เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- สำนักคลังสมองของรัฐบาลจีนเผยงานวิจัย ระบุเขื่อนสามโตรก เขื่อนใหญ่สุดในโลกที่ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์บนเวทีนานาชาติ จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมปากแม่น้ำแยงซีเกียง โดยเฉพาะนครเซี่ยงไฮ้จะรับฯหนักที่สุด
“สำหรับเซี่ยงไฮ้แล้ว ข้อดีและประโยชน์ที่ได้รับจากเขื่อนสามโตรก ( Three Gorges Dam) กำลังลดลง แต่อันตรายกลับเพิ่มขึ้น” นายเฉิน นักวิจัยแห่งสถาบันศึกษาความเสี่ยงต่อเขตภูเขาและสิ่งแวดล้อม สังกัดบัณฑิตยสภาด้านวิทยาศาสตร์จีน กล่าว
“ยกตัวอย่างเช่น ตะกอนซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญมากสำหรับเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากช่วยเพิ่มพื้นที่ได้เฉลี่ยปีละ 40 เมตร ดังเช่นที่ผ่านมา ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้อีกต่อไป” ข้อมูลจากนายเฉิน ระบุ “ทั้งนี้เพราะพื้นที่อ่างเก็บน้ำด้านบน ช่วยทำให้น้ำสะอาดขึ้นเนื่องจากทำให้โคลนและทรายตกตะกอนก่อนจะไหลลงปากแม่น้ำ” นายเฉิน อธิบายให้แก่ผู้สื่อข่าวของเซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์
อีกทั้งเมื่อระดับน้ำต่ำลงก็จะทำให้เกิดน้ำทะเลหนุน กระทบกับระบบนิเวศน์ของปลาในพื้นที่ นายเฉินกล่าวเพิ่มเติม
นอกจากนี้ “เรายังควรพิจารณาผลกระทบด้านอื่นไปพร้อมๆกันในระยะยาว” นายเฉินกล่าว “ยกตัวอย่างเช่น ในปีที่แห้งแล้ง ความต้องการน้ำในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีจะสูง เพราะต้องใช้ทั้งในระบบอุตสาหกรรม การเกษตร และการใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งยังมีการผันน้ำขึ้นเหนือ ตามโครงการผันน้ำจากใต้ขึ้นเหนือ การกักน้ำไว้ในเขื่อนสามโตรก ปัญหาน้ำทะเลหนุน และกระแสน้ำขึ้นน้ำลงที่สูง...”
นายเฉินระบุว่า ไม่เพียงแต่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้นที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ปัญหาการแย่งทรัพยากรน้ำระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นแต่ละแห่งก็เข้มข้นขึ้นเช่นกัน ตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนสามโตรก อาทิ
มณฑลหูเป่ย กำลังพยายามผันน้ำจากแม่น้ำแยงซีเข้าสู่ลำน้ำฮั่น ส่วนเจียงซีก็กำลังสร้างเขื่อนในทะเลสาบปัวยาง ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ด้านมณฑลหูหนันก็วางแผนปรับปรุงพื้นที่อ่างเก็บน้ำทะเลสาบต้งถิง ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ
รวมทั้ง ยังมีสถานีพลังงานน้ำอีกหลายแห่งบนช่วงต้นลำน้ำ เพราะฉะนั้นแม้น้ำแยงซีที่สมบูรณ์ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้อีกต่อไปในอนาคต” นายเฉิน กล่าว
อนึ่ง เขื่อนสามโตรก หรือซันสยา ( Three Gorges Dam) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มูลค่ากว่า 248 แสนล้านหยวน (124 ล้านล้านบาท) ตั้งอยู่บริเวณหุบเขาซีหลิงสยา เมืองอี๋ชัง มณฑลหูเป่ยซึ่งอยู่ติดชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของนครฉงชิ่ง ตัวเขื่อนสามโตรกนี้มีความยาวร่วม 3 กิโลเมตร จีนต้องปล่อยน้ำท่วมเมืองต่างๆที่อยู่ริมฝั่งแยงซีเกียงถึง 116 เมือง เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำใหญ่ มีความยาวถึง 640 กิโลเมตร
“สำหรับเซี่ยงไฮ้แล้ว ข้อดีและประโยชน์ที่ได้รับจากเขื่อนสามโตรก ( Three Gorges Dam) กำลังลดลง แต่อันตรายกลับเพิ่มขึ้น” นายเฉิน นักวิจัยแห่งสถาบันศึกษาความเสี่ยงต่อเขตภูเขาและสิ่งแวดล้อม สังกัดบัณฑิตยสภาด้านวิทยาศาสตร์จีน กล่าว
“ยกตัวอย่างเช่น ตะกอนซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญมากสำหรับเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากช่วยเพิ่มพื้นที่ได้เฉลี่ยปีละ 40 เมตร ดังเช่นที่ผ่านมา ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้อีกต่อไป” ข้อมูลจากนายเฉิน ระบุ “ทั้งนี้เพราะพื้นที่อ่างเก็บน้ำด้านบน ช่วยทำให้น้ำสะอาดขึ้นเนื่องจากทำให้โคลนและทรายตกตะกอนก่อนจะไหลลงปากแม่น้ำ” นายเฉิน อธิบายให้แก่ผู้สื่อข่าวของเซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์
อีกทั้งเมื่อระดับน้ำต่ำลงก็จะทำให้เกิดน้ำทะเลหนุน กระทบกับระบบนิเวศน์ของปลาในพื้นที่ นายเฉินกล่าวเพิ่มเติม
นอกจากนี้ “เรายังควรพิจารณาผลกระทบด้านอื่นไปพร้อมๆกันในระยะยาว” นายเฉินกล่าว “ยกตัวอย่างเช่น ในปีที่แห้งแล้ง ความต้องการน้ำในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีจะสูง เพราะต้องใช้ทั้งในระบบอุตสาหกรรม การเกษตร และการใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งยังมีการผันน้ำขึ้นเหนือ ตามโครงการผันน้ำจากใต้ขึ้นเหนือ การกักน้ำไว้ในเขื่อนสามโตรก ปัญหาน้ำทะเลหนุน และกระแสน้ำขึ้นน้ำลงที่สูง...”
นายเฉินระบุว่า ไม่เพียงแต่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้นที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ปัญหาการแย่งทรัพยากรน้ำระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นแต่ละแห่งก็เข้มข้นขึ้นเช่นกัน ตั้งแต่มีการสร้างเขื่อนสามโตรก อาทิ
มณฑลหูเป่ย กำลังพยายามผันน้ำจากแม่น้ำแยงซีเข้าสู่ลำน้ำฮั่น ส่วนเจียงซีก็กำลังสร้างเขื่อนในทะเลสาบปัวยาง ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ด้านมณฑลหูหนันก็วางแผนปรับปรุงพื้นที่อ่างเก็บน้ำทะเลสาบต้งถิง ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ
รวมทั้ง ยังมีสถานีพลังงานน้ำอีกหลายแห่งบนช่วงต้นลำน้ำ เพราะฉะนั้นแม้น้ำแยงซีที่สมบูรณ์ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้อีกต่อไปในอนาคต” นายเฉิน กล่าว
อนึ่ง เขื่อนสามโตรก หรือซันสยา ( Three Gorges Dam) ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มูลค่ากว่า 248 แสนล้านหยวน (124 ล้านล้านบาท) ตั้งอยู่บริเวณหุบเขาซีหลิงสยา เมืองอี๋ชัง มณฑลหูเป่ยซึ่งอยู่ติดชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของนครฉงชิ่ง ตัวเขื่อนสามโตรกนี้มีความยาวร่วม 3 กิโลเมตร จีนต้องปล่อยน้ำท่วมเมืองต่างๆที่อยู่ริมฝั่งแยงซีเกียงถึง 116 เมือง เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำใหญ่ มีความยาวถึง 640 กิโลเมตร