เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- กรมการกิจการพลเรือนเมืองซีอาน ออกกฎ รับจดทะเบียนหย่าแค่วันละ 15 คู่ หวังช่วยแก้ปัญหาครอบครัวร้าวฉาน ด้านฝ่ายต่อต้านชี้ ละเมิดกฎหมายและก้าวก่ายสิทธิส่วนบุคคล
กรมการกิจการพลเรือนในเขตฉางอัน เมืองซีอาน มณฑลส่านซี ออกกฎเข้มงวด จำกัดการให้บริการจดทะเบียนหย่า แค่วันละ 15 คู่ และรับเฉพาะผู้มาก่อนเท่านั้น ซานชิน เมโทรโพลิส เดลี (Sanqin Metropolis Daily) รายงาน
หลิน เหวินฮุ่ย ผู้อำนวยการหน่วยดูแลการจดทะเบียนสมรส ในกำกับของกรมการฯ ระบุ การให้โควตา 15 คู่ต่อวัน เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนมี.ค. 2555 เพื่อช่วยแก้ปัญหาครอบครัวหย่าร้าง เพราะอัตราการหย่าร้างของจีนสูงขึ้นเรื่อยๆ
“คู่รักวัยรุ่นมักใจร้อน ทะเลาะกันก็จะหย่า แต่การกำหนดโควตาต่อวัน ทำให้พวกเขามีเวลาคิดทบทวนการตัดสินใจมากขึ้น” นางหลิน กล่าว “หลังกำหนดโควตา เราก็เห็นบ่อยเหมือนกันว่า คู่ที่มารอหย่าตั้งแต่เช้ากลับเปลี่ยนใจในตอนบ่าย”
ทั้งนี้ หลังการใช้โควตาก็พบว่า อัตราการหย่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2555 มีการหย่าร้างเพียง 140 คู่ ในขณะที่ปี 2554 มีการหย่าร้างถึง 1,900 คู่
อย่างไรก็ดี หลังข่าวเรื่องโควตาการหย่าเผยแพร่ออกไปทางเว่ยปั๋ว (คล้ายทวิตเตอร์) ก็มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องดังกล่าวกันอย่างมากตลอดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากหลายคนเห็นว่า กฎใหม่นี้ละเมิดกฎหมายของประเทศในเรื่องการแต่งงานและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
“กรมการกิจการพลเรือน ไม่มีสิทธิตัดสินใจแทนคู่แต่งงาน” ผู้ใช้เว่ยปั๋วชื่อว่า หยันหยัน โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นไว้
“ในประเทศนี้ทางการไม่ควบคุมอะไรบ้าง” บล็อกเกอร์อีกคน แสดงความคิดเห็นอย่างประชดประชันไว้
อย่างไรก็ตาม กระแสการต่อต้านโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับบทวิจารณ์ชิ้นหนึ่งในซินหวา กระบอกเสียงของรัฐ โดยระบุว่า โควตาดังกล่าวเป็น “การตีความหลักนิติธรรมอย่างผิดพลาด” แม้จะทำด้วยเจตนาดีแต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างสำหรับการละเมิดกฎหมาย ซินหวาระบุ
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญจีนให้เสรีภาพในการแต่งงาน ส่วนคู่ใดต้องการหย่า ก็สามารถยื่นคำร้องขอหย่าได้ กฎหมายการแต่งงานและการหย่าร้าง ระบุไว้
ส่วนสื่อสำนักอื่น รายงานว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มณฑลอื่น ทั้งซานตง เจียงซู และก่วงตงก็เริ่มใช้การกำหนดโควตาหย่าร้างเช่นเดียวกันนี้ เพื่อป้องกันการทำเรื่อง “หย่าแบบปลอมๆ” เนื่องจากการหย่าร้างจะทำให้บุคคลได้รับยกเว้นการจ่ายภาษีทรัพย์สินสำหรับบ้านพักอาศัยหลังที่สอง
อนึ่ง จีนกำลังประสบปัญหาการหย่าร้างอย่างมาก เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมากระทรวงกิจการพลเรือนจีนออกรายงานด้านสถิติการพัฒนาทางสังคม ประจำปี 2556 ระบุ อัตราการหย่าร้างของประชาชนในประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดสิบปีที่ผ่านมา เฉพาะปี 2556 มีการหย่าร้างไปถึง 3.5 ล้านคู่ สูงจากปี 2555 ถึง 12.8 เปอร์เซ็นต์
กรมการกิจการพลเรือนในเขตฉางอัน เมืองซีอาน มณฑลส่านซี ออกกฎเข้มงวด จำกัดการให้บริการจดทะเบียนหย่า แค่วันละ 15 คู่ และรับเฉพาะผู้มาก่อนเท่านั้น ซานชิน เมโทรโพลิส เดลี (Sanqin Metropolis Daily) รายงาน
หลิน เหวินฮุ่ย ผู้อำนวยการหน่วยดูแลการจดทะเบียนสมรส ในกำกับของกรมการฯ ระบุ การให้โควตา 15 คู่ต่อวัน เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนมี.ค. 2555 เพื่อช่วยแก้ปัญหาครอบครัวหย่าร้าง เพราะอัตราการหย่าร้างของจีนสูงขึ้นเรื่อยๆ
“คู่รักวัยรุ่นมักใจร้อน ทะเลาะกันก็จะหย่า แต่การกำหนดโควตาต่อวัน ทำให้พวกเขามีเวลาคิดทบทวนการตัดสินใจมากขึ้น” นางหลิน กล่าว “หลังกำหนดโควตา เราก็เห็นบ่อยเหมือนกันว่า คู่ที่มารอหย่าตั้งแต่เช้ากลับเปลี่ยนใจในตอนบ่าย”
ทั้งนี้ หลังการใช้โควตาก็พบว่า อัตราการหย่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2555 มีการหย่าร้างเพียง 140 คู่ ในขณะที่ปี 2554 มีการหย่าร้างถึง 1,900 คู่
อย่างไรก็ดี หลังข่าวเรื่องโควตาการหย่าเผยแพร่ออกไปทางเว่ยปั๋ว (คล้ายทวิตเตอร์) ก็มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องดังกล่าวกันอย่างมากตลอดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากหลายคนเห็นว่า กฎใหม่นี้ละเมิดกฎหมายของประเทศในเรื่องการแต่งงานและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
“กรมการกิจการพลเรือน ไม่มีสิทธิตัดสินใจแทนคู่แต่งงาน” ผู้ใช้เว่ยปั๋วชื่อว่า หยันหยัน โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นไว้
“ในประเทศนี้ทางการไม่ควบคุมอะไรบ้าง” บล็อกเกอร์อีกคน แสดงความคิดเห็นอย่างประชดประชันไว้
อย่างไรก็ตาม กระแสการต่อต้านโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับบทวิจารณ์ชิ้นหนึ่งในซินหวา กระบอกเสียงของรัฐ โดยระบุว่า โควตาดังกล่าวเป็น “การตีความหลักนิติธรรมอย่างผิดพลาด” แม้จะทำด้วยเจตนาดีแต่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างสำหรับการละเมิดกฎหมาย ซินหวาระบุ
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญจีนให้เสรีภาพในการแต่งงาน ส่วนคู่ใดต้องการหย่า ก็สามารถยื่นคำร้องขอหย่าได้ กฎหมายการแต่งงานและการหย่าร้าง ระบุไว้
ส่วนสื่อสำนักอื่น รายงานว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มณฑลอื่น ทั้งซานตง เจียงซู และก่วงตงก็เริ่มใช้การกำหนดโควตาหย่าร้างเช่นเดียวกันนี้ เพื่อป้องกันการทำเรื่อง “หย่าแบบปลอมๆ” เนื่องจากการหย่าร้างจะทำให้บุคคลได้รับยกเว้นการจ่ายภาษีทรัพย์สินสำหรับบ้านพักอาศัยหลังที่สอง
อนึ่ง จีนกำลังประสบปัญหาการหย่าร้างอย่างมาก เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมากระทรวงกิจการพลเรือนจีนออกรายงานด้านสถิติการพัฒนาทางสังคม ประจำปี 2556 ระบุ อัตราการหย่าร้างของประชาชนในประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดสิบปีที่ผ่านมา เฉพาะปี 2556 มีการหย่าร้างไปถึง 3.5 ล้านคู่ สูงจากปี 2555 ถึง 12.8 เปอร์เซ็นต์