ไชน่าเดลี - งานวิจัยชี้ อัตราการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุในชนบทของจีนเพิ่มสูงขึ้นในรอบ 20 ปี ปัจจัยหลักมาจากคุณภาพชีวิตต่ำ ทำให้ส่วนใหญ่เต็มใจละทิ้งโลก และที่น่าตกใจคือลูกหลานมองกระแสการฆ่าตัวตายในคนแก่เป็นเรื่องธรรมดา
นายหลิว หยันอู่ นักสังคมวิทยา จากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ทำการวิจัยเรื่องการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุในชนบท โดยเก็บข้อมูลจากหมู่บ้าน 10 แห่งในอำเภอจิงชาน มณฑลหูเป่ย เป็นเวลานานกว่า 6 ปี
ผลการวิจัย พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุในชนบทเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาโดยปัจจุบัน อัตราการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุเพิ่มจาก 100 ต่อ 100,000 เป็น 500 ต่อ 100,000 คน เฉพาะในช่วงที่เขาเก็บข้อมูลในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เพียงแค่ 2 สัปดาห์ มีผู้สูงอายุฆ่าตัวตายไปถึง 3 คน และในหมู่บ้านใกล้เคียงก็เกิดโศกนาฏกรรมแบบนี้เช่นกัน
ในการวิจัยยังพบว่าในเมืองอิงเฉิงไม่กี่ปีมานี้ คนแก่เสียชีวิตโดยธรรมชาติน้อยลง ส่วนในบางหมู่บ้าน ก็มีกรณีการฆ่าตัวตาย เช่น การกระโดดบ่อน้ำ บางรายที่เป็นอัมพาตก็กินยาฆ่าแมลงเพื่อปลิดชีพตัวเอง
อย่างไรก็ตาม นายหลิว พบว่า ในอิ้งเฉิงและจิงชาน บุตรหลานของผู้เสียชีวิตจะไม่ถูกตำหนิติเตียนที่ปล่อยให้ผู้สูงอายุฆ่าตัวตาย เพราะเชื่อกันว่าการตายเป็นการบรรเทาทุกข์ให้กับคนแก่
“สิ่งที่ทำให้ผมตกใจก็คือ ในแต่ละหมู่บ้านที่คนแก่ฆ่าตัวตาย คนมองว่าความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องธรรมดา กระทั่งว่ามันถือเป็นความสุขด้วยซ้ำ” นายหลิว กล่าว
และเมื่อเขาขยายพื้นที่เก็บข้อมูลไปยังหมู่บ้านอื่นของหูเป่ย เจียงซู เจ้อเจียง ซานตง ซานซี เหอเป่ย เหอหนัน และ กุ้ยโจว ก็พบว่าสถานการณ์การฆ่าตัวตายแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ทว่า สาเหตุหลักมาจากการมีคุณภาพชีวิตต่ำ นายหลิว กล่าว
ความกตัญญูกตเวทีเป็นค่านิยมของจีนแต่ดั้งเดิม แต่คนแก่ในชนบทก็ไม่อาจพึ่งพาบุตรหลานได้ตลอด เพราะสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากนี้ระบบเงินบำนาญก็ล้มเหลว
นายหลิว กล่าวว่า คนหนุ่มสาวในชนบทมีแผนการเงินในการดูแลคนแก่ที่เจ็บป่วย เช่น หากค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 30,000 หยวน หรือราวๆ 150,000 บาท และคนแก่สามารถมีชีวิตอยู่ได้อีก 10 ปี โดยมีรายได้ปีละ 3,000 หยวน (ประมาณ 15,000 บาท) ถือว่าคุ้มค่า แต่ถ้ามีชีวิตอยู่ได้น้อยกว่านี้ ก็ถือว่าสิ้นเปลืองเงินทอง
ทั้งนี้ ในประเทศจีน ชาวนามีชีวิตค่อนข้างลำบาก และชาวนาสูงอายุจะลำบากมากที่สุด นายหลิวกล่าว
นายหลิว หยันอู่ นักสังคมวิทยา จากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ทำการวิจัยเรื่องการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุในชนบท โดยเก็บข้อมูลจากหมู่บ้าน 10 แห่งในอำเภอจิงชาน มณฑลหูเป่ย เป็นเวลานานกว่า 6 ปี
ผลการวิจัย พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุในชนบทเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาโดยปัจจุบัน อัตราการฆ่าตัวตายของผู้สูงอายุเพิ่มจาก 100 ต่อ 100,000 เป็น 500 ต่อ 100,000 คน เฉพาะในช่วงที่เขาเก็บข้อมูลในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เพียงแค่ 2 สัปดาห์ มีผู้สูงอายุฆ่าตัวตายไปถึง 3 คน และในหมู่บ้านใกล้เคียงก็เกิดโศกนาฏกรรมแบบนี้เช่นกัน
ในการวิจัยยังพบว่าในเมืองอิงเฉิงไม่กี่ปีมานี้ คนแก่เสียชีวิตโดยธรรมชาติน้อยลง ส่วนในบางหมู่บ้าน ก็มีกรณีการฆ่าตัวตาย เช่น การกระโดดบ่อน้ำ บางรายที่เป็นอัมพาตก็กินยาฆ่าแมลงเพื่อปลิดชีพตัวเอง
อย่างไรก็ตาม นายหลิว พบว่า ในอิ้งเฉิงและจิงชาน บุตรหลานของผู้เสียชีวิตจะไม่ถูกตำหนิติเตียนที่ปล่อยให้ผู้สูงอายุฆ่าตัวตาย เพราะเชื่อกันว่าการตายเป็นการบรรเทาทุกข์ให้กับคนแก่
“สิ่งที่ทำให้ผมตกใจก็คือ ในแต่ละหมู่บ้านที่คนแก่ฆ่าตัวตาย คนมองว่าความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องธรรมดา กระทั่งว่ามันถือเป็นความสุขด้วยซ้ำ” นายหลิว กล่าว
และเมื่อเขาขยายพื้นที่เก็บข้อมูลไปยังหมู่บ้านอื่นของหูเป่ย เจียงซู เจ้อเจียง ซานตง ซานซี เหอเป่ย เหอหนัน และ กุ้ยโจว ก็พบว่าสถานการณ์การฆ่าตัวตายแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ทว่า สาเหตุหลักมาจากการมีคุณภาพชีวิตต่ำ นายหลิว กล่าว
ความกตัญญูกตเวทีเป็นค่านิยมของจีนแต่ดั้งเดิม แต่คนแก่ในชนบทก็ไม่อาจพึ่งพาบุตรหลานได้ตลอด เพราะสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากนี้ระบบเงินบำนาญก็ล้มเหลว
นายหลิว กล่าวว่า คนหนุ่มสาวในชนบทมีแผนการเงินในการดูแลคนแก่ที่เจ็บป่วย เช่น หากค่าใช้จ่ายต่ำกว่า 30,000 หยวน หรือราวๆ 150,000 บาท และคนแก่สามารถมีชีวิตอยู่ได้อีก 10 ปี โดยมีรายได้ปีละ 3,000 หยวน (ประมาณ 15,000 บาท) ถือว่าคุ้มค่า แต่ถ้ามีชีวิตอยู่ได้น้อยกว่านี้ ก็ถือว่าสิ้นเปลืองเงินทอง
ทั้งนี้ ในประเทศจีน ชาวนามีชีวิตค่อนข้างลำบาก และชาวนาสูงอายุจะลำบากมากที่สุด นายหลิวกล่าว