เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- ผู้คุมกฎด้านสื่อแผ่นดินใหญ่ ออกคำสั่งห้ามผู้สื่อข่าวเผยแพร่ข้อมูลที่ได้รับระหว่างปฏิบัติงาน โดยการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวได้นั้นต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบฯ อย่างเข้มงวดก่อน
สื่อฮ่องกง เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ รายงาน คณะกรรมการบริหารสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ (State Administration of Press, Publication, Radio, Film and Television) ได้ออกคำสั่งควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลของผู้สื่อข่าวจีนเมื่อเดือนที่แล้ว โดยคำสั่งดังกล่าวเพิ่งประกาศสู่สาธารณะผ่านเว็บไซต์องค์กรเมื่อวันพุธ (9 ก.ค.)
ข้อความในคำสั่งฯระบุคำวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีกลุ่มผู้สื่อข่าวได้ละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับความลับของชาติ เผยแพร่ “ความลับ” หรือข้อมูลที่ไม่อาจเปิดเผยได้ ลงในอินเทอร์เน็ต และยังให้ข้อมูลแก่สื่อต่างประเทศ รวมถึงสื่อในฮ่องกง
ดังนั้นจึงมีการจัดทำกฎการทำงานของสื่อมวลชนแผ่นดินใหญ่ขึ้น โดยกำหนดห้ามมิให้สื่อมวลชนเผยแพร่ข้อมูล และข่าวที่ได้รับระหว่างการทำงาน อาทิ ข้อมูลความลับของรัฐ ข้อมูลลับทางการค้า ที่ยังไม่ได้รับไฟเขียวให้เปิดเผย
“นักข่าว บรรณาธิการ และผู้ประกาศข่าว ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลลับของรัฐ ไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม ผ่านสื่อต่างๆ และ พวกเขาไม่ควรกล่าวถึงข้อมูลเหล่านั้นในการพบปะส่วนตัวหรือทางจดหมาย กฎใหม่ระบุไว้
ในขณะที่พนักงานในบริษัทสื่อเองก็ถูกห้ามเผยแพร่ข้อมูลให้แก่บริษัทสื่อต่างชาติ
ทั้งนี้ กฎใหม่ยังระบุให้นักข่าวลงชื่อยอมรับข้อตกลงในการเก็บรักษาความลับกับหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ และจะไม่มีการจ้างนักข่าวที่ไม่ลงชื่อยอมรับข้อตกลงดังกล่าว ในขณะที่ผู้บริหารเอง ก็จะต้องรับผิดชอบหากพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาละเมิดกฎนี้
ส่วนนักข่าวที่ละเมิดข้อตกลงในการเก็บรักษาความลับจะถูกลงโทษ หรือบริษัทต้นสังกัดอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้
ในขณะที่ นายจ้าน เจียง อาจารย์คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยการต่างประเทศแห่งปักกิ่ง ระบุ การออกคำสั่งดังกล่าว นับเป็นกฎข้อบังคับชุดแรกสำหรับองค์กรสื่อมวลชนและผู้สื่อข่าว ซึ่งระบุอย่างเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการรักษาความลับแห่งชาติ
“มันคือการกลับคำ หลังจากที่รัฐบาลเคยให้คำมั่นว่าจะเปิดกว้างและโปร่งใสมากขึ้น” นายจ้าน กล่าว
นอกจากนี้ นายจ้านยังกล่าวเพิ่มเติมว่า หากไม่นิยามให้ชัดเจนว่าความลับของรัฐคืออะไร ก็อาจเป็นรัฐบาลเองก็ได้ที่ละเมิดกฎใหม่นี้ หากรัฐต้องการปิดบังข้อมูลไม่ให้สาธารณชนรับรู้
“มันเป็นสิ่งจำเป็นมาก ที่จะต้องอธิบายให้ชัดเจนว่า ความลับของรัฐหมายถึงอะไรบ้าง เพราะมันจะเป็นปัญหาสำหรับนักข่าว หากมีนิยามคลุมเครือ” นายจ้าน กล่าว
ทั้งนี้ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลลับของรัฐ ได้รับการปรับแก้ใช้เมื่อปี 2553 เพื่อให้ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่การรายงานสถิติโทษประหารชีวิตไปจนกระทั่งถึงข้อมูลด้านอุตสาหกรรม
ในขณะที่ตัวบทกฎหมายดังกล่าวก็เต็มไปด้วยความคลุมเครือในการจัดประเภทข้อมูลและการจัดการข้อมูลย้อนหลัง รวมทั้งการจัดการกับนักกิจกรรมที่ต่อต้านรัฐ เพราะกฎหมายนี้มิได้ระบุวิธีการจัดประเภทข้อมูลไว้ นายมั่ว เส้าผิง นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนในปักกิ่ง ระบุ
“จากมุมมองของนักกฎหมาย การปกป้องความลับของรัฐควรเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ใช่นักข่าว” นายมั่ว กล่าว
ด้านนายเฉิง อีจง อดีตหัวหน้าบรรณาธิการเซาท์เทิร์น เมโทรโพลิส เดลี กล่าว กฎใหม่นี้จะกลายเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้เจ้าหน้าที่รัฐควบคุมนักข่าวที่ช่างวิจารณ์และต่อต้านรัฐอย่างเปิดเผย
อนึ่ง เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา จีนก็จับนักข่าวอิสระ เกา อี๋ว์ วัย 70 ปี หลังจากที่เธอนำเอกสารลับมาเปิดเผยกับบรรณาธิการของเว็บไซต์ต่างชาติรายหนึ่งเมื่อเดือนส.ค.ปีที่แล้ว (2556)
สื่อฮ่องกง เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ รายงาน คณะกรรมการบริหารสื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ (State Administration of Press, Publication, Radio, Film and Television) ได้ออกคำสั่งควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลของผู้สื่อข่าวจีนเมื่อเดือนที่แล้ว โดยคำสั่งดังกล่าวเพิ่งประกาศสู่สาธารณะผ่านเว็บไซต์องค์กรเมื่อวันพุธ (9 ก.ค.)
ข้อความในคำสั่งฯระบุคำวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีกลุ่มผู้สื่อข่าวได้ละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับความลับของชาติ เผยแพร่ “ความลับ” หรือข้อมูลที่ไม่อาจเปิดเผยได้ ลงในอินเทอร์เน็ต และยังให้ข้อมูลแก่สื่อต่างประเทศ รวมถึงสื่อในฮ่องกง
ดังนั้นจึงมีการจัดทำกฎการทำงานของสื่อมวลชนแผ่นดินใหญ่ขึ้น โดยกำหนดห้ามมิให้สื่อมวลชนเผยแพร่ข้อมูล และข่าวที่ได้รับระหว่างการทำงาน อาทิ ข้อมูลความลับของรัฐ ข้อมูลลับทางการค้า ที่ยังไม่ได้รับไฟเขียวให้เปิดเผย
“นักข่าว บรรณาธิการ และผู้ประกาศข่าว ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลลับของรัฐ ไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม ผ่านสื่อต่างๆ และ พวกเขาไม่ควรกล่าวถึงข้อมูลเหล่านั้นในการพบปะส่วนตัวหรือทางจดหมาย กฎใหม่ระบุไว้
ในขณะที่พนักงานในบริษัทสื่อเองก็ถูกห้ามเผยแพร่ข้อมูลให้แก่บริษัทสื่อต่างชาติ
ทั้งนี้ กฎใหม่ยังระบุให้นักข่าวลงชื่อยอมรับข้อตกลงในการเก็บรักษาความลับกับหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ และจะไม่มีการจ้างนักข่าวที่ไม่ลงชื่อยอมรับข้อตกลงดังกล่าว ในขณะที่ผู้บริหารเอง ก็จะต้องรับผิดชอบหากพบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาละเมิดกฎนี้
ส่วนนักข่าวที่ละเมิดข้อตกลงในการเก็บรักษาความลับจะถูกลงโทษ หรือบริษัทต้นสังกัดอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้
ในขณะที่ นายจ้าน เจียง อาจารย์คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยการต่างประเทศแห่งปักกิ่ง ระบุ การออกคำสั่งดังกล่าว นับเป็นกฎข้อบังคับชุดแรกสำหรับองค์กรสื่อมวลชนและผู้สื่อข่าว ซึ่งระบุอย่างเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการรักษาความลับแห่งชาติ
“มันคือการกลับคำ หลังจากที่รัฐบาลเคยให้คำมั่นว่าจะเปิดกว้างและโปร่งใสมากขึ้น” นายจ้าน กล่าว
นอกจากนี้ นายจ้านยังกล่าวเพิ่มเติมว่า หากไม่นิยามให้ชัดเจนว่าความลับของรัฐคืออะไร ก็อาจเป็นรัฐบาลเองก็ได้ที่ละเมิดกฎใหม่นี้ หากรัฐต้องการปิดบังข้อมูลไม่ให้สาธารณชนรับรู้
“มันเป็นสิ่งจำเป็นมาก ที่จะต้องอธิบายให้ชัดเจนว่า ความลับของรัฐหมายถึงอะไรบ้าง เพราะมันจะเป็นปัญหาสำหรับนักข่าว หากมีนิยามคลุมเครือ” นายจ้าน กล่าว
ทั้งนี้ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลลับของรัฐ ได้รับการปรับแก้ใช้เมื่อปี 2553 เพื่อให้ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่การรายงานสถิติโทษประหารชีวิตไปจนกระทั่งถึงข้อมูลด้านอุตสาหกรรม
ในขณะที่ตัวบทกฎหมายดังกล่าวก็เต็มไปด้วยความคลุมเครือในการจัดประเภทข้อมูลและการจัดการข้อมูลย้อนหลัง รวมทั้งการจัดการกับนักกิจกรรมที่ต่อต้านรัฐ เพราะกฎหมายนี้มิได้ระบุวิธีการจัดประเภทข้อมูลไว้ นายมั่ว เส้าผิง นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนในปักกิ่ง ระบุ
“จากมุมมองของนักกฎหมาย การปกป้องความลับของรัฐควรเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ใช่นักข่าว” นายมั่ว กล่าว
ด้านนายเฉิง อีจง อดีตหัวหน้าบรรณาธิการเซาท์เทิร์น เมโทรโพลิส เดลี กล่าว กฎใหม่นี้จะกลายเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้เจ้าหน้าที่รัฐควบคุมนักข่าวที่ช่างวิจารณ์และต่อต้านรัฐอย่างเปิดเผย
อนึ่ง เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา จีนก็จับนักข่าวอิสระ เกา อี๋ว์ วัย 70 ปี หลังจากที่เธอนำเอกสารลับมาเปิดเผยกับบรรณาธิการของเว็บไซต์ต่างชาติรายหนึ่งเมื่อเดือนส.ค.ปีที่แล้ว (2556)