออกจากการเมืองแบบเก่า ไปสู่การเมืองใหม่” ได้อย่างไร
และเราจะพ้นจาก “การเมืองแบบตัวแทนผูกขาดไปสู่การเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง” ได้อย่างไร
คาดหวังว่า พื้นที่สาธารณะทั้งหลาย จะมีหัวข้อดังกล่าวถูกบรรจุเข้าสู่การถกเถียง
ฟากที่โยนก้อนอิฐมา - การชำแหละ ชี้จุดอ่อน โจมตีให้ตกลงไป ก็มีส่วนดี .. กระบวนการแบบวิภาษวิธีก็มีส่วนดีของมัน เพราะจะนำไปสู่การยกระดับชุดความคิดที่ดีกว่า
การตีอย่างเดียว ก็มีประโยชน์ แต่หากมีข้อเสนอที่ดีกว่า ก็ยิ่งได้ประโยชน์กว่า
ส่วนฟากดอกไม้ - การกระตุ้นให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้คิด ได้ร่วมเสนอแนะต่อ เสริมยอด หรือ ให้ไอเดียเสนอแนวคิดใหม่ ก็มีส่วนดี เพราะกระบวนการแบบ Open Source ก็มีส่วนดีของมัน
อย่างน้อยขอให้มันเป็นกระบวนการแบบเปิด
เปิดทั้งวิวาทะ เปิดจิตใจ เปิดความคิด เปิดมุมมอง ของประชาชนอย่างกว้างขวาง นำไปสู่การร่วมออกแบบ และสร้างประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงต่อไป
ผมเชื่อมั่นว่า นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และด้านสังคมศาสตร์ทั้งเสื้อขาว เสื้อแดง แทบทั้งหมดในประเทศคงไม่มีใครปฏิเสธการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง จึงถือวิสาสะขอเชิญทุกท่านมาร่วมออกแบบการเมืองใหม่พร้อมกับประชาชนในวาระนี้
ขออภัยแทนเจ้าภาพที่ไม่ได้ส่งบัตรเชิญ !
เงี่ยหูรอฟังพร้อม ๆ กับพี่น้องประชาชนทั้งที่เป็นเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อขาว เหมือนกัน
โดยส่วนตัวรู้สึกกังวลอยู่บ้างว่าคำประกาศดังกล่าวไม่ว่าจะออกมาเป็นแนวทางกว้าง ๆ, ไม่ว่าจะเป็นชุดแนวคิด, ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์เขียว หรือเป็นคัมภีร์ ล้วนแล้วแต่สุ่มเสี่ยงต่อการรุมสหบาทาจากรอบด้าน
แบบนี้แหละที่เป็นอาหารอันโอชะของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญการอ้างทฤษฎีมาชำแหละ สามารถแจกแจงได้ว่าบกพร่องอย่างไร มีจุดดีจุดด้อยอย่างไร
ที่สำคัญนี่เป็นแนวปฏิบัติไปแล้วกระมังที่ท่วงทำนองของการวิจารณ์งานประเภทนี้ส่วนหนึ่งมักจะสอดใส่ลูกเหน็บ ลูกตอด ลูกเหยียด ลงไปด้วยเพื่อให้เกิดความมันส์อันสุนทร
สถานการณ์การเมืองไทยเวลานี้ ต่อให้นักคิดระดับโลก อย่าง อดัม สมิท, จอหน์ ล็อก, มาเคียวเวลี, มาร์กซ์, เองเกล ฯลฯ กลับชาติมา หากสวมเสื้อเหลือง แล้วประกาศชุดความคิดหนึ่งใดออกมา ย่อมหนีไม่พ้นการถูกรุมชำแหละ หาจุดบกพร่อง หรือถูกสกัดกั้น-โจมตี
พยายามคิดว่าเป็นเรื่องปกติของสังคมเปิดแบบประชาธิปไตย !!!?
ตลอด 10 กว่าวันมานี้ มีบทวิพากษ์วิจารณ์ “การเมืองใหม่” ที่พันธมิตรพูดถึงอยู่พอสมควร บางท่านพยายามคาดคั้นเอาให้ได้ว่า ความคิดเรื่องนี้ที่เป็นพิมพ์เขียว หรือ เป็นคัมภีร์ คืออะไร เพื่อจะได้จับให้มั่นคั้นให้ตายได้มากกว่าการเหน็บแนมการเมืองแบบโควตาอ้อย หรือ บางท่านบอกว่าที่พันธมิตรไม่ได้ประกาศรายละเอียดเพราะกลัวสังคมจับได้ว่าเป็นความคิดล้าหลัง บางท่านไปกันใหญ่ถึงขั้นการเตรียมยึดอำนาจรัฐโดยกองกำลังติดอาวุธ
เพราะไปกันใหญ่แบบนี้กระมัง จึงต้องมีการอธิบายให้ชัดขึ้น
ซึ่งแน่นอนว่า เตรียมรอรับทั้งก้อนอิฐและดอกไม้กันไว้เลย ดูแนวโน้มแล้วสนุกกันใหญ่แน่นอน
สังคมไทยมักจะให้ความสนใจ ชุดความคิดสำเร็จรูป มากกว่า กระบวนการ
ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะสังเกตว่า ข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมแทบทั้งหมดพุ่งเป้าไปที่ การพยายามเค้นหาชุดความคิดสำเร็จรูปที่ดิ้นไม่ได้ เพื่อจะหยิบมาชำแหละได้ง่าย และ สะดวก
มีน้อยคนที่ให้ความสนใจ “กระบวนการ”
ทั้ง ๆ ที่กระบวนการมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน .. ก็ยังดีที่สังคมไทยเริ่มมีคนที่พยายามร่วมคิด ร่วมต่อยอด และเริ่มมีความรู้สึกว่าตนจะมีส่วนคิดส่วนสร้างแนวทางทำให้การเมืองในฝันเป็นอย่างไร
