เอเจนซี-- หน่วยตรวจสอบวินัยพรรคคอมมิวนิสต์จีน อัดยักษ์ใหญ่สำนักคลังสมอง บัณฑิตยสภาด้านสังคมศาสตร์ ถูกต่างชาติแทรกซึม แถมยังมีการ “ฮั่ว” กันดำเนินกิจกรรมผิดกฎหมายในช่วงอ่อนไหวทางการเมือง
สืบเนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบวินัยแห่งคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เยี่ยมเยือนหน่วยวิจัยประวัติศาสตร์สมัยใหม่จีนสังกัดบัณฑิตยสภาด้านสังคมศาสตร์ในวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ระหว่างการเยือนฯนี้ นาย จาง อิงเหว่ย เจ้าหน้าที่อาวุโสแห่งคณะกรรมการกำกับวินัยพรรคฯ ได้กล่าวบรรยายวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาในหน่วยวิจัยฯ โดยโจมตีด้วยถ้อยคำที่รุนแรง เกี่ยวกับการแทรกซึมโดยอิทธิพลต่างชาติ ทั้งมีการสมรู้ร่วมคิดกับต่างชาติจัดกิจกรรมที่ผิดกฎหมายในช่วงจังหวะเวลาที่อ่อนไหวอีกด้วย
รายงานการวิพากษ์วิจารณ์ฯของนาย จาง อิงเหว่ย ถูกนำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ของหน่วยวิจัยประวัติศาสตร์สมัยใหม่จีน ไม่กี่วันต่อมาเว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์ประชาชน หรือ พีเพิล เดลี กระบอกเสียงพรรคฯ ก็อ้างรายงานการวิพากษ์วิจารณ์ฯนำเสนอเป็นข่าวสู่สาธารณะ ซึ่งได้ถูกลบทิ้งในเวลาต่อมา
ในรายงานฯระบุว่า นายจาง อิงเหว่ย ได้กล่าวบรรยายแนวความคิดด้านวินัยพรรคฯของผู้นำสี จิ้นผิง ที่บัณฑิตยสภาด้านสังคมศาสตร์ และได้ชี้ว่าหน่วยคลังสมองชั้นนำของประเทศอย่างบัณฑิตยสภาฯนี้ “มีปัญหาด้านอุดมการณ์” พร้อมเรียกร้องให้ ‘ยังคงตระหนักถึงประเด็นความอ่อนไหวทางการเมืองบางประเด็น’
นายจางยังกล่าวว่า หน่วยวิจัยได้ใช้การวิจัยทางวิชาการบังหน้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ทั้งใช้อินเทอร์เน็ตส่งเสริมทฤษฎีต่างๆ ของต่างชาติ ปล่อยให้ต่างชาติมีอิทธิพลเกินควรในประเด็นอ่อนไหวของประเทศ นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญขององค์กร กับ “ต่างชาติ” ยังสมรู้ร่วมคิดกันทำกิจกรรมผิดกฎหมายในช่วงเวลาที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม ในรายงานวิพากษ์วิจารณ์มิได้ระบุว่านายจาง ให้ความกระจ่างหรือไม่ว่า “ต่างชาติ” หรือ “การสมรู้ร่วมคิดอย่างผิดกฎหมาย” ในช่วงเวลาที่มีความอ่อนไหวนั้น หมายถึงใคร หรืออะไร
ทั้งนี้ในขณะนี้จีนภายใต้การนำของกลุ่มการนำรุ่นใหม่ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ยังเดินหน้าคุมเข้มสื่อ กวาดล้างการทุจริต และรณรงค์ด้านอบรมแนวความคิด แก่เจ้าหน้าที่รัฐ และรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งติดตามปัญญาชนและนักรณรงค์หัวเสรีนิยม
ซือหม่า ผิงปัง (Sima Pingbang) บล็อกเกอ์ชื่อดังในปักกิ่ง ตั้งคำถามว่า หากบัณฑิตยสภาฯ ถูกต่างชาติแทรกซึมจริง เหตุใดสันติบาลจึงไม่เข้าไปจัดการ
ในขณะที่ จอห์นนี หลิว ลุ่ยเส้า (Johnny Lau Yui-siu) ผู้ติดตามสถานการณ์จีน ก็กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า คำเตือนที่หน่วยกำกับวินัยพรรคฯ มีต่อหน่วยคลังสมองชั้นนำแห่งบัณฑิตยสภาฯนี้ แสดงให้เห็นว่า พรรคฯ กำลังกลัวสุดขีดว่า บัณฑิตยสภาฯจะรวมหัวกับต่างชาติ เผยแพร่แนวความคิดด้านสิทธิมนุษยชน และ เสรีภาพในการพูด ในแบบที่พรรคฯไม่พึงปรารถนา
“บัณฑิตยสภาฯให้ทุนนักวิจัยโพ้นทะเลเข้ามาทำการศึกษาในประเทศเพื่อประโยชน์ของจีน และก็ยังให้ทุนเพื่อดึงดูดความสามารถต่างชาติเข้ามา แต่ทุกอย่างก็ต้องได้รับการรับรองจากกลุ่มผู้นำ” นายจอห์นนีกล่าว “และคนระดับหัวหน้าทั้งหมดก็มาจากการแต่งตั้งของพรรค์ฯ ดังนั้นมันจะมีปัญหาด้านอุดมการณ์ได้อย่างไร”
“ในความเป็นจริง บัณฑิตยสภาฯ ไม่เคยสมคบกับต่างชาติเลย เพราะงานที่พวกเขาทำทั้งหมดก็คือ การอธิบายและเผยแพร่นโยบายของรัฐ” นายจอห์นนี วิจารณ์ไว้
สืบเนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบวินัยแห่งคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เยี่ยมเยือนหน่วยวิจัยประวัติศาสตร์สมัยใหม่จีนสังกัดบัณฑิตยสภาด้านสังคมศาสตร์ในวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ระหว่างการเยือนฯนี้ นาย จาง อิงเหว่ย เจ้าหน้าที่อาวุโสแห่งคณะกรรมการกำกับวินัยพรรคฯ ได้กล่าวบรรยายวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาในหน่วยวิจัยฯ โดยโจมตีด้วยถ้อยคำที่รุนแรง เกี่ยวกับการแทรกซึมโดยอิทธิพลต่างชาติ ทั้งมีการสมรู้ร่วมคิดกับต่างชาติจัดกิจกรรมที่ผิดกฎหมายในช่วงจังหวะเวลาที่อ่อนไหวอีกด้วย
รายงานการวิพากษ์วิจารณ์ฯของนาย จาง อิงเหว่ย ถูกนำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ของหน่วยวิจัยประวัติศาสตร์สมัยใหม่จีน ไม่กี่วันต่อมาเว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์ประชาชน หรือ พีเพิล เดลี กระบอกเสียงพรรคฯ ก็อ้างรายงานการวิพากษ์วิจารณ์ฯนำเสนอเป็นข่าวสู่สาธารณะ ซึ่งได้ถูกลบทิ้งในเวลาต่อมา
ในรายงานฯระบุว่า นายจาง อิงเหว่ย ได้กล่าวบรรยายแนวความคิดด้านวินัยพรรคฯของผู้นำสี จิ้นผิง ที่บัณฑิตยสภาด้านสังคมศาสตร์ และได้ชี้ว่าหน่วยคลังสมองชั้นนำของประเทศอย่างบัณฑิตยสภาฯนี้ “มีปัญหาด้านอุดมการณ์” พร้อมเรียกร้องให้ ‘ยังคงตระหนักถึงประเด็นความอ่อนไหวทางการเมืองบางประเด็น’
นายจางยังกล่าวว่า หน่วยวิจัยได้ใช้การวิจัยทางวิชาการบังหน้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ทั้งใช้อินเทอร์เน็ตส่งเสริมทฤษฎีต่างๆ ของต่างชาติ ปล่อยให้ต่างชาติมีอิทธิพลเกินควรในประเด็นอ่อนไหวของประเทศ นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญขององค์กร กับ “ต่างชาติ” ยังสมรู้ร่วมคิดกันทำกิจกรรมผิดกฎหมายในช่วงเวลาที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม ในรายงานวิพากษ์วิจารณ์มิได้ระบุว่านายจาง ให้ความกระจ่างหรือไม่ว่า “ต่างชาติ” หรือ “การสมรู้ร่วมคิดอย่างผิดกฎหมาย” ในช่วงเวลาที่มีความอ่อนไหวนั้น หมายถึงใคร หรืออะไร
ทั้งนี้ในขณะนี้จีนภายใต้การนำของกลุ่มการนำรุ่นใหม่ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ยังเดินหน้าคุมเข้มสื่อ กวาดล้างการทุจริต และรณรงค์ด้านอบรมแนวความคิด แก่เจ้าหน้าที่รัฐ และรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งติดตามปัญญาชนและนักรณรงค์หัวเสรีนิยม
ซือหม่า ผิงปัง (Sima Pingbang) บล็อกเกอ์ชื่อดังในปักกิ่ง ตั้งคำถามว่า หากบัณฑิตยสภาฯ ถูกต่างชาติแทรกซึมจริง เหตุใดสันติบาลจึงไม่เข้าไปจัดการ
ในขณะที่ จอห์นนี หลิว ลุ่ยเส้า (Johnny Lau Yui-siu) ผู้ติดตามสถานการณ์จีน ก็กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า คำเตือนที่หน่วยกำกับวินัยพรรคฯ มีต่อหน่วยคลังสมองชั้นนำแห่งบัณฑิตยสภาฯนี้ แสดงให้เห็นว่า พรรคฯ กำลังกลัวสุดขีดว่า บัณฑิตยสภาฯจะรวมหัวกับต่างชาติ เผยแพร่แนวความคิดด้านสิทธิมนุษยชน และ เสรีภาพในการพูด ในแบบที่พรรคฯไม่พึงปรารถนา
“บัณฑิตยสภาฯให้ทุนนักวิจัยโพ้นทะเลเข้ามาทำการศึกษาในประเทศเพื่อประโยชน์ของจีน และก็ยังให้ทุนเพื่อดึงดูดความสามารถต่างชาติเข้ามา แต่ทุกอย่างก็ต้องได้รับการรับรองจากกลุ่มผู้นำ” นายจอห์นนีกล่าว “และคนระดับหัวหน้าทั้งหมดก็มาจากการแต่งตั้งของพรรค์ฯ ดังนั้นมันจะมีปัญหาด้านอุดมการณ์ได้อย่างไร”
“ในความเป็นจริง บัณฑิตยสภาฯ ไม่เคยสมคบกับต่างชาติเลย เพราะงานที่พวกเขาทำทั้งหมดก็คือ การอธิบายและเผยแพร่นโยบายของรัฐ” นายจอห์นนี วิจารณ์ไว้