ไชน่าเดลี (9 พ.ค.) - รายงานฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการจัดสำรวจ จากองค์การสหประชาชาติ ระบุว่า การลงทุนทั่วโลกด้านการใช้พลังงานหมุนเวียนทั่วโลก ในปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เป็น 2.79 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จีนเป็นอันดับหนึ่ง
ตามข้อมูลของ ที่องค์การสหประชาชาติ ด้านสิ่งแวดล้อม ยังชี้ว่า ในปีพ. ศ. 2560 จีนเป็นจุดหมายปลายทางอันดับหนึ่ง สำหรับการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน มีมูลค่า 1.26 แสนล้านเหรียญ หรือ 45 เปอร์เซ็นต์ของการลงทุนทั่วโลก
ในปีที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการติดตั้งกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ รวมเป็นจำนวน 98 กิกะวัตต์ โดยจีนมีส่วนแบ่ง 53 กิกะวัตต์ หรือมากกว่าครึ่งหนึ่ง
แผนพัฒนาพลังงานระยะห้าปี (พ.ศ. 2559-2563) ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระบุว่า จีนจะจัดสรรงบประมาณ 2.5 ล้านล้านหยวน หรือราว 3.61 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2563 ในขณะที่ สำนักงานบริหารจัดการพลังงานแห่งชาติระบุว่า กำลังการผลิตติดตั้งของพลังงานลม น้ำ แสงอาทิตย์ และพลังงานนิวเคลียร์ จะคิดเป็นสัดส่วนราวครึ่งหนึ่งของการผลิตไฟฟ้าในปี 2563
จีนซึ่งเป็นเจ้าตลาดพลังงานรายใหญ่ของโลกกำลังหันหางเสือจาก “พลังงานถ่านหิน” ที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจมาหลายทศวรรษไปสู่พลังงานประเภทอื่นที่สะอาดมากขึ้น เนื่องจากจีนต้องการเอาชนะสงคราม “มลพิษทางอากาศ” ซึ่งสร้างความเสียหายต่อสังคมและเศรษฐกิจ
คณะกรรมการการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติ (เอ็นดีอาร์ซี) ซึ่งเป็นผู้วางแผนเศรษฐกิจของประเทศ ระบุว่า พลังงานลมจะได้รับเงินอุดหนุนราวเจ็ดแสนล้านหยวน พลังงานน้ำได้ห้าแสนล้านหยวน ส่วนที่เหลือจะเป็นของพลังงานน้ำขึ้น-น้ำลงและพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ลองดู 10 ประเทศแนวหน้า การลงทุนด้านพลังงานทดแทนในปีพ. ศ. 2560
1. จีน (1.26 แสนล้านเหรียญสหรัฐ)
2. สหรัฐอเมริกา (4.05 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ)
3. ญี่ปุ่น (1.34 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ)
4. อินเดีย (1.09 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ)
5. เยอรมนี (1.04 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ)
6. ออสเตรเลีย (8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
7. สหราชอาณาจักร (7.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
8. (ร่วม) บราซิล (6 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
8. (ร่วม) เม็กซิโก (6 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
10. สวีเดน (3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ)