xs
xsm
sm
md
lg

ทางรถไฟความเร็วสูงจีนพุ่งทะยาน 19,000 กม. ยาวสุดในโลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รถไฟหัวกระสุนภายในฐานจอดรถไฟความเร็วสูง นครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย (แฟ้มภาพ ซินหวา)
ไชน่า เดลี - เครือข่ายทางรถไฟความเร็วสูงแดนมังกรคว้าตำแหน่ง “ใหญ่ที่สุดในโลก” ด้วยระยะทางรวม 19,000 กิโลเมตร เมื่อสิ้นสุดปี พ.ศ.2558 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 ของทางรถไฟฯ ที่มีอยู่บนโลก

สื่อทางการจีนเผย (29 ก.พ.) ว่าการขยับขยายเครือข่ายทางรถไฟความเร็วสูง ได้ช่วยสร้างความสะดวกสบายแก่นักเดินทางอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และยังช่วยกระตุ้นการพัฒนาระดับท้องถิ่นอีกด้วย

เหล่าบริษัทสัญชาติจีนได้เร่งพัฒนาความสามารถระดับผู้นำในการก่อสร้างทางรถไฟฯ แม้ต้องเผชิญเงื่อนไขทางธรรมชาติสุดหฤโหด โดยสามารถออกแบบให้เส้นทางวิ่งทั่วประเทศ มีความเหมาะกับสภาพอากาศและภูมิศาสตร์ ที่แตกต่างหลากหลายกันออกไป

ตัวอย่างเช่น ทางรถไฟฯ สายฮาร์บิน-ต้าเหลียน ซึ่งต้องแล่นผ่านพื้นที่ที่มีอุณหภูมิลดต่ำกว่า -40 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว, ทางรถไฟฯ สายหลันโจว-ซินเจียง ที่วิ่งผ่านทะเลทรายโกบีอันแห้งแล้ง หรือทางรถไฟฯ บนเกาะไห่หนัน (ไหหลำ) ที่ต้องสามารถต้านทานความรุนแรงจากพายุไต้ฝุ่นได้ เป็นต้น

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2559 องค์การทางรถไฟจีน (ซีอาร์ซี) ได้วางแผนทุ่มงบประมาณอีก 800,000 ล้านหยวน หรือมากกว่า 4 ล้านล้านบาท ปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางรถไฟในภูมิภาคจีนตะวันตกและจีนตอนกลาง ที่ยังคงด้อยพัฒนาอยู่ในปัจจุบัน
ขบวนรถไฟหัวกระสุน รุ่น CRH2G ทดสอบการวิ่งบนทางรถไฟฯ สายฮาร์บิน-ต้าเหลียน (แฟ้มภาพ ซินหวา)
ทางรถไฟความเร็วสูงสายหลันโจว-ซินเจียง (แฟ้มภาพ ซินหวา)
ทางรถไฟความเร็วสูงสายหลันโจว-ซินเจียง (แฟ้มภาพ ซินหวา)
รถไฟหัวกระสุน รุ่น CRH380A ทดสอบวิ่งบนทางรถไฟความเร็วสูงสายเหอเฝย-ฝูโจว ในนครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน (แฟ้มภาพ ซินหวา)
ทางรถไฟความเร็วสูงสายฮาร์บิน-ต้าเหลียน (แฟ้มภาพ ซินหวา)
ทุ่งดอกไม้ริมทางรถไฟความเร็วสูงสายหลันโจว-ซินเจียง (แฟ้มภาพ ซินหวา)
ทางรถไฟความเร็วสูงสายหลันโจว-ซินเจียง (แฟ้มภาพ ซินหวา)
สถานีรถไฟปักกิ่งตอนใต้ จุดสิ้นสุดทางรถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ (แฟ้มภาพ ซินหวา)
ทางรถไฟความเร็วสูงเกาะไห่หนัน ช่วงไหโข่ว-หลิงเกาของฝั่งวงแหวนตะวันตก (แฟ้มภาพ ซินหวา)

กำลังโหลดความคิดเห็น