เอเจนซี- นายกรัฐมนตรีนายหลี่ เค่อเฉียง เยือนอังกฤษอย่างเป็นทางการ หวังถกเรื่องการเงินและการค้า ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญชี้ จีนหวังขายเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง กับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ให้กับแดนผู้ดี จึงอาจยอมให้อังกฤษเข้ามาดูแลเรื่องอุโมงค์ลอดช่องแคบปั๋วไห่
เมื่อวันจันทร์ (16 มิ.ย.) นายกรัฐมนตรีของจีน นายหลี่ เค่อเฉียง เดินทางเยือนอังกฤษอย่างเป็นทางการครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปีที่ผ่านมา (2556)
กำหนดการเยือนอังกฤษเป็นเวลา 3 วันของนายหลี่ เค่อเฉียง เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเดินทางเยือนยุโรปของเขา และนอกจากการเข้าพบนาย เดวิด คาเมรอน แล้ว นายหลี่ เค่อเฉียงยังมีกำหนดการเข้าเฝ้าพระราชินีอลิซาเบธ อีกด้วย โดยผู้สังเกตการณ์ต่างลงความเห็นว่า กำหนดการเข้าเฝ้านี้ มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จึงถือเป็นสัญญาณบ่งบอกความสำคัญของจีนในระดับโลก
ในด้านการเจรจา การเดินทางเยือนอังกฤษของนายกรัฐมนตรีจีนครั้งนี้ เป็นที่คาดหวังกันว่า จะมีการลงนามการค้าร่วมระหว่างทั้งสองประเทศซึ่งมีมูลค่าถึง 18,000 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 990,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์กันว่า จีนอาจพิจารณาให้อังกฤษเข้าร่วมโครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้ทะเลช่องแคบปั๋วไห่ ขนาดความยาว 123 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 260,000 ล้านหยวน เชื่อมต้าเหลียน ในมณฑลเหลียวหนิง กับ เยียนไถ ของมณฑลซานตง ซึ่งรัฐบาลกลางจีนอนุมัติเห็นชอบไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา อุโมงค์นี้มีความยาวมากกว่า อุโมงค์เซอิคันของญี่ปุ่น และอุโมงค์เชื่อมระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส
โดยผู้เชี่ยวชาญมองว่า การพิจารณาให้อังกฤษเข้าร่วมดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ฯ เป็นผลมาจากการที่จีนหวังจะเข้าไปมีเอี่ยวโครงการรถไฟความเร็วสูงในอังกฤษ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่รัฐบาลอังกฤษมีแผนจัดสร้าง นายหวัง เหมิ่งซู่ รองหัวหน้าวิศวกรกลุ่มงานอุโมงค์ใต้ทะเล การรถไฟจีน และที่ปรึกษาอาวุโสด้านวิทยาศาสตร์โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงของรัฐบาลจีน ระบุ แต่ทั้งนี้ ยังจำเป็นต้องพัฒนาความเชื่อมั่นระหว่างทั้งสองฝ่ายก่อนดำเนินการตกลงใดๆ ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมดังกล่าวระบุเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม นายหวังมองว่า โอกาสของจีนในการขายเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงให้อังกฤษนั้น เป็นไปได้ยาก เพราะ “อังกฤษเป็นประเทศเล็ก พวกเขาไม่มีที่ดินที่มีความยาวเพียงพอจะรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงที่มีอัตราความเร็ว 350 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง”
“เราก็ยังสงสัยกันอยู่ ว่าอังกฤษจะต้องการรถไฟความเร็วสูงจากจีน จริงเท็จแค่ไหน” นายหวัง กล่าว
ทั้งนี้ เพราะทั้งสองประเทศต่างก็มีวิธีคิดเกี่ยวกับการสร้างรถไฟความเร็วสูง แตกต่างกัน
“อังกฤษชอบฝังสายรถไฟไว้ใต้ดิน เพื่อประหยัดพื้นที่ ในขณะที่จีนชอบสร้างไว้บนสะพานสูงๆ แต่เราก็จะช่วยพวกเขาได้ ถ้าพวกเขาเปลี่ยนความคิด” นายหวัง กล่าว
ด้านนักวิจัย โครงการความร่วมมือด้านนิวเคลียร์แห่งชาติจีน ก็ออกมาแสดงความเห็นไว้ เนื่องจากมองว่า อังกฤษมิได้มีความจริงใจกับจีน ในข้อตกลงเกี่ยวกับการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
“เห็นชัดว่าอังกฤษสนใจแค่เงินของพวกเราเท่านั้น พวกเขาคิดว่าจีนเป็นตัวทำเงิน เราหวังจะขายเทคโนโลยีและอุปกรณ์ของเราให้เขา แต่พวกเขาไม่เชื่อใจพวกเรา” นักวิจัยคนดังกล่าวระบุ โดยไม่เปิดเผยชื่อ เนื่องจากเป็นการแสดงความเห็นต่อประเด็นที่มีความอ่อนไหว
“จีนดึงฝรั่งเศสเป็นคู่ค้า เพื่อให้เข้าถึงตลาดนิวเคลียร์ของอังกฤษได้ง่ายขึ้น แต่การเจรจาค่อนข้างมีปัญหา” นักวิจัยคนดังกล่าวระบุ
“จีนเข้ามาเล่นในเกมช้า และเทคโนโลยีของเราก็ดูดีแค่บนกระดาษ อังกฤษจะซื้อเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นใหม่จากจีนไปทำไม เพราะขนาดจีนเองก็ยังไม่ใช้เลย? นักวิจัยจากจีนตั้งคำถามไว้อย่างน่าสนใจ
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป ว่าการเจรจาระหว่างจีนกับอังกฤษ จะออกมาในทิศทางใด แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างสองประเทศนี้ อาจดูเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในตอนนี้
เมื่อวันจันทร์ (16 มิ.ย.) นายกรัฐมนตรีของจีน นายหลี่ เค่อเฉียง เดินทางเยือนอังกฤษอย่างเป็นทางการครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อปีที่ผ่านมา (2556)
กำหนดการเยือนอังกฤษเป็นเวลา 3 วันของนายหลี่ เค่อเฉียง เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเดินทางเยือนยุโรปของเขา และนอกจากการเข้าพบนาย เดวิด คาเมรอน แล้ว นายหลี่ เค่อเฉียงยังมีกำหนดการเข้าเฝ้าพระราชินีอลิซาเบธ อีกด้วย โดยผู้สังเกตการณ์ต่างลงความเห็นว่า กำหนดการเข้าเฝ้านี้ มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จึงถือเป็นสัญญาณบ่งบอกความสำคัญของจีนในระดับโลก
ในด้านการเจรจา การเดินทางเยือนอังกฤษของนายกรัฐมนตรีจีนครั้งนี้ เป็นที่คาดหวังกันว่า จะมีการลงนามการค้าร่วมระหว่างทั้งสองประเทศซึ่งมีมูลค่าถึง 18,000 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 990,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์กันว่า จีนอาจพิจารณาให้อังกฤษเข้าร่วมโครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้ทะเลช่องแคบปั๋วไห่ ขนาดความยาว 123 กิโลเมตร มูลค่ากว่า 260,000 ล้านหยวน เชื่อมต้าเหลียน ในมณฑลเหลียวหนิง กับ เยียนไถ ของมณฑลซานตง ซึ่งรัฐบาลกลางจีนอนุมัติเห็นชอบไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา อุโมงค์นี้มีความยาวมากกว่า อุโมงค์เซอิคันของญี่ปุ่น และอุโมงค์เชื่อมระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส
โดยผู้เชี่ยวชาญมองว่า การพิจารณาให้อังกฤษเข้าร่วมดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ฯ เป็นผลมาจากการที่จีนหวังจะเข้าไปมีเอี่ยวโครงการรถไฟความเร็วสูงในอังกฤษ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่รัฐบาลอังกฤษมีแผนจัดสร้าง นายหวัง เหมิ่งซู่ รองหัวหน้าวิศวกรกลุ่มงานอุโมงค์ใต้ทะเล การรถไฟจีน และที่ปรึกษาอาวุโสด้านวิทยาศาสตร์โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงของรัฐบาลจีน ระบุ แต่ทั้งนี้ ยังจำเป็นต้องพัฒนาความเชื่อมั่นระหว่างทั้งสองฝ่ายก่อนดำเนินการตกลงใดๆ ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมดังกล่าวระบุเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม นายหวังมองว่า โอกาสของจีนในการขายเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงให้อังกฤษนั้น เป็นไปได้ยาก เพราะ “อังกฤษเป็นประเทศเล็ก พวกเขาไม่มีที่ดินที่มีความยาวเพียงพอจะรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงที่มีอัตราความเร็ว 350 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง”
“เราก็ยังสงสัยกันอยู่ ว่าอังกฤษจะต้องการรถไฟความเร็วสูงจากจีน จริงเท็จแค่ไหน” นายหวัง กล่าว
ทั้งนี้ เพราะทั้งสองประเทศต่างก็มีวิธีคิดเกี่ยวกับการสร้างรถไฟความเร็วสูง แตกต่างกัน
“อังกฤษชอบฝังสายรถไฟไว้ใต้ดิน เพื่อประหยัดพื้นที่ ในขณะที่จีนชอบสร้างไว้บนสะพานสูงๆ แต่เราก็จะช่วยพวกเขาได้ ถ้าพวกเขาเปลี่ยนความคิด” นายหวัง กล่าว
ด้านนักวิจัย โครงการความร่วมมือด้านนิวเคลียร์แห่งชาติจีน ก็ออกมาแสดงความเห็นไว้ เนื่องจากมองว่า อังกฤษมิได้มีความจริงใจกับจีน ในข้อตกลงเกี่ยวกับการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
“เห็นชัดว่าอังกฤษสนใจแค่เงินของพวกเราเท่านั้น พวกเขาคิดว่าจีนเป็นตัวทำเงิน เราหวังจะขายเทคโนโลยีและอุปกรณ์ของเราให้เขา แต่พวกเขาไม่เชื่อใจพวกเรา” นักวิจัยคนดังกล่าวระบุ โดยไม่เปิดเผยชื่อ เนื่องจากเป็นการแสดงความเห็นต่อประเด็นที่มีความอ่อนไหว
“จีนดึงฝรั่งเศสเป็นคู่ค้า เพื่อให้เข้าถึงตลาดนิวเคลียร์ของอังกฤษได้ง่ายขึ้น แต่การเจรจาค่อนข้างมีปัญหา” นักวิจัยคนดังกล่าวระบุ
“จีนเข้ามาเล่นในเกมช้า และเทคโนโลยีของเราก็ดูดีแค่บนกระดาษ อังกฤษจะซื้อเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นใหม่จากจีนไปทำไม เพราะขนาดจีนเองก็ยังไม่ใช้เลย? นักวิจัยจากจีนตั้งคำถามไว้อย่างน่าสนใจ
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป ว่าการเจรจาระหว่างจีนกับอังกฤษ จะออกมาในทิศทางใด แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างสองประเทศนี้ อาจดูเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในตอนนี้