xs
xsm
sm
md
lg

พม่าผ่านกฎหมายสื่อฉบับใหม่ให้เสรีภาพวิพากษ์วิจารณ์-เข้าถึงข้อมูล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มรอยเตอร์วันที่ 31 มี.ค. 2556 นักข่าวชูหนังสือพิมพ์ Voice Daily ฉบับตัวอย่างภายในห้องข่าวของสำนักข่าวในนครย่างกุ้ง หลังจากรัฐบาลกึ่งพลเรือนชุดใหม่ขึ้นบริหารประเทศภายใต้การนำของประธานาธิบดีเต็งเส่ง พม่าได้ดำเนินการปฏิรูปบ้านเมืองหลากหลายประการ รวมทั้งการปฏิรูปสื่อ และเมื่อไม่นานนี้ กฎหมายสื่อฉบับใหม่ได้ผ่านรัฐสภาและลงนามโดยผู้นำประเทศที่ให้เสรีภาพแก่นักข่าวในการวิพากษ์วิจารณ์ ค้นคว้าและรายงานข่าวได้มากยิ่งขึ้น.--Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

ซินหวา - สื่อทางการพม่าเผยรายละเอียดกฎหมายสื่อฉบับใหม่ของประเทศ ในวันนี้ (19) หลังกฎหมายผ่านมติรัฐสภา และได้รับการลงนามจากประธานาธิบดีเมื่อไม่นานนี้

หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์ ระบุว่า กฎหมายสื่อฉบับใหม่ระบุชัดเจนถึงเสรีภาพของสื่อและสิทธิของนักข่าวที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย และระบุข้อบกพร่องของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ และกฎหมายยังกำหนดสิทธิเกี่ยวกับการทำข่าวสืบสวนสอบสวนที่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวรายงานข้อเท็จจริง และข้อมูลที่ประชาชนจำเป็นต้องรู้

สำหรับข่าวที่สะท้อนความคิด และเสียงของประชาชนยังได้รับอนุญาตให้สื่อเผยแพร่ได้ ตราบเท่าที่จริยธรรมของนักข่าวนั้นเป็นไปตามกฎระเบียบที่มี นอกจากนั้น ผู้สื่อข่าวจะได้รับอนุญาตให้ค้นคว้า เขียน และเผยแพร่รายงานเปิดเผยการละเมิดสิทธิประชาชน และสามารถเข้าถึงหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว

กฎหมายยังระบุว่า สิ่งพิมพ์ทั้งหมดจะปลอดจากกระบวนการเซ็นเซอร์ และผู้สื่อข่าวทุกคนจะได้รับอนุญาตให้สามารถขอเอกสาร ข้อเท็จจริง และตัวเลขสถิติที่เป็นผลประโยชน์ต่อส่วนร่วมจากกระทรวง และองค์กรต่างๆ ยกเว้น สิ่งที่เป็นความลับทางราชการ พร้อมทั้งรับประกันการคุ้มครองผู้สื่อข่าวจากการจับกุมโดยพลการ และจากการทำข่าวในสถานที่ที่มีความขัดแย้ง ความไม่สงบ ความรุนแรง และการชุมนุมประท้วง

กฎหมายฉบับใหม่นี้ยังอนุญาตให้ตั้งบริษัทสื่อสาธารณะ หรือเอกชน รวมทั้งบริษัทร่วมทุนได้ และระบุถึงการตั้งสภาสื่อพม่าที่ทำหน้าที่เป็นดั่งเช่น องค์กรอิสระ ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากสำนักงานประธานาธิบดี ประธานสภาของทั้ง 2 สภา นักข่าว ผู้แทนจากสำนักข่าว สำนักพิมพ์ นักเขียน รวมทั้งผู้ที่มาจากองค์กรภาคประชาสังคม โดยสภาสื่อนี้จะตั้งขึ้นด้วยเงินบริจาคจากรัฐบาล และความช่วยเหลือจากผู้บริจาคท้องถิ่น และต่างประเทศ NGO และบริษัทสื่อต่างๆ ส่วนการร้องเรียนเกี่ยวกับผูัสื่อข่าวนั้น สามารถยื่นต่อสภาสื่อได้เป็นลำดับแรก และนำไปสู่ศาลเป็นลำดับต่อไป หากข้อขัดแย้งดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขได้.
กำลังโหลดความคิดเห็น