เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- เจ้าหน้าที่ระดับสูงจีนออกโรงเตือนสมาชิกพรรคฯในทิเบต อย่าช่วยกลุ่มผู้สนับสนุนทะไลลามะ ไม่งั้นเจอโทษหนักแน่นอน
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคฯ ออกโรงเตือนเมื่อวันพุธ(5 พ.ย.) จะลงโทษขั้นร้ายแรง หากสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ในเขตปกครองตนเองทิเบต ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มผู้สนับสนุนองค์ทะไลลามะ ผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณชาวทิเบต
ทิเบต เดลี เผยแพร่คำกล่าวของนายเฉิน เฉวียนกั๋ว เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ที่ประกาศกร้าวว่าจะสกัดและถอนรากถอนโคนสิ่งใดๆก็ตามที่โน้มเอียงเข้าข้างพวกลัทธิแบ่งแยกดินแดน
“สมาชิกพรรคฯ ที่ให้ที่พักพิงหรือปิดบังเกี่ยวกับกลุ่มที่ "เพ้อฝัน" เรื่องทะไล ลามะ เชื่อตามแนวคิดของกลุ่มศาสนานี้ หรือเข้าร่วมหนุนกิจกรรมแทรกซึมและบ่อนทำลายของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน จะได้รับโทษหนักตามกฎหมาย และกฎข้อบังคับด้านวินัยของพรรคฯ ทิเบต เดลี รายงาน อ้างคำกล่าวของนายเฉิน
การที่นายเฉินออกมาประณามองค์ทะไลลามะในที่สาธารณะเช่นนี้ บ่งบอกถึงท่าทีอันแข็งกร้าวไม่เลิกราต่อทะไล ลามะ ทั้งนี้ ทางการจีนประณามองค์ลามะ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2532 เป็น “สุนัขจิ้งจอกในคราบแกะ” ที่หวังใช้วิธีการรุนแรงเพื่อแยกทิเบตออกจากจีน
ในขณะที่เมื่อเดือนที่ผ่านมา องค์ทะไล ลามะ ได้แสดงความหวังที่จะเดินทางจาริกแสวงบุญไปยังจีน และกล่าวไว้ว่ากำลังหารือกับเจ้าหน้าที่จีน ถึงความเป็นไปได้ในเรื่องดังกล่าวอยู่
องค์ทะไล ลามะ ลี้ภัยไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ณ เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ในปี 2502 หลังจากที่ชาวทิเบตได้ลุกฮือต่อต้านการปกครองของจีน ทำให้จีนส่งกองกำลังเข้ามาปราบปรามอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดการนองเลือดครั้งใหญ่ และฝ่ายทิเบตมิอาจต่อต้านกองกำลังของจีนคอมมิวนิสต์ได้ โดยองค์ทะไลลามะเอง ระบุว่า เขาเพียงต้องการเอกราชที่แท้จริงให้กับทิเบต และไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง
ด้านนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า จีนริดรอนเสรีภาพและวัฒนธรรมทางศาสนาทิเบต ใช้การปกครองแบบ “กำปั้นเหล็ก” นับตั้งแต่กองทัพจีนเข้ามายังดินแดนทิเบตในปี 2493 รวมทั้งมีการห้ามแสดงรูปองค์ทะไล ลามะ ในเขตปกครองตนเองทิเบต
ในขณะที่รัฐบาลปักกิ่ง ออกมาปฏิเสธคำกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่า การปกครองจีนช่วยปลดปล่อยประชาชนออกจากระบบทาสและช่วยพัฒนาภูมิภาคยากจนหลังเขาแห่งนี้
อนึ่ง ความเห็นของนายเฉิน นอกจากจะสะท้อนสถานการณ์ขัดแย้งในทิเบต ยังบ่งชี้ถึงเสรีภาพการนับถือศาสนาในจีนด้วย
เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการตรวจสอบวินัยพรรคฯ ได้ส่งทีมเข้าไปสังเกตการณ์ในมณฑลเจ้อเจียง และพบว่า มีสมาชิกพรรคฯหลายคนหันไปนับถือศาสนา พีเพิลส์ เดลี กระบอกเสียงพรรคฯ รายงานผ่านเว็ปไซต์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (4 พ.ย.)
ทั้งนี้ แม้ในรัฐธรรมนูญจีนมีบทบัญญัติเคารพเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ทว่าพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปฏิเสธพระเจ้าก็ไม่รีรอที่จะบดขยี้ผู้ที่ท้าทายกฎของพรรคฯ ทั้งนี้ ตามกฎของพรรคฯได้ห้ามสมาชิกนับถือศาสนา
จีนคุมเข้มเรื่องศาสนามาตลอด โดยเฉพาะในเขตชนกลุ่มน้อย ดังเช่น ทิเบต กลุ่มลามะที่สนับสนุนองค์ทะไล ลามะ ถูกจำคุก ส่วนในซินเจียง ก็มีการประกาศสงครามกลุ่มศาสนาสุดโต่ง ในขณะที่เจ้อเจียง ซึ่งมีคริตสนิกชนจำนวนมาก ก็เกิดกรณีรื้อโบสถ์หลายแห่งในเวินโจวช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคฯ ออกโรงเตือนเมื่อวันพุธ(5 พ.ย.) จะลงโทษขั้นร้ายแรง หากสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ในเขตปกครองตนเองทิเบต ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มผู้สนับสนุนองค์ทะไลลามะ ผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณชาวทิเบต
ทิเบต เดลี เผยแพร่คำกล่าวของนายเฉิน เฉวียนกั๋ว เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต ที่ประกาศกร้าวว่าจะสกัดและถอนรากถอนโคนสิ่งใดๆก็ตามที่โน้มเอียงเข้าข้างพวกลัทธิแบ่งแยกดินแดน
“สมาชิกพรรคฯ ที่ให้ที่พักพิงหรือปิดบังเกี่ยวกับกลุ่มที่ "เพ้อฝัน" เรื่องทะไล ลามะ เชื่อตามแนวคิดของกลุ่มศาสนานี้ หรือเข้าร่วมหนุนกิจกรรมแทรกซึมและบ่อนทำลายของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน จะได้รับโทษหนักตามกฎหมาย และกฎข้อบังคับด้านวินัยของพรรคฯ ทิเบต เดลี รายงาน อ้างคำกล่าวของนายเฉิน
การที่นายเฉินออกมาประณามองค์ทะไลลามะในที่สาธารณะเช่นนี้ บ่งบอกถึงท่าทีอันแข็งกร้าวไม่เลิกราต่อทะไล ลามะ ทั้งนี้ ทางการจีนประณามองค์ลามะ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2532 เป็น “สุนัขจิ้งจอกในคราบแกะ” ที่หวังใช้วิธีการรุนแรงเพื่อแยกทิเบตออกจากจีน
ในขณะที่เมื่อเดือนที่ผ่านมา องค์ทะไล ลามะ ได้แสดงความหวังที่จะเดินทางจาริกแสวงบุญไปยังจีน และกล่าวไว้ว่ากำลังหารือกับเจ้าหน้าที่จีน ถึงความเป็นไปได้ในเรื่องดังกล่าวอยู่
องค์ทะไล ลามะ ลี้ภัยไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ณ เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ในปี 2502 หลังจากที่ชาวทิเบตได้ลุกฮือต่อต้านการปกครองของจีน ทำให้จีนส่งกองกำลังเข้ามาปราบปรามอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดการนองเลือดครั้งใหญ่ และฝ่ายทิเบตมิอาจต่อต้านกองกำลังของจีนคอมมิวนิสต์ได้ โดยองค์ทะไลลามะเอง ระบุว่า เขาเพียงต้องการเอกราชที่แท้จริงให้กับทิเบต และไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง
ด้านนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า จีนริดรอนเสรีภาพและวัฒนธรรมทางศาสนาทิเบต ใช้การปกครองแบบ “กำปั้นเหล็ก” นับตั้งแต่กองทัพจีนเข้ามายังดินแดนทิเบตในปี 2493 รวมทั้งมีการห้ามแสดงรูปองค์ทะไล ลามะ ในเขตปกครองตนเองทิเบต
ในขณะที่รัฐบาลปักกิ่ง ออกมาปฏิเสธคำกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่า การปกครองจีนช่วยปลดปล่อยประชาชนออกจากระบบทาสและช่วยพัฒนาภูมิภาคยากจนหลังเขาแห่งนี้
อนึ่ง ความเห็นของนายเฉิน นอกจากจะสะท้อนสถานการณ์ขัดแย้งในทิเบต ยังบ่งชี้ถึงเสรีภาพการนับถือศาสนาในจีนด้วย
เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการตรวจสอบวินัยพรรคฯ ได้ส่งทีมเข้าไปสังเกตการณ์ในมณฑลเจ้อเจียง และพบว่า มีสมาชิกพรรคฯหลายคนหันไปนับถือศาสนา พีเพิลส์ เดลี กระบอกเสียงพรรคฯ รายงานผ่านเว็ปไซต์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (4 พ.ย.)
ทั้งนี้ แม้ในรัฐธรรมนูญจีนมีบทบัญญัติเคารพเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่ทว่าพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปฏิเสธพระเจ้าก็ไม่รีรอที่จะบดขยี้ผู้ที่ท้าทายกฎของพรรคฯ ทั้งนี้ ตามกฎของพรรคฯได้ห้ามสมาชิกนับถือศาสนา
จีนคุมเข้มเรื่องศาสนามาตลอด โดยเฉพาะในเขตชนกลุ่มน้อย ดังเช่น ทิเบต กลุ่มลามะที่สนับสนุนองค์ทะไล ลามะ ถูกจำคุก ส่วนในซินเจียง ก็มีการประกาศสงครามกลุ่มศาสนาสุดโต่ง ในขณะที่เจ้อเจียง ซึ่งมีคริตสนิกชนจำนวนมาก ก็เกิดกรณีรื้อโบสถ์หลายแห่งในเวินโจวช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา