เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- เนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี เหตุการณ์ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาประชาชนและการปราบปรามกลุ่มประท้วงฯที่จัตุรัสเทียนอันเหมินอย่างนองเลือดในวันที่ 4 มิ.ย. ปี ค.ศ.1989 (2532) ผู้สื่อข่าวฮ่องกงเซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ จึงถือโอกาสนี้ออกไปสำรวจความคิดเห็นของผู้คนที่เกิดในปีนองเลือดครั้งฯ พวกเขาคิดเห็นอย่างไรกับเหตุนองเลือดดังกล่าวและมรดกตกทอดของเหตุการณ์ที่เกิดในปีที่พวกเขาได้ถือกำเนิด
สำหรับในวงวิพากษ์วิจารณ์ การเกิดในปี 2532 ถือเป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่กระตุ้นถึงให้นึกถึงพลังอำนาจของระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่สำหรับอีกหลายคน “เหตุนองเลือดเทียนอันเหมิน” ก็เป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวของประวัติศาสตร์ที่ค่อยๆ เลือนหายไปพร้อมความกังวลใจเกี่ยวกับประเทศชั้นนำใหม่ที่กำลังผงาดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้คนวัยเบญจเพศจากทั้งฮ่องกง ไต้หวัน และแผ่นดินใหญ่ ก็ยังคงคิดถึงวันที่ 4 มิ.ย. ด้วยท่าทีที่ต่างกันไป
“ประวัติศาสตร์ส่วนนี้เป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับพวกเรามาก รายละเอียดข้อเท็จจริงต่างๆก็ไม่ชัดเจน” ซุน เสวียปิน ชาวซานตงที่อาศัยในปักกิ่ง กล่าว
ซุน ทำงานอยู่ในแวดวงการศึกษาและการฝึกอบรม บอกว่าเขาไม่ได้รับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์เทียนอันเหมินจนอายุได้ 18 ปี “แม่ผมเล่าว่า ตอนนั้นลุงของผมอยู่ในปักกิ่ง และแม่ก็กังวลมากกลัวลุงจะโดนจับติดคุก”
เมื่อขอให้ซุนสรุปเหตุการณ์คร่าวๆ เขากล่าวว่า “มันเป็นเรื่องการแก่งแย่งอำนาจระหว่างปัญญาชนนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีความรู้มากกับพรรคคอมมิวนิสต์ และพรรคฯก็ต้องรักษาอำนาจไว้ เลยประกาศกฎอัยการศึกสู้กับนักศึกษา และคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็ตายไปเยอะ ผมไม่รู้ว่าเท่าไหร่”
เช่นเดียวกับหนุ่มเสฉวน ที่ไม่อยากบอกชื่อแซ่ เราจึงรู้จักเขาด้วยชื่อภาษาอังกฤษ ว่า อเล็กซ์ หลี่
หลี่ ไม่เคยรู้เรื่องเหตุการณ์นองเลือดในปีเกิดของตนเองเลย จนกระทั่งบินไปเรียนที่ฝรั่งเศส เขาจึงได้ย้อนดูคลิปสารคดีว่าด้วยเรื่องเหตุการณ์ฯดังกล่าว กับเพื่อนในหอ
“เราเริ่มหาดูวีดีโอออนไลน์ ดูจนดึก” หลี่ กล่าว “ผมว่ามันน่าขันสิ้นดี ผมไม่รู้เรื่องพวกนี้ได้ยังไงกันเนี่ย ?”
“ตอนแรกที่ผมรู้ ผมอินและก็โกรธมาก เพราะสารคดีเรื่องเล่า “เหตุการณ์นองเลือดเทียนอันเหมิน” ทำออกมาชัดเจน เพื่อเรียกน้ำโหของคนดู”
“แต่ตอนนี้ ผมกลับคิดว่ามันไม่ใช่อะไรง่ายๆ แบบนั้น มันซับซ้อน...ไม่ใช่แค่เรื่องการประท้วงของนักศึกษา ผมว่าผู้ประท้วงหลายคนที่จัตุรัสฯตอนนั้น ก็ชอบ “บทบาทผู้นำ” เพราะฉะนั้นไม่ใช่ทุกคนที่ออกไปประท้วงด้วยเหตุผลที่บริสุทธิ์” นายหลี อธิบาย
เมื่อพูดถึงสังคมปัจจุบัน ที่โลกกลายเป็นยุคดิจิตอล ประชาชนแดนมังกรเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน แม้ทางการจะพยายามเซนเซอร์ควบคุมโลกอินเทอร์เน็ต และ เวยปั๋ว สื่อสังคมออนไลน์ชื่อดังคล้ายทวิตเตอร์ของจีน ที่กลายเป็นพื้นที่แสดงความเห็นของคนในโลกไซเบอร์ ก็ตาม
“ไม่รู้สินะ ผมไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีเสรีภาพ อย่างที่นักศึกษาในสารคดีอาจจะคิดกัน” นายหลี่ กล่าว “แต่ผมไม่ค่อยสนใจการเมือง ชีวิตผมมีเรื่องให้ต้องคิดเยอะพอละ”
ตั้งแต่ 1989 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเศรษฐกิจจีนผงาดขึ้นเป็นอันดับสองของโลก รองแค่อเมริกาเท่านั้น ฉะนั้น วิถีชีวิต และสินค้าของโลกตะวันตกต่างก็หลั่งไหลทะลุกำแพงเมืองจีนเข้ามา คนหนุ่มสาวอย่างซุน และหลี่ จึงได้สัมผัสของหรูหราอย่างที่พ่อแม่ของพวกเขาไม่เคยได้ทำมาก่อน เรื่องเหล่านี้จึงกลายเป็นหัวข้อที่ให้หลายคนดาหน้าออกมาวิจารณ์ ว่าคนรุ่นใหม่ของจีนเป็นพวกวัตถุนิยมมากขึ้นและมีสำนึกทางการเมืองน้อยลง
“ผมคิดเรื่องค่าเช่า เรื่องชีวิตของผมเองนะ ผมรู้ว่าหลายคนในรัฐบาลทุจริตกัน แต่ผมก็ไม่รู้สึกว่าต้องไปสู้รบปรบมือกับพวกเขา” นายซุนอธิบายความรู้สึกของตนเองออกมา
ด้านหลิน จวินเจี๋ย นักศีกษาปริญญาโทจากสถาบันการก่อสร้างและวางผังเมืองของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน เล่าว่า เขาเริ่มเรียนเรื่องเหตุการณ์ปราบปรามกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยที่เทียนอันเหมินตอนอยู่ป. 4 แต่จนตอนนี้เขาก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองรู้สึกต่อเหตุการณ์นองเลือดนี้อย่างไร
“ตอนแรกผมก็เหมือนคนอื่นๆ ผมรู้สึกว่าเมืองจีนมืดสลัวเป็นแดนสนธยา และเป็นที่มีแต่ความรุนแรง ไม่มีเสรีภาพ ส่วนตอนนี้ ผมก็บอกได้แค่ว่ามีการปกปิดความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ และมีความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น แต่ผมก็ไม่รู้สึกว่ามันเกี่ยวอะไรกับตัวผม”
ในขณะที่ฝั่งฮ่องกง นักศึกษานักเคลื่อนไหวทางสังคมอย่าง หลัว เยี่ยนจื้อ กลับรู้สึกรู้สาเป็นอย่างยิ่ง หลัวเป็นหนึ่งในผู้ออกมาต้านรถไฟความเร็วสูงเชื่อมก่วงโจว (หรือกวางเจา) เมื่อปี 2010
“ตั้งแต่ครูมัธยมให้ผมดูรูปเหตุการณ์สังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในห้องเรียน ผมก็รู้เลยว่า ชีวิตมันไม่ใช่แค่เรียนแล้วก็สอบ” นายหลัว บัณฑิตสาขาวัฒนธรรมศึกษามหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong)กล่าว
“มันทำให้เห็นว่าเป็นเพราะพลังคนหนุ่มสาวหนุนมันเลยไปได้ไกลขนาดนั้น และพวกเขาก็เสียสละชีวิตเพื่อประโยชน์ส่วนรวม” นายหลัว แสดงความเห็นไว้
“ชะตาชีวิตของฮ่องกงตั้งแต่ถูกส่งมอบอำนาจการปกครองคืนสู่จีน ก็ผูกติดอยู่กับจีน มันจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนฮ่องกงจึงควรรู้จักธรรมชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้มากขึ้น”
ในขณะที่กลุ่มนิยมความเป็นพื้นเมืองอย่างสุดโต่ง (nativist) ออกมาเคลื่อนไหวในช่วงไม่กี่ปีนี้ เรียกร้องให้ฮ่องกงแยกขาดจากจีนและหยุดจุดเทียนในค่ำคืนรำลึกเหตุการณ์นองเลือดเทียนอันเหมิน วันที่ 4 มิ.ย. แต่ หลัวกลับดูกระตือรือร้นกับเรื่องราวของแผ่นดินใหญ่ และยืนยันว่าควรมีพิธีกรรมดังกล่าวเกิดขึ้น เพื่อปลุกความเฉื่อยชาทางการเมือง
“คนชั่วรุ่นพวกเราจะได้เห็นบ้านเกิดของตนไปถึงปี 2047 และจะได้เห็นกระแสความนึกคิดที่ผูกพันกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น ค่อยๆแปรเปลี่ยนกลายเป็นพลังทางการเมืองมากขึ้น"
การเกิดคลื่นนักเคลื่อนไหวรุ่นเยาว์อย่าง โจซัว หวง จือเฟิง (Joshua Wong Chi-fung) ทำให้หลัวมีความหวังกับอนาคตของบ้านเมืองเขา เพราะคนหนุ่มสาวแสดงให้เห็นแล้วว่า พวกเขาเริ่มคิดเผื่อคนรุ่นต่อไปแล้ว
หลัว คิดว่าคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็ไม่ควรอายที่จะทำกิจกรรมทางการเมือง
“เป็นเรื่องศีลธรรม พวกเขามีภารกิจที่ต้องตอบแทนบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ตักตวงผลประโยชน์ในช่วงเศรษฐกิจบูมปีทศวรรษ 1970-1980 ไปแล้ว” นายหลัว กล่าวทิ้งท้าย
...หลายคนบอก การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน แต่หลายคนก็แย้งว่ามันเป็นเรื่องเจตจำนงส่วนตัว แต่ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไรก็แล้วแต่ ความขัดแย้งทางการเมืองจนนำไปสู่ความสูญเสียก็เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง...ดังเช่นที่เกิดขึ้นบนจัตุรัสเทียน อัน เหมิน วันที่ 4 มิ.ย. 1989…
สำหรับในวงวิพากษ์วิจารณ์ การเกิดในปี 2532 ถือเป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่กระตุ้นถึงให้นึกถึงพลังอำนาจของระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จของพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่สำหรับอีกหลายคน “เหตุนองเลือดเทียนอันเหมิน” ก็เป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวของประวัติศาสตร์ที่ค่อยๆ เลือนหายไปพร้อมความกังวลใจเกี่ยวกับประเทศชั้นนำใหม่ที่กำลังผงาดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้คนวัยเบญจเพศจากทั้งฮ่องกง ไต้หวัน และแผ่นดินใหญ่ ก็ยังคงคิดถึงวันที่ 4 มิ.ย. ด้วยท่าทีที่ต่างกันไป
“ประวัติศาสตร์ส่วนนี้เป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับพวกเรามาก รายละเอียดข้อเท็จจริงต่างๆก็ไม่ชัดเจน” ซุน เสวียปิน ชาวซานตงที่อาศัยในปักกิ่ง กล่าว
ซุน ทำงานอยู่ในแวดวงการศึกษาและการฝึกอบรม บอกว่าเขาไม่ได้รับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์เทียนอันเหมินจนอายุได้ 18 ปี “แม่ผมเล่าว่า ตอนนั้นลุงของผมอยู่ในปักกิ่ง และแม่ก็กังวลมากกลัวลุงจะโดนจับติดคุก”
เมื่อขอให้ซุนสรุปเหตุการณ์คร่าวๆ เขากล่าวว่า “มันเป็นเรื่องการแก่งแย่งอำนาจระหว่างปัญญาชนนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีความรู้มากกับพรรคคอมมิวนิสต์ และพรรคฯก็ต้องรักษาอำนาจไว้ เลยประกาศกฎอัยการศึกสู้กับนักศึกษา และคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็ตายไปเยอะ ผมไม่รู้ว่าเท่าไหร่”
เช่นเดียวกับหนุ่มเสฉวน ที่ไม่อยากบอกชื่อแซ่ เราจึงรู้จักเขาด้วยชื่อภาษาอังกฤษ ว่า อเล็กซ์ หลี่
หลี่ ไม่เคยรู้เรื่องเหตุการณ์นองเลือดในปีเกิดของตนเองเลย จนกระทั่งบินไปเรียนที่ฝรั่งเศส เขาจึงได้ย้อนดูคลิปสารคดีว่าด้วยเรื่องเหตุการณ์ฯดังกล่าว กับเพื่อนในหอ
“เราเริ่มหาดูวีดีโอออนไลน์ ดูจนดึก” หลี่ กล่าว “ผมว่ามันน่าขันสิ้นดี ผมไม่รู้เรื่องพวกนี้ได้ยังไงกันเนี่ย ?”
“ตอนแรกที่ผมรู้ ผมอินและก็โกรธมาก เพราะสารคดีเรื่องเล่า “เหตุการณ์นองเลือดเทียนอันเหมิน” ทำออกมาชัดเจน เพื่อเรียกน้ำโหของคนดู”
“แต่ตอนนี้ ผมกลับคิดว่ามันไม่ใช่อะไรง่ายๆ แบบนั้น มันซับซ้อน...ไม่ใช่แค่เรื่องการประท้วงของนักศึกษา ผมว่าผู้ประท้วงหลายคนที่จัตุรัสฯตอนนั้น ก็ชอบ “บทบาทผู้นำ” เพราะฉะนั้นไม่ใช่ทุกคนที่ออกไปประท้วงด้วยเหตุผลที่บริสุทธิ์” นายหลี อธิบาย
เมื่อพูดถึงสังคมปัจจุบัน ที่โลกกลายเป็นยุคดิจิตอล ประชาชนแดนมังกรเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน แม้ทางการจะพยายามเซนเซอร์ควบคุมโลกอินเทอร์เน็ต และ เวยปั๋ว สื่อสังคมออนไลน์ชื่อดังคล้ายทวิตเตอร์ของจีน ที่กลายเป็นพื้นที่แสดงความเห็นของคนในโลกไซเบอร์ ก็ตาม
“ไม่รู้สินะ ผมไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีเสรีภาพ อย่างที่นักศึกษาในสารคดีอาจจะคิดกัน” นายหลี่ กล่าว “แต่ผมไม่ค่อยสนใจการเมือง ชีวิตผมมีเรื่องให้ต้องคิดเยอะพอละ”
ตั้งแต่ 1989 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเศรษฐกิจจีนผงาดขึ้นเป็นอันดับสองของโลก รองแค่อเมริกาเท่านั้น ฉะนั้น วิถีชีวิต และสินค้าของโลกตะวันตกต่างก็หลั่งไหลทะลุกำแพงเมืองจีนเข้ามา คนหนุ่มสาวอย่างซุน และหลี่ จึงได้สัมผัสของหรูหราอย่างที่พ่อแม่ของพวกเขาไม่เคยได้ทำมาก่อน เรื่องเหล่านี้จึงกลายเป็นหัวข้อที่ให้หลายคนดาหน้าออกมาวิจารณ์ ว่าคนรุ่นใหม่ของจีนเป็นพวกวัตถุนิยมมากขึ้นและมีสำนึกทางการเมืองน้อยลง
“ผมคิดเรื่องค่าเช่า เรื่องชีวิตของผมเองนะ ผมรู้ว่าหลายคนในรัฐบาลทุจริตกัน แต่ผมก็ไม่รู้สึกว่าต้องไปสู้รบปรบมือกับพวกเขา” นายซุนอธิบายความรู้สึกของตนเองออกมา
ด้านหลิน จวินเจี๋ย นักศีกษาปริญญาโทจากสถาบันการก่อสร้างและวางผังเมืองของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน เล่าว่า เขาเริ่มเรียนเรื่องเหตุการณ์ปราบปรามกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยที่เทียนอันเหมินตอนอยู่ป. 4 แต่จนตอนนี้เขาก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองรู้สึกต่อเหตุการณ์นองเลือดนี้อย่างไร
“ตอนแรกผมก็เหมือนคนอื่นๆ ผมรู้สึกว่าเมืองจีนมืดสลัวเป็นแดนสนธยา และเป็นที่มีแต่ความรุนแรง ไม่มีเสรีภาพ ส่วนตอนนี้ ผมก็บอกได้แค่ว่ามีการปกปิดความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ และมีความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น แต่ผมก็ไม่รู้สึกว่ามันเกี่ยวอะไรกับตัวผม”
ในขณะที่ฝั่งฮ่องกง นักศึกษานักเคลื่อนไหวทางสังคมอย่าง หลัว เยี่ยนจื้อ กลับรู้สึกรู้สาเป็นอย่างยิ่ง หลัวเป็นหนึ่งในผู้ออกมาต้านรถไฟความเร็วสูงเชื่อมก่วงโจว (หรือกวางเจา) เมื่อปี 2010
“ตั้งแต่ครูมัธยมให้ผมดูรูปเหตุการณ์สังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในห้องเรียน ผมก็รู้เลยว่า ชีวิตมันไม่ใช่แค่เรียนแล้วก็สอบ” นายหลัว บัณฑิตสาขาวัฒนธรรมศึกษามหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong)กล่าว
“มันทำให้เห็นว่าเป็นเพราะพลังคนหนุ่มสาวหนุนมันเลยไปได้ไกลขนาดนั้น และพวกเขาก็เสียสละชีวิตเพื่อประโยชน์ส่วนรวม” นายหลัว แสดงความเห็นไว้
“ชะตาชีวิตของฮ่องกงตั้งแต่ถูกส่งมอบอำนาจการปกครองคืนสู่จีน ก็ผูกติดอยู่กับจีน มันจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนฮ่องกงจึงควรรู้จักธรรมชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้มากขึ้น”
ในขณะที่กลุ่มนิยมความเป็นพื้นเมืองอย่างสุดโต่ง (nativist) ออกมาเคลื่อนไหวในช่วงไม่กี่ปีนี้ เรียกร้องให้ฮ่องกงแยกขาดจากจีนและหยุดจุดเทียนในค่ำคืนรำลึกเหตุการณ์นองเลือดเทียนอันเหมิน วันที่ 4 มิ.ย. แต่ หลัวกลับดูกระตือรือร้นกับเรื่องราวของแผ่นดินใหญ่ และยืนยันว่าควรมีพิธีกรรมดังกล่าวเกิดขึ้น เพื่อปลุกความเฉื่อยชาทางการเมือง
“คนชั่วรุ่นพวกเราจะได้เห็นบ้านเกิดของตนไปถึงปี 2047 และจะได้เห็นกระแสความนึกคิดที่ผูกพันกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น ค่อยๆแปรเปลี่ยนกลายเป็นพลังทางการเมืองมากขึ้น"
การเกิดคลื่นนักเคลื่อนไหวรุ่นเยาว์อย่าง โจซัว หวง จือเฟิง (Joshua Wong Chi-fung) ทำให้หลัวมีความหวังกับอนาคตของบ้านเมืองเขา เพราะคนหนุ่มสาวแสดงให้เห็นแล้วว่า พวกเขาเริ่มคิดเผื่อคนรุ่นต่อไปแล้ว
หลัว คิดว่าคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็ไม่ควรอายที่จะทำกิจกรรมทางการเมือง
“เป็นเรื่องศีลธรรม พวกเขามีภารกิจที่ต้องตอบแทนบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ตักตวงผลประโยชน์ในช่วงเศรษฐกิจบูมปีทศวรรษ 1970-1980 ไปแล้ว” นายหลัว กล่าวทิ้งท้าย
...หลายคนบอก การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน แต่หลายคนก็แย้งว่ามันเป็นเรื่องเจตจำนงส่วนตัว แต่ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไรก็แล้วแต่ ความขัดแย้งทางการเมืองจนนำไปสู่ความสูญเสียก็เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง...ดังเช่นที่เกิดขึ้นบนจัตุรัสเทียน อัน เหมิน วันที่ 4 มิ.ย. 1989…