เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- คณะกรรมการวางแผนเศรษฐกิจระดับสูงของจีน เตรียมปัดฝุ่นแผนสร้างเขื่อนใหญ่ทะเลสาบ “ปั๋วหยาง” ด้านนักสิ่งแวดล้อมค้านอย่างหนัก หวั่นกระทบระบบนิเวศทางธรรมชาติในพื้นที่
คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ เรียกประชุมปัดฝุ่นโครงการเขื่อนทะเลสาบปั๋วหยาง ไปเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา (ก.ค.) ทว่ายังไม่มีการสรุปผลประชุมออกมาแน่ชัด เจ้าหน้าที่กรมการชลประทานของมณฑลเจียงซี ระบุ
แนวคิดเรื่องโครงการเขื่อนทะเลสาบปั๋วหยาง เริ่มมาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อรักษาระดับน้ำในทะเลสาบฯ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไว้ เนื่องจากน้ำในทะเลสาบฯ ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการก่อสร้างเขื่อนสามโตรก หรือซันสยา (Three Gorges Dam) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกบริเวณต้นแม่น้ำแยงซีเกียง
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเจียงซี ระบุว่า มีการกักน้ำไว้หลังเขื่อนสามโตรก เพื่อใช้หมุนกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าในช่วงหน้าหนาว ดังนั้น น้ำในทะลสาบปั๋วหยางจึงขาดแคลน และลดระดับลงเรื่อยๆ และตั้งแต่ปี 2545 จนกระทั่งเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว (2556) ระดับน้ำในทะเลสาบฯ เหือดหายเป็นประวัติการณ์ โดยลดลงถึง 7.5 เมตร
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ฯ ยังระบุอีกว่า เขื่อนทะเลสาบฯ ที่จะสร้างขึ้นนี้ จะมีชุดบานระบายตะกอน ยาวตลอด 3 กิโลเมตรตามส่วนที่แคบที่สุดของลำน้ำที่เชื่อมเข้าสู่ทะเลสาบเข้ากับแม่น้ำแยงซีเกียง
อนึ่ง โครงการเขื่อนทะเลสาบปั๋วหยาง ได้รับการผลักดันจากนายซู หรง อดีตเลขาธิการพรรคฯ ประจำมณฑลเจียงซี ซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาการเมืองของประเทศเมื่อเดือนมี.ค.ปีที่แล้ว (2556) แต่ต่อมาก็ถูกปลดจากตำแหน่งเพื่อเข้ารับการไต่สวนเรื่องการทุจริต ในเดือนมิ.ย. ปีเดียวกัน นับแต่นั้นมา โครงการเขื่อนทะเลสาบปั๋วหยางจึงมีอันต้องชะงักไป
ทว่า หลังจากที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเจียงซีเดินหน้าล็อบบี้โครงการฯ นี้ต่อ โครงการเขื่อนใหญ่ทะเลสาบ “ปั๋วหยาง” จึงได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงทรัพยากรน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“เขื่อน เป็นทางเลือกที่ยากมากสำหรับพวกเรา” ทเวนตี้เฟิร์ส เซนจูรี บิสิเนส เฮรัลด์ (21st Centuray Business Herald) อ้างคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น “ในแง่หนึ่ง เราลงแรงไปมากเพื่อให้โครงการฯ ได้รับการอนุมัติ ถ้าเราถอยตอนนี้ มันก็ไม่มีที่ไปต่อ แต่อีกแง่หนึ่ง ถ้าเราเดินหน้า เราก็จะกลายเป็นเป้าให้กับพวกนักสิ่งแวดล้อม”
ด้านเสียงคัดค้านจากนักสิ่งแวดล้อมที่ยืนกรานเห็นตรงกันข้าม ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการฯ ให้เหตุผลว่า เขื่อนในมณฑลเจียงซีจะทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ ซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาพันธุ์ โดยเฉพาะสัตว์พันธุ์หายาก
ในช่วงเปลี่ยนฤดู ระดับน้ำในทะเลสาบปั๋วหยางเป็นที่อยู่อาศัยของนกหายากหลายสายพันธุ์ นกกระเรียนสายพันธุ์ไซบีเรียกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ อพยพยมาอยู่ที่นี่ในฤดูหนาว นอกจากนี้ ยังเป็นบ้านสำหรับโลมาหัวบาตรหลังเรียบ ซึ่งใกล้สูญพันธุ์ และหลงเหลืออยู่ไม่ 1,000 ตัว
อย่างไรก็ตาม กรณีเขื่อนทะเลสาบปั๋วหยาง ยังสะท้อนให้เห็นกรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนเสี่ยวหนันไห่ ต้นแม่น้ำแยงซีเกียงในนครฉงชิ่ง ซึ่งได้รับการผลักดันจากนายปั๋ว ซีไหล อดีตสมาชิกคณะกรรมการกรมการเมืองจีน อดีตนายกเทศมนตรีเมืองต้าเหลียน อดีตรัฐมนตรีพาณิชย์ และอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำนครฉงชิ่ง
ต่อมาเมื่อนายปั๋ว ร่วงจากอำนาจด้วยข้อหาคอร์รัปชั่น รับสินบน และใช้อำนาจในทางมิชอบ โครงการดังกล่าวก็ถูกพับไว้
“เขื่อนตัดลำน้ำสายใหญ่ให้ขาดเป็นเสี่ยงๆ และสุดท้ายก็จะกลายเป็นทะเลสาบแห้งขอด หากการก่อสร้างบ้าๆ พวกนี้ยังดำเนินต่อไป” นางหวัง หย่งเฉิน นักสิ่งแวดล้อมจากแผ่นดินใหญ่ระบุ
“ถึงเวลาแล้วที่นักการเมืองจะเลิกตัดสินใจแบบนั้น”
คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ เรียกประชุมปัดฝุ่นโครงการเขื่อนทะเลสาบปั๋วหยาง ไปเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา (ก.ค.) ทว่ายังไม่มีการสรุปผลประชุมออกมาแน่ชัด เจ้าหน้าที่กรมการชลประทานของมณฑลเจียงซี ระบุ
แนวคิดเรื่องโครงการเขื่อนทะเลสาบปั๋วหยาง เริ่มมาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อรักษาระดับน้ำในทะเลสาบฯ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไว้ เนื่องจากน้ำในทะเลสาบฯ ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการก่อสร้างเขื่อนสามโตรก หรือซันสยา (Three Gorges Dam) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกบริเวณต้นแม่น้ำแยงซีเกียง
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเจียงซี ระบุว่า มีการกักน้ำไว้หลังเขื่อนสามโตรก เพื่อใช้หมุนกังหันน้ำผลิตไฟฟ้าในช่วงหน้าหนาว ดังนั้น น้ำในทะลสาบปั๋วหยางจึงขาดแคลน และลดระดับลงเรื่อยๆ และตั้งแต่ปี 2545 จนกระทั่งเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว (2556) ระดับน้ำในทะเลสาบฯ เหือดหายเป็นประวัติการณ์ โดยลดลงถึง 7.5 เมตร
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ฯ ยังระบุอีกว่า เขื่อนทะเลสาบฯ ที่จะสร้างขึ้นนี้ จะมีชุดบานระบายตะกอน ยาวตลอด 3 กิโลเมตรตามส่วนที่แคบที่สุดของลำน้ำที่เชื่อมเข้าสู่ทะเลสาบเข้ากับแม่น้ำแยงซีเกียง
อนึ่ง โครงการเขื่อนทะเลสาบปั๋วหยาง ได้รับการผลักดันจากนายซู หรง อดีตเลขาธิการพรรคฯ ประจำมณฑลเจียงซี ซึ่งได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาการเมืองของประเทศเมื่อเดือนมี.ค.ปีที่แล้ว (2556) แต่ต่อมาก็ถูกปลดจากตำแหน่งเพื่อเข้ารับการไต่สวนเรื่องการทุจริต ในเดือนมิ.ย. ปีเดียวกัน นับแต่นั้นมา โครงการเขื่อนทะเลสาบปั๋วหยางจึงมีอันต้องชะงักไป
ทว่า หลังจากที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเจียงซีเดินหน้าล็อบบี้โครงการฯ นี้ต่อ โครงการเขื่อนใหญ่ทะเลสาบ “ปั๋วหยาง” จึงได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงทรัพยากรน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“เขื่อน เป็นทางเลือกที่ยากมากสำหรับพวกเรา” ทเวนตี้เฟิร์ส เซนจูรี บิสิเนส เฮรัลด์ (21st Centuray Business Herald) อ้างคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น “ในแง่หนึ่ง เราลงแรงไปมากเพื่อให้โครงการฯ ได้รับการอนุมัติ ถ้าเราถอยตอนนี้ มันก็ไม่มีที่ไปต่อ แต่อีกแง่หนึ่ง ถ้าเราเดินหน้า เราก็จะกลายเป็นเป้าให้กับพวกนักสิ่งแวดล้อม”
ด้านเสียงคัดค้านจากนักสิ่งแวดล้อมที่ยืนกรานเห็นตรงกันข้าม ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการฯ ให้เหตุผลว่า เขื่อนในมณฑลเจียงซีจะทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ ซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาพันธุ์ โดยเฉพาะสัตว์พันธุ์หายาก
ในช่วงเปลี่ยนฤดู ระดับน้ำในทะเลสาบปั๋วหยางเป็นที่อยู่อาศัยของนกหายากหลายสายพันธุ์ นกกระเรียนสายพันธุ์ไซบีเรียกว่า 98 เปอร์เซ็นต์ อพยพยมาอยู่ที่นี่ในฤดูหนาว นอกจากนี้ ยังเป็นบ้านสำหรับโลมาหัวบาตรหลังเรียบ ซึ่งใกล้สูญพันธุ์ และหลงเหลืออยู่ไม่ 1,000 ตัว
อย่างไรก็ตาม กรณีเขื่อนทะเลสาบปั๋วหยาง ยังสะท้อนให้เห็นกรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนเสี่ยวหนันไห่ ต้นแม่น้ำแยงซีเกียงในนครฉงชิ่ง ซึ่งได้รับการผลักดันจากนายปั๋ว ซีไหล อดีตสมาชิกคณะกรรมการกรมการเมืองจีน อดีตนายกเทศมนตรีเมืองต้าเหลียน อดีตรัฐมนตรีพาณิชย์ และอดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำนครฉงชิ่ง
ต่อมาเมื่อนายปั๋ว ร่วงจากอำนาจด้วยข้อหาคอร์รัปชั่น รับสินบน และใช้อำนาจในทางมิชอบ โครงการดังกล่าวก็ถูกพับไว้
“เขื่อนตัดลำน้ำสายใหญ่ให้ขาดเป็นเสี่ยงๆ และสุดท้ายก็จะกลายเป็นทะเลสาบแห้งขอด หากการก่อสร้างบ้าๆ พวกนี้ยังดำเนินต่อไป” นางหวัง หย่งเฉิน นักสิ่งแวดล้อมจากแผ่นดินใหญ่ระบุ
“ถึงเวลาแล้วที่นักการเมืองจะเลิกตัดสินใจแบบนั้น”