xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) จีนปลูก ‘ข้าวอวกาศ’ จากเมล็ดพันธุ์ที่ร่วมทริปเยือน ‘ดวงจันทร์’

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักข่าวซินหัวเผยคลิปภาพการย้ายต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เดินทางไปในอวกาศโดยยานสำรวจดวงจันทร์ฉังเอ่อ-5 ของจีนเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่ผ่านมา


“การนำเมล็ดพันธุ์ข้าวจากนอกโลกมาสู่แปลงเพาะปลูกต้องใช้กี่ขั้นตอนกันนะ?” หม่า หรู่เซวียน ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวซินหัว ตั้งคำถามขณะลงพื้นที่แปลงวิจัยพืชพันธุ์อวกาศในนครกว่างโจว มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน

ในภารกิจสำรวจดาวจันทร์ของ “ฉางเอ๋อ-5” (Chang’e 5) ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวราว 1,500 เมล็ด เดินทางในอวกาศเป็นเวลา 23 วัน  (แฟ้มภาพซินหัว)
ในภารกิจสำรวจดาวจันทร์ของ “ฉังเอ๋อ-5” (Chang’e 5) ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวราว 1,500 เมล็ด เดินทางในอวกาศเป็นเวลา 23 วัน เมื่อ “เมล็ดพันธุ์ข้าวอวกาศ” กลับมายังโลก ก็ถูกนำไปเพาะในเรือนกระจกของศูนย์วิจัยวิศวกรรมแห่งชาติด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชอวกาศ สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จีนตอนใต้ (SCAU) ในกว่างโจว จนกระทั่งในเดือนมี.ค.นี้เมล็ดพันธุ์ข้าวอวกาศแตกใบเขียวได้ขนาดกำลังดี และในวันจันทร์ (29 มี.ค.) ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ก็ได้นำต้นกล้าข้าวอวกาศมาลงแปลงข้าว

“ตอนนี้ต้นกล้ามาถึงศูนย์การวิจัยฯแล้วค่ะ และกำลังรอเข้าสู่กระบวนการปลูก” ผู้สื่อข่าวจีน กล่าวเปิดการนำเสนอขั้นตอนลงต้นกล้าข้าวอวกาศ...ขณะที่เจ้าหน้าที่นำเชือกมาขึงเพื่อจัดแปลงปลูกข้าวให้เป็นแถวแนวอย่างมีระเบียบ

การย้ายต้นกล้าพันธุ์อวกาศต้องอาศัยการดูแลและเอาใจใส่เป็นพิเศษเมื่อเทียบกับต้นกล้าธรรมดาทั่วไป

การทดลองเมล็ดพันธุ์ข้าวบนยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ-5 เป็นการทดลองในสภาพแวดล้อมอวกาศห้วงลึก ต้องสัมผัสกับรังสีในแถบแวนอัลเลน (Van Allen Belts) และจุดมืดดวงอาทิตย์ด้วย ในภาพ: เจ้าหน้าที่กำลังย้ายต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดพันธุ์ที่เดินทางไปในอวกาศกับยานสำรวจดวงจันฉังเอ่อร์-5 (แฟ้มภาพซินหัว)
หวังเจียเฟง เจ้าหน้าที่จากศูนย์ฯ เผยว่า “ขณะย้ายต้นกล้าที่งอกจากเมล็ดพันธุ์โคจรในอวกาศ มีสิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษหลายอย่างมากกว่าต้นกล้าทั่วไป ห้ามทำให้รากเสียหาย ต้องตัดปลายใบต้นกล้าก่อนย้ายมาลงแปลงเพาะปลูก เพราะหากไม่ตัดใบต้นกล้าส่วนปลายออก ต้นกล้าอาจลอยในน้ำและถูกทำลายเสียหายทั้งจากศัตรูพืช ต้น-ใบเน่า การตัดปลายใบต้นกล้าจะช่วยให้ต้นข้าวแตกใบเขียวเจริญงอกงามดี”

นอกเหนือจากการปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้เดินทางไปในอวกาศกับยานฉางเอ๋อ-5 แล้ว ยังมีการปลูกข้าวสายพันธุ์กลายพันธุ์ชนิดอื่นในแปลงทดลองเพื่อเปรียบเทียบกันด้วย

“ระยะออกรวงคือช่วงปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน ก่อนหน้านั้นเราต้องทำแปลงปลูกให้แห้งเพื่อป้องกันข้าวแตกใบอีก จากนั้นเราจะมุ่งไปที่ระยะออกรวงและระยะการสืบพันธุ์ของต้นข้าว โดยจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงประมาณ 1 เดือนหลังออกดอกราวช่วงต้นเดือนกรกฎาคม” คำบอกเล่าจากหวัง


เมล็ดพันธุ์ข้าวเหล่านี้เดินทางไปดวงจันทร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 เป็นระยะทางไกลมากกว่า 760,000 กิโลเมตร และกลับสู่โลกวันที่ 17 ธ.ค. โดยจัดเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวอวกาศรุ่นที่สอง เนื่องจาก “พ่อแม่” ของพวกมันเป็นเมล็ดพันธุ์อวกาศเช่นกัน

การทดลองเมล็ดพันธุ์ข้าวบนยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ-5 นับเป็นการทดลองครั้งแรก โดยเป็นการทดลองในสภาพแวดล้อมอวกาศห้วงลึก ต้องสัมผัสกับรังสีในแถบแวนอัลเลน (Van Allen Belts) และจุดมืดดวงอาทิตย์ด้วย เมล็ดพันธุ์อวกาศเหล่านี้ถูกส่งมอบให้กับศูนย์ฯ และเริ่มปลูกเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์

ทั้งนี้ เมล็ดพันธุ์พืชบางชนิดอาจกลายพันธุ์หลังจากสัมผัสกับรังสีคอสมิกและแรงโน้มถ่วงที่เป็นศูนย์ อีกทั้งจะให้ผลผลิตมากขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้นเมื่อนำกลับมาปลูกในแปลงบนโลก






กำลังโหลดความคิดเห็น