ยกตัวอย่างที่จับต้องได้ บทความเรื่อง “การเมืองใหม่” ภายใต้การต่อสู้ของพันธมิตรฯ ของ สุริยะใส กตะศิลา ที่ออนไลน์ค้างอยู่บนหน้าแรกของเว็บผู้จัดการตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน มีผู้เยี่ยมชมมากกว่า 18,000 คน มีความเห็นแลกเปลี่ยนมากกว่า 300 ความเห็น
นี่เป็นการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนผู้สนใจปัญหาชาติบ้านเมือง มีส่วนคิด ส่วนแย้ง ส่วนแลกเปลี่ยนกับข้อเสนอที่เป็นตุ๊กตา
ต่อยอดความคิดทั้งทางกว้าง และ ทางลึก
กระบวนการดังกล่าว เป็นกระบวนการแบบเปิด ..เรียกให้โก้ว่า “Open Source”
จากการตามไปฟัง แอบติดตามการพูดในหลาย ๆ ที่...ผมกล้าพูดว่าคุณ สนธิ ลิ้มทองกุล เชื่อในหลัก Open Source อย่างน้อยที่สุดก็นำหลักการดังกล่าวมาใช้เป็นปรัชญาก่อตั้งเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ จนประสบความสำเร็จ
การเปิดกว้างให้ต่อยอดแนวคิด และ ความรู้ ตามแนวนี้ก็เหมือนกับซอฟท์แวร์ Linux ที่กำลังเป็นหนามยอกบรรษัทยักษ์ใหญ่ผูกขาดเวลานี้
หรือไม่ก็คล้าย ๆ กับพจนานุกรมออนไลน์ Wikipedia นั่นแหละครับ
ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ๆ เลย ที่ประชาชนคนเดินดินทั่วไป ที่ไม่ได้อยู่ในวงวิชาการ -ไม่ได้เป็นนักรัฐศาสตร์จะออกมาแสดงตนร่วมเสนอความคิดว่าด้วย ระบบการเมือง ร่วมกันแลกเปลี่ยนออกแบบระบบการเมืองที่ตนอยากให้เป็น
กระบวนการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่จับต้องได้ของ ขบวนการประชาชนใหม่
สังเกตดูสิครับ ก่อนหน้านี้แทบไม่มีหรอกที่ประชาชนคนเดินดินจะออกมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อออกแบบการเมืองใหม่ร่วมกันแบบนี้ .!!! .. ร้อยทั้งร้อยปล่อยให้เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของ นักวิชาการ นักการเมือง ข้าราชการ ว่ากันไปเฉพาะกลุ่ม
แบบนี้แหละครับที่เรียกว่าการเมืองใหม่
นี่เป็นคุณูปการอย่างหนึ่งของบทความชิ้นนี้ที่สุริยะใสสร้างขึ้น...จะด้วยจงใจหรือไม่-ไม่รู้ แต่มันก็กระตุ้นให้คนได้ร่วมคิด เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างการเมืองใหม่โดยประชาชน
คำประกาศการสร้างการเมืองใหม่โดยประชาชน ที่คุณสนธิ จะพูดในวันที่ 4 นี้ .. แน่นอนว่าจะมีทั้งก้อนอิฐทั้งดอกไม้ และจะถูกขยายต่อทั้งบวกลบ
โดยส่วนตัว ผมหวังว่า นี่จะเป็นจุดกระตุ้นครั้งสำคัญของวิวาทะว่าด้วย “เราจะออกจากการเมืองแบบเก่า ไปสู่การเมืองใหม่” ได้อย่างไร
และเราจะพ้นจาก “การเมืองแบบตัวแทนผูกขาดไปสู่การเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง” ได้อย่างไร
คาดหวังว่า พื้นที่สาธารณะทั้งหลาย จะมีหัวข้อดังกล่าวถูกบรรจุเข้าสู่การถกเถียง
ฟากที่โยนก้อนอิฐมา - การชำแหละ ชี้จุดอ่อน โจมตีให้ตกลงไป ก็มีส่วนดี .. กระบวนการแบบวิภาษวิธีก็มีส่วนดีของมัน เพราะจะนำไปสู่การยกระดับชุดความคิดที่ดีกว่า
การตีอย่างเดียว ก็มีประโยชน์ แต่หากมีข้อเสนอที่ดีกว่า ก็ยิ่งได้ประโยชน์กว่า
ส่วนฟากดอกไม้ - การกระตุ้นให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้คิด ได้ร่วมเสนอแนะต่อ เสริมยอด หรือ ให้ไอเดียเสนอแนวคิดใหม่ ก็มีส่วนดี เพราะกระบวนการแบบ Open Source ก็มีส่วนดีของมัน
อย่างน้อยขอให้มันเป็นกระบวนการแบบเปิด
เปิดทั้งวิวาทะ เปิดจิตใจ เปิดความคิด เปิดมุมมอง ของประชาชนอย่างกว้างขวาง นำไปสู่การร่วมออกแบบ และสร้างประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงต่อไป
ผมเชื่อมั่นว่า นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และด้านสังคมศาสตร์ทั้งเสื้อขาว เสื้อแดง แทบทั้งหมดในประเทศคงไม่มีใครปฏิเสธการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง จึงถือวิสาสะขอเชิญทุกท่านมาร่วมออกแบบการเมืองใหม่พร้อมกับประชาชนในวาระนี้
ขออภัยแทนเจ้าภาพที่ไม่ได้ส่งบัตรเชิญ !